ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,401 รายการ
ชื่อเรื่อง : ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1
ชื่อผู้แต่ง : สำนักนายกรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
จำนวนหน้า : 207 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องราวที่มีปรากฏอยู่ในเอกสารและสถานที่ต่าง ๆ ในรูปแบบจดหมายเหตุ เช่น จดหมายเหตุว่าด้วยการเจริญทางพระราชไมตรี ทางการค้า ทางพระพุทธศาสนา ทางตำราราชเสวกราชประเพณี เป็นต้น และนำจดหมายเหตุเหล่านี้มาจัดพิมพ์ตามลำดับศักราชและรัชสมัย เริ่มตั้งแต่จดหมายเหตุที่จารึกไว้ ณ พระเจดีย์ศรีสองรัก จังหวัดเลย เป็นเรื่องราวระหว่างสมเด็จพระมหาจักพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตกระทำสัตยสาบานเป็นราชพันธมิตรต่อกัน จนถึงเรื่องจดหมายเหตุการพระบรมศพ เป็นเรื่องสุดท้าย โดยหนังสือเล่มนี้พิมพ์จำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีของชาวไทยสมัยอยุธยา
เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ ๑๑๕ ปี หอสมุดแห่งชาติ ในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ ผู้เขียนขอนำผู้อ่านทุกท่าน ย้อนเวลากลับไปเมื่อ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๐ (พุทธศักราช ๒๔๒๔) หรือ ๑๓๙ ปี ที่ผ่านมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนทรงมีพระราชดำริให้ขยายกิจการ หอพระสมุดวชิรญาณภายหลังเสด็จนิวัติพระนครกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป ณ ช่วงเวลานั้นมีการจัดตั้ง หอพระสมุดสำหรับราชสกุลขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธานและองค์อุปถัมภก โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมกันสร้างขึ้น เป็นการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงโปรดพระราชทานนามหอพระสมุดนั้นว่า “หอพระสมุดวชิรญาณ” ตามพระสมณาภิไธยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานตึกศาลา สหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ และเสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิด ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๗ ภายหลังในเดือนพฤษภาคม วันที่ ๑๔ และ ๑๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดให้มีการฉลองหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ การครานั้นประกอบด้วยพระราชพิธีสงฆ์ การจัดโต๊ะเลี้ยงสมาชิกหอพระสมุดทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน การจัดตกแต่งหอพระสมุดด้วยพวงดอกไม้สดที่ร้อยกรองอย่างวิจิตร การออกร้านขายของ การประกวดร้อยกรองดอกไม้สด และการดนตรีขับร้อง ที่สำคัญมีการจัดพิมพ์หนังสือ “วชิรญาณสุภาษิต” เพื่อแจกแก่สมาชิกในงานฉลองหอพระสมุดวชิรญาณ ในครานั้นด้วย หนังสือวชิรญาณสุภาษิต เนื้อหามีทั้งคติพจน์ สุภาษิต ความเรียงอธิบายโวหารสุภาษิตในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ภายในเล่มเริ่มต้นด้วยการอัญเชิญพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อจะเสด็จสวรรคตมาลงไว้ในตอนต้น แล้วจึงถึงอารัมภพจน์ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นจึงนำสุภาษิตต่าง ๆ ของกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ มาลงพิมพ์ไว้ตามลำดับ คือ โคลงสุภาษิตบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน ๓ บท ต่อด้วยบทสุภาษิตของกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ นอกจากนี้เป็นบทสุภาษิตของเจ้านายฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ขุนนางไทย ขุนนางต่างชาติ และพระสงฆ์ บทสุภาษิตที่แต่งมาถวาย ใช้รูปแบบคำประพันธ์หลายประเภท เช่น โคลงกระทู้ โคลงสุภาษิตซึ่งยกคาถาภาษาบาลีมาอธิบายความ กาพย์ กาพย์ห่อโคลง ฉันท์ กลอน และกลอนสักวา ปัจจุบัน “หนังสือวชิรญาณสุภาษิต” และ “ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ห้องหนังสือหายาก และห้องหนังสือประเทศเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ หนังสือวชิรญาณสุภาษิต ร.ศ. ๑๐๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ --------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ --------------------------------------------บรรณานุกรม “การฉลองหอสมุดวชิรญาณ” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ (๑๙ พ.ค. ๑๐๘) ๕๗-๖๑. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๑๒. แม้นมาส ชวลิต. ประวัติหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๙. วชิรญาณสุภาษิต. พระนคร: หอพระสมุดวชิรญาณ, ร.ศ. ๑๐๘.
เจดีย์ช้างล้อม
หลักฐานการสร้างประติมากรรมรูปช้างประดับที่ฐานเจดีย์นั้น พบครั้งแรกที่สถูปรุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ ตรงกับสมัยอนุราธปุระ สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย เมื่อครั้งที่พระองค์ชนะการกระทำยุทธหัตถีดับพระเจ้าเอฬาร กษัตริย์ทมิฬ
ซึ่งเชื่อว่าเจดีย์/สถูปองค์นี้เป็นต้นแบบในการสร้งเจดีย์ช้างล้อมในดินแดนประเทศไทย
คติการสร้างเจดีย์ช้างล้อมนี้ มี ๒ แนวทาง คือ
๑. สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการชนะการทำสงคราม โดยเฉพาะการกระทำยุทธหัตถี ซึ่งเป็นคติจากสถูปรุวันเวลิของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย
๒. เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนการเป็นศูนย์กลางจักรวาล โดยมีพระเจดีย์แทนพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ มีช้างอยู่ประจำตามทิศเบื้องล่างลงไป
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัย มีการสำรวจพบเจดีย์ที่ประดับฐานด้วยประติมากรรมรูปช้างอย่างน้อย ๕ แห่ง ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เจดีย์ประธานวัดนางพญา เจดีย์ประธานวัดสวนสัก(องค์ใน) เจดีย์ประธานวัดศรีมหาโพธิ์(องค์นอก) และเจดีย์รายหมายเลข ๑๘ วัดเจดีย์เจ็ดแถวค่ะ
ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจดีย์ช้างล้อมได้ในหนังสือ "เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทย" ของสุรพล ดำริห์กุล
เครดิตภาพ : คุณบัณฑิต ทองอร่าม
ชื่อผู้แต่ง นราธิปประพันธ์พงศ์,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
ชื่อเรื่อง สาวเครือฟ้า
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยเขษม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๔๘ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาคร สิทธิการ (ผาด กุลตัณท์) ณ เมรุวัดโสมมนัสวิหาร ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๔
หนังสือสาวเครือฟ้า เล่มนี้ เป็นบทละคร เค้าโครงเรื่องมาจากละครออเปร่าเรื่องมาดามบัตเตอไฟลชองปุชชินี่ ซึ่งกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ได้ถอดเนื้อเรื่องอันเป็นเรื่องหญิงญี่ปุ่นกับชายฝรั่ง มาเป็นเรื่องสาวชาวเหนือกับหนุ่มชาวกรุงเทฯ แบ่งการแสดงออกเป็น ๔ ชุด คือ ชุดที่ ๑ (สวาสดิ์) ชุดที่ ๒ (วิวาห์) ชุดที่ ๓ (ลา) ชุดที่ ๔ (กลับ)
เลขทะเบียน : นพ.บ.147/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.126/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ก สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.15/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)