ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,400 รายการ

          วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมตรวจสอบโบราณวัตถุ 2 รายการ จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา หลังผ่านพิธีการศุลกากร และเดินทางมาถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก่อนจะมีพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (21 พฤษภาคม 2567)





ชื่อเรื่อง : ประมวลพิธีมงคลของไทย หัวเรื่อง : 1.พระราชจันทโมลี(ประเสริฐ วิมโล)                2.วัดบูรพาพิทยาราม                3.พิธีกรรมทางศาสนา                4.พิธีแต่งงาน                5.พิธีสวดมนต์ คำบรรยาย : ที่ระลึกพิธีฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระราชาคณะชั้นราช พระราชจันทโมลี (ประเสริฐ วิมโล) รองเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี เจ้าอาวาสวัดบูรพาพิทยาราม(พระอารามหลวง)ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 23 พฤษภาคม 2553 แหล่งที่มา :  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี รูปแบบ : PDF ภาษา : ภาษาไทย รายละเอียด : เริ่มเรื่องเป็นประวัติของพระราชจันทโมลี(ประเสริฐ วิมโล)และต่อด้วย เรื่องประมวลพิธีมงคลไทย ได้แก่ ระเบียบการทำบุญทั่วไป พิธีมงคลทำขวัญวัน -เดือน พิธีมงคลโกนผมไฟ พิธีมงคลการตั้งชื่อ พิธีมงคลโกนจุก พิธีบายศรี พิธีมงคลบรรพชา พิธีมงคลอุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีออกพรรษา พิธีทอดกฐิน พิธีกราลกฐินพิธีมาฆบูชา พิธีทอดผ้าป่า พิธีวิสาขบูชา พิธีอาสาฬหบูชา พิธีมงคลแต่งงาน พิธีปลูกบ้าน พิธีตั้งศาลพระภูมิ พิธีทำขวัญขึ้นบ้านใหม่ พิธีการทำบุญบ้าน พิธีทำบุญอายุ พิธีตรุษ พิธีสงกรานต์ พิธีแรกนาขวัญ พิธีพืชมงคล พิธีสารท พิธีลอยกระทง พิธีทำบุญปีใหม่ พิธีสวดมนต์ พิธีทำบุญต่างๆ สิทธิ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ประเภท : หนังสือท้องถิ่น เลขทะเบียนหนังสือหายาก(จบ) : น.55บ.67458จบ.(ร) เลขหมู่ : ท 294.3138 ป352


โบราณสถานเขาคูหา           โบราณสถานเขาคูหา ตั้งอยู่ที่ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียคือ การขุดภูเขาเป็นห้องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งที่เรียกว่า “ถ้ำวิหาร” สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่  ๒๐ จึงถูกทำลายลง  เขาคูหาได้รับการบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖             เขาคูหาประกอบด้วย ถ้ำทิศเหนือและถ้ำทิศใต้  ถ้ำทิศเหนือ มีแท่นประดิษฐานรูปเคารพอยู่ภายใน ที่ผนังถ้ำด้านทิศเหนือมีการสกัดร่องออกสู่ภายนอก สันนิษฐานว่าเป็นร่องรองน้ำศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม  ด้านหน้าถ้ำมีร่องรอยของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นอาคารไม้มุงกระเบื้องดินเผา จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบชิ้นส่วนศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพ ชิ้นส่วนพระวิษณุซึ่งถูกทำลายและฝังไว้ ส่วนถ้ำทิศใต้ ที่ผนังด้านในมีภาพเขียนสี เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของคำว่า “โอม” ที่ย่อมาจาก อะ อุ มะ ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ๓ องค์ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม            กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเขาคูหา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒ ตอนพิเศษ ๑๗ ง วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ Khao Khuha Temple           Khao Khuha Temple is located in Chumphon Subdistrict, Sathing Phra District, Songkhla Province. It is one of the earliest Hindu temples in southern Thailand which was influenced by rock-cut temples in India. The temple has a vaulted ceiling. It was assumed to have been dated back in the 7th – 9th centuries before being destroyed in the 15th century in the Ayutthaya period. In the year 2003, the site was given a landscape improvement.            Khao Khuha temple comprises the North Cave and the South Cave. The North Cave houses the pedestal of a stone statue. The water conduit was cut along its northern wall, all the way to the entrance.  In front of the cave, there are the remains of a possibly rectangular-planned wooden structure with a tiled roof. The excavation yielded the part of Shiva Linga (stone phallus), the statue pedestal, and the torso of Vishnu all of which were destroyed and buried. On the wall of the South Cave, there is a symbol “Om,” which is a combination of three Sanskrit letters: aa, au, and ma. It refers to three Hindu gods: Shiva, Vishnu, and Bhrama.            The Fine Arts Department announced the registration of Khao Khuha as a national monument in the Government Gazette, Volume 112, Special Part 17, dated March 17, 1999.   


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  นาฏกรรมชุดพิเศษ โขน ชุด - หนุมานอาสา.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๔.


***บรรณานุกรม*** กรมศิลปากร ประเพณีทำศพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางลำจวน อบเชย ณ เมรุวัดศรีประวัติ ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 31 มีนาคม พุทธศัก ราช 2517 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงธรรมประทีป 2517



     วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๗.๐๐ น. นางสาวดวงกมล ยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัยและข้าราชการเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสดุดีวันปิยมหาราช ประจำปี ๒๕๖๐ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย




เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมความพร้อมจัดงาน "ประชุมเสวนา การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานกำแพงดิน เมืองเชียงใหม่" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๗ - ๘ เมษายน ๒๕๕๔ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเชิญผู้บริหาร ผู้นำท้องถิน เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม โดยเชิญ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายเอนก สีหามาตย์ เป็นประธาน ในการจัดประชุมครั้งนี้


อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ



วัสดุ ดินเผา แบบศิลปะ ศิลปะทวารวดี อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 (ประมาณ 1,100–1,300 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบจากบ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายวิชา ตระกูลการ มอบให้ พระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปางสมาธิ มีนาคเจ็ดเศียร หรือพญามุจลินท์ แผ่พังพานปรกอยู่เบื้องหลัง ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์หนา ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นต่อมกลม ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวจรดพระนาภี ปลายจีวรเป็นริ้วคลี่ออกเป็น 2 แฉก พุทธลักษณะเหล่านี้คงเลียนแบบมาจากพระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก ศิลปะทวารวดีที่พบทางภาคกลาง พระพิมพ์ลักษณะนี้เป็นที่นิยมสะสมกันมากในหมู่ผู้สะสมพระเครื่อง เท่าที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่


Messenger