ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,453 รายการ
ชื่อเรื่อง นิทานท้าวชาลีและนางกัณหา(นิทานท้าวชาลีและนางกัณหา)สพ.บ. 220/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 35 ซ.ม. หัวเรื่อง ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พระแม่ธรณีบีบมวยผม
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)
โลหะผสม
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตามพุทธประวัติตอนมารผจญ พระแม่ธรณีจะปรากฏกายขึ้นแล้วบีบมวยผมหลั่งน้ำให้ท่วมจนกองทัพพญามารพ่ายแพ้ไป ทำให้พระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เลขทะเบียน : นพ.บ.123/21ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.6 x 57.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 21 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
"ข้าว วิถีไทย สายใยวัฒนธรรมแห่งแผ่นดิน" ปฏิทินชาวนา ตอนที่ ๒ เดือนพฤษภาคม
ในช่วงเดือนพฤษภาคมของไทยนั้น จะเป็นช่วงที่ฝนเริ่มตก ชาวนาไทยจะเตรียมดินด้วยการไถดะ เพื่อพลิกหน้าดิน แล้วไถแปรเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วจึงเริ่มเพาะต้นกล้า ในเดือนนี้มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนา มีหลายพิธี เช่น พิธีขอฝนในภาคต่าง ๆ พระราชพิธีพืชมงคล (เป็นพิธีพุทธ มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔) และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (เป็นพิธีพราหมณ์)
เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า
"บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว"
วันพืชมงคลหรือวันแรกนาขวัญนั้น ยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงคุณค่าและความสำคัญของเกษตรกรและการเกษตรซึ่งเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติไทยด้วย
นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เผยแพร่
อานิสงส์ ทาน ศีล ชบ.ส. ๓๗
เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.22/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ประยุทธ สิทธิพันธ์. นางงามจักรวาลอาภัสรา หงสกุล. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : พิบูลการพิมพ์.
๒๕๐๘. ๒๗๖ หน้า.
ผู้เขียนตั้งใจยกย่องให้เกียรติในฐานะที่นำชื่อเสียงมาให้ชาติบ้านเมืองแก่อาภัสรา หงสกุล นางสาวจักรวาลคนที่ ๑๔ และนางสาวไทยคนที่ ๑๔ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ ส่งเข้าประกวดโดยดุสิตจิตรลดาพญาไทย อาภัสรา หงสกุล เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๙๐ มีชื่อเล่นว่าปุ๊ก เป็นบุตรคนที่สองของนาวาเอกเพิ่ม หงสกุล เรียนระดับอนุบาลกระทั่งสำเร็จชั้นมัธยมที่โรงเรียนศึกษาวิทยา และไปต่อที่ปีนังโรงเรียนคอนแวนต์ และในปี ๒๕๐๘ ได้เข้าประกวดนางสาวจักรวาลในนามของประเทศไทยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธส่งเข้าประกวดซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ซึ่งกรรมการส่งมาบริการเอาใจใส่ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๐๘ เป็นต้น และเริ่มประกวดในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๖ พร้อมด้วยนางงาม ๕๖ ประเทศ ณ หาดไมอามี่ สหรัฐอเมริกา โดยมีแจ็คลิงค์เล็ตเตอร์เป็นพิธีกร เข้ารอบ ๑๕ คน ๗ คน และและตัดสินในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๘ ในวันนั้นจะมีคะแนนโหวตให้ประธานาธิบดีจอห์นสันเป็นบุรุษหมายเลข ๑ ด้วย และเช้าวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๘ อาภสรา หงสกุล ก็ได้คว้ามงกุฎนางสาวจักรวาลมาครอง ซึ่งมีเงินสดเป็นรางวัล ๑๐,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์ ซึ่งมีเสื้อขนมิงค์ราคา ๔,๕๐๐ ดอลล่าร์ พร้อมเครื่องประดับและเครื่องเสริมสวยนานาชนิด รวมอยู่ด้วยและมีสัญญาปรากฏตัวรอบโลกตามที่ตกลง ๑ ปี การเดินทางกลับประเทศไทยถูกจัดขึ้นอย่างสมเกียรติโดจัดรถบุบผชาติรับจากท่าอากาศยานดอนเมือง
แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้
ประวัติศาสตร์แห่งการแรกนาขวัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนา ไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนตอนพระราชพิธีเดือนหก ความตอนหนึ่งว่า
"...การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่นในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทําเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทํานา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือน้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกําลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด..."
แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้
นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีหัวเมืองซึ่งประกอบพิธีแรกนาด้วยเช่นกัน เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองเก่าแก่ และมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนาในหัวเมืองไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน(พระราชพิธีเดือนหก)ตอนหนึ่งว่า
“...หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทานเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑ เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งเขาทําแรกนามาแต่เดิม ไม่มีของหลวงพระราชทาน คือเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา ๒ เมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ๆ เป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองไม่ได้ลงแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนาเป็นผู้แรกนาแทนตัว เมืองสุพรรณบุรีอีกเมืองหนึ่งก็ว่ามีแรกนา ไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน แต่ในปีนี้ได้จัดให้มีการแรกนาขึ้นเป็นการหลวงอีกเมืองหนึ่ง...”
แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนัง
สำหรับงานจิตรกรรมฝาผนัง ภาพของพิธีแรกนาขวัญจะปรากฏอยู่ในส่วนของภาพพุทธประวัติ ตอน “วัปปมงคล” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ประกอบพิธีแรกนาขวัญ ส่วนเจ้าชาย สิทธัตถะราชกุมารนั้นโปรดให้ลาดพระแท่นบรรทมที่ใต้ต้นหว้าใหญ่ แต่พระราชกุมารกลับนั่งทำสมาธิจนได้ ปฐมฌาน และเกิดเหตุมหัศจรรย์เงาต้นหว้าซึ่งพระราชกุมารประทับอยู่นั้นไม่เคลื่อนที่แม้เวลาจะล่วงเลยไป เพียงใดก็ตาม จนเป็นเหตุให้พระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) พระราชกุมาร เป็นครั้งที่ ๒ ดังปรากฏความในพรปฐมสมโพธิกถา กปิลวัตถุคมนปริวัตต์ ปริเฉทที่ ๑๗ ความว่า
“...ในสมัยนั้นสมเด็จกรุงสุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดา ได้ทรงทัศนาพระปาฏิหารเปนมหัศจรรย์ จึงถวายอภิวันทนาการแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาค กาลในวันพระองค์ประสูติ์นั้นนำพระองค์มา เพื่อจะให้วันทนาพระกาลเทวิลดาบส ก็กระทำพระปาฏิหารขึ้นยืนเหยียบพระบาทอยู่ณเบื้องบนชฎาแห่ง พระมหาชฎิล ครั้งนั้นข้าพระองค์ก็ถวายอภิวันทนา พระบาทยุคลเปนปฐมวันทนา แลกาลเมื่อวันกระทำวัปปมงคลแรกนาขวัญก็นำพระองค์ไปบันทมในร่มไม้หว้า ได้ทัศนาฉายาไม้นั้นมิได้ชายไปตามตวัน ข้าพระองค์ก็ถวายบังคมเปนทุติยวันทนาวารคำรบ ๒ แลกาลบัดนี้ได้เห็นประปาฏิหารอันมิได้เคยทัศนากาลมาแต่ก่อน ข้าพระองค์ก็ถวายอัญชลีกรพระบวรบาทเปนตติยวันทนาวารคำรบ ๓ ในครั้งนี้...”
แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนังภาคใต้
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติตอนวัปปมงคล ในพื้นที่ภาคใต้พบไม่มากนัก โดยวัดที่พบการเขียนภาพจิตรกรรมตอนนี้ได้แก่ วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขียนภาพโดยหลวงเทพบัณฑิต(สุ่น) กรมการเมืองพัทลุง โดยเขียนภาพขึ้นราวปลายรัชกาลที่ ๓ – ต้นรัชกาลที่ ๔ วัดท้าวโคตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพัฒนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๔-๕
แรกนาขวัญในผ้าพระบฏในภาคใต้
ผ้าพระบฏ พบที่วัดหัวเตย ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผ้าพระบฏที่เขียนภาพพุทธประวัติ เป็นช่องที่เรียงต่อกันไปนั้น พบว่ามี ๑ ช่อง ซึ่งมีการเขียนภาพเกี่ยวกับพิธีแรกนาขวัญ โดยภาพในช่องดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร กระทำปาฎิหาริย์เสด็จประทับเหนือเศียรอสิตดาบส และครั้งที่ ๒ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารประทับใต้ต้นหว้า ขณะที่พระเจ้าสุทโธทนะประกอบพิธี แรกนาขวัญ ผ้าพระบฏผืนนี้มีข้อความกำกับระบุว่าเขียนขึ้นในพ.ศ.๒๓๔๕ (ช่วงปลายรัชกาลที่ ๑)
คนไถนาวิถีชีวิตท้องถิ่นชาวใต้
นอกจากภาพจิตรกรรมเรื่องแรกนาขวัญอันเนื่องมาจากพุทธประวัติแล้ว ยังภาพกฎภาพ “คนไถนา” ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชิวิตของชาวใต้ ดังเช่นภาพคนไถนาที่เพดานอุโบสถวัดฉัททันต์สนาน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และภาพคนไถนาบนเพดานศาลา ภายในวัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งภาพจิตรกรรมทั้งสองภาพนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราวกลางสมัยรัชกาลที่ ๘ ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ ๙
เลขทะเบียน : กจ.บ.227/1ชื่อเรื่อง : ตำรายาต่างๆข้อมูลและลักษณะ: อักษรไทย ภาษาไทย เส้นจาร ฉบับลานดิบประวัติ: ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1 คัมภีร์ 1 ผูกจำนวนหน้า : 106 หน้า
-คนเรือ-
เรือเดินทะเลลำนึงจะท่องมหาสมุทรได้
ต้องมี คนเรือ เยอะพอสมควรครับ
นึกภาพในหนังเรื่อง
Pirates of the Carribbean ได้เลยครับ
ลูกเรือ ไม่พอ ก็ไปไม่เป็น
กัปตัน ไม่มี ก็ไม่รู้เป้าหมายปลายทาง
เรือบางกะไชย ลำนี้ก็เช่นเดียวกันครับ
เราขุดค้นพบ อะไร ที่พอจะให้เห็นภาพ คนเรือ ได้บ้าง
หลักฐานที่พบมีจำนวนไม่มากครับ เป็นข้าวของเครื่องใช้
ของประเภทนี้คือของถนัดมือ ถนัดใช้มาแต่ไหนแต่ไร
มาดูกันครับ คนเรือบางกะไชย ถนัดใช้ อะไร บ้าง
กระบวยตักน้ำ ทำจากะลามะพร้าว
ทัพพี ทำจากกะลามะพร้าว
หม้อดินเผา
ตะคันดินเผา(ใช้จุดไฟให้แสงสว่าง)
เตาเชิงกรานดินเผา(ใช้จุดไฟทำอาหาร)
กุญแจ+แม่กุญแจ
ตะเกียบ ทำจากไม้
หวี ทำจากกระดองเต่า
ไพ่ ทำจากไม้
ตราชั่งพร้อมกล่องไม้ ที่สลักตัวอักษรจีน
ถ้วยลายคราม ผลิตในประเทศจีน
จะเห็นว่า มีข้าวของที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนเรือ
ที่มาจากในสยามและจีน
ชั่งใจยากเลยครับ
คนเรือ จะเป็นคนสยาม หรือ คนจีน เป็นหลัก
กัปตัน-ต้นหน-กะลาสี-พ่อครัว
และที่แน่ๆ ต้องมีคนใช้ ตะเกียบ เป็น แน่นอน
แต่ก็พอนึกว่าภาพออกว่า เรือบางกะไชยลำนี้
คงขึ้นล่องไปมา ระหว่างจีน-สยาม
ฝ่าคลื่นลมมาหลายฤดูแล้ว
ถึงมีข้าวของเครื่องใช้จากทั้งสองดินแดน
เห็นจนชิน ใช้จนช่ำชอง
วันเสาร์อย่าเหงาอยู่ที่บ้าน...มาเดินเที่ยวชมโบราณสถานปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา...ถ่ายภาพมุมสวย ๆบรรยากาศดี ๆกันจ้า
โดยปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ อย่างเคร่งครัด
-ลงทะเบียน ณ จุดคัดกรอง
-ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
-ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
-สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา
-เจ้าหน้าที่หมั่นเช็ดทำความสะอาดราวจับหรือจุดสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ