ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,387 รายการ

***บรรณานุกรม***  กรมหลวงนรินทรเทวี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ. 2310-2381) และ พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเฉพาะตอน พ.ศ. 2310-2363 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินีณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช2501 พระนคร  โรงพิมพ์พระจันทร์ 2501


วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ : หอไตรประวัติและความสำคัญ : วัดท่าแค สร้างขึ้น พ.ศ. ๒๓๕๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ผูกพันธสีมา วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ หอไตร ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : หอพระไตรปิฎกวัดท่าแค เป็นอาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียวสมัยรัตนโกสินทร์ ใต้ถุนยกสูงโล่ง หลังคาทำเป็นจัตุรมุขซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น หน้าจั่วประดับไม้ฉลุรองรับหลังคา มุงด้วยกระเบื้องว่าว ปูนปั้นทับสันเป็นบางส่วน และหลังคาปีกนกเทลาดต่อเนื่องกันโดยตลอดประดับหลังคา ปั้นลม และเชิงชายด้วยเสาไม้กลึง และลายฉลุเครือเถา พื้นอาคารชั้นบนปูไม้กระดานตีชนตลอดแนว ฝาผนังห้องเก็บพระไตรปิฎกทำเป็นประตูบานเฟี้ยมตลอดแนว ส่วนล่างของบานประตูเป็นไม้แกะสลักภาพต้นไม้ กระถางแจกันดอกไม้และรูปสัตว์ ส่วนบนของบานประตูกรุด้วยกระจก ช่องลมทำฉลุไม้โดยรอบ ภายในห้องด้านทิศตะวันตกยกพื้น ทำเป็นตู้เก็บพระไตรปิฎก ประดับด้วยไม้แกะสลัก และกระจกสีที่ระเบียงด้านทิศตะวันออกทำเป็นช่องบันไดขึ้น - ลง ตัวอาคารประกอบด้วยเสาไม้กลมที่ระเบียงมีราวระเบียงและลูกกรงไม้โดยรอบ เสาระหว่างระเบียงประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ สภาพปัจจุบัน : โบราณสถานได้รับการบูรณะแล้ว เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๖๒ "การขึ้นทะเบียน" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๐ วันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๓๕ ที่มาของข้อมูล : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๖–๙ กันยายน ๒๕๕๙   ๑. ชื่อโครงการ  การประชุมในโครงการเครือข่ายนานาชาติของกลุ่มบรรณารักษ์รุ่นใหม่ของห้องสมุด ในอาเซียน ครั้งที่ ๒ (the 2nd Convening of International Network of Emerging Library Innovator-Association of Southeast Asian Nations: INELI–ASEAN) ๒. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและ เพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำห้องสมุดของบรรณารักษ์รุ่นใหม่ในอาเซียน ๓. กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่ ๖–๙ กันยายน ๒๕๕๙ ๔. สถานที่ ๑) หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์                 ๒) Jurong Regional Library                 ๓) Library@Chinatown                 ๔) Library@Orchard ๕. หน่วยงานผู้จัด  หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ๖. หน่วยงานสนับสนุน - ๗. กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๙ ๐๙.๔๐ น.   เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย สู่ท่าอากาศยานชางงี ประเทศสิงคโปร์ เที่ยวบิน SQ973 ๑๗.๐๐ น.   ร่วมนำชมหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ งานเลี้ยงอาหารค่ำ ชมการแสดงวัฒนธรรมร่วมสมัยของสิงคโปร์ และกล่าวต้อนรับโดย Ms. Tay Ai Cheng, Deputy Chief Executive &  Chief Librarian National Library Board of Singapore ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๖ หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๙ ๐๘.๓๐ น.   ลงทะเบียน กล่าวเปิดการประชุมฯ โดย Ms. Blesila Velasco, Project Director,               INELI-ASEAN และชมเทปบันทึกการกล่าวต้อนรับโดย Ms. Deborah Jacobs, Director, Global Libraries, Bill and Melinda Gates Foundation ๐๙.๐๐ น.   เริ่มการประชุมฯ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้               ๑) การทำแบบฝึกหัดออนไลน์โดยการเข้าเว็บไซด์ www.ineliasean.org               ๒) การแนะนำตัวของผู้เข้าร่วมประชุมฯ คนใหม่ จำนวน ๘ คน ดังนี้     ๒.๑) ผู้เข้าร่วมประชุม ประเภท Sponsors ได้แก่ Mr. Joao Fatima da Cruz, Director, National Library of Timor-Leste; Ms. Woro Titi Haryanti, Deputy Director,  National Library of Indonesia และ นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม บรรณารักษ์ชำนาญการ-พิเศษ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ     ๒.๒) ผู้เข้าร่วมประชุมประเภท Mentors ได้แก่ Ms. Marybel Caasi, Head Librarian College of Nursing, University of the Philippines     ๒.๓) ผู้เข้าร่วมประชุมประเภท Innovators ได้แก่ Mr. Hok Sothik, President, Cambodia Library Association; Mr. Americo Benigno Ximenes, Asst. Director, National Library of Timor-Leste and Mr. Francisco da Cruz, Librarian, National- Library of Timor-Leste     ๒.๔) ผู้เข้าร่วมประชุมประเภท Consultant ได้แก่ Prof. Rhea Rowena Apolinario, Asst. Prof., University of the Philippines                   ๓) การแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นทีม ความเปลี่ยนแปลงหลังจากร่วมโครงการฯ จุดอ่อน จุดแข็ง และแรงบันดาลใจในอาชีพบรรณารักษ์ โดยผ่าน ๒ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมวาดภาพมือบนกระดาษ โดยระบุความรู้สึกบนนิ้วต่าง ๆ ลงบนกระดาษ และกิจกรรมหมุนเข็มนาฬิกาเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมโครงการท่านอื่น โดยวิทยากร Dr. Wilma Reyes, Ms. Elanor Bayten และ Ms. Xenia B. Romero               ๔) แนะนำโครงการพิเศษ ASEAN Public Libraries Information Network (APLiN) พร้อมประกาศรายชื่อคณะกรรมการ (Executive Board) จำนวน ๑๐ คน ดังนี้     ๔.๑) Dayangku Masdiana Pengiran Hj Damit   Brunei Darussalam    ๔.๒) Mao Kolap                                       Cambodia                    ๔.๓) Irhamni Ali                                       Indonesia           ๔.๔) Khanphathat Manotham                      Laos                  ๔.๕) Wan Mazli Wan Razali                        Malaysia                      ๔.๖) Aung Than Htut                                Myanmar           ๔.๗) Marween Terry Pascual                      Philippines     ๔.๘) ปุณณภา สุขสาคร                               Thailand             ๔.๙) Americo Benigno Ximenes                   Timor-Leste    ๔.๑๐) Tran My Dung                                Viet Nam              ในการนี้คณะผู้จัดโครงการพิเศษ APLiN แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าจะดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการ (Executive Board) ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น   ๑๕.๓๐ น.   การศึกษาดูงาน Jurong Regional Library          ผู้จัดโครงการนำคณะผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน ณ Jurong Regional Library ซึ่งตั้งอยู่เขตตะวันตกของสิงคโปร์ เป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนห้องสมุดที่อยู่ภายใต้การดูแลของ National Library Board of Singapore มีพื้นที่ใช้งาน ๑๒,๐๐๐ ตารางเมตร   มีทั้งหมด ๔ ชั้น และ หนึ่งชั้นใต้ดิน ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นอยู่ในช่วงวัยรุ่น ให้บริการหนังสือหลากหลายที่ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยห้องสมุดได้จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เรียกว่า “Verging All Teen” หรือ V.A.T. ซึ่งห้องสมุดเปิดโอกาสให้ผู้อ่านและอาสาสมัครที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นสามารถสร้างสรรค์และออกแบบพื้นที่ให้บริการในห้องสมุดด้วยตนเอง โดยมีบรรณารักษ์ของห้องสมุดเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลให้คำแนะนำ นอกจากนี้ห้องสมุดได้มีบริการมุมสำหรับเด็ก (Early Literacy Library) เพื่อส่งเสริมการอ่านและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มผู้ใช้เด็กเล็กอายุ ๓ -๖ ปี   วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ ๐๘.๓๐ น.   การบรรยายทางวิชาการโดย Mentors จำนวน ๕ คน ได้แก่               ๑) Ms. Clara Bessa da Costa, Deputy Chief Librarian, Senate Digital Library               ๒) Ms. Maryble Caasi, Head Librarian, College of Nursing, University of the Philippines                             ๓) Ms. Ngian Lek Choh, Consultant, National Library Board of Singapore (NLB)               ๔) Ms. Ramkali Kasiram Rabilall, District Manager, eThekwini Municipal Libraries               ๕) Ms. Rashidah Binti Bolhassan, Chief Executive Director, Sarawak State Library ๐๙.๑๐ น. การบรรยายทางวิชาการโดย วิทยากร จำนวน ๓ คน ได้แก่ ๑) Ms. Amarjeet Kaur Gill, Former Director, Libraries of the Future National Library Board of Singapore หัวข้อ “Collaboration and partnerships: A strategy    to develop resource rich libraries of the future” ๒) Ms. Chin Loy Jyoon, Deputy Director, the National Library of Malaysia     หัวข้อ “Public libraries collaboration and partnerships in Southeast Asia:        Best practices” ๓) Dr. Melinda Bandalaria, Learning Facilitator, INLELI-ASEAN หัวข้อ “Working together virtually learning portal/issues and concerns” ๑๓.๐๐ น. การประชุมกลุ่มย่อย (Modified unconference) เป็นแสดงความคิดเห็นด้านวิชาการของ   ทุกคนในบริบทของห้องสมุดหรืองานของตนเอง ภายใต้ ๓ หัวข้อ ได้แก่ Integration Partnership และ Collaboration ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเลือกเข้ากลุ่มย่อยหัวข้อที่ตนเอง   มีความสนใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น ด้านการบูรณาการ (Integration) เป็นการเสนอประเด็นด้านการเพิ่มขีดความสามารถในวิชาชีพบรรณารักษ์หรือเพิ่มสมรรถนะของบรรณารักษ์ในอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน และพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ทั้งนี้ วิชาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่มั่นคงและสามารถสร้างความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้ และฝึกงานในห้องสมุดต่าง ๆ ได้ทั้งประเทศในอาเซียนและทั่วโลกต่อไป   ๑๔.๓๐ น.   การศึกษาดูงาน Library@Chinatown         ผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน ณ Library@Chinatown ที่ตั้งอยู่ใจกลางห้างสรรพสินค้า ในย่านไชน่าทาวน์ ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดแรกที่การร่วมดำเนินงานโดยอาสาสมัครของเมือง ซึ่งมีหน้าที่ทำความสะอาดหนังสือที่รับจากเครื่องคืนหนังสืออัตโนมัติแล้วนำขึ้นชั้น และให้ผู้ใช้บริการตนเอง หากมีข้อซักถามผู้ใช้สามารถสอบถามบรรณารักษ์ (Cybrarian Kiosk) ผ่านระบบทางไกล ห้องสมุดมีเนื้อที่ใช้ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร บนชั้น ๓ ของตึกในย่านไชน่าทาวน์   การออกแบบตกแต่งห้องสมุดเป็นศิลปะแบบจีนประยุกต์ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศหนังสือเป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนใหญ่เป็นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี วัฒนธรรม และประเพณีของจีน นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และกวางตุ้งให้บริการอีกด้วย ๑๕.๓๐ น.   การศึกษาดูงาน Library@Orchard         ผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน ณ Library@Orchard  ซึ่งเป็นอีกห้องสมุดหนึ่งที่ตั้งอยู่   ใจกลางห้างสรรพสินค้าที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบที่ทันสมัยและเรียบง่าย มีทรัพยากร-สารสนเทศให้บริการจำนวนมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ชื่อเรื่อง ส่วนใหญ่เน้นไปที่เรื่องไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) การออกแบบ (Design) และศิลปะประยุกต์ (Applied art) โดยแบ่งหนังสือเป็นหมวดใหญ่ๆ คือ People, Space, Product  และ Visual Design ห้องสมุดแห่งนี้ให้บริการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและเป็นห้องสมุดแห่งแรกที่ให้บริการจองหนังสือออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถจองหนังสือผ่านทางออนไลน์และรับที่ล็อคเกอร์ของห้องสมุดด้วยตัวเอง   วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ ๐๙.๐๐ น.   การนำเสนอโครงการกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม ประกอบด้วย               กลุ่มที่ ๑ ชื่อโครงการ “Online ASEAN Children Book”               กลุ่มที่ ๒ ชื่อโครงการ “More than Books: Reinventing Century Lamp Library Spaces as Valued Community Asset in Myanmar”               กลุ่มที่ ๓ ชื่อโครงการ “Demonstrating Library Impact” มีนายประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล  ตัวแทนประเทศไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม               กลุ่มที่ ๔ ชื่อโครงการ “ASEAN Library Portal: An Assessment of Library Advocacy   Practices for Regional Cooperation” มีนางสาวปุณณภา สุขสาคร ตัวแทนประเทศไทย   เป็นหัวหน้ากลุ่ม               กลุ่มที่ ๕ ชื่อโครงการ “Library Must Create High-Impact Partnership That Best Leverage Community Resources” มีนางสาวลินดา พืชสี ตัวแทนประเทศไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม   ๑๑.๐๐ น.   การประกาศรางวัลดีเด่นประเภทกลุ่มและบุคคล ดังนี้               ๑) รางวัลกลุ่มดีเด่น ได้แก่ กลุ่มที่ ๓ ชื่อกลุ่ม Emergent Library มีนายนายประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล เป็นสมาชิกกลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม รวม ๙ คน               ๒) รางวัลกลุ่มโครงการดีเด่น ได้แก่ กลุ่มที่ ๔ ชื่อโครงการ “ASEAN Library Portal: An Assessment of Library Advocacy Practices for Regional Cooperation”  มีนางสาวปุณณภา สุขสาคร เป็นหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม รวม ๘ คน               ๓) รางวัลบุคคลที่มีเวลาเข้าเรียนแบบออนไลน์มากกว่า ๘๐% ได้แก่ ตัวแทนจากประเทศ               ฟิลิปปินส์จำนวน ๓ คน มาเลเซีย จำนวน ๒ คน บรูไนดารุสซาลามและเมียนมา จำนวน ๒ คน ๑๓.๐๐ น.   พิธีรับธงการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมครั้งที่ ๓ ณ หอสมุดแห่งชาติเวียดนาม เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ๑๓.๓๐ น.   กล่าวปิดการประชุม โดย Ms. Melody Madrid, Assistant Project Director, INELI-ASEAN ๑๔.๐๐ น.   ปิดการประชุม ๑๘.๐๐ น.   เดินทางจากท่าอากาศยานชางงี ประเทศสิงคโปร์ สู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัด สมุทรปราการ ประเทศไทย เที่ยวบิน SQ978   ๘. คณะผู้แทนไทย               ๑)  นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม  บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย               ๒)  นายประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ  สำนักหอสมุดแห่งชาติ               ๓)  นางสาวปุณณภา สุขสาคร บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ               ๔)  นางสาวลินดา พืชสี บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ           ๙. สรุปสาระของกิจกรรม               การเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสิงคโปร์ในการประชุมในโครงการเครือข่ายนานาชาติของกลุ่มบรรณารักษ์รุ่นใหม่ของห้องสมุดในอาเซียน ครั้งที่ ๒ (the 2nd Convening of International Network of Emerging Library Innovator-Association of Southeast Asian Nations: INELI–ASEAN) ในครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้รับความรู้จากการประชุมและความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์หลายกิจกรรมซึ่งได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ และความรู้ที่หลากหลายในด้านการบริหารจัดการห้องสมุด การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นกระบวนการ และการพัฒนาตัวเองให้มีความเป็นผู้นำด้านห้องสมุดของตนเองต่อไป   ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม             การประชุมในโครงการฯ ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการประชุมหรือการจัดโครงการของหน่วยงาน เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง เป็นการแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ทันสมัยและเกี่ยวข้องในสายวิชาชีพ ซึ่งทำให้เปิดมุมมองและรับความรู้เพิ่มเติมได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเข้าร่วมประชุมในโครงการนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านห้องสมุดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น                                                                                                                       นางสาวปุณณภา สุขสาคร                                                             บรรณารักษ์ปฏิบัติการ                                                                  ผู้สรุปรายงาน                                                                                                      นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม                                                           บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ                                                                   ผู้ตรวจรายงาน


พระคเณศ วัสดุ สำริดศิลปะขอมแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ ตำบลพังยาง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส           พระคเณศองค์นี้ เป็นพระคเณศขนาดเล็ก สูงประมาณ 6 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นพระคเณศ 2 กร (มือ) อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งบนแท่นฐานทรงสี่เหลี่ยมในท่าแบบชวา โดยคุกพระชานุ (เข่า) ซ้ายลงกับพื้น และยกพระชานุ (เข่า) ขวาขึ้น พระหัตถ์ (มือ) ซ้ายถือขนมโมทกะ สัญลักษณ์ของสติปัญญาอันยอดเยี่ยม พระหัตถ์ (มือ) ขวาถืองาหัก งวงอยู่ในลักษณะห้อยตรงคดโค้งเล็กน้อย มีความยาวเพียงระดับพระอุระ (อก) สวมมงกุฎ มีกระบังหน้า และทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) สั้นเหนือพระชานุ (เข่า) ลักษณะคล้ายเทวรูปในศิลปะขอมแบบบายน สวมสายยัชโญปวีต หรือสายธุรำพาดพระอังสา (บ่า, ไหล่) ขวา ซึ่งสายยัชโญปวีต หรือสายธุรำ เป็นเชือกหรือด้ายมงคลศักดิ์สิทธิ์ของวรรณะพราหมณ์ เพื่อแสดงความเป็นพราหมณ์ อันหมายถึงผู้ที่ถือกำเนิด 2 ครั้ง โดยครั้งแรกถือกำเนิดจากครรภ์มารดา ครั้งที่ 2 ถือกำเนิดโดยผ่านพิธีกรรมทางศาสนา เป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ จึงจะมีสิทธิ์คล้องสายยัชโญปวีต หรือสายธุรำ พระอุระ (อก) ด้านซ้ายมีปมเชือกที่เรียกว่า พรหมามุทิ ทรงเครื่องประดับตกแต่งแบบกษัตริย์ มีสร้อยพระศอ (สร้อยคอ) พาหุรัด (กำไลต้นแขน) ทองพระกร (กำไลข้อมือ) และทองพระบาท (กำไลข้อเท้า)           จากลักษณะของประติมากรรม และเครื่องแต่งกาย สันนิษฐานได้ว่าพระคเณศองค์นี้น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และจากการที่พระคเณศองค์นี้เป็นพระคเณศที่มีขนาดเล็ก และมีลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับเทวรูปในศิลปะขอมแบบบายน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจจะถูกนำเข้ามาจากที่อื่น โดยพ่อค้าชาวต่างชาติที่นำติดตัวเข้ามาทำการค้าในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ตามคติการนับถือพระคเณศที่เชื่อว่าทรงเป็นเทพเจ้าที่ช่วยขจัดอุปสรรคและประทานความสำเร็จในการเดินทางและการค้าขาย           พระคเณศเป็นเทพเจ้าที่สันนิษฐานกันว่า แต่เดิมเป็นเทพพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งต่อมากลายเป็นเทพเจ้าสำคัญในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพเจ้าที่เป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง สืบเนื่องมาจากมีคติความเชื่อที่ว่าทรงเป็นเทพเจ้าที่สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวง และยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและการประพันธ์            คติการนับถือพระคเณศได้แพร่กระจายมาสู่ดินแดนประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน จากหลักฐานประติมากรรมรูปเคารพของพระคเณศในระยะแรกบนแผ่นดินไทย ปรากฏขึ้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 สำหรับบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยมีการพบพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ แม้ว่าพระคเณศจะไม่ได้รับการนับถือเป็นเทพเจ้าสูงสุดในดินแดนประเทศไทย ซึ่งมีการรับนับถือพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านาน แต่การพบหลักฐานประติมากรรมรูปเคารพพระคเณศที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในดินแดนประเทศไทยตลอดมา ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดูสืบมาจนถึงปัจจุบัน           พระคเณศในคติความเชื่อของไทยแสดงถึงความเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ผู้ได้รับการบูชาก่อนเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ในกิจการอันเป็นมงคล หรือในการศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ พระคเณศจึงกลายเป็นบรมครูแห่งศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ ด้วย อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. 2. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, 2554. 3. จิรัสสา คชาชีวะ. พระพิฆเนศวร์ : คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2547. 4. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2523. 5. อุไร จันทร์เจ้า. "ร่องรอยหลักฐานของศาสนาพราหมณ์ในชุมชนโบราณบนคาบสมุทรสทิงพระ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา


เลขทะเบียน : นพ.บ.4/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  30 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 6หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.49/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 14หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง : ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2547 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์


1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาต้มกินกำกับ, ยาลมคารสิงให้เจ็บท้อง, ยาแก้การสิงคีล, ยามหาการ, ยากระจายเลือด, ยาหอมแก้สวิงสวาย ฯลฯ 2. เบ็ดเตล็ดว่าด้วยเพลงปรมไก่ 3. เวทย์มนต์คาถาเสกหมาก 4. บทสวดมนต์ อักษรขอม-ไทย ภาษบาลี-ไทย


ชื่อเรื่อง : ระบบชลประทานเมืองสุโขทัย ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2557 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงแรมบางกอกอินเฮาส์



ชื่อหนังสือ :  นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร   ผู้แต่ง :  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร   พิมพ์ครั้งที่ :  ๒   ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๔๖   สถานที่พิมพ์  :   สุโขทัย   สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์วิทยา คอมพิวเตอร์-ออฟเซท                           หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร


องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมพระอรรธนารีศวร ที่เมืองโบราณศรีเทพ เรียบเรียงโดย นายภัทร โพธิโต ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ


Messenger