ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,419 รายการ
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ เตาบ้านบางปูน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙
ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๐
ชิ้นส่วนภาชนะตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถ และวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพิธีกรรมก่อนการเพาะปลูกข้าวตั้งแต่สมัยอดีตของไทย ซึ่งมีปรากฏลวดลายกดประทับบนภาชนะดินเผาในสมัยอยุธยา จากแหล่งเตาบ้านบางปูนจังหวัดสุพรรณบุรี ยังหมายรวมถึงการให้ความสำคัญของการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
ปัจจุบันโบราณวัตถุชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่ห้องจัดแสดงชั้น ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูล : หนังสือแหล่งเตาบ้านบางปูน โครงการโบราณคดีประเทศไทย ฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๓๑
นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เผยแพร่
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.22/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
โอภาส เสวิกุล. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : โรงพิมพ์เฟื้องอักษร,
๒๕๑๑. ๓๒๘ หน้า.
ผู้เขียนได้เขียนขึ้นหลังสงความสิ้นสุดแล้วแต่ทำให้ทราบว่าการเข้าร่วมสงครามเพื่อปกป้องอธิปไตยของโลกไทยได้กระทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ แม้ทหารไทยเราจะไม่มีโอกาสได้แสดงความกล้าหาญและความสามารถได้อย่างมากมายเหมือนดังในปัจจุบันนี้ เนื่องจากสงครามได้ยุติลงโดยรวดเร็วเกินกว่าที่จะคาดคิด แต่ทำให้ผลสะท้อนที่มีประโยชน์คือ ได้รับความเสมอภาคทางสนธิสัญญากับนานาประเทศ และการยกย่องประเทศไทยเราเสมอด้วยชาตมหาอำนาจต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาได้แบ่งออกเป็น ๗ ภาค ด้วยกัน ได้แก่ ภาคที่ ๑ มูลเหตุแห่งสงคราโลกครั้งที่ ๑ สาเหตุที่ไทยประกาศสงครากับฝ่ายมหาอำนาจและร่วมรบ ภาคที่ ๒ การจัดตั้งกองทหารอาสาที่จะไปราชการสงคราม ภาคที่ ระยการเดินทางของกองทหารอาสา ภาคที่ ๔ การพักและฝึกหัดเพิ่มเติมในฝรั่งเศส ภาคที่ ๕ การเดินทางเข้าสู่ยุทธบริเวณของทหารไทย ภาคที่ ๖ การร่วมฉลองชัยชนะของกองทัพไทย และภาคที่ ๗ การเดิทางกลับพระนครของกองทหารไทย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาและเพิ่มเติมศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า (ระยะที่ ๒) พร้อมด้วยนายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี (โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์) ร้อยเอก บุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นางสาวพยุง วงษ์น้อย รักษาการณ์ นักโบราณคดีเชี่ยวชาญกองโบราณคดี นายจักริน อุตตะมะ ผู้อำนวยการกลุ่มมัณฑนศิลป์ สำนักสถาปัตยกรรมและคณะกรรมการ ซึ่งได้ดำเนินการงานส่วนโครงสร้างอาคาร ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการ และงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
พระเหวัชระ
วัสดุ สำริด
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 18
พบที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส
....................................................................................
พระเหวัชระองค์นี้เป็นพระเหวัชระ 2 กร (มือ) อยู่ในอิริยาบทประทับยืน มี 4 พระบาท (เท้า) พระหัตถ์ (มือ) ขวาถือกระดิ่ง พระหัตถ์ (มือ) ซ้ายถือวัชระ (สายฟ้า) พระเศียร (ศีรษะ) ทรงกิรีฏมกุฎ พระศอคล้องอักษมาลา หรือลูกประคำ และทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) สั้นเหนือพระชานุ (เข่า) ลักษณะคล้ายเทวรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร
คำว่า “เหวัชระ” (Hevajra) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง เทพผู้พิทักษ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ยิดัม” เป็นเทพที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในพุทธศาสนา นิกายมหายาน สกุลวัชรยาน เชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นมาจากพระธยานิพุทธอักโษภยะ มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา มีอำนาจในการปราบภูตผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ ปรากฏความเชื่อและการนับถือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 สมัยราชวงศ์ปาละ
ในคัมภีร์เหวัชระตันตระ (Hevajra Tantra) ระบุถึงลักษณะทางประติมานวิทยาของพระเหวัชระว่า มีพระวรกายสีน้ำเงิน มี 8 พระเศียร แต่ละพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 16 พระกร โดยพระกรทั้ง 16 พระกรถือถ้วยกะโหลก ซึ่งถ้วยกะโหลกด้านขวาบรรจุสัตว์โลก ส่วนถ้วยกะโหลกด้านซ้ายบรรจุเทพเจ้าแห่งแผ่นดิน ซึ่งถ้วยกะโหลกทั้ง 16 ใบ เป็นสัญลักษณ์ของความว่างเปล่าทั้ง 16 หรือศูนยตา มีพระบาท 4 พระบาท และพระเหวัชระมักแสดงออกในท่ายับยุม หรือยับยัม (กอดรัด) พร้อมศักติเสมอ
ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบมีลักษณะเฉพาะ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกปาละธร (Kapaladhara) ถือถ้วยกะโหลก และรูปแบบศาสตราธร (Shastradhara) ถืออาวุธ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบที่พบมักมีพระกรตั้งแต่ 2, 4, 6, และ 16 พระกร และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่นิยมอีก เช่น เหวัชระมณฑล ที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์เหวัชระตันตระระบุว่า พระเหวัชระมี 8 พระเศียร ทุกพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 4 พระบาท 16 พระกร ยืนเหยียบอยู่บนมารทั้ง 4 องค์ มีนางโยคินีล้อมรอบมณฑลเป็นบริวารทั้ง 8 ตน นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย และรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล
ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบในประเทศอินเดียมีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศเนปาล และประเทศทิเบต โดยส่วนมากที่พบมักเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นเป็นรูปแบบกปาละธร คือ มี 8 พระเศียร 16 พระกร 4 พระบาท อยู่ในท่ากอดรัดกับศักติ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไป
ในประเทศไทยประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมลอยตัวทำจากสำริดฝีมือช่างขอม และฝีมือช่างท้องถิ่น แต่ก็มีพบเป็นพระพิมพ์แสดงภาพเหวัชระมณฑล และแม่พิมพ์สำริดด้วย ส่วนในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระเพียงองค์เดียวที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะเป็นงานฝีมือช่างท้องถิ่น และมีลักษณะของศิลปะขอมสมัยเมืองพระนครอยู่ด้วย ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และการที่ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะขอมยังแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-19 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เรียบเรียง/ กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
อ้างอิง :
1. กรมศิลปากร. เทวสตรี: คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2558.
2. ชัญธิกา มนาปี. “การศึกษารูปแบบประติมากรรมเหวัชระที่ปรากฏในศิลปะเขมร.” ดำรงวิชาการ 15, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 67 - 87.
3. ชัยวุฒิ พิยะกูล. “พระพุทธศาสนาบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 205-236. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562.
4. ธีรนาฎ มีนุ่น. “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 103-130. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562.
5. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543.
6. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2523.
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ประเทศไทย: หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2557.
8. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.
9. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2539.
10. องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
อ้างอิงรูปภาพ:
เหวัชระ
ที่มา : tumblr.com/magictransistor. Hevajra and Consort. Ngor Monastery, Tibet. 1843. . Accesed April 28, 2020. Available from https://magictransistor.tumblr.com/.../hevajra-and...
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2394-2411) ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 และยังทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมทั้งหมด 13 ประเทศ ผลของการ ทำสนธิสัญญาดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพไปสู่เศรษฐกิจการตลาด โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือตอนล่าง แต่ในภาคอีสานเศรษฐกิจยังเป็นแบบเดิม เพราะการคมนาคมระหว่างภาคอีสานกับภาคกลางไม่สะดวกอย่างยิ่ง ทั้งเสียเวลามาก เช่น เดินทางด้วยเกวียนจากกรุงเทพฯ มาถึงโคราชถึง 27 วัน และจากโคราชถึงเมืองอุบลราชธานีใช้เวลา 12-22 วัน นอกจากนี้ยังมีอันตรายจากไข้ป่า ดังจะเห็นได้จากตอนสร้างทางรถไฟสายนี้มีวิศวกรฝรั่ง 36 คน และกรรมกรจีน 414 คน ตายจากไข้ป่า หลังจากสร้างทางรถไฟสายอีสาน เศรษฐกิจ สังคมอีสานเปลี่ยนไปอย่างมาก ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกของรัฐบาลไทย ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเห็นประโยชน์อันเกิดจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้ สรุปได้ 2 ประการ คือ 1. เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งผู้คนและสินค้า 2. เพื่อประโยชน์ในการปกครองและรักษาพระราชอาณาเขต (ขณะฝรั่งเศสได้ยึดครองเขมร, เวียดนาม แล้วก็พุ่งมาที่ลาวจนไทยต้องเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2431 และเริ่มเข้าสู่ดินแดนลาวส่วนที่เหลือ) ในที่สุดทางการก็ตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายอีสาน วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. 2431) มีการลงพระนามและลงนามระหว่างพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยกับพลโท เซอร์แอนดรู คลาก ชาวอังกฤษ และคณะตัวแทนผู้รับจ้างสำรวจความเหมาะสมในการสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะต้องสำรวจและประมาณราคาให้เสร็จภายใน 48 เดือน ผู้รับจ้างต้องประมาณราคาสร้างทางรถไฟทั้งขนาดความกว้างของรางรถไฟ 1 เมตร 1.435 เมตร และ 60 เซนติเมตร โดยไทยจะจ่ายค่าจ้างสำรวจ ไมล์ละไม่เกิน 100 ปอนด์ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้มีการประกาศขายหุ้นลงทุนสร้างทางรถไฟแก่มหาชน 16,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท เป็นเงิน 2 แสนชั่ง หรือ 16 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนมาสมทบกับเงินทุนที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติกันไว้แล้วส่วนหนึ่ง วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2434 มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ปรากฏว่ามีผู้ยื่นประมูล 2 ราย รายแรก นายเล็นซ์ (Lenz) ตัวแทนของบริษัทเยอรมันซึ่งมีธนาคารเยอรมัน 3 ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา 11,976,925.50 บาท รายที่ 2 นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ มีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา 9,956,164 บาท รายที่ 2 ชนะการประมูลเพราะเสนอราคาต่ำกว่ารายแรกมากกว่า 2 ล้าน ได้มีการทำสัญญากับตัวแทนของรัฐบาลไทยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2434 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. 2435) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพิธี ณ ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมตรงท้ายวัดเทพศิรินทราวาส เพื่อทรงขุดดินเป็นพระฤกษ์ ทรงตักดินเทลงในเกวียนพอสมควร แล้วโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ไสเกวียนเดินไปตามทาง ถึงที่ต้นทางที่จะทำทางรถไฟแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเทดินลงถมที่นั้นแล้ว คนงานทั้งหลายได้ลงมือขุดดินตามทางที่กระทรวงโยธาธิการได้ปักกรุยไว้ แต่ปรากฏว่าหลังจากก่อสร้างไปได้ไม่นาน บริษัทอังกฤษผู้รับสัมปทานไม่สามารถสร้างทางรถไฟได้เสร็จตามสัญญา กรมรถไฟหลวงจึงเลิกจ้างแล้วดำเนินการก่อสร้างเองจนเปิดใช้การได้ช่วงแรกกรุงเทพฯ-อยุธยา (71 กิโลเมตร) ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. 2440) ต่อจากนั้นก็มีการสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี สระบุรี เข้าสู่ดงพญาเย็น ปรากฏว่าคนงานและวิศวกรตายเป็นจำนวนมาก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การสร้างทางรถไฟดังกล่าวซึ่งกำหนดไว้ 5 ปี แต่กว่าจะเสร็จถึงเป้าหมาย ใช้เวลาถึง 9 ปีเต็ม รวมระยะทาง 265 กิโลเมตร ใช้เงินก่อสร้าง 17,585,000 บาท (เฉลี่ยกิโลเมตรละ 66,360 บาท) สูงกว่าที่บริษัทอังกฤษประมูลไว้ 7.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 76.5 เงินที่ใช้ก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวถือว่าเป็นเงินจำนวนมากในยุคนั้น เพราะงบประมาณรายรับของรัฐบาลใน พ.ศ. 2435 มีเพียง 15,378,114 บาท และในปีที่ทางรถไฟสร้างถึงนครราชสีมา พ.ศ. 2443 รัฐบาลไทยมีรายได้ทุกประเภทรวม 35,611,306 บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดรถไฟที่นครราชสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443 อนึ่งความกว้างของรางรถไฟที่ใช้ในภาคอีสานและภาคอื่นๆ ใช้ขนาดมาตรฐานที่ดีที่สุดของโลกขณะนั้น คือ 1.435 เมตร ยกเว้นสายใต้ใช้ขนาด 1 เมตร เพราะถูกแรงบีบจากอังกฤษจึงต้องใช้เท่ากับของอังกฤษในมลายู ส่วนทางรถไฟจากนครราชสีมาไปยังอุบลราชธานีและหนองคายได้หยุดการก่อสร้างไป 20 ปีเศษ เนื่องจากรัฐบาลได้ใช้งบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างรถไฟสายเหนือและสายใต้ไปจนสิ้นรัชกาลที่ 5 (ทางรถไฟสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 932 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างก่อสร้าง 690 กิโลเมตร) การก่อสร้างเส้นทางมาเริ่มอีกครั้งปลายรัชกาลที่ 6 ต่อเนื่องมาจนถึง ต้นรัชกาลที่ 9 จึงเสร็จสมบูรณ์ที่สถานีหนองคาย กินเวลาถึง 65 ปี สำหรับการเปิดใช้บริการเดินรถไฟในภาคอีสาน----------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี----------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง 1. สุวิทย์ ธีรศาศวัต. “ทางรถไฟสายอีสานในสมัยรัชกาลที่ 5-7, ศิลปวัฒนธรรม มีนาคม 2550 เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์เมื่อ 12 มีนาคม 2562 WWW.Silpa-mag.com 2. ภาพถ่ายส่วนบุคคลพระธรรมไตรโลกาจารย์ (2) ภ หจช. อบ สบ 8.2/19
เล่าถึงขั้นตอนต่างในการประกอบเรือ ว่าใช้เทคนิคหรือวิธีการอย่างไร จึงสามารถประกอบมาเป็นเรือทั้งลำอย่างสมบูรณ์ได้ โดยสิ่งที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบบนชิ้นส่วนไม้เรือ
เรือลำนี้ใช้เทคนิคการต่อเรือโดยการขึ้นโครงเปลือกเรือก่อน (Shell-base Construction) แล้วจึงค่อยๆเสริมความแข็งแรงของตัวเรือด้วยกงเรือ
ไม้กระดานแต่ละแผ่นนั้นจะถูกร้อยติดกัน โดยการเจาะรูส่วนข้างของแผ่นไม้กระดานเป็นระยะๆ แล้วร้อยติดกันด้วยเชือก ต่อมาจึงใช้ลิ่มไม้ สอดระหว่างปมเชือก (สันนิษฐานว่าเพื่อขัดปมให้เชือกแน่นหนาขึ้น)
เมื่อได้โครงสร้างเปลือกเรือทั้งหมด แล้วจึงเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างทั้งหมดด้วยกงเรือ ซึ่งเปรียบเสมือนซี่โครงเรือ ที่คอยยึดชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน โดยกงเรือนั้นจะถูกร้อยในแนวขนานติดกับเปลือกเรือแต่ละแผ่น โดยเปลือกเรือส่วนที่ใช้ร้อยเชือก จะถูกสลักเป็นลักษณะสันนูนขึ้นมา แล้วเจาะรูทะลุสันสำหรับใช้รัดเชือก
เท่านี้ก็จะได้โครงสร้างหลักๆของตัวเรือ เรียบร้อย สำหรับอายุของตัวเรือนั้น เราเลือกส่งตัวอย่างชิ้นส่วนลิ่มไม้ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการ AMS (Accelerator Mass Spectrometry) ที่ห้องปฏิบัติการ Direct Ams ได้ค่าอายุ 85-229 calCe หรือพุทธศตวรรษที่ 7-8 หรือประมาณ 1,800 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นเรือแบบผูกที่เก่าแก่ลำหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต เปิดการแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พระไวยแตกทัพ ณ โรงละครแห่งชาติ เป็นวันแรก มีผู้ให้ความสนใจเข้าชมเป็นจำนวนมาก พร้อมให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กำหนดจัดการแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวย แตกทัพ จำนวน ๔ รอบ ได้แก่ วันเสาร์ที่ ๒๗ และวันอาทิตย์ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ วันเสาร์ที่ ๑๑ และวันอาทิตย์ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับ การแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐ และ ๑๐๐ บาท เปิดจำหน่ายบัตรที่ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th ทั้งนี้ การแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด โดยสำนักการสังคีตได้ออกแนวทางปฏิบัติของผู้เข้าชมการแสดง กำหนดให้มีผู้เข้าชมไม่เกินร้อยละ ๕๐ เว้นระยะห่างของเก้าอี้ในการนั่งชม มีระบบคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ชมต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา และห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้าในโรงละครแห่งชาติ เพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) นอกจากนี้ ในวันเสาร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้ กำหนดจัดรายการศิลปากรคอนเสิร์ต ชุด “มนต์เสียงสำเนียงเพลงลูกทุ่ง” โดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร บรรเลงและขับร้องเพลง อาทิ ไอ้หนุ่มผมยาว, ปูไข่ไก่หลง, ยอยศพระลอ, แคนลำโขง, คาถามหานิยม, งิ้วต่อง ต้อนอ้อนผู้บ่าว, กุหลาบเวียงพิงค์ ขับร้องโดยศิลปินกรมศิลปากร ดวงดาว เถาว์หิรัญ, สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์, มานิต ธุวะเศรษฐกุล, ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้, อิสรพงศ์ ดอกยอ, ถิรวัฒน์ ศรีสุรางค์, โฉมวิลัย ยูฮันเงาะ และธนิษฐา นิลบุตร อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช ผู้สนใจสามารถจองบัตรชมการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ ได้ ๒ ช่องทาง คือ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑ (วันและเวลาราชการ)
ชื่อเรื่อง เทศนาเสือป่าผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468. ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3144 ม113ทสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2457ลักษณะวัสดุ 29 หน้าหัวเรื่อง เสือป่า ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมคำเทศนาซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงแก่บรรดาเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ ระหว่างวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2457 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2458 ที่ทรงมุ่งจะให้คณะเสือป่าเห็นถึงความจำเป็นของคนไทยในการนับถือศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาประจำชาติ ควรช่วยกันทะนุบำรุงและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ดังนั้น ภาษาและสำนวนโวหารจึงเสมือนเป็นภาษาพูด เมื่อได้อ่านจะรู้สึกคล้ายกับได้ยินคำเทศนาจากพระโอษฐ์ของพระองค์จริงๆ กอปรกับพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์ และเนื้อหาที่ให้ความรู้ ข้อคิด และคติเตือนใจ ทำให้เรื่องนี้ดูมีชีวิตชีวาอ่านได้สนุกสนาน และยังสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามได้เป็นอย่างดี
เลขทะเบียน : นพ.บ.176/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 99 (67-73) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(พระอภิธรรมสังคิณี - พระปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-5ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)