ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,453 รายการ

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ทองเหลือง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส          พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียง ประดับลวดลายรูปสัตว์ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย มีลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเปิดและมองตรง เส้นขอบเปลือกพระเนตรและพระขนงป้ายเป็นแผ่น พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กบาง พระรัศมีเหนืออุษณีษะเป็นรูปเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกายมีลักษณะอวบอ้วน พระอังสาค่อนข้างใหญ่ ทรงจีวรห่มเฉียง บริเวณพระอังสาซ้ายสังฆาฏิแตกออกเป็นริ้ว และมีสังฆาฏิพาดเฉียงจากพระอังสาซ้ายผ่านกลางพระอุระลงมาจรดพระนาภี ชายสังฆาฏิเป็นแบบปลายตัด          ฐานพระพุทธรูปเป็นฐานทรงสูงประดับลวดลายรูปสัตว์ 12 ตัว โดยเริ่มจากรูปหนู วัว เสือ กระต่าย งูใหญ่ งูเล็ก ม้า แพะ ลิง ไก่ สุนัข และหมูตามลำดับ ซึ่งการเรียงสัตว์ในลักษณะเช่นนี้เป็นไปตามปีนักษัตร โดยเริ่มต้นจากปีชวดไปจนถึงปีกุน ซึ่งความสำคัญของปีนักษัตรนั้น พบว่าในประวัติศาสตร์ไทยปรากฏการใช้ปีนักษัตรมาเป็นเวลานาน แต่ในทางศิลปกรรมไม่ปรากฏมากนัก อีกทั้งการสะท้อนความหมายก็ไม่สามารถสืบความได้อย่างชัดเจนนัก นอกเหนือไปจากความเชื่อในเรื่องของโหราศาสตร์ก็อาจจัดเข้ากับการเป็นลวดลายประดับเพียงเท่านั้น           อย่างไรก็ตามในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบว่ามีเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องปีนักษัตรคือ จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชมีเมืองภายใต้การปกครอง 12 เมือง เรียกว่าเมือง 12 นักษัตร ประกอบไปด้วยเมืองสายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สะอุเลา ตะกั่วป่า และกระบุรี โดยแต่ละเมืองใช้ตราสัญลักษณ์รูปสัตว์ใน 12 นักษัตรเป็นตราประจำเมือง คือ เมืองสายบุรีใช้ตราหนู (ชวด) เมืองปัตตานีใช้ตราวัว (ฉลู) เมืองกลันตันใช้ตราเสือ (ขาล) เมืองปาหังใช้ตรากระต่าย (เถาะ) เมืองไทรบุรีใช้ตรางูใหญ่ (มะโรง) เมืองพัทลุงใช้ตรางูเล็ก (มะเส็ง) เมืองตรังใช้ตราม้า (มะเมีย) เมืองชุมพรใช้ตราแพะ (มะแม) เมืองบันทายสมอใช้ตราลิง (วอก) เมืองสะอุเลาใช้ตราไก่ (ระกา) เมืองตะกั่วป่าใช้ตราสุนัข (จอ) และเมืองกระบุรีใช้ตราหมู (กุน)           ทั้งนี้ ความเชื่อเรื่องเมือง 12 นักษัตรอาจจะส่งผลต่องานประดับตกแต่งงานศิลปกรรมในสมัยต่อมาก็เป็นได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของเมืองทั้ง 12 เมืองนักษัตรในอดีตก็ใช้ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเป็นรูปสัตว์ทั้ง 12 นักษัตร และยังพบว่ามีการนำเอารูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาใช้ในการประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่พบในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอีกด้วย เช่น ขันน้ำลาย 12 นักษัตรทั้งแบบที่ทำจากสำริดและทำเป็นแบบเครื่องถมแบบนครศรีธรรมราช เข็มขัดเงินสลักดุนเป็นลาย 12 นักษัตรที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้มีฐานะดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น           นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ความนิยมในการประดับลวดลายด้วยสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีนได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ โดยนิยมทำลวดลายประดับเป็นรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรในงานศิลปกรรม ทั้งใช้ในการประดับตกแต่งฐานโบราณสถาน อาคารต่าง ๆ หรือฐานพระพุทธรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาทำตราประทับบ้าง ทำเป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงบ้าง เมืองต่าง ๆ บ้าง ซึ่งได้รับความนิยมมาก่อนแล้วในจีน อีกทั้งในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย รวมทั้งในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีชาวจีนเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ทำให้พบรูปแบบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นจำนวนมาก และอาจรวมถึงการนำรูปสัตว์ใน 12 นักษัตรมาใช้ในการประดับตกแต่งในงานศิลปกรรมด้วย           อย่างไรก็ตามในเรื่องที่มาและแรงบันดาลในการสร้างลวดลายประดับฐานพระพุทธรูป มีความเป็นไปได้ ว่าอาจจะเป็นเรื่องของความเชื่อในเรื่องของเมือง 12 นักษัตรที่สืบต่อกันมา หรืออาจจะเป็นคติที่มีมาก่อนแล้วในกลุ่มชาวจีนที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในงานศิลปวัฒนธรรมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับอายุสมัยในการสร้างพระพุทธรูป คือสมัยรัตนโกสินทร์ก็เป็นได้ เรียบเรียง : นางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม /ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฎิบัติการ/ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส. ม.ป.ท., 2525. 2. จินดา จันเส้ง. “ตราประจำจังหวัดในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 5 (2542): 2501-2505. 3. นฤมล สารากรบริรักษ์. "ฐานพระพุทธรูปกับงานประดับที่มีความหมายในศิลปะรัตนโกสินทร์จากพิพิธภัณฑ์ของวัดโชติทายการาม จังหวัดราชบุรี." สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549. 4. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2544. 5. สมพร อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2549. 6. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. 7. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. “เมืองสิบสองนักษัตร.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 13 (2542): 6155-6159. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3092279494169298



 ชื่อผู้แต่ง                  พญาลิไทยชื่อเรื่อง                   ไตรภูมิมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่ครั้งที่พิมพ์                -สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯสำนักพิมพ์               โรงพิมพ์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๕จำนวนหน้า              ๑๕๗    หน้าหมายเหตุ                สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานทอดกฐิน ณ วัดทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๒๓  ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๒๕                          ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วงนี้ เป็นวรรคดีทางพุทธศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่งของไทย แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถ และอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในการนิพนธ์วรรณคดีที่แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักในพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้


ว่าด้วยตำรายา ได้แก่ ยาแก้ไข้, ยาแก้สันนิบาต, ยาแก้อนมิหลับ, ยาแก้เสลด แก้สอึก เป็นต้น


ผู้แต่ง : พระราชวิสุทธิโสภณ ปีที่พิมพ์ : 2531 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ




กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ ๒ (แก้ไขเพิ่มเติม)


ออกสำรวจทำผังเก็บรายละเอียดสภาพปัจจุบันปราสาทหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน - ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗(อยู่ระหว่างดำเนินการเขียนแบบ)นายนุกูล ดงสันเทียะ นายช่างโยธาปฏิบัติงานและคณะ




           พระนครศรีอยุธยา หรือกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา เป็นที่ทราบกันดีว่าตำแหน่งและผังเมืองของอดีตเมืองหลวงแห่งนี้แสดงให้เห็นภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างทรงประสิทธิภาพ แม้ว่าที่ตั้งจะเป็นจุดศูนย์รวมแม่น้ำสายสำคัญถึงสามสายแต่ชาวกรุงศรีอยุธยาก็สามารถปรับตัวและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับรัฐในระดับสากล ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ การเกษตรและการค้าขายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาอยุธยาขึ้นสู่จุดสูงสุด แต่ทั้งนี้เบื้องหลังความเจริญดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากการควบคุมทรัพยากรน้ำโดยใช้ระบบคูคลองภายในเกาะเมืองอยุธยาเป็นหัวใจหลักอันหนึ่ง โดยสัณฐานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบสามสาย ชาวอยุธยาเรียกแม่น้ำทั้งสามสายนี้รวมกันว่า “คลองคูเมือง” หรือ “คูเมือง”            คูเมืองทิศเหนือรับน้ำจากแม่น้ำลพบุรีและเจ้าพระยา คูเมืองทิศตะวันออกรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก คูเมืองทิศใต้เป็นจุดรวมแม่น้ำทุกสายไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางกระจะหรือบ้านน้ำวน ภายใน เกาะเมืองมีคลองหลักที่ผันน้ำจากคูเมืองทิศเหนือผ่านเกาะเมืองลงมายังคูเมืองทิศใต้ถึงสามสาย เรียงจาก ทิศตะวันตกไปตะวันออก ได้แก่ คลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) คลองประตูข้าวเปลือกหรือคลองประตูจีน และคลองนายก่าย (ภายหลังเรียก “คลองมะขามเรียง”) คลองทั้งสามนอกจากจะเป็นทางที่ตัดตรงจาก ทิศเหนือ–ใต้ ในมิติของการคมนาคม ยังเป็นคลองที่ใช้ระบายน้ำจากแม่น้ำลพบุรีลงมาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ในฤดูที่น้ำเหนือไหลหลาก จากการที่เป็นเส้นทางคมนาคมหลักนี้เองจึงเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางด้านการเมือง การค้า และศาสนา            สถานที่สำคัญทั้งที่เป็นศูนย์กลางทางอำนาจ การเมือง ศาสนา และเศรษฐกิจ ของอยุธยา ตั้งอยู่ตลอดคลองทั้งสาม อันสมควรยกเป็นตัวอย่าง ทางด้านการปกครอง คือ พระราชวังหลวงของอยุธยา มีขอบเขตด้านทิศตะวันตกติดกับคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) ยังปรากฏหลักฐานการผันน้ำจากคลองฉะไกรใหญ่เข้าสู่บ่อเก็บน้ำต่างๆ ในพระราชวัง ไม่ว่าจะเป็น สระแก้ว สระระฆัง โดยเฉพาะพระที่นั่ง บรรยงค์รัตนาสน์ หรือพระที่นั่งท้ายสระ ซึ่งมีคูน้ำล้อมรอบด้วยการผันน้ำจากคลองฉะไกรใหญ่ผ่านประตูน้ำชื่อ “อุดมคงคา” และออกทางประตูน้ำ “ชลชาติทวารสาคร” แสดงให้เห็นการจงใจเลือกตำแหน่งของพระราชวังหลวงให้สามารถใช้ประโยชน์ด้านอุปโภคบริโภคจากคลองฉะไกรใหญ่ได้สะดวก ทางทิศตะวันออกของ คลองฉะไกรใหญ่ยังมีคลองประตูข้าวเปลือกเป็นทางน้ำขนาดใหญ่ขุดผ่านกลางเกาะเมือง ปากคลองทิศเหนือเป็นที่ตั้งของป้อมประตูข้าวเปลือก ไหลลงทางใต้ผ่านวัดคู่บ้านคู่เมืองพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ซึ่งล้วนเป็นจุดศูนย์กลางทางศาสนา ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือวัดมหาธาตุซึ่งพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีของอยุธยาจำพรรษาอยู่ ความสำคัญของวัดมหาธาตุปรากฏดังเหตุการณ์ตอนหนึ่งในจดหมายเหตุราชทูตลังกาเดินทางมาสืบศาสนาในอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๒๙๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กล่าวถึงเหตุการณ์เข้าพบพระสังฆราชของอยุธยา และบรรยายสภาพบริเวณสังฆาวาสของวัดมหาธาตุไว้ว่า “...ในบริเวณรอบตำหนักพระสังฆราช มีกุฎีภิกษุสามเณรต่อไปเป็นอันมาก มีทั้งที่พักอุบาสก อุบาสิกา และที่พักของพวกข้าพระโยมสงฆ์ ซึ่งมากระทำการอุปัฏฐากทุกๆ วัน...” แสดงให้เห็นว่าคลองประตูข้าวเปลือกเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่นำมาสู่ศูนย์กลางทางศาสนาของอยุธยา           ปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของอยุธยาเป็นเรื่องของการพานิชย์ปรากฏศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ปลายคลองนายก่ายทางทิศใต้ คือ ย่านนายก่าย ย่านสามม้า ต่อเนื่องถึงตลาดนานาชาติบริเวณ ป้อมเพชร พื้นที่ซึ่งชาวจีนตั้งย่านตลาดค้าขาย สินค้าทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศและผลิตโดยช่างชาวจีน บรรดาสินค้าจากต่างถิ่นซึ่งมีขายอยู่ในย่านนายก่าย ได้แก่ เครื่องกระเบื้อง ภาชนะโลหะต่างๆ ผ้าไหมและ ผ้าแพร เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ผลิตโดยช่างชาวจีน ได้แก่ ขนมแห้ง(จันอับ) รวมถึงขนมนานาชนิด เครื่องเรือนไม้ เครื่องใช้ไม้สอยจากโลหะ เป็นต้น จากตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่กล่าวมาพอจะให้ภาพสังคมของอยุธยาตั้งแต่เรื่องของการปกครอง ความเชื่อ และวิถีชีวิต ล้วนเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงอยู่กับลำน้ำทั้งสามสายนี้เสมือนเป็น ถนนสายหลักของชาวกรุงศรีอยุธยา ---------------------------------ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายศุทธิภพ จันทราภาขจี นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา เอกสารอ้างอิง : ๑. วินัย พงศ์ศรีเพียร. พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์). กรุงเทพ: อุษาคเนย์, ๒๕๕๑ ๒. ศิลปากร, กรม. โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๑. ทวีวัฒน์การพิมพ์: กรุงเทพฯ, ๒๕๕๑



***บรรณานุกรม*** ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ ปีที่ 14(5) ฉบับที่ 623(213) วันที่ 16-31 มกราคม 2533


ชื่อเรื่อง : ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4ชื่อผู้แต่ง : สุรศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยาปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : -จำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4 เล่มนี้เป็นเรื่องราวประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ครั้งที่ท่านได้ตั้งโรงหมอ และโรงพยาบาล สร้างที่ทำการและบ้านเรือน รวมไปถึงการจับปราบปรามผู้ร้าย และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี


          วันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๗.๓๐ น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลและทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๑๒๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมีองคมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมในพิธีดังกล่าว โดยผู้ร่วมในพิธีดังกล่าวได้เยี่ยมชมนิทรรศการ บ้านจำลองและพิพิธภัณฑ์ A “ห้องสร้อยสังวาลย์สวรรค์” และพิพิธภัณฑ์ B “ห้องสร้างสรรค์สว่างไสว” ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ