ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้ชื่นชอบงานอาร์ตทอย ร่วมลุ้นสุ่มกาชาปองชุดพิเศษ “ร้อยพิพิธ”จัดทำโดย มือกระบี่ มาในธีม Cabinet of Curiosity เฉลิมฉลอง 150 ปี กิจการพิพิธภัณฑ์ไทย มีทั้งหมด 9 แบบ พร้อมการ์ด วันละ 120 จุ่ม ราคาจุ่มละ 100 บาท เท่านั้น หากท่านใดจุ่มถึง 9 ตัว แบบใดก็ได้ สามารถแลกซื้อกล่องมินิมิวเซียม ในราคา 299 บาท แต่ถ้าแยกซื้อต่างหาก จำหน่ายในราคา 399 บาท เริ่มจุ่มเวลา 10.00 น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 และบริเวณด้านหน้ามิวเซียมชอป วันที่ 22 กันยายน 2567
วัดบางทีง
วัดบางทีง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน พ.ศ. ๒๔๔๔ การสร้างวัดบางทีงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าริมคลองบางทีงและคลองบางกล่ำเป็นชุมชนชาวพุทธที่มีมานานตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ศิลปกรรมโบราณภายในวัดบางทีงที่หลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ กุฏิ หอระฆัง และหอพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งแสดงรูปแบบศิลปกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ โดยในปีพ.ศ. ๒๕๕๖ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะวัดบางทีง
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดบางทีง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
Wat Bang Thing
Built in 1780, Wat Bang Thing is located in Bang Riang Subdistrict, Khuan Niang District, Songkhla Province. It was officially registered as a temple in 1901. It is among the oldest temples situated by the banks of Khlong Bang Thing and Khlong Bang Klam, reflecting Buddhist practices of old settlements that have been around in the area since the early Ratthanakosin period.
The remaining significant structures within the precinct of Wat Bang Thing are the ordination hall, the stupa, the monks’ residence, the bell tower, and the shrine of the Buddha’s footprint, which represent the local art style of southern Thailand and are worth preserving.In 2013, the restoration work of Wat Bang Thing was conducted by the 11th Regional Office of Fine Arts, Songkhla, the Fine Arts Department, Ministry of Culture.
The Fine Arts Department announced the registration of Wat Bang Thing as a national monument in the Government Gazette, Volume 135, Special Part 309, dated December 4, 2018.
***รายการบรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมศิลปากร. นาฏกรรมชุดพิเศษ โขน ชุด - ปราบกากนาสูร. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๔.
***บรรณานุกรม***
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โคลนติดล้อ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์
กรุงเทพฯ
ประชุมทองการพิมพ์
2527
www.virtualmuseum.finearts.go.th/ratchaburi
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2529 โดยกรมศิลปากรได้ขออนุมัติใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช 2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ตามโครง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองของกรมศิลปากร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ประกอบไปด้วยอาคารสำคัญ 2 หลัง ได้แก่อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร (ศาลารัฐบาลมณฑลราชบุรี) และอาคารจัดนิทรรศการพิเศษ อาคารสำนักงาน และคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์การศึกษา อนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่จะสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ จังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียงตามแนวทางการพัฒนากิจการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมัยใหม่โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่เน้นเรื่องราวของท้องถิ่น ทั้งทางด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป วัฒนธรรมพื้นบ้าน ชาติพันธุ์วิทยา แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี
พระมหามงคล: Phra Maha Mongkhon
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 35
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 35 ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2502 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่นายเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2502 ให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี สุนทราภรณ์ ในโอกาสที่ก่อตั้งมาครบ 20 ปี นายเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงจึงได้ขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาต ตั้งชื่อเพลงว่า “พระมหามงคล” และได้อัญเชิญมาบรรเลงนำประจำวงสุนทราภรณ์มาจนทุกวันนี้ เพลงพระราชนิพนธ์นี้ไม่มีคำร้อง
Royal Composition Number 35
The thirty-fifth royal musical composition was written in 1959 and granted to Mr. Ua Sunthornsanan on 20 November 1959 as the signature tune of the Suntaraporn Band on the occasion of its 20th founding anniversary. Mr. Ua Sunthornsanan, the band - leader then asked for royal permission to name the tune "Phra Maha Mongkhon" - A Great Royal Blessing, which has since been perfomed to lead in the band up to the present. This tune has no vocal parts.
รายชื่อผู้เข้าประกวดสุนทรพจน์ระดับอุดมศึกษา เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๙ รอบชิงรางวัล
กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร
ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้
๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙
๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ
- โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท
- โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน
๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว
๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้
๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน
๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔
๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา
๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ
๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน
หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต