ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

องค์ความรู้ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร  เรื่อง โบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดฯ ในการเสด็จประพาสทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง การเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในประเทศนั้นมีจุดประสงค์เพื่อทรงตรวจราชการและสำรวจทุกข์สุขของราษฎรเป็นหลัก  บางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ จึงไม่โปรดฯ ให้จัดการรับเสด็จอย่างเป็นทางการ ไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ ไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า และไม่มีพระประสงค์ที่จะแสดงพระองค์ให้ผู้อื่นรู้จัก กำแพงเพชรมีโบราณสถานขนาดใหญ่น้อยเป็นจำนวนมากทั้งภายในเมืองและนอกเมือง เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรทางชลมารค ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระองค์ทรงถ่ายรูปบุคคล วัดวาอาราม โบราณสถาน และสถานที่ต่างๆ ของเมืองกำแพงเพชร แล้วทรงมีพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องเสด็จประพาสต้นไว้ด้วย ลำดับการเสด็จประพาสต้นโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙  เสด็จทอดพระเนตรเมืองไตรตรึงษ์ ทรงแวะวัดวังพระธาตุ และวัดเจดีย์เจ็ดยอด  ๒๓ สิงหาคม ๒๔๔๙  เสด็จประพาสในเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้แก่ กำแพงเมือง ประตูบ้านโนน ป้อมเจ้าจันทร์ วัดพระแก้ว สระมน ศาลพระอิศวร  ๒๔ สิงหาคม ๒๔๔๙  เสด็จประพาสตอนเหนือของเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้แก่ ป้อมเพชร ประตูสะพานโคม วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดอาวาสใหญ่  ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรฝั่งนครชุม ทอดพระเนตรวัดพระบรมธาตุ  ๒๖ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสวัดเสด็จ และวัดคูยาง บรรณานุกรม - พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.


ชื่อเรื่อง           นามประพันธ์นักเขียนไทยที่ใช้ในบัตรรายการของหอสมุดแห่งชาติ ชื่อผู้แต่ง          หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๕ แก้ไขเพิ่มเติม สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๙ จำนวนหน้า       ๒๑๒ หน้า                       เป็นคู่มือทำเนียบนามนักประพันธ์ นักเขียนไทย ที่ใช้ในบัตรรายการของ หอสมุดแห่งชาติ โดยในครั้งนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๕ เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเป็นคู่มือในการค้นคว้าให้ทราบนามจริงของผู้แต่ง โดยบอกนามแฝงและนามจริงของนักประพันธ์ทั้งหมด ๒,๒๘๖ ชื่อ เรียงลำดับตามพจนานุกรม อักษร ก - ฮ        



        โบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีปราสาทประธาน 3 หลัง เรียงกันตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาททั้ง 3 หลัง มีประตูทางเข้าเฉพาะด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัยตั้งอยู่ ศาสนสถานถูกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และคูน้ำเว้นทางเข้าตามแนวแกนทิศด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก ใช้วัสดุศิลาแลงและหินทราย ทั้งนี้ ปรากฏภาพสลักทับหลังที่น่าสนใจ ที่ติดกับตัวงปราสาท จำนวน 6 ชิ้น ดังนี้           ชิ้นที่1 ทับหลังปราสาทหลังกลาง สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับนั่งในท่ามหาราช (นั่งชันเข่า) ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก ประทับยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล          ชิ้นที่ 2 ทับหลังปราสาทหลังทิศเหนือ สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า อยู่ในกรอบซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล          ชิ้นที่ 3 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศใต้ สลักภาพบุคคลไว้เครา ประทับนั่ง ขนาบข้างด้วยสตรี ซ้ายและขวา ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล          ชิ้นที่ 4 ทับหลังบรรณาลัยด้านทิศเหนือ สลักภาพบุคคลนั่งชันเข่า มือขวาถือดาบ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย ขนาบด้วยสิงห์มือจับท่อนพวงมาลัย สันนิษฐานว่าเป็นเทพผู้ปกปักรักษาศาสนสถานแห่งนี้          ชิ้นที่ 5 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก สลักภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ เหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล          ชิ้นที่ 6 ทับหลังฝั่งตะวันออกของโคปุระด้านตะวันตก สลักภาพพระวรุณทรงหงส์ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันตก ยืนอยู่เหนือหน้ากาล ห้อมล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นพรรณพฤกษาที่ออกมาจากปากของหน้ากาล          จากรูปแบบศิลปกรรมของภาพสลักทับหลัง มีลักษณะคล้ายกับทับหลังศิลปะเขมร แบบาปวน จึงกำหนดอายุสมัยโบราณสถานกู่พราหมณ์จำศีล มีอายุอยู่ในช่วง ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16           หลายคนคงสงสัยว่า ทับหลังแบบบาปวน ดูจากอะไร? ขอให้ทุกคนสังเกต โครงสร้างหลักของทับหลังแบบบาปวน คือ หน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านล่างของทับหลัง เหนือหน้ากาลมีรูปบุคคล ซึ่งอาจมีพาหนะหรือไม่ก็ได้ หน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยวกขึ้นแล้วตกลงเป็นกรอบสี่เหลี่ยม ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ม้วน เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตั้ง ทั้งนี้อาจมีรูปแบบอื่นปรากฏ เช่น สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง นั่นเอง           ติดกันด้านทิศเหนือ ยังมี ปราสาทนางรำ ซึ่งเป็น โบราณสถานประเภท “อโรยคศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยนะครับ หากมีโอกาส ลองแวะเวียนไปเยี่ยมชมกันดูนะครับ ทั้งนี้ “กู่พราหมณ์จำศีล” และ “ปราสาทนางรำ” เป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณเป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีศาสนสถานขนาดใหญ่ อย่างกู่พราหมณ์จำศีล เป็นศาสนสถานประจำชุมชน และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จึงมีดำริให้สร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกัน----------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นายวรรณพงษ์ ปาะละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง -กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร. 2535 -รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ปราสาทขอมในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน. 2551.


วิทยากร นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการ นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร” วิทยากรโดย นายธนาวัฒน์ ตราชูชาติ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักช่างสิบหมู่ และนายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร



          ...แหล่งภาพเขียนสีในพื้นที่อ่าวพังงา โดยมากเป็นภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบทั้งภาพบุคคล สัตว์บก สัตว์น้ำ และรูปเรขาคณิต แต่มีเพียงไม่กี่แหล่งที่ปรากฏภาพคล้ายเรือ ซึ่งใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปมาระหว่างแผ่นดินใหญ่กับท้องทะเลของมนุษย์ในอดีต ภาพเขียนสีที่ “แหล่งภาพเขียนสีเกาะเขาเต่า” นี้เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่ปรากฏภาพคล้ายเรือที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นแหล่งที่มีการค้นพบใหม่โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา…          แหล่งภาพเขียนสีเกาะเขาเต่า ตั้งอยู่ที่ ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่บนเกาะซึ่งไม่ปรากฏชื่อในแผนที่ทหาร เป็นเขาหินปูนขนาดเล็ก ระหว่างคลองกะไหลและคลองกระโสม ด้านทิศใต้ของเกาะสองพี่น้องซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งภาพเขียนสีถ้ำนาค ห่างกันประมาณ ๒ กิโลเมตร เกาะเขาเต่ามีรูปร่างวงรีวางตัวตามแนวแกนทิศเหนือ – ใต้ ขนาดยาวประมาณ ๒๕๐ เมตร กว้าง ๑๒๐ เมตร           การเข้าถึงแหล่ง จากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เดินทางโดยเรือระยะทางประมาณ ๑๓.๕ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๑๕ – ๒๐ นาที โดยผ่านคลองเกาะปันหยี เกาะปันหยี และมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันตก ใช้เส้นทางตัดผ่านเกาะทะลุนอก เพื่อเข้าสู่บริเวณปากคลองกระโสม ใช้เส้นทางลัดเลาะเข้าไปตามคลองขนาดเล็กที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน           เมื่อถึงบริเวณเพิงผาและถ้ำขนาดเล็กด้านทิศตะวันออกของเกาะ ต้องปีนขึ้นไปบริเวณเพิงผาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓- ๕ เมตร ที่ผนังถ้ำและเพิงผาปรากฏภาพเขียนสีแดง เป็นภาพบุคคล ภาพลายเส้นหยักคล้ายคลื่น ภาพเรือ และมีภาพเขียนสีดำ เป็นภาพสัตว์สี่เท้า ซึ่งเขียนทับบางส่วนของภาพสีแดง นอกจากนี้ยังมีร่องรอยภาพที่ลบเลือนอยู่อีกจำนวนหนึ่ง          บริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นเพิงผาเว้าเข้าไปเป็นคูหาลักษณะคล้ายถ้ำขนาดเล็ก ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร สูง ๖ เมตร ลึก ๕ – ๘ เมตร เพิงผาหันไปทางทิศตะวันออก พื้นเป็นหิน ภายในมีความชื้นสูง ผนังถ้ำมีตะไคร่น้ำจับอยู่ทั่วไป มีร่องรอยภาพเขียนสีแดงและดำแบบเงาทึบและแบบภาพลายเส้นโครงร่าง เป็นภาพลายคลื่น ภาพเรือ ภาพบุคคล ภาพสัตว์สี่เท้า และภาพเรขาคณิต กระจายอยู่บริเวณผนังด้านในและด้านข้าง          ภาพที่เด่นชัดอยู่ส่วนกลางของผนังเพิงผา เป็นกลุ่มภาพเรือและลายเส้นหยักคล้ายคลื่น กลุ่มภาพนี้มีขนาดความกว้างและยาวด้านละประมาณ ๘๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร โดยภาพเรือเป็นภาพในมุมมองด้านหน้าตรง เขียนลายเส้นสีแดงเป็นแกนหรือโครงสร้างเรือ และระบายสีทึบด้วยสีดำหรือสีที่เข้มกว่าสีแดงบริเวณตัวเรือและหัวเรือ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือหัวโทง ที่ยังนิยมใช้กันอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน           ด้านข้างของภาพเรือเป็นลายเส้นหยักคล้ายคลื่น ซ้อนกันในแนวนอน ๕ เส้น ที่อาจสื่อถึงการใช้เรือเดินทางในทะเล ใกล้กันห่างออกไปทางขวาประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร ตำแหน่งภาพสูงจากพื้น ๘๐ เซนติเมตร มีภาพสัตว์สี่เท้าคล้ายช้างเขียนด้วยลายเส้นสีดำทับร่องรอยภาพสีแดง ขนาดกว้าง ๑๘ เซนติเมตร สูง ๑๑ เซนติเมตร ถัดไปทางขวาเล็กน้อยมีภาพโครงร่างแบบคร่าวๆ เขียนด้วยสีแดงคล้ายบุคคลและเรขาคณิต ///ผนังอีกด้านหนึ่งซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ มีกลุ่มภาพเขียนสีดำเป็นภาพบุคคลแสดงท่าทางต่างๆ เช่น ยืนกางแขน แสดงท่าทางเคลื่อนไหว และกลุ่มภาพคล้ายสัตว์อยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นภาพบุคคลหรือลิงชูแขนลักษณะห้อยโหนอยู่ด้านล่างของภาพสัตว์สี่เท้าคล้ายช้าง ซึ่งกลุ่มภาพสีดำนี้เขียนทับไปบนภาพส่วนใหญ่ของภาพร่องรอยบุคคลสีแดงแบบเงาทึบขนาดใหญ่ โดยบุคคลทางซ้ายอยู่ในลักษณะยืนตรง มีเส้นผมที่ศีรษะ ส่วนบุคคลทางขวายืนหรือนั่งหันข้างมองออกไปทางด้านขวาหรือด้านหน้าของเพิงผา กลุ่มภาพนี้มีขนาดความกว้างและยาวด้านละประมาณ ๑๐๐ – ๑๒๐ เซนติเมตร   นอกจากนี้ยังมีร่องรอยภาพสีแดงที่ค่อนข้างลบเลือน เป็นภาพลายเส้นและภาพเรขาคณิต กระจายตัวอยู่ทั่วไปบนผนังอีกหลายจุด          แหล่งภาพเขียนสีเกาะเขาเต่า มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองสองสายคือคลองกระโสมและคลองกะไหล ที่ไหลมาบรรจบกันเพื่อใช้เป็นเส้นทางออกสู่ทะเลได้ สภาพพื้นที่เป็นเพิงผาและถ้ำขนาดเล็ก มนุษย์ในอดีตจึงสามารถใช้เพิงผาและถ้ำเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราว สามารถประกอบกิจกรรม หรือพิธีกรรมซึ่งอาจมีการขีดเขียนวาดภาพบนผนังเพิงผาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว           กลุ่มภาพสีแดงและสีดำที่ปรากฏบนผนังเพิงผาและถ้ำ สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มภาพเล่าเรื่องแสดงเหตุการณ์หรือบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต โดยมีภาพที่สำคัญเป็นภาพเรือและลายเส้นคลื่นที่สามารถสื่อได้อย่างชัดเจนในเรื่องการเดินทางในท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง จนผู้เขียนอาจต้องแวะเข้ามาเพื่อหลบคลื่นลมและแวะพักก่อนเดินทางต่อไป และยังมีภาพบุคคลสีแดงขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณผนังอีกด้านหนึ่ง แสดงท่าทางยืนและตรงและหันข้าง ที่อาจสื่อถึงบุคคลที่ร่วมเดินทางมากำลังรอคอยเพื่อจะเดินทางต่อไป          ส่วนกลุ่มภาพลายเส้นสีดำที่ปรากฏส่วนใหญ่เขียนทับบนกลุ่มภาพสีแดง ในระดับความสูงที่ต่ำกว่าหรือมีระดับใกล้เคียงกลุ่มภาพสีแดง ภาพลายเส้นสีดำเขียนแบบง่ายๆ อาจสื่อถึงเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณอื่นหรือบนแผ่นดินใหญ่ ผู้เขียนจึงเขียนถ่ายเรื่องราวที่พบเห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์การระหว่างสัตว์สี่เท้ากับบุคคล โดยกลุ่มภาพบุคคลมีการแสดงท่าทางต่างๆ ทั้งยืนตรง กางแขน ชูแขน และกำลังเคลื่อนไหวอยู่ แสดงกิจกรรมบางอย่างที่ร่วมกันระหว่างบุคคลและสัตว์ ซึ่งอาจสื่อถึงการเลี้ยงสัตว์หรือกำลังต้อนสัตว์เหล่านั้นอยู่ กลุ่มภาพเขียนสีดำนี้เขียนขึ้นภายหลังกลุ่มภาพสีแดง ซึ่งอาจเขียนขึ้นในสมัยหลังหรืออาจเขียนขึ้นในสมัยปัจจุบันที่มีการเขียนเลียนแบบภาพสีแดงโดยบุคคลที่แวะเวียนมาใช้เพิงผาและถ้ำที่เกาะเขาเต่าก็เป็นได้           ...หมู่เกาะน้อยใหญ่ในพื้นที่อ่าวพังงา นอกจากมีความสวยงามตามธรรมชาติที่มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานแล้ว ยังมีเกาะอยู่อีกจำนวนมากที่อาจมีการค้นพบแหล่งภาพเขียนสีแหล่งใหม่ๆ ซึ่งจะสะท้อนให้เราเห็นภาพวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตที่เข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนี้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย... ----------------------------------------------------------------------สำรวจ/เรียบเรียง/กราฟิก : ธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช----------------------------------------------------------------------



วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ พิพิธภัณสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับมอบโบราณวัตถุจากสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ รายการ คือ ภาชนะดินเผาเนื้อกระเบื้องทรงชามเคลือบสีเขียวประกบติดกับภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งทรงไหเคลือบสีน้ำตาล ศิลปะลาว(ล้านช้าง) ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๔ ซึ่งชาวบ้านขุดพบเมื่อ ๔ - ๕ ปีมาแล้ว และได้นำมามอบให้ สภ.อ.เมืองจันทร์เก็บรักษา ต่อมาจึงได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เก็บรักษาเพื่ออนุรักษ์และจัดทำทะเบียน ตามระเบียบ พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อไป


          ว่ากันว่าเมื่อชาวจีนไปอาศัยอยู่ที่ใด ก็มักจะสร้างศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและบูชาเทพเจ้าของตนเสมอ เป็นผลทําให้เกิด การสร้างศาลเจ้าจีนกระจายท่ัวไป ดังนั้นเมืองจันทบุรีจะมี"ศาลเจ้า"ที่ตั้งขึ้นโดยคนจีนอยู่กี่แห่ง? วันนี้ผู้เขียนมีคำตอบให้ค่ะ           เอกสารจดหมายเหตุได้มีบันทึกระบุว่า พ.ศ.2466 มีศาลเจ้าของคนจีนที่มาขอรับการจดทะเบียน จำนวน 34 ศาลเจ้า แยกตามอำเภอได้ดังนี้ 1.อำเภอเมืองจันทบุรี จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวฮุ้ดโจ้ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวโจ๊ซือกง ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวปากน้ำ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวสระบาป ตำบลท่าเรือจ้าง -ศาลจ้าวโป่งแรต ตำบลโป่งแรต -ศาลจ้าวคมบาง ตำบลคมบาง -ศาลจ้าวเจ้าที่ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวอาม้า ตำบลบางกะจะ -ศาลจ้าวเฮี่ยนเทียน ตำบลบางกะจะ -ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 368 ตารางวา ทิศตะวันตกติดศาลจ้าวโจ้ซื่อกง) -ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 48 ตารางวา ทิศตะวันตกติดถนน) -ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลบางกะจะ2.อำเภอท่าใหม่ จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวโจ๊ซือก๋ง ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวโรงเจตั๋ว ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวท่าน้ำ ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวหนองจอก ตำบลยายร้า -ศาลจ้าวห้วยระกำ ตำบลพลอยแหวน -ศาลจ้าวชำฆ้อ ตำบลพลอยแหวน -ศาลจ้าวหนองปรือ ตำบลเขาวัว -ศาลจ้าวตั้วล้ง ตำบลเขาวัว -ศาลจ้าวอาเหนียว ตำบลเขาบายศรี -ศาลจ้าวท่าศาลา ตำบลท่าศาลา -ศาลจ้าวปากน้ำพังลาด ตำบลช้างข้าม3.อำเภอแหลมสิงห์ จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวแหลมสิงห์ ตำบลบางกะไชย -ศาลจ้าวเกาะเปริด ตำบลเกาะเปริด -ศาลจ้าวพลิ้ว ตำบลพลิ้ว -ศาลจ้าวบางเทียน ตำบลคลองน้ำเค็ม -ศาลเจ้าหนองบัว ตำบลหนองบัว 4.อำเภอขลุง จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวขลุง ตำบลขลุง -ศาลจ้าวตรอกนอง ตำบลตรอกนอง -ศาลจ้าวคานรูด ตำบลเกวียนหัก -ศาลจ้าวเกาะจิก ตำบลบางชัน -ศาลจ้าวบางชัน ตำบลบางชัน          ทะเบียนศาลเจ้าเล่มนี้ ภายในประกอบไปด้วยรายนามแต่ละศาลเจ้า ที่ดินระวาง เลขที่ดิน เลขโฉนด เนื้อที่เท่าไร อาณาเขตต์ติดกับใครบ้าง และใครเป็นผู้ปกครองหรือผู้ตรวจตราสอดส่องแต่ละศาลเจ้า ศาลเจ้าเหล่านี้อาจสร้างขึ้นมาก่อนหน้าแล้วก็ได้ และในเวลาต่อมาอาจให้มาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างศาลเจ้าขลุงได้ระบุว่ามี นายเค็งเส็ง แส้เหลา เป็นผู้ปกครองศาลแห่งนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2465 และยังมีนายเลี่ยนจิ้น แส้เตี่ยว เป็นผู้ตรวจตราสอดส่อง ในพ.ศ.เดียวกัน เป็นต้น           เป็นที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือศาลเจ้าที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ มีแค่ 4 อำเภอ ขาดอยู่ 1 อำเภอคืออำเภอมะขาม และ ณ ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่มีหลักฐานอื่นมายืนยันว่า เป็นเพราะเหตุว่าไม่มีศาลเจ้าในขณะนั้นที่อำเภอมะขาม หรือมีเหตุผลอื่นใดกันแน่ จึงขอฝากเพื่อนๆที่สนใจในเรื่องนี้ตามต่อด้วยนะคะ (หมายเหตุ คำเรียกบางคำยังคงตามคำเขียนเดิม)-----------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี-----------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 7/3 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องทะเบียนศาลเจ้า (พ.ศ.2466)


ชื่อเรื่อง                                กจฺจายนมูล (ศัพท์สนธิ)  สพ.บ.                                  278/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           72 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ศัพท์สนธิ                                    บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานาคเสน (มหานาคเสน) สพ.บ.                                  328/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.44/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger