ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,400 รายการ
ชื่อเรื่อง : เที่ยวตามทางรถไฟ
ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์
จำนวนหน้า : 142 หน้า
สาระสังเขป : เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟนี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ประทานให้แก่กรมรถไฟไว้เป็นตอนๆ กล่าวถึงความสำคัญของสถานที่ และเมืองตามทางที่รถไฟผ่าน ได้แก่สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ เจตจำนงของพระองค์ที่นิพนธ์เรื่องนี้ขึ้น เพื่อเป็นคู่มือประกอบการท่องเที่ยว และหาความรู้แม้ว่าในปัจจุบันนี้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่เหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ผู้อ่านจะพบว่าเรื่องเที่ยวตามทางรถไฟนี้ยังมีคุณประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก
ชื่อเรื่อง : รวมเรื่องพระร่วง
ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2521
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพยาบาลมหามกุฏราชวิทยาลัย
ชื่อหนังสือ : นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์
หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาให้ความรู้ความเข้าใจในด้านประวติศาสตร์และโบราณคดีของโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม. กีฬาพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านประจำถิ่น. มหาสารคาม : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม, 2527.รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาพื้นเมืองของทางภาคอีสาน อธิบายถึงวิธีเล่น อุปกรณ์การเล่น สถานที่เล่น พร้อมภาพประกอบ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการละเล่นประจำถิ่นมิให้สูญหายไป796.1ม247ก
การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสตอนเหนือเมืองกำแพงเพชรเก่า (เขตอรัญญิก) ได้แก่ วัดกำแพงงาม วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดอาวาสใหญ่ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับกลุ่มโบราณสถานด้านนอกกำแพงเมืองไว้ ดังนี้ มีพระราชนิพนธ์ถึงที่ตั้งของโบราณสถานว่าเป็นพื้นที่สูงและมีพื้นเป็นศิลาแลง และลักษณะการใช้ศิลาแลงในการก่อสร้างกำแพงโบราณสถาน โดยพบว่าที่วัดกำแพงงามยังปรากฏแนวกำแพงที่มีความสมบูรณ์กว่าโบราณสถานแห่งอื่น ๆ “...แล้วจึงไปขึ้นดินสูง ที่สูงนั้นพื้นเป็นแลงทั้งสิ้น...พอขึ้นที่สูงนั้นหน่อยหนึ่งก็ถึงวัดเป็นวัดใหญ่ ๆ แต่ไม่มีชื่อทั้งสิ้น ด้วยเป็นวัดทิ้งอยู่ในป่าเสียแล้ว วัดเหล่านี้ใช้แลงแผ่นยาว ๆ ตั้ง ๒ ศอกเศษ หน้ากว้างคืบเศษฤาศอก ๑ หนา ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว ตั้งเรียงดันเป็นระเนียดมีกรอบแลงเหลี่ยมลอกมุมทับหลังเหมือนกันทุก ๆ วัด แต่วัดที่เขาให้ชื่อไว้ว่ากำแพงงามเป็นเรียบร้อยดีกว่าทุกแห่ง ทีจะทำภายหลังวัดอื่น...” ข้อความที่บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดพระนอนมีการกล่าวถึงลักษณะที่สมบูรณ์ของเจดีย์ประธานวัดพระนอนไว้ว่า “…จะว่าด้วยวัดพระนอนนี้วิหารใหญ่มาก แต่โทรมไม่มีอะไรอัศจรรย์ ในทักษิณชั้นล่างตั้งสิงห์เบือนเห็นจะมากคู่ แต่เดี๋ยวนี้เหลือ ๒ ตัว ชิ้นกลางเป็นวิหาร ๕ ห้อง...เสาใช้แลงท่อนเดียวเป็นเสา ๔ เหลี่ยมใหญ่ ห้องข้างหน้ามีพระนอน ห้องข้างหลังมีพระนั่ง ๒ องค์ ชิ้นหลังเป็นพระเจดีย์ฐาน ๘ เหลี่ยม ระฆังกลมรูปแจ้งามมาก เกือบจะสู้พระเจดีย์กลางถนน เมืองย่างกุ้งได้...” ส่วนพระราชนิพนธ์ที่กล่าวถึงโบราณสถานวัดพระสี่อิริยาบถมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการตั้งชื่อวัดไว้ความว่า “...ตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู...ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า เห็นว่าให้ชื่อว่าวัดพระยืนไม่เข้าเค้า จึงเปลี่ยนให้เรียกว่าวัดพระเชตุพนไปพลาง กว่าจะมีชื่ออื่นดีกว่า เหตุด้วยเมืองสุโขทัยมีวัดเชตุพน บางทีเขาจะตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง...” โบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ มีข้อความบรรยายเกี่ยวกับรูปแบบของเจดีย์ และลักษณะแผนผังของวัดที่คล้ายกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุของเมืองลพบุรี “…ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์หรือปรางค์อันใดพังเสียหรือไม่แล้ว ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่เป็นฐานเดียวกัน หลาย ๆ องค์บ้าง องค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีและวัดพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมี ข้างหน้าวัดมีสระ ๔ เหลี่ยมกว้างยาวลึกประมาณสัก ๕ วา...น้ำในนั้นมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้ เมื่อเห็นวัดนี้เข้าแล้ว เป็นการจำเป็นที่จะยืนยันรับรองว่าวัดในเมืองจะเป็นวัดพระแก้วไม่ได้เลย ถ้าพระแก้วได้อยู่ในเมืองนี้คงจะอยู่วัดนี้ ใช่จะแต่เฉพาะว่าวัดใหญ่เกี่ยวด้วยกาลเวลาเสียด้วย เป็นอันสันนิษฐานได้ในเรื่องเมืองกำแพงเพชรนี้ ดังที่จะว่าต่อไป” “เมืองกำแพงเพชรนี้เดิมตั้งอยู่ห่างฝั่งน้ำทุกวันนี้ประมาณ ๑๐๐ เส้น น่าจะมีลำน้ำมาที่ชายเนินแลง ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าเป็นที่ลุ่มน้ำ หรือที่อื่นตลอดจนถึงเวลาพระร่วงเป็นใหญ่ในเมืองสวรรคโลกเป็นเวลาร่วมกันกับมังรายลงมาจากเชียงราย ตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง พวกเจ้านายในเมืองสวรรคโลกกลัวว่าสวรรคโลกล่อแหลมนัด จึงคิดอ่านตั้งสุโขทัยเป็นเมืองหลวงขึ้นอีกเมืองหนึ่ง สวรรคโลกให้ลูกเธอไปอยู่เป็นทัพหน้า ข้างฝ่ายแม่น้ำน้อยนี้จะเป็นด้วยแม่น้ำเปลี่ยนไปก็ตาม หรือเมืองเดิมตั้งอยู่ห่างน้ำก็ตาม พระร่วงหรือวงศ์พระร่วงเห็นควรจะเลื่อนเมืองลงมาตั้งริมน้ำให้ข่มแม่น้ำนี้ จึงมาสร้างกำแพงขึ้นใหม่ให้ชื่อเมืองกำแพงเพชร ทำทางหลวงเดินขึ้นไปสวรรคโลกสายหนึ่ง มากำแพงเพชรสายหนึ่ง เพื่อจะให้เดินทัพช่วยกันได้สะดวก...ด้วยเหตุฉะนั้น เจ้าผู้ครองเมืองกำแพงเพชรจึงย้ายเข้ามาอยู่ในกำแพง ได้สร้างวัดใหญ่ขึ้นแต่วัดเดียว เมื่อองค์อื่นจะสร้างก็สร้างเติมต่อ ๆ ไป จึงไม่มีวัดใหญ่ในกำแพงเมือง วัดในกำแพงต้นทางที่มีพระเจดีย์ซึ่งมกุฎราชกุมารสมมติให้เป็นวัดมหาธาตุ ถ้าจะเทียบกับวัดข้างนอกเมืองเล็กนักเป็นไม่ได้วัดพระแก้วนั้นเล่าพระแก้วก็อยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่พระแก้วจะตกมาอยู่กำแพงเพชรคงจะมาอยู่ก่อนสร้างกำแพงเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้...” จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรวัดในเขตอรัญญิก ได้มีพระราชวินิจฉัยว่าโบราณสถานนอกกำแพงเมืองน่าจะมีอายุเก่ากว่าในกำแพงเมือง และได้เทียบขนาดของโบราณสถานระหว่างในเมืองกำแพงเพชรกับนอกเมืองแล้ว พบว่านอกเมืองมีขนาดใหญ่กว่า โดยเฉพาะที่วัดอาวาสใหญ่ ทำให้มีข้อพระราชวินิจฉัยว่าพระแก้วมรกตหากได้มีการประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรจริง น่าจะประดิษฐานที่วัดอาวาสใหญ่ด้านนอกเมืองแห่งนี้ การเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้ยังประโยชน์ต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองกำแพงเพชรเป็นอย่างมาก ทั้งพระราชวินิจฉัยที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสภาพในอดีตของโบราณสถานในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรบรรณานุกรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๒๖. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙.
คันฉ่องสำริด พบที่แหล่งเรือจมรางเกวียน จังหวัดชลบุรี แบบศิลปะจีน พบในแหล่งเรือจมรางเกวียนจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรือจมที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สันนิษฐานว่าเป็นวัตถุมงคลที่ช่างต่อเรือฝังตรึงไว้เพื่อให้ความคุ้มครองป้องกันภัยในการเดินทาง พบจำนวน 3 ชิ้น เฉพาะคันฉ่องที่มีลายนูนพบฝังตรึงอยู่กับกระดูกงูด้านหัวเรือลักษณะเป็นคันฉ่องบานขนาดเล็ก ด้านหน้าขัดเรียบ ด้านหลังมีลายนูนรูปต้นไม้และรูปกลุ่มบุคคล ในประเทศไทยคันฉ่องสำริดศิลปะจีนอยู่หลายชิ้น ตัวอย่างเช่น คันฉ่องที่พบที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบที่ริมแม่น้ำเพชรบุรี อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และพบที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น การทำคันฉ่องสำริดของจีน เริ่มมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก อายุราว 2500 ปีมาแล้ว มีการค้นพบแม่พิมพ์คันฉ่องที่มีลวดลายของสัตว์และดอกไม้ที่แหล่งโบราณคดีในมณฑล Shansi ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก หลังจากนั้นก็มีการทำต่อมาเรื่อยๆ รวมทั้งเผยแพร่รูปแบบและเทคนิคไปยังดินแดนอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น ญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี------------------------------------------อ้างอิง 1. กรมศิลปากร.โบราณคดีสีคราม.โครงการโบราณคดีใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ,2531 2. ล้อม เพ็งแก้ว ชื่อ “วัตถุทางวัฒนธรรม” ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2559 3.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 3 กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542 4.องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เรื่อง “คันฉ่องสำริดที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 5. Yunxiang Bai, On the two traditions of the bronze mirror casting techniques in East Asia. Chinese Archaeology | Volume 11: Issue 1 Published online: 01 Jan 2011 6. Ancient Chinese Bronze Mirrors from the Lloyd Cotsen Collection. Nov. 12, 2011–May 15, 2012 Virginia Steele Scott Galleries of American Art, Susan and Stephen Chandler Wing, The Huntington Library, Art Collections and Botanical Gardens
ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486.
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2496
หมายเหตุ : ต้นฉบับจากกรมศิลปากร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาวาอากาศเอก พระประพิณพนยุทธ์ (พิณ พลชาติ)
กล่าวถึงประวัติเรือรบไทยตั้งแต่สมัยโบราณ 2 ชนิด คือ เรือรบใช้สำหรับทางแม่น้ำและเรือรบใช้สำหรับทางทะเล
รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2542 - 2543 ผู้แต่ง สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาลโรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ปปีที่พิมพ์ 2543ภาษา ไทย - อังกฤษ รูปแบบ pdfเลขทะเบียน หช.จบ. 214 จบ (ร)
การผลิตสังคโลกในอดีตนั้น ความเชี่ยวชาญของช่างปั้นและประสบการณ์ที่ได้จากการลองผิด ลองถูกถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้การผลิตเครื่องสังคโลกมีประสิทธิภาพ ในบางครั้งการผลิตเครื่องสังคโลกจึงเกิดความผิดพลาดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความผิดพลาดที่เกิดจากการผลิตสังคโลกมีหลายกรณี เช่น การแตกราน เกิดจากตัวเคลือบและเนื้อดินปั้นขยายหรือหดตัวไม่เท่ากัน ทำให้ผิวเคลือบมีรอยแตกเหมือนร่างแห น้ำเคลือบแยกตัว มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น เนื้อดินปั้นเปียกชื้น มีฝุ่นละอองจับอยู่ที่ผิวดินก่อนเคลือบ หรือน้ำเคลือบข้นเกินไป ทำให้สังคโลกที่ได้มีช่องว่างที่เห็นผิวดินเพราะไม่มีเคลือบติดอยู่ น้ำเคลือบไหลตัว เป็นผลมาจากการเผาด้วยอุณหภูมิสูงเกินไป หรือชุบน้ำเคลือบหนาเกินไป ส่งผลให้น้ำเคลือบไหลตัวเป็นหยด การแตกร้าว มีสาเหตุมาจากการชุบเคลือบหนาเกินไป หรือนำภาชนะออกจากเตาในขณะที่ยังร้อนอยู่ และเมื่อพบกับอุณหภูมิภายนอกที่ต่ำกว่ามาก ภาชนะจึงแตกร้าว การบิดเบี้ยว เกิดจากการเผาภาชนะด้วยความร้อนสูงเกินไป หรือตั้งภาชนะอยู่ใกล้เปลวไฟมากเกินไป ทำให้สังคโลกเกิดการบิดเบี้ยวเสียรูปทรง แม้ว่าสังคโลกกลุ่มนี้จะไม่ใช่ผลงานที่สมบูรณ์แต่ก็ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญที่แสดงถึงความพยายาม ของช่างในการผลิตเครื่องสังคโลก และเป็นตัวอย่างของบทเรียนจากความผิดพลาดที่ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของคนในอดีตเพื่อนำไปใช้พัฒนาต่อยอดต่อไปได้ การแตกราน น้ำเคลือบแยกตัว น้ำเคลือบไหลตัว การบิดเบี้ยว ---------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ----------------------------------------------------------
ลำดับที่ ๐๐๓ เรื่อง จดหมายเหตุว่าด้วย โรคติดต่อร้ายแรง ตอนที่ ๒
ปัจจุบันสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ หรือ (โควิค-๑๙) ที่แพร่ระบาดหนักในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายต่อชีวิต และเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมถึงกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก
หากย้อนไปในอดีตจากข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุพบว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคได้เกิดขึ้นหลายครั้งในประเทศไทย ดังที่ได้นำเสนอไว้ในตอนที่ ๑
สำหรับสัปดาห์นี้ เสนอ บทความความรู้จากงานจดหมายเหตุจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ลำดับที่ ๐๐๓ เรื่อง
จดหมายเหตุว่าด้วย โรคติดต่อร้ายแรง ตอนที่ ๒ กำจัดยุง กำจัดไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรียมีการติดต่อแพร่เชื้อโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค การควบคุมไข้มาลาเรียไม่ให้มีการแพร่ ขยายออกไป จึงจำเป็นต้องตัดวงจรชีวิตยุงก้นปล่องให้ได้มากที่สุด ด้วยการพ่นเคมี ดี.ดี.ที.
แม้ว่าการพ่น ดี.ดี.ที. จะช่วยกำจัดยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียได้ แต่ประชาชนบางส่วนยัง ไม่มั่นใจว่าการพ่น ดี.ดี.ที. จะช่วยลดการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรียได้ และเกรงว่าจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย และอาคารบ้านเรือน
หน่วยมาลาเรียที่ ๕ สุราษฎร์ธานี ศูนย์มาลาเรียเขต ๔ สงขลา จึงออกใบประกาศ ประชาสัมพันธ์ไปยังพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไข้มาลาเรีย การปฏิบัติงานของทาง ราชการ และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ในการพ่นเคมี ดี.ดี.ที.
นอกจากนี้ หน่วยมาลาเรียที่ ๑ ตาก ศูนย์มาลาเรียเขต ๑ พระพุทธบาท มีบทความออกอากาศทางสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยแม่สอด จังหวัดตาก ครั้งที่ ๖๕/๓/๒๕๒๔ ประจำวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๔ ในรายการมาเลเรียเพื่อประชาชน ได้มีการอ่านบทความเกี่ยวกับไข้มาลาเรีย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่ประชาชน และมีการนำบทกลอนที่เขียนถึงไข้มาลาเรียอ่านออกอากาศ
รายละเอียดสามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐
โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙
โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒
E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com
Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/
เลขทะเบียน : นพ.บ.121/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 57.3 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 69 (225-231) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺกรณาภิธมฺ (พระอภิธมฺสงฺคิณี-พระยกมกปกรณ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม