ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum Festival 2024 เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในบรรยากาศกลางคืน เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทย ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น.
ภายในงานพบกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- ตลาดพิพิธภัณฑ์ (Museum Market) เลือกซื้องานอาร์ตทอย กาชาปอง งานคราฟต์ สื่อสร้างสรรค์จากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑ์ เป็นของขวัญสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ พบกับนักพยากรณ์มืออาชีพที่ศาลาพยากรณ์ เปิดตลาดตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.
- กาชาปอง "มะเส็งเฝ้าทรัพย์" (Gashapon "Wealthy Snake") กาชาปองรูปตราประทับงูเฝ้าทรัพย์ ใต้ฐานสลักอักษรมงคล ๕ ประการ "อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ" เปิดสุ่มที่บูธ มู-เซียม สตูดิโอ ๐๖๔ ในตลาดพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป สุ่มละ ๒๐๐ บาท ไม่จำกัดจำนวน
- ตามรอยสิบสองนักษัตร (Twelve Zodiacs Scavenger Hunt) เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับครอบครัวและทุกเพศทุกวัย เดินชมพิพิธภัณฑ์ไปพร้อมกับตามหาสัตว์ตัวแทนปีเกิด ที่แอบตามมุมต่าง ๆ ในห้องจัดแสดง โดยเก็บ RC ให้ครบแล้วอย่าลืมแวะรับของรางวัลก่อนกลับ เปิดจำหน่ายที่บูธ มู-เซียม สตูดิโอ ๐๖๔ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. ชุดละ ๕๐ บาท
- นำชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night Museum Guided Tour) นำชมพิพิธภัณฑ์เป็นกรณีพิเศษ ในหัวข้อ "อาศิรวิษนักษัตร เปิดตำนานอสรพิษ พุทธศักราช ๒๕๖๘" โดยภัณฑารักษ์และ National Museum Volunteers ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เปิดรับลงทะเบียน เวลา ๑๗.๐๐ น. เริ่มนำชม เวลา ๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. (วันละ ๑ รอบเท่านั้น) โดยไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า
- เปิดเรือนชาลีลาวดี (Frangipani Teahouse) เดินชมพิพิธภัณฑ์แล้วอย่าลืมแวะพักขา จิบชาเบา ๆ ที่เรือนชาลีลาวดี ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) เปิดตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น.
กิจกรรมที่พลาดไม่ได้คือ การเปิดตัวตราประทับที่ระลึก สำหรับอาคารต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๑๔ ดวง ซึ่งจะเปิดให้ได้เก็บสะสมตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม เป็นต้นไป ตลอดจนถึงปีหน้า
ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น. ในวันศุกร์ - อาทิตย์ ที่ ๒๐ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ จำหน่ายบัตร เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.) ติดตามรายละเอียดแต่ละกิจกรรมได้ทางเฟสบุ๊ก Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
องค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) บทที่ 10-12
ภูมิปัญญาไทยภาคกลาง
จัดแสดงภูมิปัญญาไทยพื้นถิ่น สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เตาเชิงกราน หม้อดินเผา กระจ่า กระบวย ฯลฯ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เช่น ไถ คราด ฯลฯ เครื่องประกอบอาชีพเสริม เช่น อุปกรณ์ปั้นหม้อดินเผา เครื่องทอผ้า เครื่องหีบอ้อย ฯลฯ เครื่องมือในการประมง เช่น ชะนาง สุ่ม ตุ้ม ข้อง กระชัง ฯลฯ และพาหนะในการเดินทาง เช่น เกวียน หรือระแทะ เป็นต้น
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง สตูล : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/satun
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล ตั้งอยู่ ซอย 5 ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นมาจากคฤหาสน์กูเด็น ที่สร้างขึ้นโดย พระยาภูมินารถภักดีหรือตนกูบาฮารุดดิน บินกูแม้ะ เจ้าเมืองสตูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโรเนียล สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้มาประทับแรม ต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพักเจ้าเมืองและศาลาว่าการเมืองสตูล จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี พุทธศักราช 2484 อาคารหลังนี้ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2490 - 2506 เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล ในปี พุทธศักราช 2508 - 2509 เป็นอาคารเรียนและใช้เป็นอาคารสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ตามลำดับ
ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นกรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนคฤหาสน์กูเด็นเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2532
กรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงอาคารโบราณสถานคฤหาสน์กูเด็นขึ้นเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นแหล่งรวบรวมและจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตชาวสตูลซึ่งนโยบายการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับความต้องการของจังหวัดสตูลที่มีความประสงค์จะมีศูนย์เก็บรวบรวมอนุรักษ์ จัดแสดง และเผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล
ในระหว่างปี พุทธศักราช 2537 - 2538 กรมศิลปากรโดยหน่วยศิลปากรที่ 9 จึงได้ดำเนินการบูรณะอาคารคฤหาสน์กูเด็น ต่อมาในปีงบประมาณ 2540 - 2543 กรมศิลปากรโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา ได้ดำเนินการจ้างเหมาจัดแสดงนิทรรศการถาวรในอาคารและบูรณะซ่อมแซมอาคารพร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร และติดตั้งระบบสาธารณูปโภค ระบบปรับอากาศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2543 และได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมและบริการด้านการศึกษา เป็นต้นมาและในวันที่ 12 ตุลาคม 2544 อาคารคฤหาสน์กูเด็นได้รับการยกย่องเป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี 2544 โดย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ลักษณะทางกายภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสน์กูเด็น) เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส อาคารชั้นล่างแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ระเบียง ห้องโถงกลาง ห้องปีก 2 ข้าง และห้องโถงด้านหลัง มีบันไดขึ้นชั้นบนที่ห้องโถงกลางและโถงหลัง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือมุขหน้า ห้องโถงกลาง และห้องปีกสองข้าง ห้องด้านหลังและดาดฟ้า
มีพื้นที่ทั้งหมด 1 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา พื้นที่จัดแสดงทั้งหมด 689.363 ตารางเมตร
เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการวัฒนธรรมสัญจร สำหรับคณะทูตานุทูต ครั้งที่ ๙ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พร้อมกันนี้ นางอมรา ศรีสุชาติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ บรรยายและนำคณะทูตานุทูตที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง ๒๒ ประเทศ ชมนิทรรศการ "ประวัติศาสตร์ชาติไทย" ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินโครงการวัฒนธรรมสัญจรสำหรับคณะทูตานุทูต เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงเพื่อนำชมแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและแหล่งที่มีศักยภาพจะเสนอชื่อบัญชีแหล่งมรดกโลกในอนาคตให้เป็นที่รับรู้ในสังคมโลก ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องรวม ๘ ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๙ นำคณะทูตานุทูตสัญจร ไปที่จังหวัดสระแก้ว และจ.บันเตียเมียนเจย กัมพูชา ระหว่างวันที่ ๖ - ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔ ผู้รับจ้าง หจก.กนกลักษณ์บิลล์ดิงโฮม และเจ้าอาวาส วัดสิทธิทรงธรรม เซ็นสัญญาบูรณะวิหารวัดสิทธิทรงธรรมร่วมกัน โดยมี นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ เข้าร่วมเป็นพยาน
ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน - 31 กรกฏาคม 2554 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
ท่านพีรพน พิสณุพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร และนางกนกอร ศักดาเดช รักษาราชการแทน ผอ.สำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมด้วย นายสมชาย นิเวศวิวัฒน์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป เข้าตรวจดูอาคารและเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2557
ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และเข้าสู่เมืองไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีผู้สงสัยว่าองค์ไหนคือพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากเมืองลังกา ในหนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มนี้ หลวงวิจิตรวาทการได้รวบรวมข้อสันนิษฐานและหลักฐานที่ปรากฎ ซึ่งผู้รู้หลายท่านได้เรียบเรียงไว้ จากหลักฐานดังกล่าวมีข้อมูลสอดคล้องตรงกันว่าพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากลังกา คือ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์
***บรรณานุกรม***
พระสงฆ์อนัมนิกาย
ตำรากงเต็กและตำรากฐิน คณะสงฆ์อนัมนิกาย พิมพ์ทูลเกล้าถวายและแจกเป็นอนุสรณ์ในงานประกอบพิธีกงเต๊ก ถวายพระราชกุศล แด่ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาธ ในพระบรมมหาราชวัง วันอังคารที่ 19 มีนาคม พุทธศักราช 2528
กรุงเทพฯ
บริษัทประชาชนจำกัด
2528