ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,549 รายการ
พระเจ้าห้าพระองค์นาคปรก
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
งาช้าง ไม้ปิดทองประดับกระจก
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ๕ องค์ แกะสลักบนงาช้างที่บิดเป็นเกลียว ปลายงาแกะเป็นเศียรพญานาค คนไทยถือว่างาช้างที่งอกผิดจากรูปทรงปกติเป็นของขลังสูงค่านิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป โดยพระพุทธรูป ๕ พระองค์ หมายถึง พระพุทธเจ้าในกัลป์ปัจจุบัน ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคม พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระศรีอาริยเมตไตรย
เลขทะเบียน : นพ.บ.123/22ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.6 x 57.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 22 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
อานิสงส์ ทาน ศีล ชบ.ส. ๓๘
เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.23/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
องค์ความรู้ เรื่อง "ทับหลังศิลปะบายนจากปราสาทพิมาย"จัดทำข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการหนังสืออ่านกวี
นิพนธ์ คำกลอน สังข์ทองตอนเลือกคู่และหาปลาหาเนื้อ. พิมพ์ครั้งที่ ๒๔. พระนคร : โรง
พิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๒. ๑๑๖ หน้า.
เรื่องย่อมีว่า ท้าวยศวิมลมีมเหสี ๒ องค์ คือนางจันทร์เทวีเป็นพระมเหสีเอก และนางจันทามเหสีรอง นางจันทร์เทวีคลอดลูกออกเป็นหอยสังข์จึงถูกนางจันทาใส่ความว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนควรขับไล่ทั้งแม่และลูก ท้าวยศวิมลจึงจำใจให้พาลูกไปเสียไปอาศัยตากับยายในป่า วันหนึ่งสงสารแม่แอบออกมาจากเปลือกหอยช่วยไล่ไก่ที่มาจิกข้าวเปลือกและหุงหาอาหารไว้ให้ เมื่อนางจันทร์เทวีกลับมาพบจึงทุบหอยสังข์เสีย ความทราบถึงท้าวยศวิมลขอให้นำพระสังข์เข้าเฝ้าแต่ก็ถูกนางจันทายุยงจนนำพระสังข์ไปถ่วงน้ำ พญานาคมาพบและส่งไปอยู่กับนางพันธุรัตน์ เมื่อนางพันธุรัตน์ไม่อยู่ก็แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวังพบเห็นกระดูกมากมายกองอยู่จึงรู้ว่านางพันธุรัตน์คือยักษ์ และพบบ่อเงินบ่อทองก็ชุบบ่อเงินและบ่อทองแล้วขโมยรูปเงาะเกือกทอง และไม้พลอง หนีขึ้นเขาไป นางพันธุรัตน์เรียกหาก็ไม่ลงมา นางร้องไห้จนอกแตกตายแต่ได้เขียนมหาจินดามนตร์ที่เรียกเนื้อเรียกปลาไว้ที่โขดหิน พระสังข์ลงมาเห็นก็ท่องจนจำได้ กล่าวถึงท้าวสามนต์ ประกาศหาบุตรเขยโดยการให้บุตรสาวทั้ง ๗ เลือกคู่ด้วยการเสี่ยงมาลัยแต่รจนาเลือกไม่ได้ ท้าวสามนต์เลยคิดว่าผู้ชายที่นำมาให้รจนาเลือกทั้งหมดยังไม่ถูกใจ อำมาตย์จึงทูลว่ามีเจ้าเงาะป่าบ้าใบ้เท่านั้นที่แปลกกว่าคน เชิญเสด็จไปดู ท้าวสามนต์เห็นความน่าเกลียดน่าชังของเจ้าเงาะถึงกับทนดูไม่ได้แต่ใจก็คิดจะ แกล้งประชดรจนา สั่งอำมาตย์ให้พาไปให้รจนาเลือก รจนาแม้ไม่อยากมีคู่ แต่ก็อยากเห็นเจ้าเงาะป่าตัวประหลาดจึงออกไปดู สังข์ทองในรูปเงาะป่าเกิดถูกใจรจนาจึงอธิษฐานของให้รจนาเห็นรูปทองที่อยู่ ข้างใน เมื่อรจนาเห็นจึงโยนมาลัยไปให้ ท้าวสามนต์โกรธจึงขับไล่รจนาและเจ้าเงาะให้ไปปลูกกระท่อมอยู่ที่ปลายนา และคิดกำจัดเจ้าเงาะด้ยการให้ไปจับปลามาให้ได้ร้อยตัวส่วนเขยทั้งหกจับปลาไม่ได้ มาขอพระสังข์แต่ต้องแลกกับการตัดปลายจมูก ต่อมาก็ให้ไปหาเนื้อ พระสังข์ก็ใช้มหาจินดามนตร์ได้เนื้อมานับร้อย ส่วยเขยทั้งหกหาไม่ได้ มาขอพระสังข์แต่ต้องแลกด้วยการตัดหู
แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้
ประวัติศาสตร์แห่งการแรกนาขวัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนา ไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนตอนพระราชพิธีเดือนหก ความตอนหนึ่งว่า
"...การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่นในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทําเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทํานา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือน้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกําลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด..."
แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้
นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีหัวเมืองซึ่งประกอบพิธีแรกนาด้วยเช่นกัน เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองเก่าแก่ และมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนาในหัวเมืองไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน(พระราชพิธีเดือนหก)ตอนหนึ่งว่า
“...หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทานเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑ เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งเขาทําแรกนามาแต่เดิม ไม่มีของหลวงพระราชทาน คือเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา ๒ เมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ๆ เป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองไม่ได้ลงแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนาเป็นผู้แรกนาแทนตัว เมืองสุพรรณบุรีอีกเมืองหนึ่งก็ว่ามีแรกนา ไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน แต่ในปีนี้ได้จัดให้มีการแรกนาขึ้นเป็นการหลวงอีกเมืองหนึ่ง...”
แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนัง
สำหรับงานจิตรกรรมฝาผนัง ภาพของพิธีแรกนาขวัญจะปรากฏอยู่ในส่วนของภาพพุทธประวัติ ตอน “วัปปมงคล” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ประกอบพิธีแรกนาขวัญ ส่วนเจ้าชาย สิทธัตถะราชกุมารนั้นโปรดให้ลาดพระแท่นบรรทมที่ใต้ต้นหว้าใหญ่ แต่พระราชกุมารกลับนั่งทำสมาธิจนได้ ปฐมฌาน และเกิดเหตุมหัศจรรย์เงาต้นหว้าซึ่งพระราชกุมารประทับอยู่นั้นไม่เคลื่อนที่แม้เวลาจะล่วงเลยไป เพียงใดก็ตาม จนเป็นเหตุให้พระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) พระราชกุมาร เป็นครั้งที่ ๒ ดังปรากฏความในพรปฐมสมโพธิกถา กปิลวัตถุคมนปริวัตต์ ปริเฉทที่ ๑๗ ความว่า
“...ในสมัยนั้นสมเด็จกรุงสุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดา ได้ทรงทัศนาพระปาฏิหารเปนมหัศจรรย์ จึงถวายอภิวันทนาการแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาค กาลในวันพระองค์ประสูติ์นั้นนำพระองค์มา เพื่อจะให้วันทนาพระกาลเทวิลดาบส ก็กระทำพระปาฏิหารขึ้นยืนเหยียบพระบาทอยู่ณเบื้องบนชฎาแห่ง พระมหาชฎิล ครั้งนั้นข้าพระองค์ก็ถวายอภิวันทนา พระบาทยุคลเปนปฐมวันทนา แลกาลเมื่อวันกระทำวัปปมงคลแรกนาขวัญก็นำพระองค์ไปบันทมในร่มไม้หว้า ได้ทัศนาฉายาไม้นั้นมิได้ชายไปตามตวัน ข้าพระองค์ก็ถวายบังคมเปนทุติยวันทนาวารคำรบ ๒ แลกาลบัดนี้ได้เห็นประปาฏิหารอันมิได้เคยทัศนากาลมาแต่ก่อน ข้าพระองค์ก็ถวายอัญชลีกรพระบวรบาทเปนตติยวันทนาวารคำรบ ๓ ในครั้งนี้...”
แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนังภาคใต้
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติตอนวัปปมงคล ในพื้นที่ภาคใต้พบไม่มากนัก โดยวัดที่พบการเขียนภาพจิตรกรรมตอนนี้ได้แก่ วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขียนภาพโดยหลวงเทพบัณฑิต(สุ่น) กรมการเมืองพัทลุง โดยเขียนภาพขึ้นราวปลายรัชกาลที่ ๓ – ต้นรัชกาลที่ ๔ วัดท้าวโคตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพัฒนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๔-๕
แรกนาขวัญในผ้าพระบฏในภาคใต้
ผ้าพระบฏ พบที่วัดหัวเตย ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผ้าพระบฏที่เขียนภาพพุทธประวัติ เป็นช่องที่เรียงต่อกันไปนั้น พบว่ามี ๑ ช่อง ซึ่งมีการเขียนภาพเกี่ยวกับพิธีแรกนาขวัญ โดยภาพในช่องดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร กระทำปาฎิหาริย์เสด็จประทับเหนือเศียรอสิตดาบส และครั้งที่ ๒ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารประทับใต้ต้นหว้า ขณะที่พระเจ้าสุทโธทนะประกอบพิธี แรกนาขวัญ ผ้าพระบฏผืนนี้มีข้อความกำกับระบุว่าเขียนขึ้นในพ.ศ.๒๓๔๕ (ช่วงปลายรัชกาลที่ ๑)
คนไถนาวิถีชีวิตท้องถิ่นชาวใต้
นอกจากภาพจิตรกรรมเรื่องแรกนาขวัญอันเนื่องมาจากพุทธประวัติแล้ว ยังภาพกฎภาพ “คนไถนา” ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชิวิตของชาวใต้ ดังเช่นภาพคนไถนาที่เพดานอุโบสถวัดฉัททันต์สนาน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และภาพคนไถนาบนเพดานศาลา ภายในวัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งภาพจิตรกรรมทั้งสองภาพนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราวกลางสมัยรัชกาลที่ ๘ ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ ๙
กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดทำนิทรรศการออนไลน์ “๑๐ หนังสือที่พิมพ์จากเอกสารโบราณทรงคุณค่าของหอสมุดแห่งชาติ” เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยที่อยู่ในเอกสารโบราณ ในรูปแบบ E-book จากต้นฉบับเอกสารโบราณ และหนังสือที่ตีพิมพ์ในปัจจุบัน ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทาง mobile.nlt.go.th หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “NLT Library” นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่สำคัญของชาติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีความเจริญด้านเทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) สำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงได้พัฒนาช่องทางการเข้าถึงทรัพยากร สารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยดำเนินการจัดทำ นิทรรศการออนไลน์ ภายใต้ชื่อเรื่อง “๑๐ หนังสือที่พิมพ์จากเอกสารโบราณทรงคุณค่าของหอสมุดแห่งชาติ” ให้สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ E-book ทั้งจาก ต้นฉบับตัวเขียนที่เป็นเอกสารโบราณอันทรงคุณค่าอย่างยิ่ง และหนังสือที่ผ่านการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยในปัจจุบัน จำนวน ๑๐ เรื่อง ได้แก่ ตำราดูลักษณะแมว กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุดภาพสัตว์หิมพานต์ สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา - ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม ๑ – ๒ หนังสือต้นร่างขรัวอินโข่ง สมุดภาพโคลงฤๅษีดัดตน พระสมุดตำรา แผนคชลักษณ์ สมุดภาพปฤษณาธรรม และสุปรีติธรรมราชชาดกคำหลวง การจัดทำนิทรรศการออนไลน์ในครั้งนี้ นอกจากจะเพื่ออนุรักษ์ เผยแพร่ภูมิปัญญาของบรรพชนไทย ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของเอกสารโบราณ รักษาเอกสารโบราณโดยไม่ต้องสัมผัส และสร้างความตระหนักถึงความ สำคัญในการช่วยอนุรักษ์ต้นฉบับเอกสารโบราณแล้ว ยังเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่สนใจ และรักษา ระยะห่างทางสังคม ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ เข้าชมนิทรรศการออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์ mobile.nlt.go.th และ mobile application “NLT Library” ทั้งระบบ IOS และ Android หรือสแกนคิวอาร์โค้ดตำราดูลักษณะแมวกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมุดภาพสัตว์หิมพานต์สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา - ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม ๑ – ๒หนังสือต้นร่างขรัวอินโข่งสมุดภาพโคลงฤๅษีดัดตนพระสมุดตำราแผนคชลักษณ์สมุดภาพปฤษณาธรรมสุปรีติธรรมราชชาดกคำหลวง------------------------------------------------------ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพประกอบ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
เมื่อครั้งสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งในการพระราชกุศลสัปตมวารพระบรมศพ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๕ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลศราทธพรตร่วมถวายพระบรมศพด้วย โดยภายในการพระราชกุศลตามที่มีการบันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ได้ปรากฏข้อความว่า ราชสำนักได้เชิญราชทูตและผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศร่วมวางพวงมาลา ที่หน้าพระบรมศพ และมิสเตอร์ปิล อรรคราชทูตอังกฤษ ได้นำพวงมาลาของพระเจ้ากรุงอังกฤษ มาวางตามกระแสรับสั่ง ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เพื่อแจกผู้ร่วมในการพระราชกุศลครานั้นด้วย หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เล่มนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งถวายในการพระราชกุศลสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น ๓ บท คือ บทศราทธพรตเทศนา บทศราทธพรตธรรมบรรยายของพระราชาคณะสงฆ์ และบทคำแปลศราทธพรตธรรมบรรยาย ซึ่งจัดพิมพ์ด้วยกระดาษหนาอย่างดีโดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) หากพิจารณาเนื้อความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ หน้า ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔ เรื่อง การพระราชกุศล ศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙ ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถวายธรรมเทศนาธรรมบรรยายศราทธพรต และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสถาพรพิริยพรต หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการสวด ศราทธพรตธรรมบรรยายในการพระราชกุศลครานั้นด้วย ปัจจุบัน “หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” และ “ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ห้องหนังสือหายาก หอสมุดดำรงราชานุภาพ และห้องหนังสือประเทศเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต ร.ศ. ๑๒๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙----------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ----------------------------------------------------------------บรรณานุกรม “การพระราชกุศลศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ (๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ ๑๒๙) ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ร.ศ. ๑๒๙.
หากกล่าวถึงสินค้าทีมาจากแหล่งเรือจมแล้ว ก้อนทองแดงนั้นถือว่าเป็นสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
จากการขุดค้นแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ที่ผ่านมาของกองโบราณคดีใต้น้ำนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ทองแดงนั้นเป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่เรือบางกะไชย 2 นั้นบรรทุกมาในระว่างเรือ เป็นปริมาณ ไม่น้อยกว่า 600 ก้อน
โดยจุดที่พบนั้นกระจายอยู่บริเวณกลางลำเรือใกล้ๆกับฐานเสาใบเรือเป็นหลัก ดังนั้นจากตำแหน่งที่พบนั้นอาจสรุปได้ว่ามีการเลือกพื้นที่ในการจัดเรียงทองแดงเหล่านี้ภายในเรือ อันเนื่องมาจากทองแดงนั้นมีน้ำหนักต่อก้อนค่อนข้างมาก จึงสันนิษฐานว่านอกจากทองแดงเหล่านี้จะเป็นสินค้าที่จะต้องถูกขนย้ายโดยเรือแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการเป็นอับเฉาเรือไปโดยปริยาย
เอกลักษณ์สำคัญของทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2
จากการศึกษาจัดจำแนกรูปแบบเบื้องต้นพบว่าหน้าตาทองแดงเหล่านี้มีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้
1.แบบทรงชาม
2.แบบทรงชามที่มีการซ้อนชั้น (พบมากที่สุด)
3.แบบแผ่น
4.แบบทีไม่มีรูปทรงแน่นอน
โดยในแต่ละรูปแบบมีการขึ้นรูปที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดในตอนต่อไปนะครับ
นอกจากนี้ในบางก้อนยังมีตราประทับไว้ด้วย โดยจากการศึกษาร่องรอยการประทับตราด้วยวิธีการทดลองทางโบราณคดีและการใช้กล้องจุลทรรศในการวิเคราะห์ร่องรอย สามารถสรุปได้ว่าทองแดงเหล่านี้ถูกประทับตาด้วยเครื่องมือประเภทสิ่ว และมีการตอกด้วยฆ้อน
ลักษณะของตราประทับเหล่านี้คล้ายกับภาษาจีน แต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้านภาษาแล้วในบางชิ้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาษาจีนและมีลักษณะเป็นการบ่งบอกจำนวน แต่ส่วนมากจะเป็นลัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมาย และจากการแปรความทางโบราณคดีนั้นสัญลักษณ์บนทองแดงเหล่านี้มีความเป็นไปได้มากมายที่ร่องรอยประทับเหล่านี้อาจจะเป็นได้ ดังนี้
1.ตราสัญลักษณ์ หรือยี่ห้อ?
2.จำนวนนับ?
3.อาจจะบ่งบอกสถานที่ที่ทองแดงเหล่านี้จะถูกนำไปส่ง?
4.อาจจะบ่งบอกถึงสถานที่ผลิต?
ชื่อเรื่อง เรื่องตามใจท่านผู้แต่ง เช็กสเปียร์, วิลเลี่ยม, ค.ศ. 1564-1616.ผู้แปล มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีอังกฤษเลขหมู่ 822.33 ช693รสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2494ลักษณะวัสดุ 169 หน้าหัวเรื่อง บทละครอังกฤษ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เเห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเเปลจากผลงานของเชกสเปียร์ เรื่อง As You Like It ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมขึ้นเพื่ออนุรักษ์ผลงานอันทรงคุณค่า ควรเเก่การศึกษาค้นคว้าให้สืบทอดคงอยู่เป็นมรดกทางวรรณกรรมชาติสืบไป
หอสมุดแห่งชาติ และหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ในรูปแบบออนไลน์ “วันเด็กออนไลน์หัวใจเป็นหนึ่ง” ร่วมลุ้นรับของรางวัลต่าง ๆ มากมาย ผ่านทางFacebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ ลงทะเบียน "ร่วมกิจกรรมหน้าจอ รอรับรางวัลที่บ้าน" ได้ที่ shorturl.at/rCFPX" กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ หัวข้อ “วันเด็กออนไลน์หัวใจเป็นหนึ่ง” เพื่อปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญและรู้จักหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเห็นความ สำคัญของการอ่าน กล้าคิดและกล้าแสดงออก โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ถ่ายทอดผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ประกอบด้วยการชมวีดีทัศน์แนะนำหอสมุด วีดีทัศน์นิทานแจ๋วแหวว เล่นเกมสุภาษิตคำพังเพย เกมจิ๊กซอว์ เกมใครเร็ว ใครได้ เกมทักทายและแนะนำตัวเอง และการจับรางวัลต่าง ๆ ลงทะเบียน "ร่วมกิจกรรมหน้าจอ รอรับรางวัลที่บ้าน" ได้ที่ shorturl.at/rCFPX" ภายในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๕