ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ


          หม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร           ผลงาน : ม.ร.ว.ถนอมศักดิ์ กฤดากร (M.R. Thanomsak Kritsadakorn)           ศิลปิน : นายเฟื้อ หริพิทักษ์ (Fua Hariphitak)           เทคนิค : ปั้นดินเหนียว หล่อบรอนซ์ (Technique of Clay Sculpture and Bronze Cast)           ขนาด : สูง 35 เซนติเมตร (Height 35 cm.)           ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ. 2481 (1938)           ประวัติ :เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นศิลปินหัวก้าวหน้า ที่ท้าทายและปฏิเสธศิลปะตามหลักวิชาการ อันเป็นกระแสหลักของวงการศิลปะไทยในช่วงทศวรรษที่ 2470 - 2480 (สุธี 2454 : 55) มีความชำนาญทั้งการเขียนภาพ และงานประติมากรรม พื้นฐานการศึกษาของเฟื้อ เริ่มต้นที่โรงเรียนเพราะช่าง แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม และมีโอกาสไปศึกษาที่แระเทศอินเดียและอิตาลีตามลำดับ ทางด้านหน้าที่การงาน เฟื้อประสบความสำเร็จอย่างสูง นอกจากรับราชการตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและวิทยาลัยช่างศิลปแล้ว ยังได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมใน พ.ศ.2500 ได้รับรางวัลแมกไซไซใน พ.ศ.2526 และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตกรรมฉ เมื่อปี พ.ศ.2528 (ขนิษฐษ และคณะ 2535 : 55 - 56) ประติมากรรมภาพเหมือนรูปนี้ จัดเป็นงานยุคแรกเริ่มต้นเส้นทางการเป็นศิลปินของท่าน           อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)                        หนังสือ 100 ปี เฟื้อ หริพิทักษ์ (หน้า 111)           แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/360/model/zz08ok/     ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/



โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ม.6) จ.นครปฐม  (เวลา 09.00 น.) จำนวน 47 คนวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน ๔๗ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้






พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ). ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย. พระนคร : รุ่งเรืองธรรม, 2510.




       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการบูรณะหลังคาอาคารจัดแสดง ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ ในโอกาสนี้จึงนำชุดภาพถ่ายเก่า Then & Now มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อย้อนวันวานที่สวยงาม และเตรียมรับอาคารจัดแสดงโฉมใหม่ มีจำนวน ๔ ภาพดังนี้             ภาพที่ 1 : พระยาสขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) และข้าราชการ พ่อค้า คหบดีในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2449 ในการเลี้ยงส่งเมื่อจะย้ายไปรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ ภาพจาก : หนังสือโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา            ภาพที่ 2 : ข้าราชการในจังหวัดสงขลาถ่ายภาพร่วมกัน ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ไม่ปรากฏปีที่ถ่าย ภาพจาก : Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา            ภาพที่ 3 : ถ่ายภาพโปสการ์ดขาวดำโดยร้านบ้วนเฮงสงขลา ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2480 ที่ระบุชื่อสถานที่ว่า “ศาลารัฐบาล” ภาพจาก : The National Archives of Thailand, Songkhla หอจดหมายเหตุเเห่งชาติฯ สงขลา            ภาพที่ 4 : ระหว่างการบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) เพื่อปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2518 ภาพจาก : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา   ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมโพสต์ภาพความทรงจำที่เคยถ่ายคู่กับอาคารพิพิธภัณฑ์ได้ทางเฟซบุ๊ก Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ในช่องคอมเมนท์ใต้โพสต์นี้ https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/pfbid0M7NYKytX5VVce3FLbNjprU6eSuQ421sYEEEA1i8MfpZ9GJ8F3wAB7CD2zP8Pe1Nil 


โบราณสถานวัดพัฒนาราม           ตั้งอยู่ในเขตตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยหลวงพ่อพัฒน์ นารโท และได้ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ เดิมวัดพัฒนารามเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของทางราชการมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้ยกเลิกไปภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ ๒ ชื่อ คือ “วัดพัฒนาราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลวงพ่อพัฒน์ผู้ก่อสร้างวัด และเรียกกันว่า "วัดใหม่" เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นหลังวัดอื่น ๆ ในย่านตลาดเมืองสุราษฎร์ธานี            สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ อุโบสถ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พุทธศักราช ๒๔๔๐) ขนาดกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๒ เมตร หลังคาทรงจั่วมีปีกนกสองชั้น หน้าบันทั้งสองด้านเป็นลายไม้แกะสลักประดับกระจกและลงรักปิดทอง ด้านทิศตะวันออกเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นภาพตอนโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานยกพื้นสูง มีเสากลมรองรับปีกนกโดยรอบอาคาร ทางด้านหน้าและด้านหลังมีประตูทางเข้า-ออกด้านละ ๒ บาน หน้าต่างมีการเจาะช่องผนังประดับด้วยลูกกรงไม้ บริเวณเสาร่วมในริมประตูทางเข้าทั้งสองด้านมีปูนปั้นรูปยักษ์ ส่วนเสาร่วมนอกเป็นปูนปั้นรูปทวารบาล มีลักษณะเป็นรูปบุคคลแต่งตัวคล้ายทหารบกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง แสดงปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรและปางห้ามสมุทร ด้านละ ๑ องค์ เหนือบานหน้าต่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีตั้งแต่สมัยอุยธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ ด้านนอกอุโบสถมีซุ้มเสมา ๘ ซุ้ม และยังมีจารึกหลังพระกสิณที่สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. ๒๔๖๗ โดยหลวงพ่อพัฒน์อีกด้วย           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดพัฒนารามในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง หน้า ๑๐ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๓ ตารางวา     Wat Phatthanaram           Wat Phatthanaram is located in Talat Sub-district, Mueang Surat Thani District, Surat Thani Province. It was founded in 1896 by a Buddhist monk named Luang Pho Phat Naratho and received royal permission to build the ordination hall in 1901. Originally, Wat Phatthanaram was known for its role in drinking an oath of allegiance. However, the drinking an oath of allegiance was cancelled after the Siamese Revolution in 1952. Local people called the temple with two names. The first name is called “Wat Phatthanaram” as a memorial of Luang Pho Phat who built the temple and the second name is called “Wat Mai” because it was built after other temples in the market area of Surat Thani.           There is an Ubosot or ordination hall which was built in 1897. It was made of brick and lime. The size of the ubosot is 13 metres wide and 22 metres long. It has a double-tiered roof. The two wooden gables were carved and decorated with glass mosaic and gilded on black lacquer. The gables were represented the life stories of the Lord Buddha, the eastern gable was a scene of performing a series of double miracles while the western gable was a scene of the Lord Buddha went to Tavatimsa Heaven to preach his mother. The building is on a raised platform with round poles to support the wings. There are two doors at the front and the back of the building. The windows had been made in the style of bars of balustrade. The interior columns of the ubosot are next to the doors and were made of stucco with giant images, while the exterior columns of the ubosot were made of stucco with giant images and figures of people dressed like army during the reign of King Chulalongkorn (Rama V). The Buddha image in the attitude of subduing Mara which is between a Buddha image in the attitude of holding an alms bowl and a Buddha image in the attitude of calming the ocean were enshrined inside ubosot. The wall above the windows were decorated with mural paintings about the life stories of the Lord Buddha. The mural paintings had the specific characteristics of traditional Thai painting during the late Ayutthaya period to the early Rattanakosin period and were made by local craftsmen. Outside the ubosot, there are eight arches housing boundary markers.            The Fine Arts Department announced the registration of Wat Phattanaram as a national monument and 2,012 squares - metres of national monument area in the Royal Gazette, Volume 118, Special Part 127, page 10, dated 21st December 2001.    


***บรรณานุกรม***    กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 พระนคร  โรงพิมพ์คุรุสภา 2506


โบราณสถานและสถานที่สำคัญที่น่าเยี่ยมชม ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ร่วมต้อนรับนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายบ้านศิลปินแห่งชาติ นายณรงค์ จันทร์พุ่ม และเปิดถนนสายวัฒนธรรมจังหวัดตรังณ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยมี นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม และนายเดชรัตน์ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าวด้วย


วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. ข้าราชการและลูกจ้าง สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ และหน่วยงานในสังกัด พร้อมด้วย อส.มศ อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันรดน้ำดำหัว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ และขอพรเนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ไทย ชมภาพบรรยากาศทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1645415575709717.1073741855.1440813319503278&type=1


Messenger