ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.359/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์      นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ขณะนั้นพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีไม่มีผู้อุปถัมภ์บำรุง พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางต่างสงสารและเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระผนวชมา ยังไม่มีพระอัครมเหสีผู้เป็นพระขัตติยนารี ซึ่งจะได้มีพระราชโอรสสืบราชสันตติวงศ์ จึงพร้อมพระทัยและพร้อมใจกันให้มีความสัมพันธ์ระหว่างสองพระองค์ กระทั่งมีการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอัครราชเทวี ซึ่งถือเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสี      ในพุทธศักราช ๒๓๙๕ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ทรงพระครรภ์และทรงพระประชวร ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ดังนี้      ในเดือน ๑๐ นั้น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบุตรีพระองค์เจ้าลักขณา พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยงขึ้น ตั้งให้เป็นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ทรงพระประชวรเป็นพระยอดภายในที่ศูนย์พระนาภี แพทย์หมอไม่รู้ถึงพระโรค เข้าใจว่าเป็นโรคครรภรักษา ก็รักษาไป ครั้นพระครรภได้ ๗ เดือน ณเดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ ตรงกับจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๕ ก็ประสูติพระราชกุมาร ออกมาอยู่ได้วัน ๑ ก็ดับศูนย์ บางฉบับว่าออกมาอยู่ได้ ๗ ชั่งโมงก็สิ้นพระชนม์ในวันนั้น ฝ่ายสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีนั้น พระยอดเป็นพระบุพโพแก่ก็แตกออกมาที่ศูนย์พระนาภีบ้างตกข้างในบ้าง ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ซึ่งตรงกับอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๓๙๕ ก็สิ้นพระชนม์ พระองค์ประสูติ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๑ แรม ๖ ค่ำ ปีมะเมีย ฉศกจุลศักราช ๑๑๙๖ ตรงกับวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๗๗ ศิริพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา จะเชิญพระศพไปไว้ณหอธรรมสังเวช การก็ทำยังไม่แล้วจึงได้เชิญพระศพขึ้นไปไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท   ภาพ : วัดโสมนัสราชวรวิหาร พระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นเสมือนอนุสรณ์ รำลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีในพระองค์  


ชื่อผู้แต่ง         ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา และภาณุพันธุวงศ์วรเดช, กรมพระยา ชื่อเรื่อง          ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๓ ตำนานการเกณฑ์ทหาร กับตำนานกรมทหารราบที่ ๔ ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๓ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๙ จำนวนหน้า       ๖๘ หน้า หมายเหตุ          พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๐๙                         หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเรื่อง ตำนานการเกณฑ์ทหาร เรียบเรียงโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับตำนานกรมทหารราบที่ ๔ เรียบเรียงโดย จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช


ชื่อเรื่อง : เนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นายบำรุงราชบทมาลย์ (คลอ คชนันทน์) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดเทพศิรินทราวาส จำนวนหน้า : 146 หน้าสาระสังเขป : เป็นหนังสือเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นายบำรุงราชบทมาลย์ (คลอ คชนันทน์) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2512 และในหนังสือเล่มนี้ได้พิมพ์หนังสือเรื่อง กิริยามารยาทและการใช้ถ้อยคำในราชสำนัก เพื่อเป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพไว้ด้วย


ชื่อเรื่อง                     นิทานโบราณคดีผู้แต่ง                       กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่                      398.3 ด465นสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 บุรินทร์การพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2517ลักษณะวัสดุ               560 หน้าหัวเรื่อง                     นิทาน – ไทย                              ไทย – โบราณสถานภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           รวบรวมเนื้อหาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้เนื้อหานิทานโบราณคดี ประกอบด้วยนิทาน 21 เรื่อง  



"งานบันทึกหลักฐาน" งานบันทึกหลักฐานสภาพความชำรุดเสียหายของจิตรกรรมฝาผนัง ด้วยการบันทึกภาพถ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการปฏิบัติงานอนุรักษ์ในขั้นตอนต่อไป กิจกรรมงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หนึ่งในโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีนายอภิชาติ สุวรรณ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ เป็นผู้ควบคุมงาน ระยะเวลาดำเนินงาน มีนาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕


          กระเบื้องเชิงชายหรือที่เรียกว่ากระเบื้องหน้าอุด คือกระเบื้องมุงหลังคาแถวล่างสุดของหลังคาแต่ละตับ ส่วนใหญ่ทำเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ทำหน้าที่กันฝน และสัตว์เข้าไปตามแนวกระเบื้อง          เทพนม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ ซึ่งลายเทพนมบนกระเบื้องเชิงชายนั้นมักพบในลักษณะโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม หันพระพักตร์ตรง ประนมพระหัตถ์เสมอพระอุระ นอกจากนี้ยังพบลายเทพนมในงานศิลปกรรมอื่น เช่น          - งานจิตรกรรม ทำลายเทพนมในพุ่มข้าวบิณฑ์บริเวณหน้าต่างอุโบสถ วัดดวงแข กรุงเทพฯ          - งานประดับสถาปัตยกรรม พบบริเวณหน้าบัน บันแถลง ประตู หน้าต่างของโบราณสถาน เช่น ลายปูนปั้นรูปเทพนมประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก          - เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพนม พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชร          - ลายเทพนมบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์          การนำกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมมาประดับหลังคาเหนือที่ประดิษฐานรูปพระพุทธเจ้านั้น สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงการสักการะพระพุทธเจ้าของเหล่าเทพ หรือเป็นการสื่อถึงเทพประทับในวิมาน โดยแผ่นกระเบื้องเชิงชายเปรียบเสมือนซุ้มวิมานขององค์เทพ หรืออาจเป็นความหมายทางบุคลาธิษฐานในการเปรียบเทียบมนุษย์กับบัวสี่เหล่าของพระพุทธองค์ อันเป็นการแทนภาพของผู้ที่บรรลุโพธิญาณขั้นต้นที่หลุดพ้นจากโคลนตมใต้พื้นน้ำ          จากการศึกษากระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาประเภทลายเทพนม ของ นายประทีป เพ็งตะโก สันนิษฐานว่า กระเบื้องเชิงชายลายเทพนมนั้นปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นตลอดจนถึงอยุธยาตอนปลาย ลักษณะสำคัญคือ เทพนมอยู่เหนือดอกบัวในลักษณะผุด หรือถือกำเนิดจากดอกบัว ในระยะแรกสันนิษฐานว่ามีการทำรูปดอกบัวใต้รูปเทพนมมีก้านมารองรับ จากการพบลวดลายปูนปั้นลักษณะคล้ายคลึงกันประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ส่วนรูปดอกบัวรองรับรูปเทพนมลักษณะแบบไม่มีก้านนั้น เริ่มจากดอกตูม แล้วคลี่คลายมาเป็นดอกบาน รวมถึงมงกุฎแบบมีปุ่มแหลมเหนือกรอบกระบังหน้านิยมทำร่วมกันในสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนกลีบบัวที่กลายเป็นลายพันธุ์พฤกษาอยู่ในราวสมัยอยุธยาตอนกลางและปรับเปลี่ยนเป็นลายกระหนกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ โดยลายกระหนกใต้เทพนมนั้นมักทำเป็นกระหนกสามตัวสะบัดพลิ้ว หรือทำลายอย่างอื่นแทนที่รูปดอกบัว ส่วนลักษณะมงกุฎแบบทรงเครื่องใหญ่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓           การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบเทียบ (Relative Dating) สันนิษฐานว่าลวดลายในกระเบื้องเชิงชายที่พบจากการขุดแต่งวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชรนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระเบื้องเชิงชายที่พบในโบราณสถานของเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยอ้างอิงภาพเปรียบเทียบลายกระเบื้องเชิงชายจากการศึกษาของ นายประทีป เพ็งตะโก ได้แก่          กระเบื้องเชิงชายลายเทพนม (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) ลักษณะทรงสามเหลี่ยมมีหยักที่ขอบนอก ปรากฏรูปเทพนมอยู่เหนือดอกบัว ทำเส้นนูนล้อกับทรงกระเบื้องล้อมรอบเทพนมจำนวนสองเส้น มงกุฎมีการซ้อนชั้นอย่างเรียบ ปลายแหลมสูง สวมกระบังหน้า ดอกบัวรองรับเทพนมไม่มีก้าน กลีบดอกบัวมีลักษณะเรียว และเริ่มมีลักษณะเปลี่ยนเป็นลายกนกบริเวณส่วนปลายกลีบ จากการขุดแต่งวัดช้างรอบ พบกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมลักษณะคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดธรรมมิกราช วัดพลับพลาชัย และวัดสุวรรณาวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา_________________________________________________ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ---------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐. ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๐. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท โอสถสภาจำกัด, ๒๕๓๙. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.



          บ้านเรือนของชาวลาวโซ่งเรียกว่า “กวังตุ๊บ” หรือ “เฮือนลาว” เป็นเรือนเครื่องผูก ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ หลังคามุงด้วยแฝก มีใต้ถุนสูง องค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนลาวโซ่ง ดังนี้           • หลังคา มุงด้วยหญ้าแฝก เป็นทรงโค้งคล้ายกระดองเต่า ลาดต่ำคลุมลงมาจนเกือบถึงพื้นดิน แทนฝาเรือน เพื่อกันลม ฝน และอากาศหนาวเย็น เนื่องจากถิ่นฐานเดิมของลาวโซ่งอยู่ในเขตหนาวมาก่อน การทำหลังคาลาดต่ำจึงช่วยป้องกันลมหนาว            • ขอกุด ทำจากไม้แกะสลักคล้ายเขากวางไขว้ ประดับบนยอดจั่ว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเรือนลาวโซ่ง โดยมีตำนานของชาวลาวโซ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า แถนหรือเทวดาเป็นผู้ส่งควายมาเป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้งานและช่วยมนุษย์ทำมาหากิน จึงทำให้มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและเป็นที่มาของการสร้าง “ขอกุด” ประดับไว้เหนือจั่วหลังคาบ้าน ถือว่าควายมีบุญคุณทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความอดทน มุ่งมั่นการต่อสู้และความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์           • เสาเรือน ทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้น ซึ่งต้องคัดเลือกต้นไม้ที่มีง่ามสำหรับทำเสา และเป็นต้นไม้ที่มีความสูงไล่เลี่ยกัน เมื่อวางไม้คานบนง่ามเสาทำให้ได้ระดับเดียวกัน           • เรือนยุ้งข้าว มักจะมีพื้นสูงกว่าเรือนผู้ท้าว (เรือนนอน) เนื่องจากชาวลาวโซ่งถือว่าภายในยุ้งข้าวซึ่งเก็บรักษาข้าว และข้าวมีพระแม่โพสพสถิตย์อยู่ ชาวลาวโซ่งมักใช้พื้นที่ใต้ถุนทำกิจกรรมในตอนกลางวัน เช่น ทอผ้า ตำข้าว จักสาน ส่วนบนเรือนจะใช้สำหรับเป็นที่หลับนอน ทำครัว และประกอบพิธีกรรม บนเรือนลาวโซ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน คือ            • ชาน  เป็นส่วนระเบียงหน้าเรือน ใช้เป็นที่รับแขกและนั่งเล่น           • ห้อง เป็นโถงใหญ่ภายในบ้าน ใช้เป็นที่นอน ที่ทำครัว และเก็บข้าวของต่าง ๆ มีมุมหรือกั้นห้องเล็กสำหรับเซ่นไหว้ผี เรียกว่า “กะล้อห่อง” ที่แปลว่ามุมห้อง เป็นส่วนที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวไม่สามารถเข้าไปในส่วนนี้ได้            • กว้าน เป็นส่วนระเบียงหลังเรือน ใช้สำหรับทำพิธีเซ่นบรรพบุรุษ ---------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/153378118193282/posts/1840817466115997/  



      พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัย ภายใต้โพธิพฤกษ์       ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ (ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปีมาแล้ว)       ได้มาจากวัดพระงาม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม        ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        พระพิมพ์ดินเผาทรงกลีบบัว แสดงพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ มีประภามณฑลล้อมรอบภายใต้ต้นโพธิพฤกษ์ พุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้คือ พระรัศมีรูปดอกบัวตูม อุษณีษะทรงกรวย พระศกเล็ก พระพักตร์สี่เหลี่ยม กรอบพระพักตร์มีเส้นไรพระศก พระกรรณยาว เจาะเป็นร่อง พระศอเป็นปล้อง พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นซ้อนกัน ยาวจรดพระนาภี ขอบสบงเป็นสันเว้าโค้งลงใต้พระอุทร ประทับเหนือชั้นบัวหงายมีเกสรบัว รองรับด้วยฐานบัวคว่ำ-บัวหงายในผังยกเก็จ มีเส้นลวดตกแต่งลายดอกบัวตูมคั่นกลาง พระพิมพ์ชิ้นนี้สื่อถึงพระศากยมุนี ทรงมีชัยชนะเหนือเหล่ามาร และประทับตรัสรู้อยู่ใต้ต้นโพธิพฤกษ์      อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.


           ธรรมจักร       สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕       ขุดได้ในฐานพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม นำมาไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑       ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ธรรมจักรศิลาสลักลาย ฐานธรรมจักรสลักกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย และแถบเม็ดพลอยสี่เหลี่ยมสลับวงรีกงล้อสลักลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สลับพลอยเม็ดกลมที่มีลวดลายดอกไม้และมีกระหนกผักกูดแตกออกมา ๘ ตัว ขมวดคล้ายเลข ๑ ไทย ขนาบข้างด้วยแถบลายเม็ดประคำ ซี่ล้อหรือกำสลักส่วนโคนประดับลายกระหนกรูปทรงคล้ายกระจัง ส่วนยอดสลักลายก้านขดข้างละตัวคาดด้วยแถบลายลูกประคำบริเวณรอบดุมธรรมจักรสลักเป็นลายวงกลม มีแถบลวดลายซ้อนกันเรียงจากวงกลมด้านนอกมายังด้านใน ได้แก่ ลายฟันปลา แถบลายก้านขด ลายลูกประคำ ลายกลีบบัว และลายลูกประคำ ตามลำดับ ดุมธรรมจักรรูปทรงกลมเรียบไม่มีลวดลาย        การสร้างประติมากรรมรูปธรรมจักรนั้นพบหลักฐานตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓)* ใช้แทนรูปเคารพพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ส่วนในประเทศไทยน่าจะรับคติธรรมจักรพร้อม ๆ กับการรับพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ตรงกับสมัยทวารดี สันนิษฐานว่าการบูชาธรรมจักรในอดีต จะตั้งธรรมจักรไว้บนหัวเสาและมีแท่นรองรับ อาจตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรือในพื้นที่มีหลังคาคลุม เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบแท่นและเสาธรรมจักรเป็นจำนวนมาก โดยแหล่งที่พบธรรมจักรเป็นจำนวนมากนั้นคือบริเวณเมืองนครปฐมโบราณ (จังหวัดนครปฐม) นอกจากนี้ยังพบธรรมจักรตามแหล่งชุมชนโบราณต่าง ๆ อีกหลายแห่งที่มีหลักฐานศิลปกรรมเกี่ยวข้องกับทวารวดี เช่นที่เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) เมืองลพบุรี (จังหวัดลพบุรี) เมืองอู่ตะเภา (จังหวัดชัยนาท) เมืองเสมา (จังหวัดนครราชสีมา) บริเวณอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น       รูปแบบลวดลายบนธรรมจักรชิ้นนี้ จากการเรียงลวดลายได้แก่ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับกับลายเม็ดพลอยกลมสลักลวดลายดอกไม้มีกระหนกแตกออกมาเป็นกระหนกผักกูด ลักษณะขมวดคล้ายเลข ๑ ไทยจำนวน ๘ ตัว น่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะวกาฏกะของอินเดีย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑) ได้แก่ ๑. แสดงการจัดลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับกับลายเม็ดพลอย  ๒. การแสดงระบบลายหลักคือลายเม็ดพลอยกลมมีกระหนกแตกออกมาล้อมรอบ ขณะที่ลายรองคือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนไม่มีกระหนกล้อมรอบ  ๓. ลายกระหนกผักกูดที่ปรากฏบนธรรมจักรชิ้นนี้ แสดงส่วนหัวกระหนกมีลายขูดขีดเป็นเม็ดกลม คล้ายกับลายกระหนกผักกูดของศิลปะวกาฏกะ (ที่สืบเนื่องจากศิลปะคุปตะ)        อย่างไรก็ตามธรรมจักรชิ้นนี้ยังมีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะทวารวดี” (ซึ่งไม่ปรากฏในศิลปะอินเดีย) ได้แก่ การตกแต่งเป็นลายดอกไม้ในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและลายเม็ดพลอยวงกลม รวมทั้งจำนวนกระหนกที่แตกออกมาถึง ๘ ตัวนั้นไม่มีปรากฏในศิลปวกาฏกะ        ธรรมจักรชิ้นนี้ตามประวัติระบุว่า พบที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และนำส่งเข้ามาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี หรือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซม ดังที่ปรากฏในหนังสือราชการที่ขุนบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ภัณฑารักษ์ในขณะนั้นทูลเสวกเอก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤษดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานในขณะนั้น ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ความตอนหนึ่งว่า       “...ด้วยในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครมีศิลาธรรมจักร์ขนาดใหญ่อยู่อัน ๑ ตั้งไว้ที่ห้องหินเข้าคู่กับพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยเก่า** แต่ธรรมจักรชำรุดแตกหายไปเสียครึ่งซีก เหลืออยู่เพียงครึ่งซีก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา มีพระประสงค์ให้ นายฟีโรจี ไปช่วยจัดการทำซีกที่แตกหายไปนั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ การที่จะทำ นายฟีโรจีไม่ต้องลงมือทำเองก็ได้ เปนแต่บอกวิธีที่จะทำให้แก่ลูกศิษย์ของนายฟีโรจี แล้วให้ลูกศิษย์เปนผู้ทำต่อไป ของที่จะใช้มี ปูนปลาสเตอร์ ทราย แลปูนขาว เปนต้น...”       การดำเนินงานซ่อมแซมธรรมจักรนั้น เสร็จสิ้นประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๑๓๘ บาท ๑๐ สตางค์     *อ่านประเด็นความหมายของธรรมจักร ได้ใน เรื่อง ดินเผากลมประทับธรรมจักรกวางหมอบ (https://www.facebook.com/.../a.531316277.../5363449643707218) **หมายถึง พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ (เลขทะเบียน ทว.๕๒) พบที่วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัยเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ และนำมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ลวดลายศิลปะทวารวดี : การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๕. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี:  เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ. ๒.๑.๑/๓๒. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ของรับศิลาธรรมจักร์ แลนำเครื่องศิลาของพิพิธภัณฑสถานฯ ไปไว้ที่นครปฐมพร้อมทั้งพัทธเสมาด้วย (๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๑ - ๕ กันยายน ๒๔๗๒).


ความรู้เรื่องประเพณีลอยกระทง ตอนที่ 1 หัวข้อ เรื่อง "ลอยกระทงมีมาแต่เมื่อไร ทำเพื่ออะไร"เนื่องในเทศกาลวันลอยกระทงที่จะมาถึง หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


               กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี ขอเชิญ “สัมผัสประสบการณ์ใหม่ นิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง” (A New Encounter : Immersive Gallery of Korean Art) จัดแสดงพุทธศิลป์ของไทยและเกาหลี ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖         นิทรรศการครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลีกับกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาอย่างยาวนาน และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งสองหน่วยงานได้ลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้รับความร่วมมืออย่างดีจากศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย โดยนิทรรศการเป็นการนำมรดกทางวัฒนธรรมแบบประเพณีของเกาหลีมาจัดแสดงร่วมกับสื่อดิจิทัลให้มีบรรยากาศเสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการถ่ายทำและอธิบายเรื่องราว ร่วมกับการแสดงประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาของไทยและเกาหลี ประกอบด้วย   ๑. การฉายภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลเสมือนจริง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี ได้จัดทำขึ้น จำนวน ๒ เรื่อง คือ เรื่อง "การเดินทางของวิญญาณ" สร้างขึ้นจากจิตรกรรมในพุทธศาสนา "พญายมราชทั้งสิบ" และเรื่อง "กระบวนพยุหยาตราและผู้คน" โดยสร้างขึ้นจาก อึย-คเว (แบบธรรมเนียมในราชสำนัก) บันทึกทางการของราชสำนักโชซอน ซึ่งจิตรกรรมพุทธศิลป์และบันทึกทางการของราชสำนักโชซอนทั้งสองรายการ เป็นสมบัติที่เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เกาหลี นำมาจัดทำใหม่ในรูปแบบของดิจิทัล ใช้แสงและสีที่งดงามบนจอขนาดใหญ่ และเสียงกึกก้องที่จะทำให้สัมผัสกับชีวิตในอดีต ณ เวลาปัจจุบันอย่างเต็มตา  ๒. การจัดแสดงประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ องค์ รูปบุคลาธิษฐานของความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ สะท้อนถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาในอดีตของเกาหลีและไทย  แม้รูปลักษณ์ ช่วงเวลาที่สร้าง และฝีมือช่างแตกต่างกัน แต่รูปเคารพทั้งสองต่างก็สื่อสะท้อนถึงผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาที่จะช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ โดยประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลปะเกาหลี สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ขุดพบที่วัดพงฮวังซา เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี ส่วนพระโพธิสัตว์  อวโลกิเตศวรของไทย ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ พบที่ วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี                 ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ ณ ห้อง ๔๐๑ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)


Messenger