ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,388 รายการ
องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมพระอรรธนารีศวร ที่เมืองโบราณศรีเทพ เรียบเรียงโดย นายภัทร โพธิโต ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ
“ตุละวิภาคพจนกิจ” หนังสือพิมพ์เล่มแรกของ ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือที่รู้จักกันในนาม “เทียนวรรณ” มีความหมายว่า “หนังสือพิมพ์นี้เสนอข่าวสารตรงไปตรงมาดุจตราชั่ง” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเด่นและแตกต่างไปจากหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการตื่นตัวในเรื่องการทำหนังสือพิมพ์ ภายหลังจากที่หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์เป็นฉบับแรก คือ หนังสือจดหมายเหตุ บางกอก รีคอร์เดอร์ หรือ The Bangkok Recorder เนื้อหาของหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นจะเป็นลักษณะข่าวประกาศ ของทางราชการ ข่าวต่างประเทศ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
ภาพ : หนังสือพิมพ์ “ตุละวิภาคพจนกิจ”
ภาพ : ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือ เทียนวรรณ ต้นตระกูล “ โปรเทียรณ์” นักประพันธ์ไทยสมัยรัชกาลที่ ๕
ต.ว.ส. วัณณาโภ เห็นว่าในสมัยนั้นไม่ค่อยมีหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์จริง ๆ จะมีแต่ลักษณะจดหมายเหตุมากกว่า จึงได้ออก “ตุละวิภาคพจนกิจ” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความคิดของท่าน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องบ้านเมือง สถานะของคนและชาติไทย เสนอให้แก้กฎหมาย ปฏิรูปศาล เรียกร้องให้เลิกทาส เลิกบ่อนการพนัน เลิกฝิ่น เสนอให้มีโรงเรียนสำหรับผู้หญิง ให้ตั้งธนาคาร ฯลฯ ตลอดจนเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบ “ปาเลียเมนต์” แต่เป็นที่น่าเสียดาย ต.ว.ส. วัณณาโภ ออกตุละวิภาคพจนกิจมาได้เพียง ๖ ปี ก็ต้องหยุดเพราะทนการขาดทุนไม่ไหว ประกอบกับอายุมากร่างกายอ่อนล้าจึงยุติการตีพิมพ์ //ปัจจุบัน “ตุละวิภาคพจนกิจ” หนังสือพิมพ์ของ ต.ว.ส. วัณณาโภ หรือ เทียนวรรณ จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดดำรงราชานุภาพ--------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ--------------------------------------บรรณานุกรม ต.ว.ส. วัณณาโภ. ตุละวิภาคพจนกิจ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ร.ศ. ๑๒๐. สงบ สุริยินทร์. เทียนวรรณ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๔๓. สถิตย์ เสมานิล. วิสาสะ. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรไทย, ๒๕๑๔.
ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2500
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.อ.หลวงมานิตรัฐยา (ทองศุข จิตรภักดี)
หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทประพันธ์สั้น ๆ ของเสฐียรโกเศศ ซึ่งเคยลงพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ โดยบทประพันธ์มีเนื่อเรื่องไปในทำนองของการค้นคว้าเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และเกร็ดความรู้ต่าง ๆ และในเล่มนี้รวบรวมไว้ 3 เรื่อง คือ เรื่องกินโต๊ะจีน เรื่องกินหมากในแง่อักษรศาสตร์ และเรื่องไปพระบาท
นามของเทวีผู้เป็นบุคคลาธิษฐานแห่งเวลา 1 ใน 9 ภาคของเทวีทุรคา (นวทุรคา-Navadurgā) ซึ่งได้รับการบูชาในเทศกาลนวราตรี (Navarātrī) ในวันที่ 7 ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาฮินดูลัทธิตันตระ พระนามหมายถึง “ราตรีที่มืดมิด" คำว่า “กาล” มีความหมายถึงเวลา หรือ ความมืดดำ ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งคืนสุดท้ายของยุค เมื่อโลกถูกทำลายจากกาลเวลา แสดงถึงพลังอำนาจที่นำมาซึ่งทำลายล้างจักรวาลในตอนท้ายแห่งยุค เป็นที่รู้จักในนาม กาลี (Kālī) และ กาลิกา (Kālikā) นอกจากนี้ ยังจัดเป็น 1 ในมหาวิทยา (Mahāvidyas) หรือกลุ่มเทวี 10 องค์ ผู้ทรงปัญญาอันยิ่งใหญ่ และเป็นตัวแทนของ ไภรวี (Bhairavī) ศักติของไภรวะ (Bhairava) พระนางมีผิวดำดุจดั่งราตรี เดิมคงเป็นเทพีของชนพื้นเมืองอินเดียที่มีผิวสีดำ พระพักตร์ดุร้าย พระเกศายุ่งสยายเป็นกระเซิง มี 3 เนตร 4 กร ถือขวาน และสายฟ้า (เปลวเพลิง) อีก 2 กร แสดงอภัยมุทรา (abhayamudrā-ปางประทานอภัย) และวรทมุทรา (Varamudrā-ปางประทานพร) ยังกล่าวอีกว่า สัญลักษณ์ของพระนางคือ วีณา (พิณ-vīṇa) ดอกชบา (Javā flower หรือ China Rose) ถ้วยบรรจุเลือด และพวงมาลาหัวกะโหลก (มุณฑมาลา-muṇḍamālā) รูปพระนางทำเปลือยกาย (นคนะ-nagna) เป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลาที่ทำลายทุกสิ่ง บางครั้งสวมเครื่องประดับเหล็กแหลมที่ข้อเท้าซ้าย และทรงลา (ครรทภะ-gardabha) เป็นพาหนะ แสดงความเกี่ยวเนื่องกับ ชเยษฐา (Jyeṣṭhā-เทวีแห่งอัปมงคล) หรือ ศีตลา (Śītalā-เทวีแห่งไข้ฝีดาษ) จัดเป็นรูปแบบของพระเทวีที่แสดงออกถึงความรุนแรงและทรงพลังที่สุดในการปราบอสูรและความชั่วร้ายทั้งปวง อันเป็นสัญลักษณ์ของอวิชาและความโง่เขลา -------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ -------------------------------------------อ้างอิง 1. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria, Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities] (Lashkar (Gwalior): M. Devi, 2004), 121. 2. Gösta Liebert, Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism (Leiden: E.J. Brill, 1976), 117. 3. Stutley , Margaret, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 63.
วันที่ ๗-๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานของสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ในเขตจังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์
ความรู้เรื่อง "วังเจ้าเมืองสายบุรีที่ยี่งอ"
วังเจ้าเมืองสายบุรีที่ยี่งอ
เมื่อมีการแบ่งปัตตานีออกเป็น ๗ เมืองคือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก รามันห์ ระแงะ ยะลา ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๒ แล้ว ได้มีการแต่งตั้ง “พระยาเมือง” สำหรับปกครองเมืองต่างๆ ในครั้งนั้นนิดะห์หรือนิอาดัส ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสายบุรี ตั้งวังอยู่ที่บือแนกาเต็ง ตำบลบ้านยือรีงา(ยี่งอ)ริมแดนต่อพรมแดนเมืองระแงะ ซึ่งในปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณตลาดยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส วังแห่งนี้ใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองต่อมาทั้งในสมัยพระยาสายบุรี(นิละไบ หรือนิรามาย หรือตนกู ยาลารุดดิน) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๒ และพระยาสายบุรี (นิกัลซิห์ หรือตนกูอับดุลกอเดร์) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๓
ครั้นถึงราว พ.ศ.๒๔๑๔ พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายาปัตตมอับดุลวิบูลย์ขอบเขตรประเทศมลายูวิเศษวังษา(นิแปะหรือตนกูอับดุลมูตอลิบ) เจ้าเมืองสายบุรีคนสุดท้าย ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองมายังเชิงเขาสลินดงบายู ในเขตตำบลตะลุบัน และได้สร้างวังเจ้าเมืองสายบุรีขึ้นใหม่ในพ.ศ.๒๔๒๘ โดยใช้สถาปนิกชาวชวาและช่างท้องถิ่นใช้เวลาก่อสร้าง ๑ ปี
กล่าวกันว่าลักษณะของวังแห่งนี้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงลีมะห์(ปั้นหยา)มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีการสร้างกำแพงด้วยหินล้อมรอบเขตวังเอาไว้ ปัจจุบันตัวอาคารภายในวังพระยาสายบุรีที่ยี่งอได้พังทลายลงจนหมดแล้ว และคงเหลือเพียงร่องรอยกำแพงวังที่ก่อด้วยหิน แต่ยังมีชิ้นส่วนของบานประตู ไม้ฝา และแผ่นหินขั้นบันได จัดแสดงให้ชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ในบริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลตำบลยี่งอ
ขอบคุณข้อมูลจาก I ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ
เรียบเรียงโดย I นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ I กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
มหาฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้ถ่ายถอดข้อความอักษรขอมไทยที่ปรากฏในพระราชลัญจกรสยามโลกัคราช เป็นคำอ่านพร้อมทั้งแปลความหมายดังนี้
คำอ่าน
๑. สฺยามโลกคฺคราชสฺส
๒. สนฺเทสฺลญฺจนํ อิทํ
๓. อชฺฌาวาสฺสานุสาสกสฺส
๔. วิชิเต สพฺพชนฺตุนํ
คำแปล
ตราพระราชลัญจกรประทับหนังสือสำคัญนี้ ของสมเด็จพระสยามโลกัคคราช พระองค์ผู้ประสิทธิประสาทที่วัด แก่ปวงชนในพระราชอาณาเขตต์
ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสงสัยว่า ถ้าคำแปลมีความเกี่ยวแก่วัดแล้ว เหตุใดก่อนหน้านี้ พระราชลัญจกรสยามโลกัคราชจึงใช้ประทับสัญญาบัตรคู่ด้วยพระบรมราชโองการ จึงขอให้พระเถระ ซึ่งเป็นผู้รู้ภาษาขอมเป็นอย่างดี แปลข้อความดังกล่าวข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง พบว่าเนื้อหาไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัดแต่อย่างใด ความว่า
๒. ใบประทับตรานี้
๑. ของอัครราชาโลกสยาม
๓. ผู้ปกครองสั่งสอน
๔. สรรพชนในแว่นแคว้น ฯ
รายละเอียดของเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ ซึ่งในตอนท้ายสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกล่าวไว้ว่า
“...ผิดกันไปนิดเดียว ที่ท่านแปลคำ อชฺฌาวสฺส เปนปกครอง ท่านอ้างตัวอย่าง อคารํ อชฺฌาวสติ ว่าปกครองเรือน หรือ ปวี อชฺฌาวสติ ว่าปกครองแผ่นดิน ท่านอธิบายต่อไปว่าคำนั้น ถ้าโดยปกติจะต้องลง ส อาคม เป็น อชฺฌาวาสสฺส แต่เพราะข้อบังคับอนุญาตไว้ ว่าถ้าเปนคาถาแล้วตัดอาคมออกเสียก็ได้ เพราะฉะนั้นจึ่งตัดเปน อชฺฌาวาสฺส แม้กระนั้นก็เกิน ๘ ไปพยางค์หนึ่งแล้ว...”
ลักษณะลวดลายของพระราชลัญจกรสยามโลกัคราช
เปรมา สัตยาวุฒิพงศ์
นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มประวัติศาสตร์
พระมาลัย คือ พระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนา ปรากฏในคัมภีร์พระมาลัยสูตร กล่าวถึง พระอรหันต์ชาวลังการูปหนึ่งนามว่า “พระมาลัยเทวเถระ” อาศัยอยู่บ้านกัมโพช แคว้นโลหะชนบท ทวีปลังกา เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ สามารถไปยังนรกและสวรรค์ เพื่อนำความที่พบเห็นมาเทศนาแก่มนุษย์ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความเชื่อเรื่องพระมาลัยสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศพม่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ และได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางล้านนาและสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ต่อมาได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเห็นได้จากการแต่งวรรณกรรมพระมาลัย เช่น คัมภีร์มาลัยต้น มาลัยปลาย ในภาคเหนือ คัมภีร์มาลัยหมื่น มาลัยแสน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระมาลัยคำหลวง พระมาลัยกลอนสวด นิทานพระมาลัย ในภาคกลาง และ พระมาลัยคำกาพย์ในภาคใต้ จากคติความเชื่อเรื่องพระมาลัยจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานประติมากรรมและจิตรกรรมต่าง ๆ ซึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระมาลัย ได้แก่ สมุดไทย เรื่อง พระมาลัย เขียนด้วยตัวอักษรขอม ภาษาบาลี ด้วยหมึกสีดำลงบนสมุดไทยขาว ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้รับมอบจากวัดราชพฤกษ์ศรัทธาราม และประติมากรรมรูปพระมาลัย ซึ่งเป็นรูปพระภิกษุ ครองจีวรลายดอกพิกุลห่มเฉียง นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว มือซ้ายอยู่ในลักษณะถือวัตถุ สันนิษฐานว่าถือตาลปัตรหรือพัด ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นผู้มอบให้ โดยลักษณะงานประติมากรรมเช่นนี้น่าจะมีความหมายถึงพระมาลัยเทศนาโปรดสัตว์ หรือพระมาลัยปางโปรดสัตว์ เนื่องจากตาลปัตรเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม --------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร --------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง เด่นดาว ศิลปานนท์. พระมาลัยในศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
เลขทะเบียน : นพ.บ.111/1คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 54.6 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 62 (188-191) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แทนน้ำนม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๒๔
เจ้าอาวาสวัดต้นสน ต.บางปลาสร้อย เขต ๑ อ.เมือง จ.ฃลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)