ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,432 รายการ

 ชื่อผู้แต่ง                  พญาลิไทยชื่อเรื่อง                   ไตรภูมิมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่ครั้งที่พิมพ์                -สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯสำนักพิมพ์               โรงพิมพ์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๕จำนวนหน้า              ๑๕๗    หน้าหมายเหตุ                สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานทอดกฐิน ณ วัดทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๒๓  ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๒๕                          ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วงนี้ เป็นวรรคดีทางพุทธศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่งของไทย แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถ และอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในการนิพนธ์วรรณคดีที่แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักในพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้


ว่าด้วยตำรายา ได้แก่ ยาแก้ไข้, ยาแก้สันนิบาต, ยาแก้อนมิหลับ, ยาแก้เสลด แก้สอึก เป็นต้น


ผู้แต่ง : พระราชวิสุทธิโสภณ ปีที่พิมพ์ : 2531 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ




กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ ๒ (แก้ไขเพิ่มเติม)


ออกสำรวจทำผังเก็บรายละเอียดสภาพปัจจุบันปราสาทหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน - ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗(อยู่ระหว่างดำเนินการเขียนแบบ)นายนุกูล ดงสันเทียะ นายช่างโยธาปฏิบัติงานและคณะ




           พระนครศรีอยุธยา หรือกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา เป็นที่ทราบกันดีว่าตำแหน่งและผังเมืองของอดีตเมืองหลวงแห่งนี้แสดงให้เห็นภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างทรงประสิทธิภาพ แม้ว่าที่ตั้งจะเป็นจุดศูนย์รวมแม่น้ำสายสำคัญถึงสามสายแต่ชาวกรุงศรีอยุธยาก็สามารถปรับตัวและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับรัฐในระดับสากล ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ การเกษตรและการค้าขายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาอยุธยาขึ้นสู่จุดสูงสุด แต่ทั้งนี้เบื้องหลังความเจริญดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากการควบคุมทรัพยากรน้ำโดยใช้ระบบคูคลองภายในเกาะเมืองอยุธยาเป็นหัวใจหลักอันหนึ่ง โดยสัณฐานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบสามสาย ชาวอยุธยาเรียกแม่น้ำทั้งสามสายนี้รวมกันว่า “คลองคูเมือง” หรือ “คูเมือง”            คูเมืองทิศเหนือรับน้ำจากแม่น้ำลพบุรีและเจ้าพระยา คูเมืองทิศตะวันออกรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก คูเมืองทิศใต้เป็นจุดรวมแม่น้ำทุกสายไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางกระจะหรือบ้านน้ำวน ภายใน เกาะเมืองมีคลองหลักที่ผันน้ำจากคูเมืองทิศเหนือผ่านเกาะเมืองลงมายังคูเมืองทิศใต้ถึงสามสาย เรียงจาก ทิศตะวันตกไปตะวันออก ได้แก่ คลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) คลองประตูข้าวเปลือกหรือคลองประตูจีน และคลองนายก่าย (ภายหลังเรียก “คลองมะขามเรียง”) คลองทั้งสามนอกจากจะเป็นทางที่ตัดตรงจาก ทิศเหนือ–ใต้ ในมิติของการคมนาคม ยังเป็นคลองที่ใช้ระบายน้ำจากแม่น้ำลพบุรีลงมาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ในฤดูที่น้ำเหนือไหลหลาก จากการที่เป็นเส้นทางคมนาคมหลักนี้เองจึงเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางด้านการเมือง การค้า และศาสนา            สถานที่สำคัญทั้งที่เป็นศูนย์กลางทางอำนาจ การเมือง ศาสนา และเศรษฐกิจ ของอยุธยา ตั้งอยู่ตลอดคลองทั้งสาม อันสมควรยกเป็นตัวอย่าง ทางด้านการปกครอง คือ พระราชวังหลวงของอยุธยา มีขอบเขตด้านทิศตะวันตกติดกับคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) ยังปรากฏหลักฐานการผันน้ำจากคลองฉะไกรใหญ่เข้าสู่บ่อเก็บน้ำต่างๆ ในพระราชวัง ไม่ว่าจะเป็น สระแก้ว สระระฆัง โดยเฉพาะพระที่นั่ง บรรยงค์รัตนาสน์ หรือพระที่นั่งท้ายสระ ซึ่งมีคูน้ำล้อมรอบด้วยการผันน้ำจากคลองฉะไกรใหญ่ผ่านประตูน้ำชื่อ “อุดมคงคา” และออกทางประตูน้ำ “ชลชาติทวารสาคร” แสดงให้เห็นการจงใจเลือกตำแหน่งของพระราชวังหลวงให้สามารถใช้ประโยชน์ด้านอุปโภคบริโภคจากคลองฉะไกรใหญ่ได้สะดวก ทางทิศตะวันออกของ คลองฉะไกรใหญ่ยังมีคลองประตูข้าวเปลือกเป็นทางน้ำขนาดใหญ่ขุดผ่านกลางเกาะเมือง ปากคลองทิศเหนือเป็นที่ตั้งของป้อมประตูข้าวเปลือก ไหลลงทางใต้ผ่านวัดคู่บ้านคู่เมืองพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ซึ่งล้วนเป็นจุดศูนย์กลางทางศาสนา ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือวัดมหาธาตุซึ่งพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีของอยุธยาจำพรรษาอยู่ ความสำคัญของวัดมหาธาตุปรากฏดังเหตุการณ์ตอนหนึ่งในจดหมายเหตุราชทูตลังกาเดินทางมาสืบศาสนาในอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๒๙๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กล่าวถึงเหตุการณ์เข้าพบพระสังฆราชของอยุธยา และบรรยายสภาพบริเวณสังฆาวาสของวัดมหาธาตุไว้ว่า “...ในบริเวณรอบตำหนักพระสังฆราช มีกุฎีภิกษุสามเณรต่อไปเป็นอันมาก มีทั้งที่พักอุบาสก อุบาสิกา และที่พักของพวกข้าพระโยมสงฆ์ ซึ่งมากระทำการอุปัฏฐากทุกๆ วัน...” แสดงให้เห็นว่าคลองประตูข้าวเปลือกเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่นำมาสู่ศูนย์กลางทางศาสนาของอยุธยา           ปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของอยุธยาเป็นเรื่องของการพานิชย์ปรากฏศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ปลายคลองนายก่ายทางทิศใต้ คือ ย่านนายก่าย ย่านสามม้า ต่อเนื่องถึงตลาดนานาชาติบริเวณ ป้อมเพชร พื้นที่ซึ่งชาวจีนตั้งย่านตลาดค้าขาย สินค้าทั้งที่นำเข้าจากต่างประเทศและผลิตโดยช่างชาวจีน บรรดาสินค้าจากต่างถิ่นซึ่งมีขายอยู่ในย่านนายก่าย ได้แก่ เครื่องกระเบื้อง ภาชนะโลหะต่างๆ ผ้าไหมและ ผ้าแพร เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ผลิตโดยช่างชาวจีน ได้แก่ ขนมแห้ง(จันอับ) รวมถึงขนมนานาชนิด เครื่องเรือนไม้ เครื่องใช้ไม้สอยจากโลหะ เป็นต้น จากตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่กล่าวมาพอจะให้ภาพสังคมของอยุธยาตั้งแต่เรื่องของการปกครอง ความเชื่อ และวิถีชีวิต ล้วนเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงอยู่กับลำน้ำทั้งสามสายนี้เสมือนเป็น ถนนสายหลักของชาวกรุงศรีอยุธยา ---------------------------------ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายศุทธิภพ จันทราภาขจี นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา เอกสารอ้างอิง : ๑. วินัย พงศ์ศรีเพียร. พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์). กรุงเทพ: อุษาคเนย์, ๒๕๕๑ ๒. ศิลปากร, กรม. โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๑. ทวีวัฒน์การพิมพ์: กรุงเทพฯ, ๒๕๕๑



***บรรณานุกรม*** ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ ปีที่ 14(5) ฉบับที่ 623(213) วันที่ 16-31 มกราคม 2533


ชื่อเรื่อง : ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4ชื่อผู้แต่ง : สุรศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยาปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : -จำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4 เล่มนี้เป็นเรื่องราวประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ครั้งที่ท่านได้ตั้งโรงหมอ และโรงพยาบาล สร้างที่ทำการและบ้านเรือน รวมไปถึงการจับปราบปรามผู้ร้าย และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี


          วันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๗.๓๐ น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลและทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๑๒๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมีองคมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมในพิธีดังกล่าว โดยผู้ร่วมในพิธีดังกล่าวได้เยี่ยมชมนิทรรศการ บ้านจำลองและพิพิธภัณฑ์ A “ห้องสร้อยสังวาลย์สวรรค์” และพิพิธภัณฑ์ B “ห้องสร้างสรรค์สว่างไสว” ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ


ชื่อเรื่อง                                นิทานท้าวชาลีและนางกัณหา(นิทานท้าวชาลีและนางกัณหา)สพ.บ.                                  220/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 35 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


     พระแม่ธรณีบีบมวยผม      ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)      โลหะผสม      สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ตามพุทธประวัติตอนมารผจญ พระแม่ธรณีจะปรากฏกายขึ้นแล้วบีบมวยผมหลั่งน้ำให้ท่วมจนกองทัพพญามารพ่ายแพ้ไป ทำให้พระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


Messenger