ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,665 รายการ


ชื่อเรื่อง                     เรื่องเมืองพิษณุโลกผู้แต่ง                       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                      918.936 ด495รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 อักษรนิติปีที่พิมพ์                    2496ลักษณะวัสดุ               52 หน้า หัวเรื่อง                     จังหวัดพิษณุโลกภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์ในงานประทานเพลิงศพ คุณปุ้ย อิศรางกูร ณ อยุธยา พ.ศ.2496 เนื้อหาเกี่ยวกับตำนานเมืองพิษณุโลก


ชื่อเรื่อง                                ตำราโหราศาสตร์ (โหราศาสตร์)สพ.บ.                                  216/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           58 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 32.7 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 โหราศาสตร์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน-ไทยโบราณ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน-ไทยโบราณ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


     ดอกพิกุลทอง      ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว      ทองคำ สูงเฉลี่ย ๐.๖ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ๑.๕ เซนติเมตร      รับมาจากราชพัสดุ กระทรวงการคลัง        ดอกพิกุลทอง ขึ้นรูปจากแผ่นทองคำรูปกลมบางๆ ๒ แผ่น จักเป็นกลีบเรียวแหลมคล้ายกับกลีบดอกพิกุลตามธรรมชาติ กลีบดอกชั้นล่างแผ่บานรองรับกลีบชั้นบนที่หุบตูม แผ่นทองยึดติดกันด้วยตาไก่ที่ใต้ดอก      ตามคติแต่โบราณเชื่อกันว่าดอกพิกุล เป็นดอกไม้มงคลของต้นไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยเหตุนี้ในพระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงมีการถวายดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ให้พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงโปรยในระหว่างการประกอบพระราชพิธี ทั้งนี้อาจเป็นด้วยความเชื่อว่าในหลวงทรงเป็นสมมติเทพที่ได้อุบัติลงมาจากสวรรค์ การโปรยดอกพิกุลจึงเสมือนกับการที่องค์สมมติเทพทรงโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชมนั่นเอง


เลขทะเบียน : นพ.บ.123/18ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  88 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 18 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




“จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญและความสำคัญมาตั้งแต่อดีต  ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ที่ทำรายได้เพิ่มพูนเศรษฐกิจของบ้านเมืองปีละมาก ๆ  กล่าวทางบุคคล ชาวสุพรรณมีความเจริญในจิตใจสูง มีศีลมีธรรม มีระเบียบประเพณี มีความสมัครสมานสามัคคี  และมีความกล้าหาญ รักชาติรักเผ่าพันธุ์ สมลักษณะคนไทยทุกอย่าง ทุกคนจึงควรมีความภาคภูมิใจในชาติภูมิ และในตัวเอง และควรที่จะตั้งใจรักษาสิ่งที่ดีที่งามทั้งปวงนี้ไว้ พร้อมกับพยายามที่สร้างเสริมความดี ความเจริญ  และความก้าวหน้า ให้งอกงามมั่นคงยิ่งขึ้น ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความรู้ความฉลาด ด้วยเหตุผลรอบคอบ  และด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง ซึ่งจะขวนขวายหามาได้ด้วยความสนใจใฝ่ศึกษาของทุกคน” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ (เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) พระราชทานแก่ข้าราชการและประชาชนผู้มาเข้าเฝ้ารับเสด็จ ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙      พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จเยี่ยมเยือน และทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญด้านการเกษตร ในส่วนของด้านการทำนานั้น ทรงเป็นขวัญและกำลังใจแก่ชาวนาไทยมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงทำนาด้วยพระองค์เอง        พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงทำนาด้วยพระองค์เอง ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๘ - พ.ศ.๒๕๔๓ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้      เครื่องมือเครื่องใช้ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ในการทรงนาในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น พระองค์พระราชทานเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนพระองค์แก่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อเก็บรักษาไว้       เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อทรงนา ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติแด่พระองค์ และเป็นสถานที่รวบรวมพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนา รวมถึงองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ข้าว วิถีชีวิตประเพณีของชาวนาไทยทั่วทั้ง ๔ ภาคไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย แห่งนี้ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและพระบาทสมเด็จพระปรเมทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว(เมื่อครั้งทรงพระเยาว์) ทรงฉายกับควายเหล็ก (รถไถนาแบบสี่ล้อ)ภายในนาข้าวทดลอง สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๔      พระบรมฉายาลักษณ์จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ในห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี


อภิธัมมัตถสังคหะ ชบ.ส. ๓๕ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.22/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




ระวี  ภาวิไล.  ดาราศาสตร์สำหรับเตรียมอุดมศึก แผนกวิทยาศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  ธนบุรี :      สำนักพิมพ์ธนบุรีศึกษา, ๒๕๐๔.  ๒๐๓ หน้า      โลกคือดาวพระเคราะห์เป็นพื้นฐานของวิชาดาราศาสตร์ ปราชญ์ชาวกรีกชื่ออาร์ชีดัสเป็นผู้ค้นพบว่าโลกเป็นทรงกลมด้วยทฤษฎีว่าเมื่อเรือแล่นไปไกลจะมองเห็นเสากระโดงเรือหลังสุดเลยหมุนรอบตัวเองในเวลา ๒๓ ชั่วโมง ๕๖ นาที ๔.๐๙๑ วินาที เรียกว่าวันของดวงดาว หรือวันดาราคติของโลกจะหมุนไปทางดาวฤกษ์ที่เรียกว่าดาวเหนือ และโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ ทั้งมนุษย์และสัตว์ได้อาศัยบรรยากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และบรรยากาศจะห่อหุ้มหรือเป็นเกราะกำบังรังสีที่ร้ายแรงจากดวงอาทิตย์ และมีโอโซนคอยดูดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าและมีการหักเหของแสงเนื่องชั้นบรรยากาศ การวัดความร้อนที่เกิดจากรังสีของดวงอาทิตย์ก็คือ การวัดความเข้มของรังสีจากดวงอาทิตย์บนพื้นโลกนั่นเอง การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์เป็นขุมพลังงานอันมหาศาล ซึ่งแบ่งออกสองส่วนคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และรังสีคอสมิก การสำรวจดวงอาทิตย์ต้องใช้กล้องรับแสงอาทิตย์แล้วฉายไปติดจอเหมือนฉายภาพนิ่งแล้วเลื่อนแว่นมอง  นักดาราศาสตร์ชื่อ เฮล ได้สังเกตเห็นกลุ่มเมฆไอเคลเซียมเขาเรียกว่าฟลอคคูลี  ดวงจันทร์เป็นดาวดวงใหญ่ขนาดเดียวกับดวงอาทิตย์ มีแสงสะท้อนจากโลกที่ได้รับดวงอาทิตย์เรียกว่า Earthshine หมุนรอบตัวเองช้า ๆ ลักษณะพื้นผิวเป็นหลุมเป็นบ่อจึงเรียกว่าภูเขาไฟรอยแตกของผิวดวงจันทร์ถูกเรียกว่าเหว อุณหภูมิบนขอบดวงจันทร์ที่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์วัดได้ ๑๓๔˙เซนติเกรด และอุณหภูมิที่ใกล้ขอบดวงจันทร์เทียบได้กับอุณหภูมิบนพื้นโลกตอนรุ่งเช้าและตอนเย็น ๖๗˙เซนติเกรด ดาวอังคารสามารถดูได้ด้วยกล้องโทรทัศน์เดินวนรอบดวงอาทิตย์แบบรูปไข่  ระบบสุริยะ วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ประกอบด้วยดาวพระพุธ ดาวพระศุกร์ ดาวพระเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต  อุกกาบาต คือ ดาวพระเคราะห์ที่ตกลงมาด้วยความเร็วสูงพบชั้นบรรยากาศจึงเกิดเป็นแสงสว่างตามที่เราเห็นแล้วเรียกกันว่าผีพุ่งใต้ และยังมีดาวหาง ดาวฤกษ์อีกมากมายบนท้องฟ้าที่เรามองเห็นในยามค่ำคืน


พระสัทธรรมโฆษเถระ.  โลกบัญญัติ.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528.           เป็นคัมภีร์เกี่ยวกับภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งจัดอยู่ในหมวดโลกศาสตร์ว่าด้วยจักรวาล เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 16 กัณฑ์ เช่น กัณฑ์ที่ 1 เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว กัณฑ์ที่ 2 ว่าด้วย ต้นไม้กับความหมายชมภูทวีป เป็นต้น


          กรมศิลปากร โดยสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จัดกิจกรรม Then and Now Around Bang-kok เนื่องในวาระครบรอบ ๖๙ ปี วันสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ โดยการคัดเลือกภาพ ที่เก็บรักษาในสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จํานวน ๖๙ ภาพ และเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโพสต์ภาพที่เคยถ่ายในมุมเดียวกันหรือใกล้เคียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตามหัวข้อ “พินิจวัด ทัศนาอาราม ตามรอยโรงเรียน - มหาวิทยาลัย เที่ยวไปในสถลชลวิถี ตระเวนอาคารสถานที่สําคัญ” ทางเฟสบุ๊ก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ประกาศผลรางวัล ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔           ผู้สนใจร่วมกิจกรรม Then and Now Around Bangkok ได้โดยกด Like กด Share โพสต์ ตั้งค่า เป็นสาธารณะ พร้อมติดแฮชแท็ก #69ปีหอจดหมายเหตุแห่งชาติ #thenandnowaroundBKK โพสต์ภาพในมุมเดียวกันหรือใกล้เคียง ลงในช่อง comment ของแต่ละภาพ พร้อมระบุชื่อผู้ถ่าย วัน/เดือน/ปี และคําบรรยาย โดยไม่จํากัดจํานวนภาพที่โพสต์ (ขอสงวนสิทธิ์การได้รับรางวัล ๑ คน/๑ รางวัล เท่านั้น) ภาพที่ได้รับการกด Like สูงสุด ๑๐ ภาพ จะได้รับหนังสือฟิล์มกระจก หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์ จำนวน ๑ เล่ม เป็นของที่ระลึก และผู้ที่โพสต์ภาพเป็นคนแรกของแต่ละภาพ (ซึ่งต้องถูกต้องตามกติกาในข้อ ๑ และข้อ ๒) จะได้รับภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นที่ระลึก          ทั้งนี้ ภาพที่ร่วมกิจกรรมนั้นต้องเป็นผลงานต้นฉบับของผู้โพสต์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ์ และ/หรือสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น ไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องลิขสิทธิ์จากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ซึ่งภาพทั้งหมดที่เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งใน collection “ภาพกิจกรรมสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ” เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และบริการต่อไป ผู้สนใจร่วมกิจกรรมได้ที่ เฟสบุ๊ก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตามลิ้งนี้ https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/2857378691190695


          เสื่อของเมืองจันทบุรีในเอกสารจดหมายเหตุได้กล่าวไว้ว่ามีหลายชนิด ทั้งทำจากต้นกก จากต้นคลุ้มคล้า จากก้านดอกอ้อ และจากหวาย แต่ผู้เขียนขอกล่าวในตอนนี้เฉพาะเสื่อต้นกกเพียงเท่านั้น           จากรายงานวิจัยของผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ เรื่องการทอเสื่อของชาวเว้ที่อพยพจากการถูกเบียดเบียนทางศาสนาประมาณ 130 คน มาตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนปลายว่า ...ก่อนที่อพยพเข้ามาจันทบุรีนั้น ชาวเวียดนามกลุ่มนี้ได้พำนักอยู่ในเขตเขมรระยะหนึ่งพร้อมปลอมตัวเป็นชาวเขมร...ทำให้ชาวคาทอลิกเวียดนามได้นำเอาภูมิปัญญาการทอเสื่อจากเขมรเข้ามาประยุกต์ใช้หลังจากได้มาตั้งฐานในจังหวัดจันทบุรี เรียกว่า"เสื่อญวนอพยพ"หรือ"เสื่อญวนหลังวัด"            "เอาไว้ขายเลี้ยงชีพ เลี้ยงอาราม" คือวัตถุประสงค์ในการทอเสื่อของกลุ่มซิสเตอร์ของวัดโรมันคาทอลิกที่นิยมทอกันในยามว่าง สมัยนั้นเรียกเสื่อฝีมือซิสเตอร์ว่า"เสื่ออาราม"หรือ"เสื่อแม่ชี"เป็นเสื่อที่มีลวดลายการยกดอก ส่วนคริสตชนจะทอเสื่อรวดหรือเสื่อธรรมดา ไม่มีลวดลายสำหรับไว้ใช้งานในบ้านหรือในวัด          จากพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 คราวตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ร.ศ.95 ได้พระราชนิพนธ์เรื่องการทอเสื่อของญวนว่า...เสื่อกกแดงนั้น มีแต่พวกญวนทำแห่งเดียว วิธีทำนั้นเอาต้นกกมาจักให้เล็ก ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงย้อมสีต่าง ๆ ตามที่จะให้เป็นลาย สีแดงนั้นย้อมด้วยน้ำฝาง สีดำย้อมด้วยหมึก สีเหลืองย้อมด้วยแกแล บ้างที่ย้อมขมิ้น สีน้ำเงินย้อมด้วยครามแต่ใช้น้อย แล้วเอาเข้าสดึงทอเปนลายต่าง ๆ เปนเสื่อ ผืน/ลวด บ้างยาวตามแต่จะต้องการ กว้างเฉภาะชั่วต้นกก เปนสินค้าออกนอกเมือง...(ภาษาคงตามต้นฉบับ :ผู้เขียน)           ในเวลาต่อมาความนิยมในเสื่อญวนยังคงอยู่เนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์ในตนเองคือการทอจากกกกลม ซึ่งมีเส้นเล็กและมีความเหนียวมากจึงทำให้เสื่อกกมีลายที่ละเอียดประณีต สามารถออกแบบให้เป็นลายต่างๆได้ จึงเป็นที่ต้องการของทางรัฐบาลในการนำไปจัดแสดงยังนานาประเทศ ยกตัวอย่างเช่น           พ.ศ.2457 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งให้สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ให้จัดส่งผลิตภัณฑ์และสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านไปร่วมจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองแซนฟรานแซสโก ณ ประเทศอเมริกา หนึ่งในนั้นได้แก่"เสื่อกก"ลายยกดอกตราอาม ลายยกดอกหน้าสัตว์ ลายยกดอกครุฑ และลายธรรมดา จากการนำไปจัดแสดงครั้งนั้นได้รับรางวัลเป็นเหรียญเกียรติยศพร้อมใบประกาศ           นอกจากนี้ ในพ.ศ.2475 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ว่า...มีความประสงค์ให้ว่าจ้างช่างที่มีฝีมือดี(ในสำนักชี)จัดทอเสื่อ...เพื่อร่วมในการแสดงในงานพิพิธภัณฑ์นานาประเทศ ณ เมืองเรไยนา ประเทศแคนาดา ชนิดที่สั่งทำ ได้แก่ เสื่อชั้นเดียวลายละเอียดสีขาวสลับสีน้ำเงิน เสื่อชั้นเดียวลายละเอียดสีแดงสลับสีดำ และเสื่อสองชั้นลายตาหมากรุกสีแดงสลับสีดำ ในระยะหลังต้นกกบริเวณชุมชนวัดโรมันคาทอลิกเริ่มหมดไปจึงมีการสั่งกกจากชาวไทยพุทธ อีกทั้งสั่งทอเสื่อผืนจากบางสระเก้า จึงนับเป็นก้าวแรกของการทอกกญวนโดยฝีมือชาวบางสระเก้า           ต่อมาเมื่อสีวิทยาศาสตร์ที่หาง่ายและคงทนมาแทนที่ กอรปกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้มาประทับที่จังหวัดจันทบุรี และได้ทรงโปรดเกล้าฯจ้างคนงานทอเสื่อจากบางสระเก้ามาทอเสื่อในเขตพระตำหนัก พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงออกแบบผลิตภัณฑ์เสื่อกกให้มีรูปแบบหลากหลายและปรับปรุงสีที่ใช้ย้อมกกให้มีความคงทนและหลากสียิ่งขึ้น จนกลายเป็น"เสื่อกกจันทบูร"ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันนี้นั่นเอง ---------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ---------------------------------------------------------------อ้างอิง ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และคณะ. 2552. ชีวิตทางเศรษฐกิจและการปรับตัวของชุมชนวัดโรมันคาทอลิก จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ก.พล (1996) จำกัด. สำนักหอจดหมายเหตุเเห่งชาติ. ระยะทางเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี. เลขที่ บ1.1/2. ร.ศ.95. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.2.4/16 เรื่องกระทรวงมหาดไทย สั่งให้จัดทำยานพาหนะต่างๆ ส่งเข้าไปกรุงเทพฯ (11 พฤษภาคม 2457 – 2 มิถุนายน 2462). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.2.4/287 เรื่องกระทรวงมหาดไทยให้จ้างช่างทอเสื่อกกจันทบุรีเพื่อส่งไปแสดงพิพิธภัณฑ์ที่เมืองเรไยนา ประเทศแคนาดา(13 ม.ค.-28 ก.พ.2475).