ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,453 รายการ
ชื่อเรื่อง อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิงค์ ตั้งแต่เชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 915.935 ด427ชสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โสภณพิพรรฒธากรปีที่พิมพ์ 2474ลักษณะวัสดุ 70 หน้าหัวเรื่อง ภาคเหนือ--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว ภาคเหนือ--ความเป็นอยู่และประเพณี ไทย--โบราณสถาน ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเมื่อปีระกา พ.ศ.2464 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ไปเที่ยวมณฑลพายัพโดยล่องมาทางเรือ มีความประสงค์จะตรวจเมืองโบราณตามริมลำน้ำพิงค์ เมื่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงทราบ ตรัสขอให้บอกไปให้ทราด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้จดอธิยายระยะทางล่องลำน้ำพิงค์ลงมา แล้วคัดส่งไปถวายพระราชชายาฯ ตามพระประสงค์
ชื่อเรื่อง พระร่วง บทละคอนร้องผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระ, 2423-2468. ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีไทยเลขหมู่ 895.9112 ม113พสถานที่พิมพ์ ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์ 2467ลักษณะวัสดุ 70 หน้าหัวเรื่อง พระร่วง บทละครร้องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม รัชกาลที่ 6
เลขทะเบียน : นพ.บ.176/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 99 (67-73) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(พระอภิธรรมสังคิณี - พระปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)
ชบ.บ.89/1-16
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.232/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 104 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กจฺจายนมูล(พระมูลลมหากัจจายวิภัตติ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.367/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140 (420-433) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตถสงฺคห (อภิธัมมัตถสังคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์
ชื่อเรื่อง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ 2517
จำนวนหน้า 56 หน้า
รายละเอียด
ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความรู้เกี่ยวกับตำรายาและวิชาแพทย์แผนโบราณ ได้ชมพุทธประวัติจากภาพเขียน และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัด ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธเทวปฎิมากร พระพุทธโลกนาถ พระนาคปรก พระโปรดปัญจวัคคีย์ และเรื่องราวของเจดีย์หลากหลายชนิดในบริเวณวัด
องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านกับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง ประวัติวันพืชมงคล
วันพืชมงคล หมายถึง วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และสืบต่อมาในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ กำหนดจัดขึ้นในราวเดือนหกของทุกปี หรือเดือนพฤษภาคม ทางสำนักพระราชวังจะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ที่กำหนดวันตามฤกษ์ยามที่เหมาะสมตาม "ปฏิทินหลวง" เพื่อเป็นสิริมงคลแด่พืชพันธุ์ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกร และเพื่อเตือนว่าถึงเวลาเริ่มต้นการเพาะปลูกตามฤดูกาลแล้ว ในปี พ.ศ.2509 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น "วันเกษตรกร" อีกด้วย
บรรณานุกรม
ชื่อนี้มีที่มา เล่ม 4 ชุดวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : เพื่อนเรียน, [2549].
วันพืชมงคล 2565 ตรงกับวันไหน เช็กวันหยุดวันพืชมงคล – เปิดประวัติพระราชพิธีสำคัญ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.pptvhd36.com/news
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565, จาก: https://www.moac.go.th/royal_ploughing-lord
แหล่งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาหัวหมวก ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พบภาพเขียนปรากฏอยู่บนก้อนหินโดดขนาดใหญ่วางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีหินก้อนเล็กรูปทรงสามเหลี่ยมวางอยู่ด้านบนคล้ายกับสวมหมวก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “เขาหัวหมวก” ลักษณะภาพเขียนสีที่พบเขียนด้วยสีแดง กระจายตัวอยู่บนผนังก้อนหินใหญ่ ใช้เทคนิคการลงสีแบบโครงร่างภายนอก (outline) คือ การเขียนโครงร่างภายนอกเป็นเส้นกรอบรูปและปล่อยพื้นที่ภายในว่างหรือตกแต่งภายในด้วยลวดลายประกอบ และแบบการลงสีแบบเงาทึบ (silhouette) คือ การวาดโครงร่างและทาสีทับภายใน จากการสำรวจสามารถแบ่งกลุ่มภาพเขียนสีออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศเหนือ พบภาพเขียนสีแดงกระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมากกว่าด้านอื่น ๆ ภาพที่พบส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิต เช่น เส้นตรง เส้นหยัก (ซิกแซค) เรียงกันในแนวตั้ง สภาพซีดจางและเลือนหายบางส่วน ๒. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศใต้ พบภาพเขียนสีแดงอยู่บริเวณที่มีร่องรอยของหินกะเทาะหลุดร่วง จำนวน ๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๒ ภาพ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลังคล้ายกับ วัวป่า/กระทิง และภาพไม่ทราบรูปแบบที่แน่ชัด ๑ ภาพ ๓. กลุ่มภาพบนผนังก้อนหินทิศตะวันตก พบภาพเขียนสีแดง ๖ ภาพ เป็นภาพสัตว์มีเขาและโหนกบนสันหลัง วัว/กระทิง หันหน้าไปทางทิศเหนือ คล้ายกับภาพที่พบบนผนังทิศใต้ และภาพที่ไม่สามารถระบุได้ แน่ชัด เนื่องจากมีสภาพซีดและเลือนลาง การพบภาพเขียนสีดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบริเวณเขาหัวหมวกน่าจะเป็นพื้นที่สำคัญของกลุ่มคนใน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นจุดสำคัญที่สามารถมองเห็นสภาพภูมิประเทศหรือภูเขาโดยรอบและพื้นที่บริเวณหุบเขาด้านล่างในมุมกว้าง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตหรือความเชื่อ เช่น การล่าสัตว์ สภาพธรรมชาติ จากการศึกษาเปรียบเทียบสันนิษฐานว่าภาพเขียนสีเขาหัวหมวกน่าจะเขียนขึ้นในช่วงสมัยสังคมกสิกรรม หรือเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยภาพที่พบส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับภาพเขียนสีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย เช่น ภาพวัวป่า/กระทิง มีการสำรวจพบที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ถ้ำผาฆ้อง ๒ จังหวัดเลย ภูถ้ำมโฬหาร จังหวัดเลย ถ้ำวัว อุทยานแห่งชาติภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เขาวังกุลา จังหวัดกาญจนบุรี ภาพลายเรขาคณิตหรือลายเส้น เช่น เส้นตรง เส้นหยักฟันปลา (ซิกแซก) มีการสำรวจพบที่ถ้ำช้าง เพิงหินร่อง จังหวัดอุดรธานี ถ้ำแต้ม 4 จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำลายมือ ๑ จังหวัดขอนแก่น เขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี-------------------------------------------------------------ผู้จัดทำและเรียบเรียงข้อมูล : นางสาววิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร และ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 (Thai Museum Day 2022 : The Power of Thai Museums) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1. Museum Show & Share 2. Museum Travel 3. Museum Talk 4. Museum Photo Contest ในส่วนรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมจะแจ้งในภายหลังอีกครั้ง เตรียมตั้งตารอและติดตามอย่างใกล้ชิด และเพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมสุดพิเศษเหล่านี้ โปรดกดไลค์ กดแชร์ พร้อมติดตามเพจ Thai Museum Day 2022