ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,502 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมต้อนรับวันฮาโลวีนแบบไทย ๆ กิจกรรม “Mystery Talks & Tour” วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๒๖ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีกำหนดการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗
- เวลา ๐๙.๐๐ น.
- ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Talks
- หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets" ไม่ใช่อาร์ตทอยแต่เป็นเครื่องรางจริง ๆ หมุนละ ๕๐ บาท ไม่จำกัด
- จำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและอาร์ตทอย
- เปิดมุมพยากรณ์กับ Pride Oracle และเนตรธิป พรหมญาณ
- เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มกิจกรรม Mystery Talks เรื่อง "ประสบการณ์หลอนของนักเขียนเรื่องลึบลับ" โดยคุณจุติ จันทร์คณา นักเขียนเรื่องลึกลับ
- เวลา ๑๑.๓๐ น. พักกลางวันตามอัธยาศัย
- เวลา ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Tour
- เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น. เริ่มกิจกรรม Mystery Tour เรื่อง "The In-between สื่อ-เชื่อม-โลก" นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ โดยนายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ / นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ / นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ / นางสาวอาทิมา ชาโนภาศ ภัณฑารักษ์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ใน ๔ หัวข้อหลักคือ
๑. โลกนี้กับโลกหน้า สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท
๒. โลกแห่งวิทยาคม สมัยอยุธยา - กรุงรัตนโกสินทร์ หมู่พระวิมาน
๓. สามโลก จักรวาลวิทยาในทัศนะไทย-เทศ นิทรรศการบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระตำหนักแดง และโรงราชรถ
๔. โลกเก่าปะทะโลกใหม่ สมัยรัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
- เวลา ๑๖.๐๐ น. ปิดกิจกรรมวันแรก ตามเวลาให้บริการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
---------------------------------------------------
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗
- เวลา ๐๙.๐๐ น.
- ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Talks
- หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets"
- จำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและอาร์ตทอย
- เปิดมุมพยากรณ์กับ Pride Oracle และเนตรธิป พรหมญาณ
- เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มกิจกรรม Mystery Talks เรื่อง "เรื่องหลอนในวังหน้า Update!" โดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์
- เวลา ๑๑.๓๐ น. พักกลางวันตามอัธยาศัย
- เวลา ๑๓.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Mystery Tour
- เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น. เริ่มกิจกรรม Mystery Tour เรื่อง "The In-between สื่อ-เชื่อม-โลก" นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ
- เวลา ๑๖.๐๐ น. ปิดกิจกรรมตามเวลาให้บริการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
------------------------------------------------------
พิเศษ! สำหรับผู้ร่วมกิจกรรมที่บันทึกภาพหน้าจอโทรศัพท์
- นะหน้าทอง
- นางกวัก
- กุมารทอง
- สาลิกาลิ้นทอง
- ควายธนู
แค่แสดงหน้าจอมือถือด้วยภาพใดภาพหนึ่งในนี้ มีสิทธิ์หมุนกาชาปองที่ระลึก "Thai Amulets" ฟรี ๑ ครั้ง
-------------------------------------------------
ขอเชิญชวนผู้สนใจไปร่วมเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกในพิพิธภัณฑ์ด้วยกันนะคะ ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซื้อบัตรเข้าชมตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สามารถติดตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทางเฟซบุ๊ก : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร-------------------------------------------------
*หมายเหตุ
- ไม่มีอาหารว่างและอาหารกลางวัน
- กาชาปอง "Thai Amulets" ประกอบด้วย สาลิกาลิ้นทอง หวายลูกนิมิต ยันต์พระสีวลี
ยันต์นางกวัก ด้ายแดงครูบาบุญชุ่ม และพระพิมพ์คเณศ "ภัทรบูชา" ปี ๒๕๖๖ รุ่นลองพิมพ์
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำชมฯ ทั้งสองรอบ มีสิทธิ์ลุ้นรับพระพิมพ์พระชัยเมืองนครราชสีมา ปี ๒๕๕๒ และควายธนูมหาลาภ หลวงปู่แผ้ว ผลปุญโญ ปี ๒๕๖๒
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กองวัฒนธรรม. คู่มือปฏิบัติพิธีต่างๆ และประเพณีเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า. ธนบุรี: โรงพิมพ์ไพศาลวิทยา, 2510. (พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางบุญสุทธิ์ ณ นคร ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส วันที่ 19 เมษายน 2510).กล่าวถึงพิธีกรรมต่างๆ ที่ใช้ในงานเข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ซึ่งเป็นพิธีการที่ได้ปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ และเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
โบราณสถานวัดจันทาราม
ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๓๔๐ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐
โบราณสถานสำคัญภายในวัด ได้แก่ กุฏิทรงไทย จำนวน ๓ หลัง หลังที่ ๑ กุฏิหลัง ทิศตะวันออก เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ มีบันไดทางขึ้นด้านทิศเหนือ หน้าบันด้านทิศเหนือแกะลายไม้เป็นรูปเทพพนมท่ามกลางลายพันธุ์พฤกษา มีขนาดเล็กสุดในจำนวน ๓ หลัง หลังที่ ๒ กุฏิหลังกลาง ด้านทิศใต้ เดิมเคยเป็นกุฏิเจ้าอาวาส ลักษณะเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อาคารชั้นล่างและบันไดก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ ที่ช่องลมแกะสลักลวดลายเป็นรูปดอกไม้ ลายเทพพนม ลายมงกุฎขนาบด้วยสิงห์ บริเวณเชิงชายตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายขนมปังขิง ที่หน้าบันด้านทิศเหนือมีลายแกะไม้เป็นรูปพญานาคล้อมอยู่ในลายกนก ด้านล่างเขียนตัวอักษรว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๕๘” หลังที่ ๓ กุฏิด้านทิศตะวันตก เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นล่างก่ออิฐสอปูน มีบันไดทางขึ้น ๒ ข้าง ลักษณะคล้ายบันไดเวียน ด้านหน้าทำเป็นชานยื่นออกมา บริเวณเชิงชายตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายขนมปังขิง หน้าบันด้านทิศเหนือ เขียนตัวอักษรไม้ฉลุว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ ปีจอ” กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะกุฏิหลังที่ ๒ และ ๓ เมื่อพ.ศ. ๒๕๖๑
โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ ตู้พระธรรมขาหมูลายรดน้ำ ทำด้วยไม้ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ จำนวน ๓ ตู้ และฐานประติมากรรมรูปเคารพ ซึ่งคงทำขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั้งนี้ จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๒ ได้พบเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังตอนปลาย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดจันทาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๘๓ ง หน้า ๑ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๑ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๙๖ ตารางวา
Wat Chantharam
Wat Chantharam is located in Tha Wang Tavatimsa, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. It was built in 1797 during the reign of King Rama I. The temple was officially registered as the temple in 1807.
The significant monuments in the temple are three Thai-style Kuti or monastic residences. The first Kuti is a two - storey building which the upper part was made of wood and is in the east. There is a staircase in the north of Kuti. The northern gable was decorated with carved wood in Thep Phanom figure (Thai divinity figure) surrounded by the floral. The first Kuti is the smallest of the three Kuti.
The second Kuti is in the south and used to be the abbot's Kuti. It is a two - storey building which the upper part was made of wood. The staircase was made of brick and lime. The air vent is carved with floral pattern, Thep Phanom pattern, crown flanked by lions pattern. The eaves are carved with gingerbread pattern. On the northern gable, there is a carved wooden of a Naga enclosed in Kanok pattern under the pattern was an inscription of “Buddhist Era 2458”.
The third Kuti is on the west. It is a two - storey building. The ground floor was made of brick and mortar. There is a staircase on each side which similar to a spiral staircase. There is a terrace in front of the cabins. The eaves of the building are decorated with gingerbread trim pattern. On the northern wooden gable, there was an inscription of “Buddhist Era 2465”, The year of dog". The Fine Arts Department restored the second and the third Kuti in 2018.
The significant artefacts are the three gold gilded black lacquered scriptures cabinets of Rattanakosin art and the sculpture base which may be associated with Hinduism. According to archaeological excavation in 2009, the fragments of the Chinese ceramics in the late Tang Dynasty were found and date back to the 9th - 10th century which showed the history of this area.
The Fine Arts Department announced the registration of Wat Chantaram as a national monument and 1,984 squares - metres of national monument area in the Royal Gazette, Volume 115, Special part 83, page 1, dated 21st September 1998.
***บรรณานุกรม***
ไชยันต์ ถนัดหัตถกรรม
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีไชยันต์ ถนัดหัตถกรรม ป.ช.,ป.ม. ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมมนัสวิหาร วันอังคารที่ ๑๑ พศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ พลตรีไชยันต์ ถนัดหัตถกรรม ป.ช.,ป.ม. ณ ฌาปนสถานกองทัพบกวัดโสมมนัสวิหาร วันอังคารที่ ๑๑ พศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ไทยเขษม
2533
เกษตรศาสตร์ 8 : Kasetsart
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๒
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๒ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๕๐๙ ทรงพระกรุณาปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องถวายและพระราชทานเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำออกบรรเลงครั้งแรกในวันทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีสากลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงอาหารเย็นแก่ อาจารย์ ข้าราชการ นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย
Royal composition Number 42
The forty-second royal musical composition was written in 1966. His Majesty tasked Professor Dr. Prasert Na Nagara to work on the lyrics to be granted as the theme song for Kasetsart University. It was performed for the first time on the day his Majesty joined the Kasetsart University Band at Amphonsathan Throne Hall, Dusit Palace on 17 December 1966. His Majesty also graciously hosted a dinner for faculty members, officials and students on the occasion.
๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๓๐ น. จังหวัดกำแพงเพชรจัดแถลงข่าวการกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD" โดยนายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ราชการจังหวัดกำแพงเพชร ปลัดจังหวัดกำแพงเพชร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมขึ้นแถลงข่าว มีนายนลิน ตั้งประสิทธิ์ นายรุ่งชัย ใบกว้าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หัวหน้าราชการ ผู้ร่วมปั่นเพื่อพ่อ และผู้สื่อข่าวจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมรับฟังการแถลงข่าว ณ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ชื่อเรื่อง ประชุมพงศาวดาร เล่ม 32 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 57 (ต่อ) – 58) โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค 1 (ต่อ) และภาค 2ผู้แต่ง ดอนโนประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 914.4 ด296ป ล.32สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์ 2512ลักษณะวัสดุ 324 หน้าหัวเรื่อง ฝรั่งเศส -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเนื้อหาภายในประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 57 (ต่อ) ว่าด้วยเรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ และชมกิจการต่างๆ เช่น การขุดคลอง การเจียระไนเพชรพลอย อู่เรือกัญชาและโรงงานพิเศษ หอน้ำประปา เยี่ยมชมวัดต่างๆ และการทดลองวิทยาศาสตร์ ในส่วนที่ 2 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 58 จะเป็นการกล่าวถึงคณะราชทูตเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ในฝรั่งเศส เช่น เมืองอาเมียงส์ เมืองอาราส เมืองกาแลส์ เมืองดึงแกร์ก เมืองตูร์เนย์ เป็นต้น
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
สืบสวนอนุสรณ์ รุ่นที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๙๗. พระนคร : โรงพิมพ์อุดม, ๒๔๙๗.
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
Objectives : To disseminate academic data and information on the arts of Thailand
To conserve and nurture the existing national heritage of Thailand
เจ้าของ (Proprietor) : กรมศิลปากร The Fine Arts Department www.finearts.go.th