ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,502 รายการ

หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    20 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว  53 ซม.บทคัดย่อ                     เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


เลขทะเบียน : นพ.บ.5/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 8หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดกิจกรรมอบรมจัดตั้งเป็นสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม(อส.มศ.)จังหวัดสุรินทร์ ได้รับเกียรติจาก นางสาวดวงพร บุญครบ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อจัดตั้งสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ ให้การอนุรักษ์โบราณวัตถุ โบราณสถานโดยอาสาสมัครฯมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับสมาชิกที่เข้าร่วมอบรมทั้งหมด ๔ อำเภอ ๔๔ คน ได้แก่ อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอบัวเชด อำเภอพนมดงรัก และอำเภอสำโรงทาบ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์


     ชื่อเรื่อง :  กล้วยไม้ของ...พ่อ      ผู้เขียน :  -      สำนักพิมพ์ : ม.ป.ท.      ปีพิมพ์ : ม.ป.พ.      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ :  -      เลขเรียกหนังสือ : ๖๓๕.๙๓๔๔ ก๒๘๘ฮ      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป       ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑สาระสังเขป : กล้วยไม้ของ...พ่อ เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในงานพิธีฌาปนกิจศพของคุณพ่อฮุยควน แซ่เล้า ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจกล้วยไม้ ทั้งในแง่มุมของศาสตร์และศิลป์ที่ใช้เวลามากกว่า ๔๐ ปี ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้อย่างจริงจัง อดทน มุมานะและตั้งใจจริง ด้วยเจตนารมณ์ที่จะถ่ายทอดและนำเสนอเรื่องราวของกล้วยไม้ที่ท่านได้สร้างพันธุ์ใหม่ๆ มากมายหลายพันธุ์ และส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการนำเสนอรายละเอียดชื่อพันธุ์ของกล้วยไม้แคทลียาพันธุ์ต่างๆ และมีบทกลอนเกี่ยวกับดอกกล้วยไม้นั้นๆ อย่างสั้นๆ  พร้อมภาพสีประกอบจำนวนกว่า ๑๐๐ ภาพ  ซึ่งภาพดอกกล้วยไม้ที่นำมาแสดงในหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ท่านสร้างสรรค์ ด้วยความรู้ความสามารถและจินตนาการ อีกทั้งยังมีเรื่องกล้วยไม้ไทยในเวทีโลก สถานการณ์กล้วยไม้ไทย แหล่งผลิต พันธุ์กล้วยไม้  เนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต การใช้ภายในประเทศ การส่งออก การปลูกเลี้ยงแคทลียา ลักษณะธรรมชาติและการเติบโต การดูแลรักษา โดยทางผู้รวบรวมและจัดพิมพ์มุ่งหวังเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจจะเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกหรือเป็นอาชีพต่อไป       



 ชื่อผู้แต่ง                  ปรุงศรี  วัลลิโภดมชื่อเรื่อง                   ความรักของแม่ในวรรณคดีครั้งที่พิมพ์                -สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯสำนักพิมพ์               กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๗จำนวนหน้า              ๑๒๖    หน้าหมายเหตุ                พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ทันตแพทย์หญิง ทองเออบ (กาฬดิษย์) ต.ม. , จ.ช.                           ความรักของแม่ในวรรณคดี ซึ่ง นางปรุงศรี  วัลลิโภดม  วิทยกรโท กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้คัดเลือกและรวบรวมขึ้นจากวรรณคดีสำคัญสมัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๒๔ เรื่อง ในสังคมของไทยนับแต่โบราณกาล ได้รับนับถือและยกย่องสรรเสริญว่า ความรักของมารดาต่อบุตรนั้นเป็นความรักอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ ด้วยมารดาเป็นผู้ให้ชีวิตนับตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนกระทั้งคลอดก็ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดทุกขเวทนา ครั้งแล้วต้องเลี้ยงรักษาและอบรมสั่งสอนบุตรกระทั่งเติบใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตรจึงกลายเป็นวัฒนธรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดง


1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้ไข้จับ, ยาเลือด, ยาแก้กล่อนแห้ง, แก้จุกเสียด แก้พันระดึก, แก้ลมสารพัดฯลฯ 2.เวทย์มนต์คาถา อักษารขอม ภาษบาลี เป็นคาถาที่ทำให้หญิงรัก


ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมยุทธศึกษาทหารบก


กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม)


สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 1-21. พระนคร : กรมศิลปากร, 2509.         สามก๊กเป็นวรรณคดีประเภทความเรียงที่สำคัญเรื่องหนึ่งของไทย เป็นความเรียงที่ไพเราะงดงามสละสลวย และได้รสทางวรรคดีเป็นอย่างดี มีลักษณะพิเศษเฉพาะจนกระทั่งกลายเป็นแบบฉับบในการแปลหนังสือพงศาวดารและบันเทิงคดีของจีนเรื่องอื่น ๆ ในยุคต่อ ๆ มา




            ประติมากรรมดินเผารูปหงส์พบจากการขุดแต่งโบราณสถานวัดช้างรอบ เขตอรัญญิก นอกเมืองกำแพงเพชรทางด้านเหนือ ใช้ประดับอยู่ที่ส่วนฐานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมบนชั้นลานประทักษิณของเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ปัจจุบันได้หลุดร่วงไปเกือบหมด หงส์บางส่วนที่หลุดร่วงได้ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร             หงส์ที่ประดับบนโบราณสถานวัดช้างรอบแต่ละตัวที่พบมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปหงส์ด้านข้าง ยืนเรียงรายเป็นแถว ส่วนหัวมีหงอนเป็นลายกระหนก คอยาว หางเป็นรูปลายกระหนก ลักษณะเลียนแบบตามธรรมชาติ แต่มีการประดิษฐ์ลวดลายให้สวยงามมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะส่วนหัว คอ และหาง ซึ่งอาจเทียบได้กับรูปหงส์ปูนปั้นที่ประดับบนชั้นเชิงบาตรของปรางค์วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑            หงส์ถือเป็นสัตว์ชั้นสูงที่ปรากฏในคติความเชื่อทั้งในศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ชาวฮินดูถือว่าหงส์เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นพาหนะของพระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญของศาสนาฮินดู ส่วนในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าหงส์เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ นอกจากนี้ยังเชื่อกันอีกว่าเป็นเจ้าแห่งนกทั้งปวง เป็นผู้พิทักษ์รักษาท้องฟ้า และเป็นพาหนะที่นำวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.