ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ
ชื่อเรื่อง ปารมีพันชั้น (ปารมีพันชั้น)
สพ.บ. 287/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.3 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)
สพ.บ. 334/1ฆประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยเรื่อง บ่อน้ำในเมืองศรีสัชนาลัย
เลขทะเบียน : นพ.บ.183/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 60 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 105 (110-116) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา(ฎีกาธัมมจักร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ข/1-20
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.350/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135 (378-387) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทนีติ สุทฺทมาลา (สัททมาลา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแหลมมาลายู คราว ร.ศ. ๑๐๗ และ ๑๐๘
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กราฟิคอาร์ต
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๘
จำนวนหน้า ๑๕๐ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนิท สุมาวงศ์ ป.ช. , ป.ม.
รัชกาลที่ ๕ เป็นพระมหกษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครองประเทศทรงปรับปรุงและทำนุบำรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การคมนาคม การศาลและเศรษฐกิจ ตลอดจนการพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ได้ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จประพาส ตรวจตราทุกข์สุขของราษฎรตามหัวเมืองน้อยใหญ่อยุ่เสมอ การเสด็จประพาสนั้น นอกจากการเสด็จเป็นทางราชการ บางครั้งก็เสด็จไปเงียบๆ อย่างราษฎรสามัญ เรียกว่า “เสด็จประพาสต้น” ต่อมาเสด็จประพาสมลายู เมือง ร.ศ. ๑๐๘
นานา...น่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง เรื่องเล่าจากไมโครฟิล์ม ตอน การปฏิสังขรณ์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงวรวิหาร) ร.ศ.121
วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนาในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมี พิธีแรกนาขวัญทั่วไปในชนบทหมู่บ้านเพื่อสร้างขวัญ และกําลังใจให้ชาวนาชาวไร่ ในพื้นที่ต่างๆ จะมีการปักธงธวัช ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาดังนี้๏ เดือนหกเรียมไห้รํ่า ฤๅวายยามย่อมชนบทถือ ท่องหล้าธงธวัชโบกโบยปลาย งอนง่าคิดว่ากรกวักข้า แล่นตาม ฯ๏ ทันธงบใช่น้อง เรียมทรุดหิวคระหนรนกาม พรั่นกว้าธวัชงอนโบกโบยสุด ลิวลี่กรใช่กรหน้าหน้า ใช่น้องนาไถ ฯ๏ ฤดูเดือนเชษฐฟ้า ครรชิตสายพรุณรองไร เรื่อยฟ้าไพศาขยรํ่าแรมนิทร นงโพธ เดียวแม่แรมรํ่าแรมโรยหน้า เร่งโรยแรมโรย ฯ๏ วรรณาโมลิศแล้ง แดงเดียวอกกระอุเกรียมโกรย กระด้างอัมพรอุทรเขียว ครางคร่ำฟื้นฟั่นโหยไห้ช้าง เชี่ยวสินธุ์ ฯ๏ อักขนิษฐเลื่องโลกล้ำ โสฬศบัณฑุกัมพลอินทร์ อาสน์แก้วเมรุทองรรองทศ ศาภาคย์ฤๅอาจทรงทุกข์แผ้ว ที่ตรอม ฯ๏ ฤดูเดือนเมฆนํ้า นองหาวขุกข่มเขียวไพรดอม ยอดย้อมไฟกามรลุงจาว ทองเทศเห็นลบัดเสรียวอ้อม อาตม์เรียม ฯ๏ อัญชันชรอุ่มแต้ม ตาไพรเพราเพริดนัยนุชเทียม แต่งแต้มบัวกามจำรัสไร รัตนเรขชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลาฯ๏ พระพรุณรายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยมอกราษฎร์ชนบทเทา ทั่วหล้าเริ่มการสำเร็จโถม ไถแล่นเจียรอนุชน้องถ้า ไป่ยลฯ๏ แถลงวรรสวาดิเกี้ยว กรองบัตรลมปั่นหาวเหินบน แบ่งไส้เล็บนางแน่งเนาวรัตน์ โชรช่อแลแล่งเล็บแก้วไล้ ลวดทอง ฯ๏ ฟ้าดินเลียมลอบกลํ้า กลืนนุช แดฤๅซงซ่อนไกลใจปอง ขาดขวํ้าแดนใดลอบเลงบุษป บัวมาศ กูเฮยเรียมบำบวงบนก้ำ ก่ำสมร ฯ๏ ร่ำรักแรมราศแก้ว เจียรจินต์กรมโกรธเททวารถอน ถอดไส้ลุกแลรลุงถวิล หาอ่อน อวลเอยเยียวข่าวขวัญน้องไข้ พี่ถ้าถามขวัญ ฯเอกสารอ้างอิง"โคลงทวาทศมาส" เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/โคลงทวาทศมาส/โคลงทวาทศมาส“แรกนาขวัญ-นาตาแฮก” การสร้างขวัญและกําลังใจของเกษตรกร. เข้าถึงได้โดย https://www.silpa-mag.com/culture/article_32683
เรื่อง “วันศิลป พีระศรี 15 กันยายน”
วันศิลป พีระศรี ตรงกับวันที่ 15 กันยายน เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ครูผู้อุทิศตนทั้งชีวิต เพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต ได้ชื่อว่า“บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี Corrado Feroci เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2435 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรนายอาทูโด และนางซานตินา สมรสกับนางฟานนี มีบุตร 2 คน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน
การศึกษา ปี พ.ศ. 2441 เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา จนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาในปี พ.ศ. 2451 หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จนจบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปี และได้รับประกาศนียบัตร ช่างปั้น ช่างเขียน ในปี พ.ศ. 2458 ท่านยังเป็นผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2466 เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง ปี พ.ศ. 2469 เป็นอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรแห่งราชบัณฑิตยสภา และได้มาเป็นหัวหน้ากองโรงเรียนศิลปากร แผนกช่างกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2476 ต่อมาโรงเรียนศิลปากรได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านจึงได้เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเมื่อปี พ.ศ.2486 และเป็นอาจารย์ช่างปั้น กองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. 2495 เป็นข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมสมัยนั้นในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาโอนมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งอันมีเกียรติยิ่ง คือประธานคณะกรรมการ สมาคมศิลปแห่งชาติ
ศาสตราจารย์ศิลปเป็นครูที่มีความขยันขันแข็งและตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์อย่างจริงจัง เป็นผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป เป็นผู้ปั้นในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชิงสะพานพุทธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่สุพรรณบุรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์อื่นๆอีกหลายแห่ง และ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล
ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย” ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงถือเอาวันที่ 15 กันยายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านเป็น “วันศิลป พีระศรี” ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#วันศิลป์พีระศรี
#บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย
#มหาวิทยาลัยศิลปากร
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม