ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ
ชื่อผู้แต่ง สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์
ชื่อเรื่อง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ 2517
จำนวนหน้า 56 หน้า
รายละเอียด
ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความรู้เกี่ยวกับตำรายาและวิชาแพทย์แผนโบราณ ได้ชมพุทธประวัติจากภาพเขียน และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัด ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธเทวปฎิมากร พระพุทธโลกนาถ พระนาคปรก พระโปรดปัญจวัคคีย์ และเรื่องราวของเจดีย์หลากหลายชนิดในบริเวณวัด
องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านกับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง ประวัติวันพืชมงคล
วันพืชมงคล หมายถึง วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และสืบต่อมาในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคม ทางสำนักพระราชวังจะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ที่กำหนดวันตามฤกษ์ยามที่เหมาะสมตาม "ปฏิทินหลวง" เพื่อเป็นสิริมงคลแด่พืชพันธุ์ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกร และเพื่อเตือนว่าถึงเวลาเริ่มต้นการเพาะปลูกตามฤดูกาลแล้ว ในปี พ.ศ.2509 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น "วันเกษตรกร" อีกด้วย
บรรณานุกรม
ชื่อนี้มีที่มา เล่ม 4 ชุดวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : เพื่อนเรียน, [2549].
วันพืชมงคล 2565 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุดวันพืชมงคล – เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.pptvhd36.com/news
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.moac.go.th/royal_ploughing-lord
แหล่งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาหัวหมวก ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พบภาพเขียนปรากฏอยู่บนก้อนหินโดดขนาดใหญ่วางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีหินก้อนเล็กรูปทรงสามเหลี่ยมวางอยู่ด้านบนคล้ายกับสวมหมวก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “เขาหัวหมวก” ลักษณะภาพเขียนสีที่พบเขียนด้วยสีแดง กระจายตัวอยู่บนผนังก้อนหินใหญ่ ใช้เทคนิคการลงสีแบบโครงร่างภายนอก (outline) คือ การเขียนโครงร่างภายนอกเป็นเส้นกรอบรูปและปล่อยพื้นที่ภายในว่างหรือตกแต่งภายในด้วยลวดลายประกอบ และแบบการลงสีแบบเงาทึบ (silhouette) คือ การวาดโครงร่างและทาสีทับภายใน จากการสำรวจสามารถแบ่งกลุ่มภาพเขียนสีออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศเหนือ พบภาพเขียนสีแดงกระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมากกว่าด้านอื่น ๆ ภาพที่พบส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิต เช่น เส้นตรง เส้นหยัก (ซิกแซค) เรียงกันในแนวตั้ง สภาพซีดจางและเลือนหายบางส่วน ๒. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศใต้ พบภาพเขียนสีแดงอยู่บริเวณที่มีร่องรอยของหินกะเทาะหลุดร่วง จำนวน ๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๒ ภาพ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลังคล้ายกับ วัวป่า/กระทิง และภาพไม่ทราบรูปแบบที่แน่ชัด ๑ ภาพ ๓. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศตะวันตก พบภาพเขียนสีแดง ๖ ภาพ เป็นภาพสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลัง วัว/กระทิง หันหน้าไปทางทิศเหนือ คล้ายกับภาพที่พบบนผนังทิศใต้ และภาพที่ไม่สามารถระบุได้ แน่ชัด เนื่องจากมีสภาพซีดและเลือนลาง การพบภาพเขียนสีดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบริเวณเขาหัวหมวกน่าจะเป็นพื้นที่สำคัญของกลุ่มคนใน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นจุดสำคัญที่สามารถมองเห็นสภาพภูมิประเทศหรือภูเขาโดยรอบและพื้นที่บริเวณหุบเขาด้านล่างในมุมกว้าง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตหรือความเชื่อ เช่น การล่าสัตว์ สภาพธรรมชาติ จากการศึกษาเปรียบเทียบสันนิษฐานว่าภาพเขียนสีเขาหัวหมวกน่าจะเขียนขึ้นในช่วงสมัยสังคมกสิกรรม หรือเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยภาพที่พบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับภาพเขียนสีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย เช่น ภาพวัวป่า/กระทิง มีการสำรวจพบที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ถ้ำผาฆ้อง ๒ จังหวัดเลย ภูถ้ำมโฬหาร จังหวัดเลย ถ้ำวัว อุทยานแห่งชาติภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เขาวังกุลา จังหวัดกาญจนบุรี ภาพลายเรขาคณิตหรือลายเส้น เช่น เส้นตรง เส้นหยักฟันปลา (ซิกแซก) มีการสำรวจพบที่ถ้ำช้าง เพิงหินร่อง จังหวัดอุดรธานี ถ้ำแต้ม 4 จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำลายมือ ๑ จังหวัดขอนแก่น เขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี-------------------------------------------------------------ผู้จัดทำและเรียบเรียงข้อมูล : นางสาววิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร และ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 (Thai Museum Day 2022 : The Power of Thai Museums) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1. Museum Show & Share 2. Museum Travel 3. Museum Talk 4. Museum Photo Contest ในส่วนรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมจะแจ้งในภายหลังอีกครั้ง เตรียมตั้งตารอและติดตามอย่างใกล้ชิด และเพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมสุดพิเศษเหล่านี้ โปรดกดไลค์ กดแชร์ พร้อมติดตามเพจ Thai Museum Day 2022
ดุสิตธานี เมืองสมมุติประชาธิปไตยขนาดย่อส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย มาครั้งแต่ที่พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กว่าจะมีดุสิตธานีนั้น พระองค์ทรงเรียนรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยผ่านการทดลองการปกครองสมมุติหลากหลายรูปแบบโดยเริ่มต้นจากการปกครองแบบ The New Republic หรือ สาธารณรัฐใหม่ เป็นการปกครองสมมุติแรกเริ่ม ไม่มีอาคารสถานที่มีแต่บุคคล ทรงร่วมกลุ่มกับพระสหายเป็นบทบาทสมมุติในการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และมีการออกหนังสือเช่นเดียวกับราชกิจจานุเบกษา มีการแบ่งพรรคการเมืองเป็น 2 พรรค คือพรรคสาธารณรัฐ กับพรรคนิยมกษัตริย์ ทั้งนี้คณะปกครอง The New Republic มีช่วงเวลาเพียงแค่ 41 วันเท่านั้นภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารภาพ : แผนผังการนั่งของผู้เข้าประชุมสมาคมครึ เมืองมัง เป็นเมืองสมมุติขนาดเล็ก หรือเรียกว่าเมืองตุ๊กตา ทรงริเริ่มสร้างปี พ.ศ.2446 ในช่วงที่ทรงประทับ ณ พระตำหนักอัมพวา เหตุที่ชื่อเมืองมังนั้นคาดว่ามาจากชื่อพระตำหนักอัมพวา ที่แปลว่ามะม่วง และคำว่ามะม่วงในภาษาอังกฤษเรียกว่าแมงโก หรือมังโกนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างเมืองมังให้เป็นรูปธรรมขึ้น มีแม่น้ำลำคลอง ถนน หมู่บ้าน และสวน มีแบบแผนในการสร้างและการเล่นตามพระราชกระแสของพระองค์ เมืองมังยุติบทบาทลงหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงผนวชตามพระราชประเพณีในปี 2447
สมาคมครึ เป็นสมาคมมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงฝึกคนให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคม ทรงกำหนดให้มี 2 พรรค คือ พรรคสุภาพบุรุษ และ พรรคแรงงาน ทรงนำแบบแผนผังการนั่งของผู้เข้าประชุมมาจากประเทศอังกฤษที่ประกอบด้วย ประธาน ผู้พูด ผู้รับเชิญ สมาชิกสตรี กรรมการบริหาร และที่นั่งของพรรคทั้ง 2 ที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่เนื่องจากการทดลองสมาคมครึนี้มีการเปลี่ยนกรรมการผู้บริหารบ่อยเกินไปจึงทำให้สมาคมครึยุติบทบาทลง
นคราภิบาล เป็นการทดลองการปกครองในระบอบเทศบาลเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ทรงให้สร้างเรือนแถวขึ้นตลอดแนวกำแพงพระตำหนักจิตรลดาเดิมกับวังปารุสกวัน(เก่า) โดยพระองค์ให้มหาดเล็กชั้นเด็กสมมุติเป็นราษฎรไปอยู่ที่เรือนแถวนั้น ทรงกำหนดหน้าที่ ระเบียบความเป็นอยู่และเขตการปกครอง กำหนดให้มีสภากรรมการ ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี เลขาธิการ นายแพทย์สุขาภิบาล และเชษฐบุรุษ (ผู้แทนราษฎรในท้องถิ่น) เรียกว่า คณาภิบาล นอกจากนั้น นคราภิบาลยังมีองค์ประกอบของการปกครอง เช่น หนังสือพิมพ์ประเภทชวนหวว ที่นำเสนอบทพระราชนิพนธ์และข่าวสารในนคราภิบาล กำหนดออกรายสัปดาห์แจกให้ราษฎรอ่าน ด้านเศรษฐกิจ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งธนาคารขึ้น ชื่อว่า แบงก์ลีฟอเทีย เพื่อรับฝากเงินจากราษฎรหรือมหาดเล็ก เป็นต้น ภาพปกหนังสือพิมพ์ประเภทชวนหวว เมืองทราย เป็นการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ทรงร่วมก่อกองทรายกับมหาดเล็กชั้นเด็กๆ ทรงสอนให้มหาดเล็กเหล่านั้นทราบถึงการสร้างเมืองและป้อมปราการ ในคราวที่เสด็จค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ เพื่อประทับรักษาพระอาการประชวร และเมื่อเสด็จกลับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็มีพระราชดำริจัดตั้ง ดุสิตธานี ขึ้นทันที ภาพ : พระตำหนัก ณ ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ากว่าจะมีดุสิตธานีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงศึกษาและทดลองใช้ระบอบการปกครองหลายรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีความรู้และความเข้าใจ มีพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกแนวทางล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์ได้เป็นอย่างดียิ่ง
---------------------------------------------------
รายการอ้างอิง
ดุสิตธานี : เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2553.
โดม ลูกแม่จันทร์. เปิดตำนานดุสิตธานี : เมืองจำลอง...เมืองตุ๊กตา...เมืองประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ย้อนรอย, 2555.
อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2513.
---------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย : นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
---------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง ตอนที่ 4 เรื่อง “ นางนพมาศ” หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง “นางนพมาศ” โดยเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับตำนานนางนพมาศ และการทำกระทงที่เป็นรูปดอกบัว ได้อย่างน่าสนใจ เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเพณีอันดีงามของไทย เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
คันทวยพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ : เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมวังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นหนึ่งในอาคารของพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๒ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ขณะนั้นสมเด็จกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีพระประสงค์สร้างขึ้นสำหรับประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่นเดียวกับพระมหาปราสาทในวังหลวง ภายหลังพระองค์อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองเชียงใหม่ลงมายังกรุงเทพฯ จึงทรงอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และขนานนามว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์”* หมายถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า (บางเอกสารออกนามว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”)
ด้วยฐานานุศักดิ์ของพระมหาอุปราช รูปแบบงานสถาปัตยกรรมในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) จึงมีรายละเอียดที่แตกต่างจากวังหลวง อาทิ การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ การประดับรวยระกาที่ไม่มีนาคสะดุ้ง บัวหัวเสาเป็นบัวกลม ในขณะที่ช่างวังหลวงจะทำเป็นบัวแวง (บัวกลีบยาว) และแม้ว่าพระราชวังบวรสถานมงคลจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่เอกลักษณ์ฝีมืองานช่างวังหน้าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ยังคงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะคันทวยซึ่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๑ อย่างแท้จริง
คันทวย** ที่ประดับ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นงานไม้จำหลักลายปิดทองประดับกระจกสี เป็นรูปนาคห้อยเศียรลง มีลายเครือวัลย์ลักษณะเป็นเถาเลื้อย พันเกี่ยวเป็นจังหวะตลอดทั้งคันทวย รูปแบบคันทวยดังกล่าวนี้พบตามพระอารามบางแห่งที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ อาทิ พระอุโบสถ พระวิหาร และมณฑปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พระอุโบสถ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ และ พระอุโบสถ วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
*ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้มีการเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งองค์นี้จากพระที่นั่งพุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (อ่านรายละเอียดได้ใน : ประกาศรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ประกาศนามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ แลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กับ ประกาศให้เรียกชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ว่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระที่นั่งพุทธาสวรรย์ให้เรียกว่าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ )
**“คันทวย” ตามความหมายพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า โครงสร้างอาคารทรงไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา การเปรียญ ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการบางแห่ง คันทวยทำหน้าที่ค้ำยันใต้เต้า (ส่วนที่ยื่นออกจากปลายของผนัง เสาเก็จ หรือเสาราย) ที่ชายคากับผนังเสาดั้งเท้าแขน มีการแกะสลักเป็นรูปนาค ยักษ์ ลิง ครุฑ ฯลฯ เรียกชื่อตามแบบอย่างและท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ทวยตั๊กแตน นาคตัน, ทวย ก็เรียก
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ช ฉบับราชบั
แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง เที่ยวเมืองเชียงตุง และแคว้นสาละวิน
บุญสิงห์ บุญค้ำ. เที่ยวเมืองเชียงตุง และแคว้นสาละวิน. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณ, 2499.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/7ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)