ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,400 รายการ

ชื่อวัตถุ ถ้วยพร้อมจานรอง ทะเบียน ๒๗/๓๕๗/๒๕๓๒ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) กระเบื้องเคลือบ ประวัติที่มา ทำจากเมืองจีน มีตราที่ก้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับมอบจากนายประชา ตัณฑวณิช บ้านเลขที่ ๙๘ ถนนกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ถ้วยพร้อมจานรอง” ถ้วยพร้อมจานรองถ้วยปากฝายออก ขอบหยักคล้ายคลื่นเขียนด้วยสีทอง ด้านนอกถ้วยใต้ขอบปากตกแต่งด้วยสีต่างๆ เช่น ชมพู เหลือง เขียว และฟ้า เป็นต้น เป็นลายมงคล ๘ ประการของจีนประกอบด้วย จักร (Wheel of the Drama)จีนเรียก “ลุน”(lun)เป็นสัญลักษณ์ของความรู้ หอยสังข์(Conch shell)จีน จีนเรียก “ลั่ว”(luo) เป็นสัญลักษณ์แทนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าธง(Victory banner)จีนเรียก “ซาน”(san)เป็นสัญลักษณ์เมื่อพระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ฉัตรหรือร่ม (Parasol)จีนเรียก “ไก”(gai)เป็นสัญลักษณ์แทนการปกปักรักษา“ดอกบัว”(Lotus flower)จีนเรียก“ฮีฮั่ว”เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และความรู้แจ้ง “แจกัน” (Treasure vase)จีนเรียก “กวน” หมายถึงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง ปลาคู่ จีนเรียก “ยู”(yu) เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ และวัฏสงสารหรือปมเชือกที่ไม่สิ้นสุด จีนเรียก “ฉาง”(panchang) เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืน การประสานรวมกัน ลำตัวตกแต่งด้วยสีชมพู เหลืองเขียว ส้ม และฟ้า เป็นต้น ทำเป็นลายนกฟีนิกส์(Phoenix) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีและสง่างาม และลายดอกโบตั๋น(Peony) ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าโบตั๋นเป็นราชาแห่งหมู่มวลดอกไม้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและเกียรติยศ ส่วนเชิงของถ้วยเป็นสีชมพู ก้นถ้วยมีตราสี่เหลี่ยมภายในมีตัวอักษรจีนสีส้ม ด้านในถ้วยใต้ขอบปากตกแต่งด้วยลายมงคล ๘ ประการของจีนเช่นเดียวกันด้านนอกด้านในส่วนก้นเป็นลายดอกโบตั๋น จานรองขอบปากหยักคล้ายคลื่นเขียนด้วยสีทอง ด้านในตกแต่งด้วยสีชมพู เหลือง เขียว และน้ำเงิน บริเวณขอบปากทำเป็นรูปมงคล ๘ ประการเช่นเดียวกับลายบนถ้วย ส่วนกลางของถ้วยตกแต่งด้วยสีชมพู เหลือง เขียว ม่วง และส้ม เป็นต้นทำเป็นลายนกฟีนิกส์(Phoenix) และลายดอกโบตั๋น(Peony) ด้านนอกถ้วยบริเวณใต้ขอบปากตกแต่งด้วยสีชมพูเขียว และส้ม เป็นลายดอกไม้และใบไม้ ก้นถ้วยมีตราสี่เหลี่ยมภายในมีตัวอักษรจีนสีส้ม เครื่องถ้วยรูปแบบนี้เรียกกันว่า “เครื่องถ้วยนนยา” (Nyonya Wares)ซึ่งคำว่า นนยา (Nyonya) เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำว่า “dana”ซึ่งเป็นภาษาดัชต์ หมายถึง ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน ต่อมาใช้เรียกกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “เครื่องถ้วยนนยา” คือ เครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดนี้มีราคาที่แพง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและมีการเผาหลายครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกต้องเผาด้วยอุณภูมิที่ต่ำ เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นนำไปชุบน้ำเคลือบแล้วเผาอีกครั้งด้วยอุณภูมิที่สูงขึ้นแล้วจึงได้ภาชนะเคลือบสีขาวแล้วจึงนำไปลงยาสี “การลงยา” หมายถึง การนำน้ำเคลือบมาผสมกับน้ำมันการบูรซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติต่างๆ คือ ทำให้สีแห้งเร็ว สามารถละลายตัวสีให้มีความข้นพอที่จะทำให้ตัวสีติดกับผิวเคลือบ สีที่ติดบนผิวภาชนะจะสดใส มีความหนา และแข็งตัวง่ายเมื่อถูกอากาศ แล้วจึงเผาอีกครั้ง และหากมีการลงสีทองต้องมีการเผาครั้งสุดท้ายในอุณภูมิที่ต่ำกว่า ลายที่นิยมใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยนนยา เช่น ลายดอกไม้ นก เป็นต้น เครื่องถ้วยนนยาแบบที่ตกแต่งด้วยการลงยาบนสีเคลือบ มีอายุสมัยเก่าที่สุดในช่วงราชวงศ์ชิง พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๔๙๓ แต่ถูกผลิตมากในช่วง พ.ศ.๒๔๐๕ – ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับยุครัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต “ถ้วยเขียนสี” หรือ “เครื่องถ้วยนนยา” ใบนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมอบจากนายประชาตัณฑวณิช ชาวภูเก็ตซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีเชื่อชาติผสมระหว่างพื้นเมืองและจีนหรือที่เรียกว่า “บาบ๋า” เครื่องถ้วยชุดนี้ จึงเป็นหลักฐานการเข้ามาของชาวจีนในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ และสะท้อนถึงความนิยมเครื่องถ้วยจีนในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ลวดลายบนเครื่องถ้วยยังเป็นสัญลักษณ์มงคล ๘ ประการ และสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวแทนแสดงถึงความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร ๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒ – ๖๗. -The Brithish Museum. Chinese symbols. Available at: URL:https://www.britishmuseum. org/pdf/Chinese_symbols_๑๑๐๙.pdf. Accessed May ๔, ๒๐๑๘.


  ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีที่ชาวนครพนม ภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอย พระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า ประเพณีการไหลเรือไฟบางที่เรียกว่า " ล่องเรือไฟ " " ลอยเรือไฟ " หรือ"ปล่อย เรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑   ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอย พระพุทธบาท ที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้นเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในพิภพของนาค เมื่อเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ตามความประสงค์ของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นี้เป็นที่เคารพ ของเทวดามนุษย์ตลอดจนถึงสัตว์ทั้งหลาย ผู้ซึ่งต้องการบุญกุศล เหตุนี้การไหลเรือไฟ จึงถือว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งมีคำบูชาว่า  " อะ หัง อินิมา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคุะตุ "   แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่ง แม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ   รูปลักษณะของเรือไฟ   รูปทรงเรือไฟ รูปเรือไฟจะมีการทำที่แตกต่างกันออกไปตามความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถของช่างในแต่ละกลุ่ม โดยมีรูปทรงดังนี้   รูปเรือสุพรรณหงส์   รูปสิงห์   รูปพญานาค   รูปมังกร   รูปพญาครุฑ   รูปม้าเทียมราชรถ   รูปแม่ย่านาง   รูปช้าง ฯลฯ     การประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะ ประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป   ซึ่งประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ปี2554 จัดขึ้น ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงและหน้าตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 5-13 ตุลาคม 2554   http://www.esanclick.com/news.php?No=15103


นิทรรศการหมุนเวียน   ในแต่ละปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกจะจัดนิทรรศการหมุนเวียน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิต และภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ ประกอบกับกิจกรรมพิเศษ เช่น การสาธิต เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานิทรรศการมากยิ่งขึ้น



เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด 6 เมตร 17 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ใช้เป็นที่ตั้ง โบราณพิพิธภัณฑ์


***บรรณานุกรม***  ประภาศ จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประชุมประกาศ รัชกาลที่5 พ.ศ.2405-2411 พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส  วันที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2511 พระนคร  โรงพิมพ์เหรียญทองการพิมพ์ 2511




หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                             บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   16 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว  56 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ชื่อเรื่อง : คติสอนใจล้านนาไทย ผู้แต่ง : มณี พยอมยงค์ ปีที่พิมพ์ : 2522 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ธาราทองการพิมพ์



เลขทะเบียน : นพ.บ.49/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 13หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อเรื่อง : ประถม ก กา ประถม ก กาหัดอ่าน ปฐมมาลา และอักษรนิติแบบเรียนหนังสือไทย ผู้แต่ง : พระเทพโมฬี และพระอมราภิลักขิต ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โอเดียนการพิมพ์


ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้เลือดต่างๆ ยาฟันมัม, ยาเอนหด, ยาแก้ประดง, ยาแก้ราก, ยาแก้ร้อนทุรนทุราย, ยาแก้กานสุมอยู่ในทรวงอก, ยาแก้ละออง เป็นต้น


Messenger