ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-2ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.224/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ(บาลีวินัยกิจ) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.359/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      หม่อมเจ้าการวิก ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2460 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ กับหม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. 2473 ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียน Lycée Perier ประเทศฝรั่งเศส       หม่อมเจ้าการวิกมีความสนพระทัยในด้านศิลปะตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โปรดการการเขียนภาพลายเส้นการ์ตูนล้อเลียน จึงทำให้พระองค์เริ่มเรียนรู้เทคนิคการเขียนภาพสีน้ำที่ประเทศฝรั่งเศส หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าการวิกได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ไปประทับที่ประเทศอังกฤษเพื่อถวายการรับใช้ ระหว่างที่ตามเสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ก็ทรงเขียนภาพทิวทัศน์ของสถานที่นั้นๆ ไว้ด้วย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น หม่อมเจ้าการวิกได้เข้าประจำการในกองทัพอังกฤษและเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ทรงใช้เวลาว่างจากการฝึกซ้อมในค่ายทหารที่ประเทศต่างๆ ด้วยการเขียนภาพสีน้ำ       หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หม่อมเจ้าการวิกเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทย และได้พบกับนายโมเนต์ ซาโตมิ (Monet Satomi) อุปทูตด้านวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และศิลปินชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ณ ขณะนั้น ซาโตมิได้แนะนำให้พระองค์ลองส่งภาพเขียนสีน้ำที่มีชื่อว่า “สิงห์” (ภูเขาลูกหนึ่งในประเทศอินเดีย) เข้าร่วมประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2493) โดยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม หลังจากนั้นหม่อมเจ้าการวิกทรงส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดต่อเนื่องหลายครั้ง (ครั้งที่ 2 6 8 9 10 และ 11) และได้รับรางวัลทุกครั้งที่ส่งเข้าร่วมการประกวด       จากนั้นพระองค์ได้รับการทูลเชิญให้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 22 ครั้ง ในฐานะผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านทัศนศิลป์ พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการศิลปะของไทยนับแต่นั้น ทรงดำรงตำแหน่งนายกศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีนานาชาติ โดยการสนับสนุนศิลปินไทยให้ได้เข้าร่วมประชุม แสดงผลงานศิลปะ และศึกษาต่อในต่างประเทศ       หม่อมเจ้าการวิกเป็นจิตรกรผู้มีฝีมือสูงในการเขียนภาพสีน้ำ ผลงานในยุคแรกมีลักษณะเหมือนจริง ต่อมาจึงคลี่คลายเป็นแบบกึ่งนามธรรม พระองค์โปรดการเขียนภาพทิวทัศน์และบรรยากาศของสถานที่ต่างๆ เมื่อเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทยแล้วจึงเริ่มเขียนภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตและงานประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น ภาพ “นครปฐม” (พระร่วงโรจนฤทธิ์/ไปไหว้พระนครปฐม) ใช้เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ ฝีแปรงเรียบง่าย แต่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2501)        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของหม่อมเจ้าการวิกไว้ในสูจิบัตรประกอบการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ว่า “…ภาพทิวทัศน์ต่างๆ นั้น ท่านใช้พู่กันป้ายสีสองสามครั้งก็เสร็จ…” และ “…หม่อมเจ้าการวิกท่านเขียนรูปคนขนาดเล็ก โดยใช้วิธีใช้สีแต้มเป็นจุดๆ อย่างฉลาด…” แม้ว่าจะทรงเป็นจิตรกรสมัครเล่น แต่พระองค์ก็ทรงชำนาญในการเขียนสีน้ำอย่างยอดเยี่ยม หม่อมเจ้าการวิก สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สิริพระชันษา 85 ปี        พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูพระเกียรติให้หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ทรงเป็น “บูรพศิลปิน” สาขาทัศนศิลป์  



ชื่อเรื่อง : หลักกฎหมายทั่วไปและการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ชื่อผู้แต่ง : อาภา ภมรบุตร ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : วัดประยุตวงศาวาส สำนักพิมพ์ : กรุงเทพฯ จำนวนหน้า : 186 หน้าสาระสังเขป : เป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสิงใต ภมรบุตร ณ เมรุวัดประยุรวงศาสาส ธนบุรี ในวันที่ 20 มกราคม 2514 และในหนังสือเล่มนี้ได้พิมพ์เรื่องหลักกฎหมายทั่วไปและการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งเป็นผลงานของนายอาภา ภมรบุตร บุตรของผู้วายชนม์




"งานบันทึกหลักฐาน" งานบันทึกหลักฐานสภาพความชำรุดเสียหายของจิตรกรรมฝาผนัง ด้วยการบันทึกภาพถ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการปฏิบัติงานอนุรักษ์ในขั้นตอนต่อไป กิจกรรมงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หนึ่งในโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีนายอภิชาติ สุวรรณ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ เป็นผู้ควบคุมงาน ระยะเวลาดำเนินงาน มีนาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เปิดแหล่งภาพเขียนสีโบราณแห่งเมืองขอนแก่น” วิทยากรโดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


          สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถในด้านดนตรีและทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยพระองค์หนึ่ง ทรงสนพระทัยในดนตรีมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ และทรงเริ่มหัดดนตรีไทยในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะอักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่นๆ ด้วย เครื่องดนตรีที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง ในด้านดนตรีสากล พระองค์ทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ ๑๐ พรรษา และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ จนสามารถทรงทรัมเป็ตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ตได้ นอกจากจะทรงดนตรีแล้ว ยังทรงสนพระทัยในด้านการขับร้องด้วย ทรงเรียนขับร้องเพลงไทยกับอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ด้านการขับร้องเพลงไทยทำนองเสนาะกับอาจารย์กำชัย ทองหล่อ ส่วนการประพันธ์บทเพลงนั้นทรงนิพนธ์คำร้องเพลงลูกทุ่ง ชื่อเพลง “ส้มตำ” เป็นเพลงแรก ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ และยังมีเพลงอื่นๆ ที่ทรงนิพนธ์ไว้ ได้แก่ เต่ากินผักบุ้ง เต่าเห่ พญาโศก ดุจบิดรมารดา ลอยประทีปเถา เมนูไข่ รัก เป็นต้น          สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการศึกษาดนตรีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีโดยมีการเผยแพร่และถ่ายทอดไปยังเยาวชน โดยเฉพาะดนตรีไทยซึ่งเป็นมรดกที่สำคัญของไทย เนื่องจากทรงเห็นคุณประโยชน์ของดนตรีว่าเป็นวิชาชีพได้อย่างดี เป็นประณีตศิลป์ที่หาผู้เรียนได้ยากแขนงหนึ่ง สามารถหล่อหลอมจิตใจผู้เล่นให้เป็นคนมีวัฒนธรรมประจำใจ มีระเบียบรอบรู้ในประเพณีและแบบแผน ที่สำคัญคือทำให้เป็นคนสุขุม อดทน มีความสามัคคี และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ดนตรีจึงมีความสำคัญต่อเยาวชนเป็นอย่างมาก ดังพระราชกระแสดำรัสตอนหนึ่งความว่า          “ดนตรีไทยเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวไทย ความล้ำค่าของดนตรีไทยนั้นอยู่ที่ดนตรีไทยและเพลงไทยได้สะท้อนความเป็นไทยในส่วนที่เป็นความละเอียดอ่อน ละเมียดละไม อ่อนโยนต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ได้อย่างหมดจดยิ่งกว่าวัฒนธรรมด้านอื่นๆ การรู้จักดนตรีไทยย่อมเป็นการรู้จักความละเมียดละไมของบรรพชนไทยได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นไทยอย่างชื่นชมตลอดไปด้วย”          การได้รับพระราชสมัญญาว่าทรงเป็น “องค์เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” โดยเฉพาะในส่วนของดนตรีนั้น จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงมีพระราชจริยาวัตรหลายประการที่ทรงมีคุณูปการต่อวงการดนตรี ดังนี้           ๑. ทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนไทย โดยทรงดนตรีไทย ขับร้องเพลงไทย และพระราชทานในโอกาสพิเศษ โดยเสด็จลงทรงดนตรีไทยร่วมกับประชาชนทุกเพศทุกวัยเสมอมา            ๒. ทรงเป็นนักวิชาการดนตรี โดยทรงศึกษารายละเอียดต่างๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถพระราชทานข้อวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ และทรงปฏิบัติได้อย่างถ่องแท้           ๓. ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทย ทั้งในด้านการชำระโน้ตเพลง บันทึกเพลงเก่า และเผยแพร่งานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง            ๔. พระราชนิพนธ์บทความเกี่ยวกับดนตรีไทย ดนตรีต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับไทย และเพลงไทยอย่างต่อเนื่อง            ๕. ทรงส่งเสริมช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย สนับสนุนให้ใช้เครื่องดนตรีไทยในการเรียนการสอนดนตรีของเยาวชน โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีจากต่างประเทศ            ๖. ทรงส่งเสริมและสนับสนุนในด้านการศึกษาดนตรี โปรดให้มีการเรียนปี่พาทย์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา ทรงพระราชทานชุดเครื่องดนตรีไทยแก่โรงเรียนต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนดนตรีสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยพระราชทานครูไปสอน ๗. ทรงส่งเสริมสถาบันต่างๆ ให้จัดรายการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย เช่น การประชันปี่พาทย์ การทรงสักวา การแสดงนาฏศิลป์ โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และทรงร่วมกิจกรรมดนตรีทั้งหลายอย่างใกล้ชิด           ๘. ทรงสนับสนุนการเก็บรักษาและอนุรักษ์เครื่องดนตรีไทย และมีพระราชดำริในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีไทยขึ้นในประเทศ          ๙. ทรงสนับสนุนการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ทางด้านดนตรี เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการดนตรี อันจะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและเยาวชนของชาติในการศึกษาค้นคว้าเรื่องดนตรีไทยและดนตรีสากล ทรงพระราชทานนามให้ห้องสมุดดนตรีหลายแห่ง เช่น ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระราชทานแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมกิจกรรมของห้องสมุดดนตรีด้วย           ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง ต่อวงการดนตรีของไทยทั้งด้านการศึกษา การทำนุบำรุง อนุรักษ์ และเผยแพร่ให้ปรากฏ จึงทำให้ดนตรีไทยเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ----------------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ที่ระลึกพิธีเปิดห้องสมุดดนตรี "ทูลกระหม่อมสิริธร". กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๗. กรมศิลปากร. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับงานห้องสมุด. กรุงเทพฯ: องศาสบายดี, ๒๕๕๘. กองประวัติศาสตร์และโบราณคดีทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. “พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี.” วารสารสถาบันวิชาการป้องกัน ประเทศ. ๖, ๓ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๘): ๕-๑๓. เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. รวมบรรเลงเพลงดนตรีมี่เสนาะ : รวมพระราชนิพนธ์ บทร้องเพลงไทยใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๑๐–๒๕๕๙. นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สังกัดกระทรวงกลาโหม, ๒๕๖๑. หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร. นิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับการดนตรี เนื่องในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: หอสมุดดนตรีฯ, ๒๕๕๘.


เมื่อพุทธศักราช 2530 คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (The Boy Scout Citation Medal (Special Class)) เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานกำเนิดกิจการลูกเสือไทย ในพุทธศักราช 2454 และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้อุทิศตนให้กิจการลูกเสืออย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 ขึ้น โดยมาตรา 49 ตรี กำหนดว่า “ให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ไว้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1 และได้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญสดุดี ชั้นที่ 1” เมื่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติพิจารณาแล้วว่า ผู้ใดสมควรได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ จึงจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานต่อไป เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ มีชั้นเดียว เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน ที่พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ ออกแบบโดยนายพินิจ สุวรรณะบุณย์ ด้านหน้ามีลักษณะเป็นรูปไข่ พื้นลงยาสีน้ำเงิน ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3.3 เซนติเมตร กลางดวงตรามีหน้าเสือประกอบวชิระเงินล้อมด้วยเม็ดไข่ปลาสีทองและมีรัศมีเงินโดยรอบแปดแฉกคั่นด้วยกระจังสีทอง เบื้องบนมีพระมหามงกุฎรัศมีฉลุโปร่งและเลข ๙ สีทอง ด้านหลังกลางดวงตราเป็นดุม พื้นลงยาสีม่วง มีรูปตราของคณะลูกเสือโลก เบื้องล่างมีอักษรสีเงินว่า “เราจะทำนุบำรุงกิจการลูกเสือสืบไป” ที่ขอบส่วนบนของดวงตรามีห่วงห้อยแพรแถบสำหรับคล้องคอ ขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร มีริ้วสีเหลืองกว้าง 2.2 เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีขาวกว้าง 3 มิลลิเมตร และริ้วสีดำกว้าง 6 มิลลิเมตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นดวงตราประดับโดยห้อยดวงตรากับแพรแถบสวมคอเช่นเดียวกันทั้งบุรุษและสตรี หากประดับกับเครื่องแบบเต็มยศหรือครึ่งยศ จะสวมคอโดยให้แพรแถบลอดออกใต้ปกเสื้อตัวในทับผ้าผูกคอ ให้ส่วนสูงสุดของดวงตราจรดเงื่อนผ้าผูกคอ แต่หากประดับกับเครื่องแบบลูกเสือจะสวมคอโดยให้แพรแถบลอดออกจากใต้ผ้าผูกคอ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สภานายกสภาลูกเสือไทย และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นเกียรติประวัติแก่คณะลูกเสือแห่งชาติ เรียบเรียงโดย นางสาวพุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ คณะทำงานด้านการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ -------------------------------- อ้างอิง: กรมศิลปากร. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด, 2561. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 104 ตอนที่ 245 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 หน้า 1 - 4 เรื่องพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 28 ข วันที่ 27 มิถุนายน 2565 หน้า 1 ประกาศเรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2536. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี. การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542. หน่วยราชการในพระองค์. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สภานายกสภาลูกเสือไทย และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี และเป็นเกียรติประวัติแก่คณะลูกเสือแห่งชาติ.” เข้าถึงได้จาก https://www.royaloffice.th/2022/07/04/เฝ้าทูลละอองธุลีพระบา-45/ สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. บัญชีแบบแปลนส่วนบุคคล นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ผ. สบ11.1/11 เรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของลูกเสือ (รามกีรติ) (9 ม.ค. - 5 ก.พ.2530). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ (เหตุการณ์) ภ.003 หวญ 95/10 เรื่อง เสือป่า, ลูกเสือ. #จดหมายเหตุ


          บัวยอดปราสาทเป็นส่วนประดับยอดของปราสาทในศิลปะเขมร มีลักษณะกลมแป้นเป็นลอนโดยรอบ บัวยอดปราสาทมีหน้าที่รองรับชิ้นส่วนคล้ายหม้อน้ำด้านบนสุดซึ่งเรียกว่า “กลศ”(กะ-ละ-สะ)           สำหรับการสร้างบัวยอดเทวสถานได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากอินเดียโบราณเรียกว่า “อมลกะ” (อะ-มะ-ละ-กะ) ซึ่งมาจากคำว่า “อมลกิ” ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “ลูกมะขามป้อม”            สำหรับบัวยอดปราสาทในสถาปัตยกรรมอินเดียสันนิษฐานว่าเริ่มปรากฏครั้งแรกบนยอดเสาอโศกมหาราชในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อเข้าสู่สมัยคุปตะ(พุทธศตวรรษที่๙ - ๑๐ )บัวยอดปราสาทจึงพัฒนารูปแบบเพื่อประดับบนยอดศิขร (สิ-ขะ-ระ) หรือส่วนเรือนยอดอาคาร และรองรับหม้อน้ำกลศด้านบนอย่างแพร่หลาย โดยในคติความเชื่อของฮินดูอมลกะเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอันบริสุทธิ์และความเป็นอมตะ           สำหรับบัวยอดปราสาทของปราสาทสด๊กก๊อกธมพบทั้งหมดสองชิ้นได้แก่           - บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๑ ทำด้วยหินทราย ด้านบนรองรับกลศซึ่งมีการเจาะรูสี่เหลี่ยมขนาด ๒๐x๒๐ เซนติเมตร เพื่อติดตั้งตรีศูล/นพศูล ปัจจุบันอยู่บนยอดปราสาทประธาน           - บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๒ ทำจากหินทราย สลักตกแต่งเป็นรูปกลีบดอกบัวด้านบนรองรับกลศ สันนิษฐานว่าในอดีตประดับบนยอดของซุ้มประตูโคปุระด้านตะวันออก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในอาคารศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม -------------------------------------------------------- อ้างอิง - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๖๒). ทิพนิยายจากปราสาทหิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ : หน้า ๔๕. - กรมศิลปากร.สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๕๕๑. - วสุ โปษยะนันทน์, อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า ๔๑-๔๒,๔๕,๖๔,๘๓ - Amalaka. Accessed May 25. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Amalaka   --------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม https://www.facebook.com/Sadokkokthom.hp/posts/pfbid0KCgthRTKqq1sLxziKaZVsQuHptuAusP68xiAzFKX1wZtn5PKRs1r3kXALsgoweNel  


       เชี่ยนหมากเครื่องเขิน        ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕        สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        เชี่ยนหมากล้านนา ประกอบไปด้วย กระบะทรงกลม ก้นแบน ด้านบนมีลิ้นสามารถยกออกได้ ลวดลายด้านนอกเป็นลายดอกพุดตาน ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ภายในบรรจุ ซองพลู ตลับพร้อมฝา ๔ ใบ และจอกหมาก ทุกชิ้นมีลายดอกไม้          “เครื่องเขิน” (Lacquer Ware) ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายไว้ว่า เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียด*แล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุก**หรือชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า “เครื่องเขิน”        อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินซึ่งเป็นผู้ทำงานหัตถกรรมนี้ มีประวัติว่าอพยพมาจากเมืองเชียงตุงในยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ หรือที่เรียกว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี โดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ได้ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ บ้านนันทาราม เมืองเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือทิศใต้นอกเวียงเชียงใหม่ บริเวณที่ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่)       ทั้งนี้การจัดแบ่งประเภทหรือหมวดหมู่ของเครื่องเขินแบ่งได้หลายเกณฑ์ ทั้งเทคนิคหรือกรรมวิธีการตกแต่งเครื่องเขิน เครื่องเขินประกอบลำดับบรรดาศักดิ์ และเครื่องเขินตามหน้าที่การใช้งาน*** สำหรับเชี่ยนหมากชุดนี้ เป็นเครื่องเขินประเภทหนึ่งซึ่งมีเทคนิคที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและนิยมมากคือ เครื่องเขินฮายดอก (ลายดอก) มีกรรมวิธีโดยสังเขปคือ        การนำเครื่องจักสานมาทากากยาง รอให้แห้งแล้วขัดผิวให้เรียบจึงทาสมุก จากนั้นจึงทารักเงาแล้วนำมาขูดลายด้วยเข็มเหล็กจนเกิดเป็นร่อง เรียกขั้นตอนนี้ว่า การชักเส้นไหม จากนั้นจึงนำผงชาด (มีสีแดง) ผสมกับยางรักใสทาให้ทั่วภาชนะ ชาดจะลงไปในร่องที่ขูดไว้ รอจนแห้งแล้วจึงขัดออก ส่วนชาดที่ไม่ได้อยู่ในร่องลวดลายจะหลุดออกไป เมื่อขัดเรียบร้อยผิวภาชนะจะปรากฏพื้นที่สีดำตัดกับสีแดง       งานหัตถกรรมเครื่องเขินเป็นที่แพร่หลายในเชียงใหม่อย่างมากและน่าจะส่งอิทธิพลให้กับการทำเครื่องเขินในพม่า****ด้วย ครั้งหนึ่งสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีแอบหมาก*****จากประเทศพม่า ประทานให้หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ ดังลายพระหัตถ์ถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า         “...เครื่องรักของพะม่าเดิมทำแต่ลงรักน้ำเกลี้ยงสีต่างๆ วิธีที่เอาเหล็กจานเปนลวดลายต่างๆ (อย่างแอบหมากที่หม่อมฉันฝากมาให้คุณโต) นั้น เขาบอกว่าเขาเอาอย่างไปจากเมืองเชียงใหม่...”     *เรียด หมายถึง เรียงเป็นแถว **รักสมุก คือน้ำรักผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือหญ้าคา บดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้ทารองพื้น ***ดูเพิ่มเติมใน เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. “วิถีคนเมืองกับเครื่องเขิน.” ศิลปากร ๔๘, ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๘): ๑๕-๒๕. ****เครื่องเขินในพม่านั้นเรียกว่า โยนเถ่ (Yung Hte) ซึ่งแปลว่าภาชนะของคนไทโยน รวมทั้งเรียกลวดลายบนภาชนะว่า ซินเหม่ ซึ่งก็หมายถึงเชียงใหม่ ทั้งนี้เครื่องเขินพม่าพัฒนาเทคนิคการตกแต่งเครื่องเขินไปจากไทยเพิ่มเติมด้วยการประดับกระจก หรือรักปั้นแปะบนผิวภาชนะ *****แอบหมาก หมายถึง ภาชนะที่ทำจากเครื่องจักสานทรงกลมมีฝาปิด     อ้างอิง เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. “วิถีคนเมืองกับเครื่องเขิน.” ศิลปากร ๔๘, ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๘): ๑๕-๒๕. วิถี พานิชพันธ์. เครื่องเขินในวัฒนธรรมล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๖๑. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๕๑. องค์การค้าของคุรุสภา. สาส์นสมเด็จเล่ม ๗ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๔.


#มหามกุฎราชวงศานุประพัทธ์ ๑๘ มิถุนายน ๒๓๙๓ วันประสูติพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์.พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๓๐ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม ประสูติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๓๙๓.เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับยังพระบวรราชวัง พระองค์ทรงสร้างพระราชมณเฑียรแห่งใหม่ขึ้น โดยมีลักษณะเป็นเก๋งจีน เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรแห่งใหม่นั้น พระองค์เกิดพระอาการประชวรติดต่อเป็นเวลานาน เมื่อซินแสเข้ามาดูจึงกราบทูลว่า เนื่องจากพระที่นั่งเก๋งจีนองค์นี้ สร้างในที่ฮวงจุ้ยที่เป็นอัปมงคล ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้รื้อพระที่นั่งเก๋งจีนลง ไปปลูกไว้ที่นอกวังหลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่บริเวณที่สร้างพระที่นั่งเก๋งจีนองค์เดิม แต่ได้เลื่อนตำแหน่งที่ตั้งไปทางทิศตะวันออก ลักษณะเป็นตึกฝรั่ง เรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า "พระที่นั่งวงจันทร์" ตามพระนามของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระที่นั่งใหม่ว่า "พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์".พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๕๙ สิริพระชันษา ๖๗ ปี.พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ นับเป็นพระราชภาติยะในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔.ภาพ : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์


ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง ตอน 2 เรื่อง “วัตถุประสงค์ของการลอยกระทง”หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในหัวข้อที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์การลอยกระทง


Messenger