ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ
ชโย หรือ ไชโย เป็นคำอุทานที่แสดงถึงความยินดีมีชัย หรือแปลตามราชบัณฑิตยสถาน 2554 หมายความว่า ความชนะ เป็นคำที่เราคนไทยรู้จักเป็นอย่างดี แต่เดิมคนไทยใช้วิธี “โห่” โดยมีต้นเสียงเป็นผู้นำร้องโห่ และผู้ร่วมชุมนุมแสดงความยินดีร้องรับ “ฮิ้ว” พร้อมเพรียงกัน จากนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเริ่มใช้คำว่า ชะโย ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า ชย หรือ ชัยชนะ ทรงนำมาใช้ครั้งแรกในบทเพลงสรรเสริญพระบารมี “ดุจะถวายไชย ชโยฯ” ที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2456
ครั้นต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงพระเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามธรรมเนียมโบราณคนไทยจะต้องโห่ร้องเอาชัยตามประเพณี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายดวงวิญญาณแด่องค์กษัตริย์ผู้กล้าหาญ แต่เนื่องด้วยเหตุบังเอิญหรือใด ๆ ไม่ทราบ ต้นเสียงผู้นำโห่ขึ้น ขบวนเสือป่าไม่สามารถโห่รับให้เป็นเสียงเดียวกันได้ ไม่มีความพร้อมเพรียงกันทั้ง 3 ครั้ง เกิดเป็นเหตุให้ทรงไม่พอพระราชหฤทัย พระองค์ทรงแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าว ทรงมีพระดำรัสขึ้นกล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นการระลึกพระคุณ และได้ให้ผู้ที่มาชุมนุมนั้นเปล่งเสียงไชโยตามพระองค์ เมื่อสิ้นกระแสรับสั่งแล้ว พระองค์ทรงเปล่งเสียงกังวานนำขึ้นว่า “ชัย” จากนั้นเองเสือป่าและลูกเสือทั้งหลายก็ร้องรับ “โย” เป็นเสียงเดียวกันดังกึกก้องพร้อมเพรียง ซ้อนกันทั้ง 3 ครั้ง ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยซ้อมด้วยกันมาก่อน จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกที่คำว่า ไชโย ได้มีการเปล่งเสียงขึ้นมา และคนไทยใช้คำว่าไชโยเป็นคำอวยพรแสดงความยินดีนับแต่นั้นมาจนถึงวันนี้
ภาพ : บทสรรเสริญพระบารมี
ภาพ : ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ
ภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมาชิกกองเสือป่า
--------------------------------------------------------------
รายการอ้างอิง
วรชาติ มีชูบท. “ชโย ชโย ชโย,” วชิราวุธานุสรณ์สาร 19, 2 (6 เมษายน 2543): 21-24.
อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2514.
--------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย : นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง ตอนที่ 3 เรื่อง “ตำนานและนิทานเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง” หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีเรื่องราวที่เป็นตำนานลอยกระทงที่น่าสนใจ 4 เรื่อง ทั้งเกี่ยวเนื่องในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ รวมถึงตำนานพื้นถิ่นที่น่าสน เพื่อความเพลิดเพลินในการอ่านและเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเพณีอันดีงามของไทย
กระโถนค่อมเขียนลายสุวรรณมัจฉา
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๔๒๓
ได้รับมอบจากคุณ วราห์ โรจนวิภาต
ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
กระโถนลายน้ำทองขนาดเล็กเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ลักษณะทรงค่อมปากกว้าง ลำตัวสอบลง คอกระโถนเขียนแถบเส้นสีแดง ตัวกระโถนเขียนรูปนางสุพรรณมัจฉาถือดอกบัว (ลักษณะเป็นเงือกท่อนบนตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงเอวเป็นมนุษย์ สวมเครื่องประดับอาทิ รัดเกล้ามีกรรเจียกจร กรองศอ สังวาล พาหุรัดและทองกร ท่อนล่างเป็นลำตัวปลามีหาง มีครีบ) อีกด้านหนึ่งเป็นรูปมัจฉานุ ท่ามกลางกอบัวและหมู่มัจฉา ขอบกระโถนด้านบนและล่างเขียนแถบลายลูกขนาบดอกสี่กลีบบนพื้นสีทองและด้านล่างเป็นแถบเส้นสีทอง กึ่งกลางก้นกระโถนด้านนอก เขียนตัวเลข ๑๒๔๒ ซึ่งหมายถึงจุลศักราช ๑๒๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๒๓
กระโถนเป็นภาชนะในวัฒนธรรมไทยมีหลายขนาด หากเป็นใบเล็กนิยมใช้บ้วนน้ำหมาก สำหรับกระโถนใบนี้ เขียนขึ้นโดยช่างไทยเอง กล่าวคือเขียนลายน้ำทอง คือการเขียนสีผสมน้ำเคลือบลงบนผิวภาชนะ ปรากฏหลายสีตัดเส้นด้วยสีทอง ส่วนรูปที่ปรากฏบนกระโถนนั้นคือรูปนางสุพรรณมัจฉา และมัจฉานุ ซึ่งเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ โดยนางสุพรรณมัจฉาเป็นธิดาของทศกัณฐ์ อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ได้พาฝูงปลามาทำลายแผนการทำถนนไปยังกรุงลงกาของฝ่ายพระรามตามคำสั่งของทศกัณฐ์ โดยการลักลอบนำหินที่ถมไว้นั้นออกเสีย กระทั่งหนุมานล่วงรู้และได้ขับไล่ฝูงปลาและตามจับนางสุพรรณมัจฉาได้ นางสุพรรณมัจฉาได้สารภาพต่อหนุมานและให้ฝูงปลาคาบเอาหินกลับมาถมคืนดังเดิม ต่อมานางก็ได้กลายเป็นภรรยาหนุมานและให้กำเนิดบุตรขึ้นมานามว่า มัจฉานุ มีรูปลักษณ์ท่อนบนเป็นลิง ท่อนลางเป็นปลา จากนั้นนางได้เล่าเรื่องหนุมานให้มัจฉานุฟังแล้วจึงกลับสู่มหาสมุทรไป มัจฉานุได้เที่ยวเล่นไปจนไมยราพมาพบโดยบังเอิญจึงรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อพระรามถูกจับไปขังไว้ที่เมืองบาดาลของไมยราพ หนุมานตามลงไปและพบกับมัจฉานุเฝ้าด่านหน้าอยู่ทั้งสองเข้าต่อสู้กัน แต่ไม่มีฝ่ายใดเพลี้ยงพล้ำจึงซักไซ้ถามชื่อกระทั่งรู้ว่าเป็นพ่อ-ลูกกันในที่สุด
กระโถนใบนี้เป็นตัวอย่างของภาชนะเครื่องเคลือบที่เขียนระบายสีและเผาที่พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งศักราชที่ปรากฏอยู่ใต้ก้นกระโถนนั้นน่าจะหมายถึงปีที่ผลิตขึ้น กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่ ๕ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โปรดให้มีการตั้งเตาขึ้นในพื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคล และทำภาชนะเครื่องเคลือบเขียนสีขึ้นเองโดยฝีมือคนไทย* (ซึ่งก่อนหน้าช่วงเวลานี้ไทยต้องสั่งภาชนะเครื่องเคลือบจากเมืองจีน) แต่ดำเนินการผลิตอยู่เพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็เลิกทำไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเตาวังหน้าไว้ว่า
“...เตาของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เอาหุ่นเครื่องถ้วยสีขาวของจีนมาเขียนสีนอกเคลือบ ทำลายน้ำทองโดยมาก ผูกลายไทย ต่าง ๆ มาเขียน ทำได้งามดีมาก แต่ทำเป็นของถวายบ้าง ของใช้บ้าง แจกบ้าง ไม่ถึงซื้อขาย ทำอยู่คราวหนึ่งก็เลิก แต่ตัวอย่างของยังมีอีกมาก มักเป็นกระโถนค่อม และถ้วยชาเป็นพื้น...”
นอกจากภาชนะเครื่องเคลือบแล้ว กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญยังโปรดให้มีการตั้งโรงงานการช่างในพระราชวังบวรรสถานมงคลขึ้นหลายแขนง ด้วยเหตุที่พระองค์โปรดการช่างต่าง ๆ ดังความใน “ตำนานวังหน้า” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า
“...กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญโปรดในการช่างต่าง ๆ มาแต่เดิม ทรงจัดตั้งโรงงานการช่างขึ้นในวังหน้าหลายอย่าง ทั้งช่างหล่อ ช่างกลึง ช่างเคลือบ ของที่ทรงประดิษฐ์คิดทำขึ้นล้วนเป็นฝีมืออย่างประณีตจะหาเสมอได้โดยยาก...”
ข้อความดังกล่าวยังสอดคล้องกับพระประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลโปรดทำสิ่งของต่าง ๆ ทูลเกล้าถวายดังข้อความ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๑๑ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...วันที่ ๔๔๗๒ วันจันทร์ ขึ้นเก้าค่ำ เดือนสาม ปีมะโรงโทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ [ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓-ผู้เขียน] บ่ายโมงเศษ กรมมหาดเล็ก กรมหมอ ถวายของถวายผ้าขาว พระยานรรัตน์ถวายกระโถนเขียนลายและรูปภาพต่าง ๆ และกล่องจันทน์ และของอื่น ๆ อีกหลายสิ่งที่โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทำ...”
*เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต เตาเผาภาชนะเครื่องเคลือบของพระราชวังบวรสถานมงคลก็ปิดตัวลง ไม่ได้มีการสืบทอดทำต่อมาอีก
อ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 11 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๘, (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงเผาศพ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ วัดประทุมวนาราม เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘).
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์, ๒๕๐๘ (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระศุลีสวามิภักดิ์ (เศวตร์ พราหมณะนันทน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘).
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังหน้า. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ: แสงดาว, ๒๕๕๓.
พิกุล ทองน้อย. รามเกียรติ์ร้อยแก้วประกอบคำกลอน (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑) ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๖๑.
The Fine Arts Department. The Endless Epic of Japanese-Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture (CATALOGUE). Bangkok: Central Administrative Office, The Fine Arts Department, 2022.
แนะนำ E-book หนังสือหายากเรื่อง ชีวประวัติพระยาเกษตรรักษา
เกษตรรักษา, พระยา. ชีวประวัติพระยาเกษตรรักษา. พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2502.
ความรู้สึกทั้งหมด
22
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/7ก เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ภาคพิเศษก่อนเถลิงถวัลยราชสมบัติ ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการจัดงานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยจำนวนหน้า : 34 หน้าสาระสังเขป : บทประพันธ์เฉลิมพระเกียรติ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าจะแบ่งตามสมัย ก็แบ่งได้เป็นสามตอน คือ ตอนก่อนเด็จเถลิงวัลยราชสมบัติ ระหว่างที่เสวยราชสมบัติ กับภายหลังที่เสด็จสวรรคตแล้ว บทที่ นายถนัด นาวานุเคราะห์ นำมาพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระอายุคราบ 6 รอบนี้ เป็นบทประพันธ์เฉลิมพระเกียรติ์ก่อนเสด็จเถลิงวัลยราชสมบัติ และเพื่อเป็นการรักษาประวัติการพิมพ์ได้คงใช้วิธีเขียนตัวสะกดแบบเดิม
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)
อย.บ. 13/2
ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
อภิธรรมปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.506/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170 (233-242) ผูก 4ก (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ แจ้งข่าว.... ขยายเวลาปิดเบี่ยงการจราจรบนถนนสามเสนและบนถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้าสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ เพื่อดำเนินการการก่อสร้างกำแพงสถานี สถานีหอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 – 8 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 00.01 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง
กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า มีความจำเป็นต้องขยายเวลาปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสามเสนบริเวณหน้าสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และบนถนนศรีอยุธยาบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ เพื่อดำเนินการก่อสร้างกำแพงสถานี สถานีหอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 - 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 00.01 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ปิดเบี่ยงจราจร 2 ช่องจราจร ฝั่งชิดทางเท้า บริเวณสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ปิดเบี่ยง 2 ช่องจราจร ฝั่งชิดทางเท้า บริเวณทางเข้าหอสมุดแห่งชาติ
- ปิดเบี่ยง 2 ช่องจราจร ฝั่งชิดทางเท้า บนถนนศรีอยุธยา บริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์
มีผลให้ช่องจราจร ฝั่งมุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ เหลือ 2 ช่องจราจร ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ
การปิดเบี่ยงจราจรเพื่อดำเนินงานดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในวันเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจรได้ที่หมายเลข 08 4438 3943 และติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่ เว็บไซต์ www.mrta-purplelinesouth.com Facebook โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และ Line@mrtpurpleline
-------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : Facebook page โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth