ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฅเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ราชสกุลวงศ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น บุณยศิริพันธุ์ บ.ช., ภปร. ชั้น 4 ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 27 มกราคม 2512 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์จำนวนหน้า : 274 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น บุณยศิริพันธุ์ เป็นเรื่องราวราชสกุลวงศ์ ลำดับปฐมวงศ์ พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 1-9 พระราชโอรสธิดา พระโอรสธิดา พระองค์เจ้าโอรสธิดา พระองค์เจ้าหลานเธอ และคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ ฯลฯ


 ชื่อผู้แต่ง         ภิญโญ จิตต์ธรรม ชื่อเรื่อง           ความเชื่อ คติชาวบ้าน อันดับที่ ๕ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     สงชลา สำนักพิมพ์       มงคลการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๒ จำนวนหน้า      ๑๗๘ หน้า รายละเอียด                     ความเชื่อ คติชาวบ้าน อันดับที่ ๕ เป็นเรื่องหนึ่งในคติชาวบ้านหรือคติชนวิทยาหรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน ประกอบด้วยความเชื่อต่างๆ ได้แก่ ความเชื่อที่ปรากฏในวรรณคดี ความเชื่อเพื่อใช้ประโยชน์ในการอบรมสั่งสอน ความเชื่อเรื่อง ชาติ ภพ สวรรค์ นรก ฤกษ์ยาม นิมิตฝัน ลางบอกเหตุและวันดีวันร้าย เป็นต้น เพื่อเป็นหลักสูตรในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและเพื่อดำรงรักษาวัฒนธรรมของชาติไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางต่อไป  


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.506/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170  (233-242) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม





         ภาชนะจากแหล่งเตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘          นายโยธิน-นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ภาชนะทรงโถรูปแมวนั่งมองตรง ดวงตาเปิดกลมโต จมูกยื่นเล็กน้อย (ชิ้นทางขวามีหนวดเป็นเส้น) ส่วนหูชำรุดหักหาย ด้านบนภาชนะเจาะรูเป็นวงกลม ส่วนคอคอด มีลายขูดขีดคล้ายกับทำเป็นสร้อยคอ (ชิ้นทางซ้ายประดับด้วยกระดิ่งไว้กึ่งกลางสร้อยคอ) ลำตัวภาชนะป่อง ก้นภาชนะสอบเข้าหากัน           ภาชนะทรงโถรูปแมวชิ้นทางขวา เคลือบสีเดียวแบบที่พบในกลุ่มเครื่องถ้วยของแหล่งเตาพนมดงเร็กคือ เคลือบสีน้ำตาล (มีที่มาจากออกไซด์ของเหล็ก) ทั้งชิ้น แต่ร่องรอยของน้ำเคลือบไม่สม่ำเสมอกัน           ภาชนะทรงโถรูปแมวชิ้นทางซ้าย มีลักษณะพิเศษคือการเคลือบสองสี ได้แก่สีเขียว (มีที่มาจากขี้เถ้าพืชเป็นส่วนประกอบ) บริเวณใบหน้ากับลำตัวช่วงอก ตัดกับสีน้ำตาล บริเวณส่วนดวงตา ปลายจมูก สร้อยคอ ลำตัวด้านข้างและเท้า นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของปูนที่ใช้ในการกินหมากติดอยู่ภายในซึ่งเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงหน้าที่การใช้งานเดิมของภาชนะรูปแมวใบนี้ว่าเป็นภาชนะสำหรับใส่ปูนที่ใช้ในการกินหมากนั่นเอง     อ้างอิง Dawn F. Rooney. Khmer Ceramics Beauty and Meaning. Bangkok: Riverbook, 2010.




            กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรมส่งเสริม Soft Power เบิกฟ้าอโยธยา ย้อนเวลาไปกับ “พรหมลิขิต” ในวันอังคารที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ในเวลา ๑๕.๐๐ น. ณ อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และเยี่ยมชมวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยายามค่ำ พบกับศิลปิน โอม-คณิน สแตนลีย์ รับบทหลวงชิดภูบาล (ยอร์จ ฟอลคอน) พีพี-ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ รับบทแม่ปราง และรอน- ภัทรภณ โตอุ่น รับบทเป็นเพิ่ม บ่าวยายกุย ฯลฯ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมกิจกรรม ด่วน!!!  https://forms.gle/Xxt6v3rxCfnUChJq5หรือสแกนคิวอาร์โค้ด


            สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ "เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต" วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับการบรรเลงดนตรีสากล "สืบสานวัฒนธรรมไทย รักษาไว้เพลงของชาติ"อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต             บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑             ทั้งนี้ โครงการดนตรีสำหรับประชาชน เป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร นำเสนอความบันเทิงและความรู้สู่ประชาชน มาเป็นเวลาถึง ๖๗ ปี เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีรายการแสดงที่หลากหลายสลับสับเปลี่ยนกันไป ทั้งการแสดงโขน ละคร การบรรเลงดนตรีไทย และดนตรีสากล สำหรับการแสดงโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” ในปีนี้ ไฮไลท์อยู่ที่การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง ซึ่งนำมาจัดแสดงอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ กล่าวถึงการอวตารของพระนารายณ์ในปางต่าง ๆ เพื่อปราบยุคเข็ญของชาวโลก กำหนดจัดแสดงทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ ๑๔ มกราคม - ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๙.๓๐ น. นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดง โดยนายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ค่าเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท นำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน เพื่อร่วมกันอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏดุริยางคศิลป์ของชาติ ให้คงอยู่และแพร่หลายอย่างกว้างขวางต่อไป ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th และเฟสบุ๊ก เพจ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


สริทภังค / ตฏากะ : ข้อมูลจากจารึกเกี่ยวกับการจัดการน้ำในพื้นที่ของปราสาทสด๊กก๊อกธม . . จารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 2 พบคำศัพท์ภาษาสันสกฤต 2 คำ ที่กล่าวเกี่ยวกับการจัดการน้ำของอาณาจักรเขมรโบราณได้แก่ 1.สริทฺภงฺค ( อ่านว่า สะ-ริด-พัง-คะ ) หมายถึงทำนบกั้นน้ำ หรือคันบังคับน้ำ 2.ตฏากะ ( อ่านว่า ตะ - ตา - กะ ) หมายถึง สระน้ำ จากคำที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 2 นั้นแสดงถึงในอดีตมีการจัดการน้ำในบริเวณพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ในการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด โดยแบ่งเป็น พื้นที่สระน้ำใช้ในเชิงสัญลักษณ์ตามความเชื่อทางศาสนาฮินดู พื้นที่เก็บน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และพื้นที่รับน้ำเพื่อไม่ให้ไหลเข้าท่วมปราสาท ปราสาทสด๊กก๊อกธมปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับน้ำดังนี้ 1. บารายขนาดใหญ่ทิศตะวันออก อยู่ด้านหน้าปราสาท 2. บารายเล็กทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท ติดกับฉนวนทางเดิน 3. สระน้ำรูปปีกกาล้อมรอบระเบียงคตและปราสาทประธาน เป็นสระน้ำเชิงสัญลักษณ์ 4. ละลม คันดินรูปตัวแอล (L) อยู่ด้านทิศเหนือของปราสาท รู้หรือไม่ว่า การสร้างบารายของปราสาทสด๊กก๊อกธมนั้น ไม่ได้ใช้วิธีการขุดลึกลงไปในดิน แต่ใช้การขูดหน้าดินตื้นๆ มาสร้างคันดินสำหรับกักเก็บน้ำ Ref กรมศิลปากร. (2565). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. หน้า 228 – 231 Utilization of Ancient Water Management Systems [TH].pdf. Access 9 january 2024.


คำศัพท์น่ารู้ "ผีทะมก"นำเสนอและเผยแพร่เกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากคำศัพท์และองค์ความรู้ที่น่าสนใจในเอกสารโบราณที่มีอยู่ ณ ห้องอีสานศึกษา ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา าณขอนำเสนอคำศัพท์น่ารู้ "ผีทะมก"จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ