ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

            วาระแห่งการสถาปนากรมศิลปากรเวียนมาบรรจบในพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้ กรมศิลปากรได้มีนโยบายจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) เพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นสิริมงคลในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ อีกทั้งได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธรูปสำคัญ ๑๑๒ องค์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และรวบรวมภาพพระพุทธรูปสำคัญให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนาวิชาการ เนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.  การเสวนาเรื่อง "สังคีตปริทัศน์"  โดยวิทยากร ๓ ท่าน ได้แก่ นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ และนายยุทธนา อัครเดชานัฎ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินรายการโดยนายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ   ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดย สแกน Qr Code  หรือสามารถติดตามรับชมผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 45/2553 (13/2549) ขวานหินขัด มีบ่า เนื้อสีแดงปนดำ ย.7 ก.5.7 หิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.475/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162  (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : กัจจายนมูล--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.608/4           ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 195  (416-423) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : เตปิฎกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ความรู้บางเรื่อง.  พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2499.


โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านศิลปกรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ “เสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านเซรามิค" หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะความรู้ แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค เป็นการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปกรรมในสถานที่ตั้งให้กับบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่   ครั้งที่ ๑ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๒ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘  พฤาภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การเขียนลายบนงานเซรามิค”  ครั้งที่ ๒ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  ณ สถานที่ตั้ง (ระยะเวลา ๕ วันทำการ) ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ หัวข้อ “เสริมสร้างทักษะความรู้  แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ ด้านงานเซรามิค : การปั้นเซรามิค"   ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/77


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง รอยพระพุทธบาท วัดเขาดีสลัก จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ




     เวียงหนองหล่ม เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย เพราะได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับตำนานกำเนิดและล่มสลายของ ชุมชนโบราณที่เรียกว่า "เมืองโยนกนครพันธ์สิงหนวตินคร" หรือ "เวียงหนองล่ม" หรือ "เวียงหนองล่ม" ซึ่งสันนิฐานว่าเป็นชุมชนโบรารยุคแรกเริ่มในผืนแผ่นดินภาคเหนือของไทย


"ชิ้นส่วนประติมากรรมรูปบุคคลนั่งชันเข่า พบที่ด้านทิศใต้ของเมืองศรีเทพ" ในปี 2561 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้ความอนุเคราะห์จากคุณจุน แตงโสภา ชาวบ้านบ้านบึงนาจานมอบโบราณวัตถุที่ขุดพบโดยบังเอิญ จากการขุดสระน้ำแล้วนำดินที่ได้มาถมบ้าน ในราวปี 2543-2544 เป็นชิ้นส่วนประติมากรรมรูปบุคคลนั่งชันเข่า ขนาดกว้าง 20 ซม. ยาว 40 ซม. หนา 15 ซม. ตำแหน่งที่พบอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองศรีเทพ อยู่ห่างประมาณ 700 เมตร ประติมากรรมชิ้นนี้สลักจากหินทรายสีเขียว เนื้อละเอียด สภาพไม่สมบูรณ์ เป็นประติมากรรมรูปเคารพประทับนั่งในท่ามหาราชลีลา (นั่งยกชันเข่าขวาขึ้น ส่วนขาซ้ายวางพับราบบนพื้น) หัตถ์ขวาทำปางประทานพร นุ่งผ้านุ่งสั้นเหนือพระชานุ รูปแบบของผ้านุ่งไม่ปรากฏริ้วผ้า ขอบผ้านุ่งบริเวณพระโสณีกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และมีชายผ้าอยู่ทางด้านหลัง ลักษณะของชายผ้ามีการแกะสลักริ้วผ้าบาง ๆ เสมือนกับของจริง นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตอีกว่า มีการแกะสลักในส่วนของกล้ามเนื้อน่องอย่างชัดเจน แสดงถึงการเลียนแบบลักษณะทางกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ได้เหมือนจริง เมื่อพิจารณาลักษณะผ้านุ่งพบว่ามีความคล้ายกับผ้านุ่งของกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่าที่พบในเมืองศรีเทพ โดยเฉพาะการปรากฏชายผ้าหางปลาทางด้านหลังนั้นมีลักษณะแบบเดียวกับประติมากรรมเทวรูปรุ่นเก่าบางองค์ เช่น พระวิษณุยืนเอียงกายแบบตริภังค์จากเมืองศรีเทพ (ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ดังนั้นประติมากรรมชิ้นนี้สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 แล้วบุคคลท่านนี้คือใคร??? ประติมากรรมที่มีท่านั่งชันเข่าแบบนี้พบอยู่หลายองค์ด้วยกัน เช่น ท้าวกุเวร ดร.อนุรักษ์ ดีพิมาย (อดีตนักโบราณคดีอุทยานฯ) ได้สันนิษฐานว่าอาจเป็นพระอัยนาร์ เทพผู้รักษาหมู่บ้านและสระน้ำ โดยเปรียบเทียบจากประติมากรรมพระอัยนาร์ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ซึ่งมีการระบุว่าพบที่เมืองศรีเทพ สำหรับแอดมินก็ตอบได้ยากเช่นกันค่ะ ว่าประติมากรรมชิ้นนี้เป็นใคร แล้วทุกท่านล่ะคะ คิดว่าเป็นใคร มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ **ในคอมเม้น แปะลิงก์ดาวโหลดวิทยานิพนธ์ของดร.อนุรักษ์ไว้นะคะ ไปตามอ่านกันได้ค่ะ


นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมศิลปากร” เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ ตลอดระยะเวลา ๑๑๓ ปี กรมศิลปากรได้ทำหน้าที่ดูแล ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริม สืบทอด สร้างสรรค์ และเผยแพร่องค์ความรู้ในงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานนาฏศิลป์และดนตรี งานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ งานด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย รวมไปถึงงานสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมศิลปากร.ปัจจุบันกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีที่ทำการของหน่วยงานส่วนกลางตั้งอยู่ที่อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ และยังมีหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ คือ สำนักการสังคีต ตั้งอยู่บริเวณถนนราชินี สำนักหอสมุดแห่งชาติและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณถนนสามเสน และสำนักช่างสิบหมู่ ตั้งอยู่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังมีสำนักศิลปากรที่ ๑ - ๑๒ ดูแลในส่วนภูมิภาค


กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนครูสอนดำน้ำ (Dive Instructor) ครูผู้ช่วยสอนดำน้ำ (Dive Master) ร่วมเป็นอาสาสมัครสำรวจตรวจสภาพและเก็บข้อมูลแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ ในโครงการ "พัฒนาศักยภาพแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ (Hardeep) เพื่อการอนุรักษ์และเป็นจุดดำน้ำท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม" ในวันเสาร์ ที่ 11 หรือ วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567 (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ณ แหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี   โดยกองโบราณคดีใต้น้ำจะคัดเลือก Dive Instructor หรือ Dive Master จำนวน 12 ท่าน จากผู้สมัครทั้งหมด ร่วมเป็นอาสาสมัครในการศึกษาบันทึกข้อมูลติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของแหล่งเรือจมสุทธาทิพย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองโบราณคดีใต้น้ำ   สมัครได้ที่ลิงค์: https://forms.gle/YDBau3KpYV9BR1UD7   เปิดรับสมัคร: วันนี้ - เสาร์ ที่ 20 เมษายน 2567   ประกาศรายชื่อ: จันทร์ ที่ 22 เมษายน 2567   กิจกรรม: - เสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม 2567 จำนวน 6 ท่าน - อาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม 2567 จำนวน 6 ท่าน   คุณสมบัติผู้สมัคร: 1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย 2) ผ่านหลักสูตรการดำน้ำระดับ Dive Master หรือ Instructor (ต้องแสดง Cert.)   หมายเหตุ** - ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ - ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเดินทางมาลงเรือที่อำเภอสัตหีบด้วยตนเองและนำอุปกรณ์ดำน้ำของท่านมาด้วย - สถานที่ขึ้น-ลงเรือจะแจ้งให้ทราบภายหลัง - กองโบราณคดีใต้น้ำขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกอาสาสมัครโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลในการคัดเลือก   สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Inbox หรือ โทร.สอบถาม 062-380-3217 (คุณป่าน)


Messenger