ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ


          พระบรมสารีริกธาตุ คือ พระบรมอัฐิขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ นับเป็นปูชนียวัตถุแทนพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิกชนนับถือบูชาแต่แรกปรินิพพานสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในมหาปรินิพพานสูตรกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุว่า หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว โทณพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อให้กษัตริย์และพราหมณ์อัญเชิญกลับไปยังดินแดนของตน ๘ เมือง ได้แก่ เมืองราชคฤห์ เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลปัปปะ เมืองรามคาม เมืองเวฏฐทีปกะ เมืองปาวา และเมืองกุสินารา กษัตริย์เมืองต่าง ๆ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในสถูป นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในเวลาต่อมา            ในดินแดนไทยเมื่อมีการรับพุทธศาสนาจากชมพูทวีป วัฒนธรรมแรกที่รับพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อว่า “ทวารวดี” ที่มีช่วงอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ใต้ฐานของเจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณคูบัว ซึ่งถือเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี โดยการขุดค้นทางโบราณคดีพบการก่ออิฐเรียงเป็นหลุมบริเวณกลางเจดีย์ในระดับพื้นดิน ลักษณะตารางเว้นช่องว่างที่มุมทั้ง ๔ และช่องตรงกลาง คือ ตำแหน่งของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในผอบครอบ ๓ ชั้น ซึ่งลักษณะการก่ออิฐเป็นช่องตารางนี้คล้ายคลึงกับแผ่นหินที่สลักแผ่นหินหรือก่ออิฐเป็นช่อง ๕ ช่อง หรือ ๙ ช่อง และบรรจุสิ่งของมงคลต่าง ๆ ลงไป แบบเดียวกับประเพณีวางศิลาฤกษ์ของอินเดีย ลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้            ผอบทั้ง ๓ ชั้นนั้น ชั้นแรกเป็นผอบสำริดฝาลายดอกบัว ชั้นที่ ๒ ผอบเงินฝาตกแต่งลายกลีบบัว ชั้นล่างสุดเป็นผอบทองคำเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๕ องค์ ลูกปัดแก้วสีน้ำเงินสมัยทวารวดี ชิ้นส่วนทองคำที่ยังไม่ได้แปรสภาพ และวัตถุสีแดงคล้ายก้อนดินบรรจุรวมอยู่ด้วย ช่องสำหรับบรรจุผอบถูกปิดด้วยแผ่นหิน สลักภาพพระพุทธรูปนูนต่ำขนาบข้างด้วยสถูปทรงหม้อปูรณฆฏะ (หม้อน้ำ) และธรรมจักรที่ตั้งอยู่บนเสา ซึ่งเป็นการปิดห้องกรุให้มิดชิดตามคัมภีร์ในพุทธศาสนา            การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสถูปเจดีย์นั้นเป็นแนวคิดมาจากสถานที่ฝังศพ โดยพระบรมสารีริกธาตุเปรียบเสมือนกระดูกของคนตาย ห้องกรุใต้สถูปเปรียบได้กับหลุมฝังศพ องค์เจดีย์ที่ก่อทับพระบรมสารีริกธาตุก็พัฒนามาจากเนินดินฝังศพ พระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบจากเจดีย์หมายเลข ๑ ซึ่งได้รับการขุดค้น ขุดแต่งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยนักโบราณคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการประดิษฐานในดินแดนประเทศไทยเป็นองค์แรก ๆ   ----------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี https://www.facebook.com/ilove.ratchaburi.national.museum/posts/pfbid02UMip7zp3p1iF3LR6Jtj6KGYojz1FXqFbwhhVMMuWwZisNCUtjxaxrK6ff1zECERrl -----------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


สวัสดีค่ะ วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม นำสาระน่ารู้เรื่องโกลน ไปชมกันได้เลยค่ะ โกลน หมายถึง การนำวัสดุ เช่น ไม้ ดิน อิฐ หิน ปูน ศิลาแลง มา ถาก เกลา หรือปั้นอย่างคร่าวๆ ก่อนนำไปตกแต่งให้สมบูรณ์ต่อไป เช่น โกลนเสา โกลนพระพุทธรูปหิน โกลนธรรมจักร หรือโกลนเทวรูปต่างๆ ตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโกลน เช่น นำหินมาโกลนทำรูปเคารพ รวมถึงเครื่องใช้ต่างๆ ในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12- 16)ที่แหล่งตัดหินเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี และพบร่องรอยการตัดหิน และโกลนให้เป็นรูปร่างก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างปราสาท ในวัฒนธรรมเขมร (พุทธศตวรรษที่ 15 - 18)ที่แหล่งตัดหินสีคิ้ว ในจังหวัดนครราชสีมา และแหล่งตัดหินเขานางซอ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นแหล่งตัดหินในการสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม พบร่องรอยการสกัดหินรูปครึ่งวงกลมและนำตัวหินที่โกลนไว้แล้วไปใช้ประโยชน์ โกลนหินที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม บริเวณปราสาทสด๊กก๊อกธมพบหลักฐานของโกลนหินบริเวณทางเข้าหลักทางทิศตะวันออกของปราสาทสด๊กก๊อกธมโดยเป็นโกลนหินของเสานางเรียงจำนวน ๑ ต้น ที่ยังแกะสลักไม่เสร็จอยู่ร่วมกับเสานางเรียงต้นอื่นๆ สันนิษฐานว่าคนสมัยโบราณนำหินมาโกลนให้ได้รูปร่าง จากนั้นจึงนำมาปักไว้บริเวณที่ต้องการแล้วจึงค่อยสลักลวดลายอย่างละเอียดภายหลัง รู้หรือไม่ การบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธมด้วยวิธีการอนัสติโลซิสโดยการนำหินดั้งเดิมกลับมาเรียงใหม่ในจุดเดิม และนำหินก้อนใหม่มาเรียงทดแทนหินดั้งเดิมที่สูญหาย หรือพังทลายลงไปนั้น สำหรับหินก้อนใหม่ที่นำมาเรียงจะถูกโกลนให้ได้รูปร่างคร่าวๆ และสลักลวดลายอย่างหยาบๆเพื่อให้สามารถจำแนกระหว่างหินดั้งเดิมและหินใหม่ที่ถูกนำไปเรียงทดแทนได้ อ้างอิง - กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า 49. - ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2545. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตสถาน, 2556 : หน้า 160. - ธนินทร นิธิอาชากุล, การตรวจสอบความสัมพันธ์ของโกลนหินสมัยทวารวดีระหว่างแหล่งผลิตเขาพระ จังหวัดเพชรบุรีกับเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม โดยวิธีศิลาวรรณนา(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี ภาควิชาภาคโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555) หน้า 11. - วสุ โปษยะนันทน์, อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า 142. - สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี (2551). เขาพระ. เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/.../ONak0jSJIaxo1uwyyqkuDlUoeD... - ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล. แหล่งตัดหินสีคิ้ว. เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2565เข้าถึงได้จากhttps://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/175 ที่มาภาพ  ภาพที่ 1 โกลนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (ที่มา : https://nationalmuseumppcd.wordpress.com/) ภาพที่ 2-3 โกลนหินธรรมจักร พบที่เชิงเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี (ที่มา:https://www.finearts.go.th/.../ONak0jSJIaxo1uwyyqkuDlUoeD...) ภาพที่ 4 แหล่งตัดหินสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พบร่องรอยหินที่ได้รับการตัดและโกลนให้เป็นรูปร่างเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างปราสาทในวัฒนธรรมเขมร(ที่มา: https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/175)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           41/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


นะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง โอลิเวอร์ ครอมแวลล์ ไสว สุทธิพิทักษ์. โอลิเวอร์ ครอมแวลล์. พระนคร: โรงพิมพ์ บริษัทศึกษาธรรมดา, 2493.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 140/1ข เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 175/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : กฎแห่งกรรม ของ ท.เลียงพิบูลย์ เรื่อง คนดีผีคุ้ม บาปกับเคราะห์ รักวัวให้ผูก ทางโลกกับทางธรรม ชีวิตผ่าน ชื่อผู้แต่ง : ท. เลียงพิบูลย์ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : รุ่งเรืองธรรม จำนวนหน้า : 170 หน้า สาระสังเขป : กฎแห่งกรรม ของ ท.เลียงพิบูลย์ เรื่อง คนดีผีคุ้ม บาปกับเคราะห์ รักวัวให้ผูก ทางโลกกับทางธรรม ชีวิตผ่านพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการแด่พุทธศาสนิกชนทั่วไปเนื่องในวันวิสาขบูชา 30 พฤษภาคม 2512 มีทั้งหมด 5 เรื่อง ตั้งแต่เรื่องที่ 91-95 โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ 91 คนดีผีคุ้ม เรื่องที่ 92 บาปกับเคราะห์ เรื่องที่ 93 รักวัวให้ผูก เรื่องที่ 94 ทางโลกกับทางธรรม เรื่องที่ 95 ชีวิตผ่าน


         วันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานเปิดการประชุมผู้แทนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเพื่อพัฒนาแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินงานสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในความครอบครองของวัด ภาครัฐและเอกชน ณ ห้องประชุม ๑ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีนางสาวนิตยา กนกนมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็น ให้คำปรึกษา คำแนะนำ สำหรับพัฒนาวิธีการทำงานสำรวจโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในครอบครองชองวัด ภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดปัญหาอุปสรรคการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วยภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น ๕๓ คน เข้าร่วมประชุม            ผลการดำเนินงานตามโครงการเป็นที่น่าพอใจด้วยสามารถสำรวจโบราณวัตถุรายการใหม่ที่ทรงคุณค่าด้านต่างๆ ไม่น้อยกว่าปีละ ๑,๐๐๐ รายการ รวมทั้งติดตามตรวจสอบสภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในครอบครองของวัด ภาครัฐและเอกชนที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ไม่น้อยกว่าปีละ ๖๕๐ รายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณวัตถุกลุ่มหนังสือสมุดไทย และหนังสือบุด กรมศิลปากรเล็งเห็นความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ ในฐานะภูมิปัญญาของชาติแขนงหนึ่ง นับวันจะถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และถูกจำหน่ายถ่ายโอนอย่างง่ายดายเพราะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึงมีนโยบายให้สำรวจหนังสือสมุดไทย หนังสือบุด คัมภีร์ใบลานเพื่อประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติเช่นเดียวกับโบราณวัตถุชนิดอื่นต่อไป


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การสืบทอดทางบรรเลงจากมุขปาฐะถึงทางบรรเลงที่ถอดจากโน้ตสากล” วิทยากร นางบุญตา เขียนทองกุล นักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ สำนักการสังคีต ดำเนินรายการ นายสุกิตติ์ ทำบุญ นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/prfinearts


ชื่อผู้แต่ง         -         ชื่อเรื่อง           ร้อยเอก หม่อมเจ้ารลายฉลุทอง ทองใหญ่ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพฯ ( ๑๙๘๔ ) จำกัด ปีที่พิมพ์          ๒๕๓๔ จำนวนหน้า      ๑๗๙  หน้า หมายเหตุ        พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ รายละเอียด                หนังสือในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยเอก หม่อมเจ้าลายฉลุทอง  ทองใหญ่ เนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องพระผู้สร้างเมืองอุดร  ๑๐๐  ปี  กรมไปรษณีย์ โทรเลข กองช่างวิทยุยุคท่านลายฯ เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม จากจิตรลดาสู่ประเทศไทย  การสอนภาษาฝรั่งเศษด้านวิทยาศาสตร์  และการช่วยการเจริญพันธุ์แก่ผู้มีบุตรยาก


          กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในเทศกาลมหาสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รับความรู้คู่ความสนุกกับ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ” วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 จัดกิจกรรมในลักษณะการออกร้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมต่าง ๆ ในหัวข้อ “สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ”      ระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2566 ซึ่งประกอบด้วย 9 กิจกรรม ดังนี้            1. นิทรรศการ “เก้าดารา” เรียนรู้เกี่ยวกับเทวดานพเคราะห์ในวิถีชีวิตไทย            2. เปิด “ตลาดเก้าล้าน” แสดงและจำหน่ายสินค้าที่นักศึกษา ศิลปิน และอาสาสมัคร ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           3. “สถานีเก้าสิปป์” กิจกรรมเวิร์กชอปงานศิลปะที่หยิบเล่นได้ โดยนักศึกษาและศิลปินอาร์ตทอย ณ ระเบียงด้านข้างหมู่พระวิมานฝั่งทิศเหนือ ข้างอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์           4. กิจกรรม “ทัวร์เก้ามณี” นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเรียนรู้ถึงที่มาของเทวดานพเคราะห์และเทศกาลมหาสงกรานต์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในห้องจัดแสดงต่าง ๆ           5. กิจกรรม “ล่าขุมทรัพย์เก้าแต้ม” รับสมุดประทับตราแล้วออกตามหาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ  ที่เกี่ยวเนื่องกับเทวดานพเคราะห์ จำนวน 9 จุด เพื่อแลกรับถุงเครื่องราง “นวธัญมงคล” (เมล็ดพืชอันเป็นมงคล   9 ชนิด) เป็นของที่ระลึก วันละ 500 ชิ้นเท่านั้น           6. จิบชาเก้าชนิด “จิ๋วจ่งฉา” โดย อ๋อง ที บาย บี๋ (Ong Tea by Bee) ณ เรือนชาลีลาวดี            7. ลุ้นกาชาปองชุดพิเศษ “นวพ่าห์” สัตว์พาหนะเก้าชนิดของเทพนพเคราะห์โดย Little Turtle Studio           8. พิเศษสุดกับการเสี่ยงทายพระคเณศ “นวคเณศ” ซึ่งออกแบบโดยศิลปินอาร์ตทอยเพื่องานสงกรานต์แฟร์ 2566 โดยเฉพาะและมีจำนวนจำกัด           9. ทุกคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในช่วงงานสงกรานต์แฟร์ วันที่ 7 - 9 เมษายน 2566 จะได้รับเหรียญที่ระลึก “พิพิธคเณศ” เป็นรูปพระคเณศแบบต่าง ๆ ที่ศิลปินร่วมกันออกแบบไว้ 15 แบบ จำนวน 15,000 ชิ้น โดยจำกัดคนละ 1 เหรียญ/คน/วัน            กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม“สงกรานต์แฟร์ : นพเคราะห์บูชาดาราจร รับพรสงกรานต์ปีเถาะ”  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.00 – 16.00 น. ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือ โทรศัพท์ 0 2224 1333, 0 2224 1402


เลขทะเบียน : นพ.บ.505/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 169  (224-232) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          แบบศิลปะ / สมัย พุทธศตวรรษที่ ๒๕             วัสดุ (ชนิด) ดิ้นเงิน ดิ้นทอง           ขนาด อกกว้าง ๕๓ เซนติเมตร ยาว ๗๕ เซนติเมตร           ประวัติความเป็นมา วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่รับมาจากนางสัมพันธ์ โชตนา และนำมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่           ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ  เสื้อเยียรบับ ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๕๔ – ๒๔๘๒) เสื้อที่ทำจากผ้าเยียรบับถือเป็นเครื่องยศอย่างหนึ่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผ้าเยียรบับมีชื่อเรียกในภาษาเปอร์เซียว่า Zarbaft มีความหมายว่าผ้าที่ทอจากทองคำ   


Messenger