ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
เรื่อง “หีบพระธรรม วัดดอนไชย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน”--- หีบพระธรรมวัดดอนไชย ทำจากไม้ มีขนาดกว้าง ๙๐ เซนติเมตร ยาว ๙๑ เซนติเมตร สูง ๒๑๘ เซนติเมตรมีจารึกบริเวณฝาของหีบพระธรรม จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๑ ด้าน ๔ บรรทัด ลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ช่วงล่างคอดและผายออกทางด้านบน ฝาสูงทำเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกันสามชั้น ยอดทรงน้ำเต้า ส่วนลำตัวมีภาพลายรดน้ำทั้งสี่ด้าน เขียนภาพรูปเทวดาและยักษ์ มีลายดอกไม้ร่วงและนกเข้ามาประกอบ--- ความในจารึกที่ปรากฏบริเวณฝาหีบพระธรรม กล่าวถึง การสร้างคัมภีร์ใบลานและหีบพระธรรมของนางบัวทิพย์และบุคคลอีกผู้หนึ่ง บรรทัดที่ ๑ จุลศัก (ราช) ๑๒๑๑* ตัว ปีมะแม ฉนำกัมโพช ขอมพิสัย เสด็จเข้ามาในเหมันตอุตุ(เดือน)ผลคุณปุณมี พุธวารไถง ไทยเมืองน่านว่า ปีกัดเม็ด เดือน ๕ โหรา (วัน) เพ็ญ เม็ง (ว่า) วัน ๔ (พุธ) ไทย (ว่าวัน) เต่าสีบรรทัดที่ ๒ ปฐมมูลศรัทธา หมายมี..........................(นาง)บัวทิพย์ ผู้ข้าทั้ง ๒ ก็มีอจลมโนศรัทธา ญาณสัมปยุต...........ติดในสวาขาต..........................ปิฎกทั้ง ๓ คือว่า อภิธรรม ๗ คัมภีร์ และวินัยทั้ง ๕ และ...............บรรทัดที่ ๓ ...........(แปดหมื่นสี่) พันขันธ์ แล ริรังสร้างจ้างเขียนบรมวล แล้วจีดเจียนรักหางยางมุกใหม่ติดพอก ใส่คำแดง แสงเรืองเรื่อ แล้วอจลมโนศรัทธาในหฤทัยหยั่งเชื่อ เพื่อ.......บุพภาคเจตนา จึงมีมธุ ดอก(ไม้)....ไหว้สา มหาครูบาเจ้า ชื่อ....................บรรทัดที่ ๔ บัณฑิต ประจิตรริจนา แล้ว (ด้วย) สุวรรณรูปารูป ลายดอกเครือวัลย์ แก้วถมตันจรดถี่ รูปเทวบุตร เทวดา ขี่ยักษ์อยู่ภายบน เพื่อไว้เป็นกุศลภายหน้า คือเมืองฟ้า และเนรพานตราบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ดีหลี เต๊อะ ปตฺตาปุญฺญเม อรหตฺตมคฺคญาณํ นิพฺพานปจฺจโย โหตุ--- อย่างไรก็ตามจากการอ่านแปลของนักวิชาการพบว่า วันเดือนปีที่จารึกนี้มีประเด็นปัญหา คือ จุลศักราช ๑๒๑๑ ไม่ใช่ ปีมะแม กัดเม็ด แต่เป็นปีระกา กัดเร้า แต่หากเป็น จุลศักราช ๑๒๒๑ จึงจะเป็นปีมะแม กัดเม็ด วันที่ ๑๕ เดือนผลคุณ จุลศักราช ๑๒๑๑ เป็นวันอังคาร เปิกสัน วันที่ ๑๕ เดือนผลคุณ จุลศักราช ๑๒๒๑ เป็นวันอังคาร กัดเร้า วันพุธ วันเต่าสี จุลศักราช ๑๒๑๑ ตรงกับ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนมฤคสีระวันพุธ วันเต่าสี จุลศักราช ๑๒๒๑ ไม่มีหากสันนิษฐานว่า ผู้แต่งจารึกนี้เขียนตัวเลข “๑๒๒๑” เป็น “๑๒๑๑” และหมายถึงวันเพ็ญ ในเดือนผลคุณของปี ๑๒๒๑ นั้น และคำนวณวันไม่ถูกต้อง วันเดือนปีในจารึก จะตรงกับวันที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๐๓--- ปัจจุบันหีบพระธรรมนี้ จัดแสดงอยู่บริเวณโถงด้านหน้า ชั้นบนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านอ้างอิง- กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.- ฮันส์ เพนธ์ และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๕ : จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และจารึกเมืองน่านที่น่าสนใจ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๔๔.
วันสำคัญ 15 กันยายน วันศิลป พีระศรี
วันศิลป พีระศรี ตรงกับวันที่ 15 กันยายน เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ครูผู้อุทิศตนทั้งชีวิต เพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต ได้ชื่อว่า“บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี Corrado Feroci เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2435 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรนายอาทูโด และนางซานตินา สมรสกับนางฟานนี มีบุตร 2 คน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน
การศึกษา ปี พ.ศ. 2441 เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา จนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาในปี พ.ศ. 2451 หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จนจบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปี และได้รับประกาศนียบัตร ช่างปั้น ช่างเขียน ในปี พ.ศ. 2458 ท่านยังเป็นผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2466 เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง ปี พ.ศ. 2469 เป็นอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรแห่งราชบัณฑิตยสภา และได้มาเป็นหัวหน้ากองโรงเรียนศิลปากร แผนกช่างกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2476 ต่อมาโรงเรียนศิลปากรได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านจึงได้เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเมื่อปี พ.ศ.2486 และเป็นอาจารย์ช่างปั้น กองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. 2495 เป็นข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมสมัยนั้นในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาโอนมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งอันมีเกียรติยิ่ง คือประธานคณะกรรมการ สมาคมศิลปแห่งชาติ
ศาสตราจารย์ศิลปเป็นครูที่มีความขยันขันแข็งและตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์อย่างจริงจัง เป็นผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป เป็นผู้ปั้นในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชิงสะพานพุทธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่สุพรรณบุรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์อื่นๆอีกหลายแห่ง และ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล
ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย” ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงถือเอาวันที่ 15 กันยายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านเป็น “วันศิลป พีระศรี” ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ
กรมศิลปากร โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ร่วมจำหน่ายหนังสือในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ ทั้งหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า และหนังสือหายาก ลดราคาสูงสุดถึง ๒๐% ตั้งแต่วันที่ ๑๒ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ ๕ - ๗ ชั้น LG บูธ G ๔๔ หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th
กรมศิลปากรนำหนังสือศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งวรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรจัดพิมพ์ใหม่และหนังสือยอดนิยม มาจำหน่ายในราคาลดพิเศษ ๒๐% ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ โดยมีหนังสือที่น่าสนใจ อาทิหนังสือสู่ดินแดนโพ้นทะเล การเดินทางจากนิวยอร์กถึงบางกอก ประเทศสยาม และการเดินทางกลับ จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ราคา ๑๒๐ บาท ลดเหลือ ๙๖ บาท หนังสือการเดินทางรอบโลก ตอนประเทศสยาม จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ราคา ๑๒๐ บาท ลดเหลือ ๙๖ บาท หนังสือการสร้างหุ่นหลวง จัดพิมพ์โดยสำนักช่างสิบหมู่ ราคา ๖๐๐ บาท ลดเหลือ ๔๘๐ บาท หนังสือ THE ENDLESS EPIC OF JAPANESE - THAI CERAMIC RELATIONSHIP IN THE WORLD'S TRADE AND CULTURE (ESSAYS) ราคา ๗๐๐ บาท ลดเหลือ ๕๖๐ บาท หนังสือ PHOTOGRAMMETRY ภาพสามมิติโบราณสถาน จากเทคนิคการสำรวจแบบโฟโตแกรมเมตรี จัดพิมพ์โดยสำนักสถาปัตยกรรม ราคา ๕๐๐ บาท ลดเหลือ ๔๐๐ บาท หนังสือปราสาทสด๊กก๊อกธม อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก ราคา ๓๕๐ บาท ลดเหลือ ๒๘๐ บาท
ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ ๕ - ๗ ชั้น LG บูธ G ๔๔ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน จ.ศ. ๑๑๐๕ (ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖) พระราชบิดารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยามีบรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองดี) ส่วนพระชนนีมีพระนามว่า ดาวเรือง (บางเอกสารกล่าวว่าชื่อ หยก) ทรงเป็นพระอนุชาของ นายทองด้วง (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี) เมื่อเจริญพระชนมพรรษาได้รับราชการอยู่กรมมหาดเล็กในราชสำนักอยุธยา
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์หลบหนีทหารพม่าไปเข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีและขับไล่พม่าที่เมืองธนบุรี พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระมหามนตรีเจ้ากรมตำรวจ ตลอดสมัยกรุงธนบุรีพระองค์เป็นทหารเอกคนสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้รับการเลื่อนยศหลายครั้งในตำแหน่ง พระยาอนุชิตราชา พระยายมราช และพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ตามลำดับ ด้วยพระอัธยาศัยที่กล้าหาญ เข้มแข็งและเด็ดขาด จึงมีพระสมัญญานามว่า “พระยาเสือ”
พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พระเชษฐาของพระองค์ พระราชทานอุปราชาภิเษกเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นพระมหาอุปราช ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง โดยเป็นพระราชวังที่ถ่ายแบบมาจากพระราชวังจันทรเกษม กรุงศรีอยุธยา และมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากวังหลวง อาทิ หลังคาชั้นเดียวเป็นหลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา คันทวยรองรับหลังคาเป็นรูปนาคประดับพันธุ์พฤกษา หมู่พระวิมานไม่ทำซุ้มประตูหน้าต่าง (ยกเว้นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์) รูปแบบเช่นนี้ต่างจากงานสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวังที่นิยมทำอาคารที่แสดงฐานันดรชั้นสูง อาทิ การทำซ้อนชั้นหลังคา ทรงยอดปราสาท ประตูหน้าต่างประดับด้วยซุ้มปูนปั้นอย่างไทยประเพณี เช่น ซุ้มบันแถลง ซุ้มยอดมงกุฎ เป็นต้น
ตลอดสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์ยังคงมีบทบาทในการทำสงครามอยู่หลายครั้ง ได้แก่ สงครามเก้าทัพที่ตำบลลาดหญ้า (พ.ศ. ๒๓๒๘) สงครามขับไล่พม่าที่ท่าดินแดง (พ.ศ. ๒๓๒๙) สงครามตีเมืองทวาย (พ.ศ. ๒๓๓๐) สงครามขับไล่พม่าที่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๓๘) ภายหลังเสร็จศึกกับพม่า เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย พระพุทธสิหิงค์ พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ในคราวสงครามป้องกันพม่าที่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๔๕) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงยกทัพออกไปรบร่วมกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ แต่ระหว่างทางที่พระองค์เสด็จ พระองค์เกิดประชวรด้วยพระโรคนิ่วที่เมืองเถิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงมีรับสั่งให้กรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปช่วยในการศึกจนกระทั่งสามารถชนะทัพฝ่ายพม่าได้ในที่สุด
ขณะเดียวกันสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงใส่พระทัยในพระราชกรณียกิจด้านศาสนา โดยเฉพาะการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งในพื้นที่ฝั่งพระนคร ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (พระองค์พระราชทานนามว่า วัดนิพพานาราม) วิหารคดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) หอมณเฑียรธรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู) วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) และวัดปทุมคงคา (วัดสำเพ็ง) วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ได้แก่ วัดครุฑ วัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) ส่วนวัดในหัวเมือง เช่น วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
นอกจากนี้พระองค์ยังมีงานวรรณกรรมที่ทรงพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง ได้แก่ เพลงยาวถวายพยากรณ์ (พ.ศ. ๒๓๓๒) พระนิพนธ์ในคราวที่เกิดอัสนีบาตตกมาหน้าบันมุขเด็จพระที่นั่งอินทราภิเษก (ต่อมาถูกรื้อลงแล้วสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน) เพลงยาวรบพม่าที่นครศรีธรรมราช (พ.ศ. ๒๓๒๙) พระนิพนธ์เมื่อครั้งยกทัพไปรบพม่าที่ตั้งทัพอยู่ทางหัวเมืองภาคใต้ เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า (พ.ศ. ๒๓๓๐) พระนิพนธ์ในคราวยกทัพไปตีเมืองทวาย
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้กล่าวว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประชวรเป็นโรคนิ่วนับตั้งแต่ที่พระองค์ยกทัพขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แต่ใน พระนิพนธ์เรื่อง “นิพานวังน่า” ของ พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร ซึ่งเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้บันทึกไว้ว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระประชวรด้วยโรควัณโรคอย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๔๕ พระอาการก็ทรุดลงตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและทอดพระเนตรการรักษาเป็นเวลา ๖ วัน ถึงวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ จ.ศ.๑๑๖๕ (ตรงกับวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข พระราชวังบวรสถานมงคล พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นเวลา ๒๑ ปี
-------------------------------------------------
อ้างอิง
กรมศิลปากร. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๕.
. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๗.
กัมพุชฉัตร, พระองค์เจ้าหญิง. นิพานวังน่า. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๓.
ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. (กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง ขอเสนอเรื่อง สาระน่ารู้เรื่อง สารพัด “ผี”
ต้อนรับสู่ช่วงเทศกาลวันฮาโลวีนด้วยสาระน่ารู้เรื่อง สารพัดผี
โดยขอนำเสนอเป็นเกร็ดความรู้สั้นๆ เกี่ยวกับ “ผี”
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมาย
คำว่า “ผี” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน ผีห่า, เรียกคนที่ตายไปแล้ว
ผี เป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเชื่ออย่างหนึ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกกลุ่มทุกเชื้อชาติมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นทั้งเรื่องเร้นลับและสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากความเชื่อที่ว่าจิตวิญญาณที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต เมื่อตายไปวิญญาณเหล่านั้นยังคงอยู่และสิงสถิตอยู่ตามภพภูมิต่าง ๆ ทั้งนี้ผีตามความเชื่อนั้นมีทั้งอาจให้คุณหรือโทษได้ และมีทั้งดีและร้าย โดยผีดีมักเชื่อกันว่าให้ความคุ้มครอง และอาจได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเทวดา ได้ ส่วนผีบางประเภทอาจจะดีหรือร้ายก็ได้
จากความเชื่อเรื่องผีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย มีทั้งความเชื่อเรื่องผีที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน รวมถึงการเรียกชื่อของผีบางชนิดเป็นผีพวกเดียวกัน แต่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่นด้วย ดังนั้นวันนี้จึงขอนำเสนอตัวอย่างของชื่อผีชนิดต่าง ๆ เช่น
๑. ผีกองกอย เป็นผีป่าชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีขาเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า เวลาเดินต้องโขยกเขยกไป เรียกกันว่า “ผีเขย่งเก็งกอย/ผีเก็งกอย” ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า
๒. ผีกระสือ เป็นผีชนิดหนึ่งชอบกินอาจมและมักเข้ามาอาศัยร่างคนอื่น ผู้ที่ถูกผีสิงจะไม่กล้าสบตากับคนอื่น ๆ จะออกหากินในยามค่ำคืน โดยถอดร่างกายลอยไปเฉพาะตับไตไส้พุง
๓. ผีกระหัง เป็นผีชนิดหนึ่งที่เข้าสิงในตัวผู้ชาย เล่าว่าเกิดจากคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้า กลายเป็นกระหัง เป็นจำพวกเดียวกับกระสือชอบกินของโสโครก มีปีกและหาง
๔. ผีโขมด เป็นผีป่าชนิดหนึ่ง มักปรากฏเป็นดวงไฟในยามค่ำคืน เมื่อเข้าใกล้จะหายไป บ้างก็ว่าเป็นผีป่าดุร้าย ปรากฏรูปร่างได้ต่างๆ หลอกหลอนคนเดินป่า
๕. ผีครูหมอ จัดเป็นผีบรรพบุรุษ บางทีก็เรียกว่า ผีครูหมอตายาย เป็นเชื้อสายที่บุคคลในตระกูลนับถือ ครูหมอคือผู้เคยประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ลูกหลานและศิษย์ได้สืบทอด ผู้สืบทอดจะต้องเซ่นไหว้เพื่อรำลึกถึงตามโอกาส เช่น ครูหมอโนรา หนังตะลุง กาหลอ ครูหมอเหล็ก ลิเกป่า หมอตำแย เป็นต้น
๖. ผีชิน เป็นชื่อผีชนิดหนึ่งเชื่อกันในภาคใต้ทั่วไป ชิน หรือ ยิน (Jin) เป็นคำอาหรับ เป็นผีเจ้าที่และผีบรรพบุรุษที่สิงสถิตตามภพภูมิต่างๆ มักมีรูปร่างเป็นดวงไฟ
๗. ผีทะเล เป็นประเภทผีน้ำใช้เรียกชื่อรวมๆ ของวิญญาณที่สิงอยู่ตามทะเล มหาสมุทร อาจปรากฏร่างหลอกหลอนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น ผีชิน ผีพราย เป็นต้น
๘. ผีนางตานี เป็นผีที่สิงสู่ในต้นกล้วยตานี (ทางภาษาถิ่นใต้เรียกว่า กล้วยพองลา หรือกล้วยพังลา) เล่ากันว่ามักเป็นหญิงสาวสวยงาม เลี้ยงไว้คุ้มครองตัวและบ้านเรือนทรัพย์สมบัติ
๙. ผีปอบ ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมดแล้วออกไป คนนั้นก็ตาย
๑๐. ผีเปรต เป็นผีประเภทหนึ่งจำพวกผีบรรพบุรุษ ที่ต้องมาเสวยกรรมทุกข์ทรมานในภพภูมิต่างๆ ต้องอดอยาก ผอมโซ ปากเท่ารูเข็ม ตัวสูง คอยาว ส่งเสียงร้องกรี๊ด ๆ เรียกว่า เปรตมาขอส่วนบุญ
นอกจากนี้ขอเสนอสำนวนและคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ผี” เช่น
- ผีเข้าผีออก (สำนวน) หมายถึง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ไม่คงที่
- ผีซ้ำด้ำพลอย (สำนวน) หมายถึง เคราะห์เดิมร้ายหนักอยู่แล้ว ยังมีเคราะห์อื่นซ้ำเข้ามา ทำให้เคราะห์หนักยิ่งขึ้น เช่น เขาตกงานแล้วขโมยยังขึ้นบ้านเอาข้าวของไปหมดอีก ผีซ้ำด้ำพลอยจริง ๆ
- ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย (สำนวน) หมายถึง คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้
- ผีไม่มีศาล (สำนวน) หมายถึง ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
- ผีตากผ้าอ้อม (คำนาม) หมายถึง แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาจวนพลบในบางคราว
บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตนสถาน. "ผี." พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. (๒๕๕๔): ๗๘๑.
กลิ่น คงเหมือนเพชร. "ผี : ความเชื่อในภาคใต้." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. ๑๐(๒๕๔๒): ๔๗๔๗-๔๗๕๑.
กลิ่น คงเหมือนเพชร. การศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาในชุมชนภาคใต้. กระบี่: ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่, ๒๕๕๒.
อิสริยา เลาหตีรานนท์. ผี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕, จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ผี-๒-มิถุนายน-๒๕๕๒
ภาพที่ ๑ ผีกองกอย จาก https://www.mangozero.com/thai-ghosts-you-mightnt-know/#
ภาพที่ ๒ ผีพราย จาก https://www.facebook.com/.../a.390030.../1097971513742654...
ภาพที่ ๓ ผีเปรต จาก https://blog.takemetour.com/halloween-is-coming-meet-7.../
ชื่อเรื่อง มหาวฅฺฅ วณฺณนา(ตติย) สมนฺตปาสาทิกา วินยฏฺฐกถา(วินัย)
สพ.บ. อย.บ.5/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 40/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้ เรื่อง เพลงยาวเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทาราม บันทึกการปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๑ โดย นายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 7/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 50/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้ เรื่อง "..พาไปชม จารึกจิตรเสนที่ช่องเขาตะโก.."
ปราสาทหนองเสม็ด ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตาพระยา ใกล้กับลำห้วยคลอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง จังหวัดบุรีรัมย์ กับ จังหวัดสระแก้ว ใกล้กับช่องเขาตะโก ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออกเข้าด้วยกันมาตั้งเเต่ยุคโบราณ
สภาพปัจจุบันของปราสาทบ้านหนองเสม็ดถูกขุดรื้อทำลายจนกลายสภาพเป็นกองเนินหิน พบร่องรอยการขุดหาโบราณวัตถุอยู่กลางเนินดิน ทั้งนี้แทบไม่เหลือสภาพความเป็นโบราณสถานแล้ว แต่ความน่าสนใจของปราสาทหลังนี้กลับอยู่ที่จารึกหินทรายที่พบนั่นเองครับ
ย้อนกลับเมื่อราวปี 2563 อาจารย์มยุรี วีระประเสริฐ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เดินทางไปสำรวจวัดบ้านหนองเสม็ด เเละสังเกตเห็นรอยบนจารึก และในเวลาต่อมา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำสำเนาจารึกเก็บไว้
จากการสัมภาษณ์ราษฎรในพื้นที่ทำให้ทราบว่า ปราสาทบ้านหนองเสม็ดมีสภาพเป็นกองหินแบบนี้นานมากแล้ว ไม่เคยเห็นเป็นปราสาท ต่อมามีการเข้ามาขุดหาสมบัติ จึงพบหลักหินชิ้นหนึ่งคว่ำหน้าอยู่ใกล้ทางเดินในป่า เมื่อหงายดูจึงพบว่ามีตัวหนังสือเลยนำมาเก็บไว้ที่วัดนานแล้ว
จารึกหลักดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้อ่านจารึกในเบื้องต้นไว้ว่าเป็น #จารึกของพระเจ้าจิตรเสน โดยนับเป็นจารึกหลักที่ 23 ที่ค้นพบใหม่ จารึกเป็นภาษาสันสกฤตบอกเล่าการสร้างศิวลึงค์ เป็นข้อความที่มีความคล้ายคลึงกับที่จารึกพระเจ้าจิตรเสนที่พบมาก่อนหน้านี้แล้ว 5 หลัก ซึ่งพบในประเทศไทย 2 หลัก ได้แก่ 1. ถ้ำเป็ดทอง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2. ในเขตพื้้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
จากการสำรวจพบว่าตัวโบราณสถานมีสภาพเป็นกองหินที่นำมากองเรียงกันเป็นเนินหินขนาดประมาณกว้าง 10 และยาว 20 เมตร สูงจากพื้นดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร และมีลักษณะคล้ายกับสถานที่พบจารึกจิตรเสนที่ลำโดมน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีแต่สภาพป่ารกทึบทำให้ยากต่อการสำรวจจึงไม่สามารถสรุปรูปแบบที่แท้จริงได้
จากตำแหน่เดิมของจารึกที่น่าจะปักไว้ที่นี้ ก็สันนิษฐานได้ถึงความสำคัญของ #ช่องเขาตะโก ในการเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่ราบสูง) กับภาคตะวันออก (ที่ราบ) ที่มีมาตั้งแต่อดีต อย่างน้อยก็ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ร่วมสมัยกับพระเจ้าจิตรเสนมเหนทรวรมัน ได้ขยายอำนาจของอาณาจักรเจนละในยุคเริ่มแรกจากเมืองเศรษฐปุระในเขตแขวงจำปาสักซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ สปป.ลาว เข้าสู่ช่องเขาช่องตะโกเขตต่อแดนบุรีรัมย์และสระแก้วในปัจจุบันนั่นเองครับ
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
ชิต เหรียญประชา เกิดเมื่อวันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2451 ที่จังหวัดนครปฐม เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง แต่เมื่อเหลือเวลาอีก 1 ปี ก่อนจะจบการศึกษา ชิตกลับลาออก เนื่องจากมองไม่เห็นอนาคตในอาชีพศิลปิน ต่อมาชิตได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ด้วยเหตุที่ชิตเป็นผู้มีความรู้ทางด้านศิลปะ จึงย้ายไปช่วยงานที่กรมทหารช่าง และสอบบรรจุเป็นนายสิบ แต่เนื่องจากเงินเดือนที่ได้ไม่พอใช้ในครอบครัว จึงลาออกมาเป็นช่างอิสระ รับจ้างเขียนลายรดน้ำ ปิดทองโต๊ะหมู่บูชา พ.ศ. 2473 ชิตทำงานเป็นช่างศิลป์ให้กับสำนักงานศิลปาคาร ในการออกแบบแกะบล็อกและตราเครื่องหมายต่างๆ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิตรับงานผลิตตราขององค์การสงเคราะห์ประชากรสงคราม ทำให้มีทุนเพียงพอสำหรับการเปิดร้าน ช.ช่าง รับงานแกะสลักทุกชนิด โดยเมื่อว่างจากการรับงานที่ร้าน ชิตได้ทุ่มเทเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานแกะสลักในแบบฉบับของตนเอง ในปี 2493 ชิตและเพื่อนศิลปินร่วมกันก่อตั้งจิตรกรปฏิมากรสมาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งศิลปะอันเป็นวัฒนธรรมของชาติ และรวบรวมศิลปินให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ชิตได้รับการยกย่องในแวดวงศิลปะว่ามีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้และงาช้าง และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำเอารูปแบบของศิลปะไทยประเพณีมาผสมผสานเข้ากับรูปแบบและวิธีการของงานศิลปะสมัยใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ซึ่งมีสัดส่วนและท่าทางการแสดงออกที่มีความอ่อนช้อยงดงาม ชิตได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์ผลงานของตนไว้ว่า “ผมทำตามอารมณ์... ต้องการให้เส้นที่ปรากฏออกมาในแบบไทยๆ แต่ form เป็นสากล”
ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2494) ผลงาน “รำมะนา” ของชิตได้รับรางวัลเกียรตินิยมอับดับ 1 เหรียญทอง สาขาประติมากรรม ผลงานแกะสลักจากไม้มะฮอกกานี เป็นรูปผู้ชายกำลังนั่งเล่นกลองขึงหนังหน้าเดียวที่เรียกว่า รำมะนา มีการลดทอนรายละเอียดของกล้ามเนื้อ คงไว้ซึ่งรูปร่างที่มีลักษณะอ่อนช้อย โดยออกแบบใบหน้า ท่าทาง และเค้าโครงของงานประติมากรรม ให้แสดงเส้นสายของร่างกายที่ลื่นไหลเป็นวงโค้งล้อรับกันกับเครื่องดนตรี เผยให้เห็นถึงลีลาท่าทางของนักดนตรีที่กำลังรัวกลองเร้าอารมณ์อย่างสนุกสนาน ดูได้จากนิ้วมือ นิ้วเท้า และการโยกตัวตามจังหวะอย่างพลิ้วไหว ผลงานชิ้นนี้จึงมีความประณีตสูงและสื่อสารอารมณ์ถึงผู้ชมได้เป็นอย่างดี
จากการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 – 4 (พ.ศ. 2492 – 2496) ชิตได้รับรางวัลเกียรตินิยมอับดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 2 ครั้ง จึงได้รับเกียรติยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม ในปี 2496
ถึงแม้ว่าชิตจะเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมแล้ว ก็ยังคงส่งผลงานเข้าร่วมแสดงอีกหลายครั้ง ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2502) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของชิตไว้ว่า “…รูปสลักไม้ หญิงไทย ของ ชิต เหรียญประชา ซึ่งศิลปินผู้นี้ได้ตัดส่วนหยุมหยิมของทรงรูปนอกออกเสีย ก็เพื่อจะให้เกิดความเหมาะสมขึ้นในลักษณะพิเศษของศิลปตามแบบประเพณีของเรา ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นศิลปินผู้มีฝีมือช่ำชองอยู่ตลอดมา…”
พ.ศ. 2530 ชิตได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ชิตถึงแก่กรรมด้วยโรคภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2537 สิริอายุ 86 ปี
#ชิตเหรียญประชา
#ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙
#ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ
#หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า
ที่มา
1. หนังสือ “5 ทศวรรษ ศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. หนังสือ “ชิต เหรียญประชา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป (ประติมากรรม) พ.ศ. 2530” โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
3. หนังสือ “บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร