ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,128 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.504/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168  (216-223) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ "อู่ข้าว อู่น้ำ อู่วัฒนธรรม : สุพรรณภูมิ " ในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ "วิถีถิ่น วิถีไทย" ในวันที่ ๙ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ศาลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี  วันศุกร์ ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๖  เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.  เรื่อง "มองสุพรรณผ่านวรรณคดี"  - นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ (ภาษาและวรรณกรรม) - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีไทย - อาจารย์ธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - นางสาวทิพพวรรณ บุญส่งเจริญ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ วันเสาร์ ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖  เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เรื่อง "มองสุพรรณจากประวัติศาสตร์และโบราณคดี  - นายสด แดงเอียด อดีตอธิบดีกรมการศาสนา - อาจารย์วรพร พรหมใจรักษ์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าสุพรรณบุรี - นายปรัชญา รุ่งแสงทอง  นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี - นางสาวเบญจพร สารพรม  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ทางแบบฟอร์มออนไลน์ (รับจำนวนจำกัด) ผ่านทางลิงก์ https://forms.gle/GbvYtBbrJnG4MuRp9 หรือสแกน qr code ตามภาพ หรือสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ทางเพจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในวันและเวลาดังกล่าว


ชื่อเรื่อง                                        สพ.บ.425/1 มาเลยฺยสุตฺต (พระมาลัย) สพ.บ.                                          425/1 ประเภทวัดุ/มีเดีย                            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                                      พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                                  18 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนา                                                  พระมาลัย บทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ล่องชาต ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


โบราณสถานวัดสวนหลวง   วัดสวนหลวง เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณพระเวียง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่าพื้นที่ตั้งวัดนั้น เดิมเป็นอุทยานหลวงของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชผู้ครองเมืองพระเวียง ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่าวัดสวนหลวง เดิมวัดสวนหลวงมีเนื้อที่ถึง ๕๐ ไร่ แต่ปัจจุบันมีเนื้อเหลืออยู่เพียง ๒๒ ไร่ ๑ งาน ๓๐ ตาราวา เนื่องจากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางราชการได้ตัดถนน นครศรีธรรมราช – ร่อนพิบูลย์ หรือ “ถนนราชดำเนิน” จึงทำให้วัดสวนหลวง ถูกแบ่งออกเป็น ๒ วัด คือ วัดสวนหลวงตะวันออก และวัดสวนหลวงตะวันตก กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดสวนหลวงตะวันออกได้ร้างไป เหลือเพียงวัดสวนหลวงตะวันตก เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงใช้เรียกนามวัดในทางราชการและคณะสงฆ์ว่า “วัดสวนหลวง” แต่นั้นมา   ภายในวัดสวนหลวงปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ ได้แก่  (๑) อุโบสถ มีการตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นภาพพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ประกอบด้วยพระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ พระโคตมะ เเละพระศรีอริยเมตไตรย บริเวณผนังด้านในอุโบสถ และตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บริเวณผนังด้านหน้าอุโบสถ / มีการตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดานพเคราะห์บริเวณเสาภายในอุโบสถ / และตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมภาพทศชาติชาดก ประกอบด้วย เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก ภูริทัตชาดก และจันทกุมารชาดก (พบว่าภายในอุโบสถมีการแสดงภาพทศชาติชาดกเพียง ๗ เรื่อง โดยขาด ๓ เรื่อง ได้แก่ มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และพระเวสสันดรชาดก ) (๒) พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ทรงเครื่อง สำริด ศิลปะอยุธยา สูงรวมฐาน ๑.๙๐ เมตร พระนามสมเด็จเจ้าลาวทอง  (๓) บ่อน้ำดินเผา บริเวณด้านทิศตะวันออกใกล้กำแพงวัด ขุดพบในปี ๒๕๕๒ ปัจจุบันทำศาลาครอบไว้ (๔) ธรรมมาสน์ไม้พร้อมบันไดนาค ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช   ปัจจุบันวัดสวนหลวงได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๘ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ พื้นที่โบราณสถาน พื้นที่ ก. ประมาณ ๑ ไร่ ๖๒.๙๑ ตารางวา พื้นที่ ข. ประมาณ ๓ งาน ๓๗.๕๐ ตารางวา


องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เรื่อง "ทวารบาลวัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย"           ทวารบาล มาจากคำว่า ทวาร หมายถึง ประตู ส่วนคำว่า บาล หมายถึง การเลี้ยง รักษา ปกครอง และเมื่อแปลรวมกันคำว่า “ทวารบาล” จึงหมายถึง ผู้รักษาประตู หรือผู้รักษาช่อง โดยทวารบาลมีหน้าที่ปกป้องรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีเข้ามาภายในศาสนสถานได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ได้กล่าวถึงที่มาของทวารบาลไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ว่า “มนุษย์ย่อมต้องมีเครื่องป้องกันภัย อย่างต่ำมีประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงมีคนเฝ้าประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงเลือกสรรคนกล้าแข็งรักษาประตู ต่อขึ้นมาถึงผู้เป็นอัจฉริยบุรุษ อาจจะหัดสัตว์ร้ายให้รักษาประตูได้ มูลเหตุนี้เองที่เลยมาเป็นรูปภาพ แล้วถึงแต่ชื่อสิงห์ก็นับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง”            เมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏประติมากรรมทวารบาลทั้งรูปบุคคล และรูปสัตว์ ที่วัดเขาสุวรรณคีรี บริเวณซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานทางด้านตะวันตก ด้านหลังของเจดีย์ประธาน โดยพบชิ้นส่วนของโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และชิ้นส่วนปูนปั้นรูปสิงห์ โดยประติมากรรมดังกล่าวทำหน้าที่เป็นทวารบาลตามคติความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูต ผี ปีศาจ และพลังอันลึกลับเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น ทั้งดี และร้าย โดยสถานที่สำคัญ หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีสิ่งที่คอยปกปักษ์รักษาเพื่อที่จะไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้าไปยังที่แห่งนั้นได้ ด้วยการนำรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดา ที่มีลักษณะน่ากลัวเป็นที่ น่าเกรงขามแก่เหล่าภูต ผี และปีศาจ ไปติดตั้งไว้ตามบริเวณช่องประตู บานหน้าต่าง หรือราวบันได โดยรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดาจะถูกนำเสนอผ่านงานศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น งานปั้น งานแกะสลักหรือแม้แต่งานจิตรกรรม เป็นต้น และถูกเรียกว่า “ทวารบาล” ------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง วิทยานิพนธ์ ณวลพักตร์ พิมลมาศ. คติความเชื่อและรูปแบบทวารบาลไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) กรณีศึกษาวัดสุวรรณารามและวัดราชโอรสาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2549. เชาว์ เภรีจิต. สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการ จากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2556. ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2555. ออนไลน์ ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistor.../view/34671. (เข้าถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2566).   ------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : Facebook Page อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0DTPVxhnuLR4syjBQ16GbwchW4iX4UgnpuJDimd4DoSjYcvw9rvu88xe3YTr5YzhZl&id=100068946018506  



         อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้จัดกิจกรรมสุดพิเศษเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมความงามของโบราณสถานยามค่ำคืน ในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม Ayutthaya Sundown" โดยเปิดให้เข้าชมวัดไชยวัฒนาราม ผ่าน แสง สี จากการประดับไฟ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566           กิจกรรมประจำสัปดาห์นี้  มีดังนี้          - วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ไม่มีกิจกรรมพิเศษ สามารถเข้าชมโบราณสถานยามค่ำคืนได้ตามปกติ          - วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566  มีกิจกรรม ล้อมวงเล่า Sundown Talk หัวข้อ "อยุธยา มู...ไม่มู..." พบกับการบอกเล่าข้อมูลทางวิชาการ ในบรรยากาศสบายๆ           - วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 พบกับกิจกรรม "ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ PODCAST" Ep.2 ที่จะพาทุกท่านเพลิดเพลินไปกับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัดไชยวัฒนารามในแง่มุมต่างๆ ทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และการอนุรักษ์             - วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2566 มี Workshop ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสนหางไก่ จากวิสาหกรรมชุมชนบ้านกรด อำเภอบางปะอิน มาให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมกันอีกด้วย           นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการประกวดผลงานภาพถ่าย ภายใต้หัวข้อ "แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี" ชิงเงินรางวัลรวม 40,000 บาท เปิดรับภาพตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2566  โดยกำหนดให้ส่งภาพถ่ายบุคคลแต่งกายชุดไทยยุคต่างๆ ภายในวัดไชยวัฒนารามในเวลากลางคืน ส่งผลงานได้ที่ E-mail contestayhispark@gmail.com โดยสามารถอ่านศึกษากติกาและรายละเอียดได้ ที่นี่ !          ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาชมโบราณสถานยามค่ำคืน ณ โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 (อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น.) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3524 2286 ต่อ 101 หรือทาง เฟสบุ๊ก เพจ: อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park


          กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดทำ Social Media บนแพลตฟอร์ม TIKTOK เพื่อเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ท่านที่สนใจสามารถกดติดตามได้ที่ TIKTOK : กรมศิลปากร  ประเดิมแพลตฟอร์มใหม่กับรายการ "เที่ยวแหล่งมรดกวัฒนธรรมไปกับกรมศิลปากร"  ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://www.tiktok.com/@finearts.pr/video/7312020939430989057?_r=1&_t=8i9DQ69Df3x&fbclid=IwAR0VSVSXRNSaLs-qtbBdHSo_YttjZNR8-MskzgXmC2XVuF4wiSRAeG44gkg


           วันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ขอพระราชทานน้อมแสดงความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธี ร่วมด้วยการบรรเลง - ขับร้องเพลง 'ในอุ่นอ้อมอกมั่นคง' โดยศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร


องค์ความรู้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง เล่าเรื่องจากปกวารสารศิลปากร            ปกวารสารศิลปากร มีความน่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นชื่อวารสารเหมือนอยู่ในคลี่พระราชสาส์นออกพระพิฆเนศหันซ้ายเล็กน้อย รวมทั้งภาพปก หลายครั้งภาพปกเป็นฝีพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้เขียนเลือก วารสารศิลปากร ปีที่ ๘ เล่มที่ ๘-๑๐ มกราคม ถึง มีนาคม๒๔๙๘            ปีที่ ๘ เล่ม ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มุมขวาด้านล่าง ปรากฏศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเดิมอยู่ในหอสมุดวชิรญาณ เป็นจารึกที่หลายคนรู้จัก และเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ปัจจุบันอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ปีที่ ๘ เล่ม ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ตู้ลายรดน้ำสมัยอยุธยา ทำเป็นรูปฝรั่ง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับรูปแขก พระเจ้าออรังเซฟ ราชวงศ์โมกุล สันนิษฐานว่า ทำในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช            ปีที่ ๘ เล่ม ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เสาศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม อักษรมอญ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พบที่ศาลสูง ลพบุรี ย้ายมารักษาที่อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุด ปัจจุบันอยู่ ชั้น ๔ ห้องเอกสารโบราณ อาคารวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ            แผ่นศิลาที่อยู่บริเวณกลางภาพ พบที่วัดมเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เคลื่อนมาอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนาถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุดกับจารึกหลักอื่น ๆ ซึ่งเดิมสถานที่แสดงจารึกอยู่ในห้องพระโรงศิวโมกขพิมาน ปัจจุบันอยู่ ณ พระที่นั่งอุตราภิมุขพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            หลายครั้งหลายเรื่องราว มาจากปกหนังสือแค่ไม่กี่เล่ม ภาพแค่ไม่กี่ภาพ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้เขียนในโอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาสำนักหอสมุดแห่งชาติ ครบ ๑๑๘ ปี และความเชื่องโยงระหว่างหอสมุดแห่งชาติ กับกรมศิลปากร ที่เป็นขุมทรัพย์ของชาติ ตักศิลาของประเทศ -------------------------------------------- ข้อมูลอ้างอิง กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙. -----. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์. ตู้ลายทอง ภาค ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๓. ศิลป์ พีระศรี. เรื่องตู้ลายรดน้ำ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๓. “ภาพตู้ลายรดน้ำสมัยศรีอยุธยา ทำเป็นรูปราชทูตฝรั่งเศสกับราชทูตเปอร์เซียสำหรับเก็บหนังสือใบลาน ในหอสมุดวชิรญาณ” วารสารศิลปากร. ๘, ๙ (กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘): ปก. “ภาพศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ.” วารสารศิลปากร. ๘, ๘ (มกราคม ๒๔๙๘): ปก. “ภาพศิลาจารึกภาษามอญ และภาษาสันสกฤต ภายในหอสมุดวชิรญาณด้านใต้.” วารสารศิลปากร. ๘, ๑๐ (มีนาคม ๒๔๙๘): ปก.-------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กราฟิก นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ