ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ
หากกล่าวถึงสินค้าทีมาจากแหล่งเรือจมแล้ว ก้อนทองแดงนั้นถือว่าเป็นสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
จากการขุดค้นแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ที่ผ่านมาของกองโบราณคดีใต้น้ำนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ทองแดงนั้นเป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่เรือบางกะไชย 2 นั้นบรรทุกมาในระว่างเรือ เป็นปริมาณ ไม่น้อยกว่า 600 ก้อน
โดยจุดที่พบนั้นกระจายอยู่บริเวณกลางลำเรือใกล้ๆกับฐานเสาใบเรือเป็นหลัก ดังนั้นจากตำแหน่งที่พบนั้นอาจสรุปได้ว่ามีการเลือกพื้นที่ในการจัดเรียงทองแดงเหล่านี้ภายในเรือ อันเนื่องมาจากทองแดงนั้นมีน้ำหนักต่อก้อนค่อนข้างมาก จึงสันนิษฐานว่านอกจากทองแดงเหล่านี้จะเป็นสินค้าที่จะต้องถูกขนย้ายโดยเรือแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการเป็นอับเฉาเรือไปโดยปริยาย
เอกลักษณ์สำคัญของทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2
จากการศึกษาจัดจำแนกรูปแบบเบื้องต้นพบว่าหน้าตาทองแดงเหล่านี้มีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้
1.แบบทรงชาม
2.แบบทรงชามที่มีการซ้อนชั้น (พบมากที่สุด)
3.แบบแผ่น
4.แบบทีไม่มีรูปทรงแน่นอน
โดยในแต่ละรูปแบบมีการขึ้นรูปที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดในตอนต่อไปนะครับ
นอกจากนี้ในบางก้อนยังมีตราประทับไว้ด้วย โดยจากการศึกษาร่องรอยการประทับตราด้วยวิธีการทดลองทางโบราณคดีและการใช้กล้องจุลทรรศในการวิเคราะห์ร่องรอย สามารถสรุปได้ว่าทองแดงเหล่านี้ถูกประทับตาด้วยเครื่องมือประเภทสิ่ว และมีการตอกด้วยฆ้อน
ลักษณะของตราประทับเหล่านี้คล้ายกับภาษาจีน แต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้านภาษาแล้วในบางชิ้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาษาจีนและมีลักษณะเป็นการบ่งบอกจำนวน แต่ส่วนมากจะเป็นลัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมาย และจากการแปรความทางโบราณคดีนั้นสัญลักษณ์บนทองแดงเหล่านี้มีความเป็นไปได้มากมายที่ร่องรอยประทับเหล่านี้อาจจะเป็นได้ ดังนี้
1.ตราสัญลักษณ์ หรือยี่ห้อ?
2.จำนวนนับ?
3.อาจจะบ่งบอกสถานที่ที่ทองแดงเหล่านี้จะถูกนำไปส่ง?
4.อาจจะบ่งบอกถึงสถานที่ผลิต?
ชื่อเรื่อง เรื่องตามใจท่านผู้แต่ง เช็กสเปียร์, วิลเลี่ยม, ค.ศ. 1564-1616.ผู้แปล มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีอังกฤษเลขหมู่ 822.33 ช693รสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2494ลักษณะวัสดุ 169 หน้าหัวเรื่อง บทละครอังกฤษ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เเห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเเปลจากผลงานของเชกสเปียร์ เรื่อง As You Like It ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมขึ้นเพื่ออนุรักษ์ผลงานอันทรงคุณค่า ควรเเก่การศึกษาค้นคว้าให้สืบทอดคงอยู่เป็นมรดกทางวรรณกรรมชาติสืบไป
หอสมุดแห่งชาติ และหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ในรูปแบบออนไลน์ “วันเด็กออนไลน์หัวใจเป็นหนึ่ง” ร่วมลุ้นรับของรางวัลต่าง ๆ มากมาย ผ่านทางFacebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ ลงทะเบียน "ร่วมกิจกรรมหน้าจอ รอรับรางวัลที่บ้าน" ได้ที่ shorturl.at/rCFPX" กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ หัวข้อ “วันเด็กออนไลน์หัวใจเป็นหนึ่ง” เพื่อปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญและรู้จักหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเห็นความ สำคัญของการอ่าน กล้าคิดและกล้าแสดงออก โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ถ่ายทอดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ประกอบด้วยการชมวีดีทัศน์แนะนำหอสมุด วีดีทัศน์นิทานแจ๋วแหวว เล่นเกมสุภาษิตคำพังเพย เกมจิ๊กซอว์ เกมใครเร็ว ใครได้ เกมทักทายและแนะนำตัวเอง และการจับรางวัลต่าง ๆ ลงทะเบียน "ร่วมกิจกรรมหน้าจอ รอรับรางวัลที่บ้าน" ได้ที่ shorturl.at/rCFPX" ภายในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๕
เลขทะเบียน : นพ.บ.176/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 99 (67-73) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(พระอภิธรรมสังคิณี - พระปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-5ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)
ชบ.บ.89/1-17
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.233/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ยอดอภิธรรม --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.368/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140 (420-433) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺม สงฺเขป (พระอภิธัมมารวม)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง พูนศักดิ์ ศักดานุวัฒน์
ชื่อเรื่อง วิธีใช้ความคิด
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ พิทยาคาร
ปีที่พิมพ์ 2508
จำนวนหน้า 136 หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่ชี้แนวทาง แห่งการเสริมสร้างความเฉียบแหลมในการใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อันจำเป็นในชีวิตของท่านทุกคน ตลอดจนวิธีการสร้างสมาธิ การฝึกประสาทสมองและศิลปะแห่งความจำ อันเป็นปัจจัยหลักแห่งความเฉียบแหลม การสังเกตและวิธีป้องกันโรคประสาท
จดหมายเหตุ ว่าด้วยแรกมี สถานีน้ำมันจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๓
สถานการณ์ราคาน้ำมัน ในปัจจุบันของไทย มีราคาสูงขึ้นตามลำดับ ทั้งเบนซินและดีเซล ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงมากขึ้น หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ จันทบุรีขอเกาะกระเเสเกี่ยวกับน้ำมันในช่วงนี้ ในการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของจันทบุรี เกี่ยวกับเรื่องของน้ำมัน การตั้งสถานีน้ำมันในอดีตว่ามีเอกสารใดกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้บ้าง ทำให้ได้พบเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นหลักฐานเเสดงเรื่องราวการก่อเกิดสถานีน้ำมันในยุคเเรกของจันทบุรี
เอกสารที่เก่าที่สุดในเรื่องน้ำมันในมณฑลจันทบุรี สามารถย้อนกลับไปถึงปี ๒๔๗๓ ก่อนที่จะยุบเลิกมลฑลเทศาภิบาลจันทบุรี มีการขออนุญาตประกอบการตั้งสถานีสูบน้ำมันเบนซิน ของบริษัทเอเชียติ๊กปีโตรเลียม(สยาม)จำกัดสินใช้ (บริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทรอยัลดัทช์/เชลล์) โดยขออนุญาตต่อพระยาศรีเสนา สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี เพื่อเป็นสถานีจำหน่ายน้ำมันเบนซินแบบสูบโดยมีถังน้ำมันฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าแบบที่ใช้อยู่ในขณะนั้นคือการจำหน่ายแบบบรรจุใส่แกลอน โดยมีสถานีตั้งอยู่ในตลาดจันทบุรี(ดูตามผังเอกสารแนบ) ซึ่งสมุหเทศาภิบาลได้อนุญาตให้ตั้งสถานีได้ เป็นสถานีจำหน่ายน้ำมันขนาดเล็ก ด้วยรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในสมัยนั้นยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งมีการสำรวจในปี ๒๔๖๐ ปรากฏว่าในมณฑลจันทบุรี มีรถยนต์ ๑๑ คันและรถจักรยานยนต์เพียง ๒ คันเท่านั้น
บริษัทเอเชียติ๊กปีโตรเลียม(สยาม) จำกัดสินใช้ ถูกก่อตั้งขึ้นในครั้งแรกเพื่อจำหน่ายน้ำมันก๊าด ตรามงกุฏ ในประเทศไทย และต่อมาได้สร้างคลังน้ำมันที่บางประกอก เพื่อเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัทและได้เริ่มขยายออกไปตามต่างจังหวัดใน พ.ศ. ๒๔๗๒
ที่จันทบุรียังมีสถานที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวน้ำมันในยุคแรกของจันทบุรี ซึ่งหลายท่านที่ชื่นชอบในรสชาติของกาแฟ คงมีโอกาสได้เข้าไปใช้บริการและเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์เชลล์(อยู่ในร้านกาแฟ) ที่บริเวณปั้มน้ำมันเชลล์ศักดิ์ชัย ๑ ที่ได้มีการจัดแสดงของสะสมที่เกิดมาจากแรงบันดาลใจของสองพ่อลูก คุณชูศักดิ์ โกศการิกา และคุณชัยเลิศ โกศการิกา อาทิ ปั๊มหัวจ่ายน้ำมัน ป้ายโฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัทเชลล์ เครื่องมืออุปกรณ์น้ำมันต่าง ๆ สินค้าส่งเสริมการขาย ของบริษัทเชลล์ ตั้งแต่ยุคแรกต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน
เรียบเรียง
อดิศร สุพรธรรม
นักจดหมายเหตุชำนาญการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
เอกสารอ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (๑๓)มท ๑.๒.๓/๒๗ เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องบริษัทเอเชียติ๊ก (สยาม) จำกัด ขออนุญาตตั้งสูบน้ำมันเบนซินที่โฮเต็ลและร้านขายเครื่องประป๋องของนายเฟ ที่ตลาดจันทบุรี (๒๓ – ๓๐ มกราคม ๒๔๗๓)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (๑๓)มท ๒.๒.๔/๕๗ เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องขอทราบจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในมณฑลจันทบุรี (๑๐ – ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๖๐)
อ้างอิงภาพจาก
https://www.museumthailand.com/.../Info-Shell-Museum-Cafe
ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Xto-vfYABofQX48A5qVyaFoARgEIbDT0/view?fbclid=IwAR0deQJerNprL8BTILcMYJJQZzTvdRN3ZencJqujbIUtUBTwMCtpIYluuSI กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นครั้งแรก โดยประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478 ครั้งนั้นเป็นจำนวน 75 แห่ง แล้วจึงดำเนินการสำรวจเพื่อขุดแต่งบูรณะตั้งแต่พุทธศักราช 2496 เรื่อยมา จนในพุทธศักราช 2519 กรมศิลปากรริเริ่มจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและผลจากการดำเนินงานมีการสำรวจพบโบราณสถานรวมทั้งหมด 193 แห่งพร้อมทั้งจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” เมื่อพุทธศักราช 2531 ช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปีมีการอนุรักษ์และพัฒนาทางโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสำรวจ ศึกษาค้นคว้า และขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี เป็นผลให้มีการค้นพบโบราณสถาน และข้อมูลความรู้ใหม่ๆ มากมาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทบทวนข้อมูลทำเนียบโบราณสถานขึ้น ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีการค้นพบโบราณสถานทั้งสิ้น 218 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25 แห่ง จึงเห็นสมควรปรับปรุงหนังสือ ทำเนียบโบราณสถานฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบันพุทธศักราช 2561 โดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการสำรวจโบราณสถานทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบใหม่ โดยมีนางสาวนุชจรี ผ่องใสศรี เป็นผู้เรียบเรียง กรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์โบราณคดีโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัยสืบต่อไป ...................................................................................................... ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดหรืออ่านรายงานทางโบราณคดีของอุทยานระวัติศาสตร์สุโขทัย เล่มอื่นๆ ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
1. รายงานการดําเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2559-2560 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1ZD-1vyJ470F9UFZrUl_5J-rVopdN5o1k/view?fbclid=IwAR3T8mO0yPXn2macRSffAqkSZ8YuWokrvC1jdTnRwmLSnj9-KqejhoN4-HM
2. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บารายเมืองสุโขทัย) ปี 2560-2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1MP-IpELV04s9MLDW-4bwVCSuGS2iwcSa/view?fbclid=IwAR2_2ZGtDrdZETawza9A2SyXafx0beVeSZ9I7K5jTVgAwoY9AZ5BCJA2IkQ
3. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1PzxCFznNifILdcfpslw4sGgtTYEX0XqC/view?fbclid=IwAR0li4nEt2Rt28dyecx0b7UskLPSp6wxEb-j6IBwBwnJ1mek1X9V_qLm4aU
4. รายงานการวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบจากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บาราย) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1jh2EwIfUHjD-znhaheoB-NwMQrksPIY-/view?fbclid=IwAR3o2NVW9lnQVoVIbR6Fq1i8M-QNP0TQDXgiU-OUOEUGxnXl-FE1ydAnIwQ
5. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1EoIqbl9qQ8z4ieqBF_2c8jmTd16nJ8vC/view?fbclid=IwAR0ep8psjPsGjhUqmPCAcbMHvgZlFLx42tdCzLuPc-gdbVkLiQH5lKCOthg
6. รายงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดจระเข้ร้อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1RqrotlUUKsDu1tnUra-1sMKVJOODoIuO/view?fbclid=IwAR2lIsUHTjbL7tCDy2tS6M_PmuE23CTaYrMbCnbDZq6lUNfxuGUbSKbub8s
7. รายงานการขุดแต่งโครงการ ขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดป่ามะม่วงตะวันตก วัดตระพังกระดาน และวัดร้างตต.26/1 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1T40fgFzYaYaIfHWJnLHBktj1O5UwqaY_/view?fbclid=IwAR11frHmh5RiKIJK15E5PNz2_rPwJ2EKGwpVXWIucsqzVr63kiNG38NEkc8
8. โครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือกและวัดป่าขวาง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Gq02yClJys7ULyeRpXBuT_skrlBs3H5z/view?fbclid=IwAR3AnbZEnkuUg8hUQ6MzBgJedDGga5P42aO8TFv_w-cj0mt6BbljMXPPmBo
9. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1CFQnNsep2xqmoFLxZudMEFdf7oVKfQbu/view?fbclid=IwAR049v2iQOzvHY9pS5E0jlusfpws6RsNGtXc057h3n4jJCU0XpwEOQ7jL9o
10. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/10l0fRTLev_pxuUtiL6XPsh3NwF9owgZJ/view?fbclid=IwAR3P9MyqjtaiNa5DbPS147wgAjIVFc09CURfLTjzwU8LSIhdVF36dI9ceng
11. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1HRNJtldkTXlHnWGonqVgx8ROwzxqhGjI/view?fbclid=IwAR1WWlkoFb85vlgMR7zRCL0GaGUSTxvyjyUh9fcVhleTJxNgW_qhX41kBlM
12. รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีพุทธศักราช 2553 : ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1uVVaNhkkLCslnEN0SRV6BS7Y4DX-lwP-/view?fbclid=IwAR1qnHOnxeUXpmgIkEwXfMGPL8mQ55YGp1qQe2B0bariBUAYrqOtGR7J46M
----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล :อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย https://www.facebook.com/skt.his.park/photos/a.460716740647506/5689804991071962
องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านกับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง วันอาสาฬหบูชา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน 6 ทรงคำนึงว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นลึกซึ้งมาก จนเกินกว่าที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม แต่ด้วยพระกรุณาทรงเล็งเห็นว่าผู้ที่พอจะรู้ความก็คงมี เปรียบได้กับดอกบัว 4 ประเภท คือ
1.อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันที เหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว
2.วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ก็ต่อเมื่อขยายความออกไป เหมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำ
3.เนยยะ ได้แก่ ผู้มีความเพียรพยายาม ฟัง คิด อ่าน ถาม จนได้รู้ธรรมวิเศษ เหมือนดอกบัวที่ยังไม่พ้นจากน้ำ
4.ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้จะฟัง คิด อ่าน ถาม ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับโคลนตม
เมื่อเล็งเห็นดังนี้แล้วจึงตกลงพระทัยว่าควรจะโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก่อนเป็นพวกแรก คือ โกณฑัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ซึ่งได้เคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา การเสด็จเดินทางด้วยพระบาทเปล่านั้นอาจใช้เวลานานหลายวัน แต่ปรากฏว่าในตอนเย็นขึ้น 14 ค่ำเดือนอาสาฬหนั้นเอง พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์ ค่ำวันนั้นพระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง 5 รุ่งขึ้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหบูชา จึงเริ่มแสดง ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์ การแสดงธรรมของพระพุทธองค์ในครั้งนี้นับจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา ขณะที่ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ ท่านโกญฑัญญะได้เกิด “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงประทานอนุญาตด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา หลักธรรมอันประเสริฐที่พระองค์ตรัสรู้ นั่นคือ อริยสัจ 4 ประการ ทุกข์เป็นอย่างไร เหตุแห่งทุกข์คืออะไร การดับทุกข์ และหนทางพ้นทุกข์โดยการใช้ชีวิตในทางมรรค 8 คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ จึงจะทำให้พ้นทุกข์ได้และหากดับกิเลสได้จริง จะนำพาไปสู่ นิพพาน
วันอาสาฬหบูชาจึงมีความสำคัญ คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระศาสนา เป็นวันแรกที่ทรงแสดงธรรมอันเป็นการประกาศสัจธรรมแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ ส่งผลให้เกิดพระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกขึ้นในโลก และเป็นวันที่บังเกิดรัตนะครบถ้วนทั้ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
บรรณานุกรม
แปลก สนธิรักษ์. พิธีกรรมและประเพณี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565, จาก: http://164.115.27.97/digital/items/show/19450. 2514.
พูนพิสมัย ดิสกุล, หม่อมเจ้าหญิง. เรื่องน่ารู้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565, จาก: http://164.115.27.97/digital/items/show/18382. 2505.
สงวน เล็กสกุล. คำสอนวิชาศีลธรรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565, จาก: http://164.115.27.97/digital/items/show/10238. 2491.
องค์การศึกษา. ศาสนพิธี เล่ม 1 (หลักสูตรนักธรรม และธรรมศึกษาชั้นตรี). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565, จาก: http://164.115.27.97/digital/items/show/18391. 2503.