ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 29,920 รายการ

จดหมายเหตุ : เล่าอดีต ส่งเสริมการปลูกยางในจังหวัดจันทบุรี ปี ๒๔๘๓ . บุคคลแรกที่ริเริ่มนำยางพาราเข้ามาปลูกในจังหวัดจันทบุรี ก่อนจะแพร่ขยายจนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) ซึ่งได้นำยางพารามาปลูกที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ เนื่องจากมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตและภาคใต้ หลวงราชไมตรีมีความประสงค์ อยากนำยางพารามาปลูกบริเวณเชิงเขาสระบาป ตำบลพลิ้ว อำเภอเมืองจันทบุรี เพราะมีสภาพอากาศคล้ายทางภาคใต้ ท่านจึงสั่งพันธุ์ยางจากประเทศมลายูมาปลูกจำนวน ๒ ลัง ในพื้นที่ ๖๐ ไร่ . ยางพาราของหลวงราชไมตรียุคแรกๆ อาจจะเป็นป่ายางพารา แต่ต่อมามีการจัดการอย่างถูกวิธี จนกลายเป็นสวนยางพารา คนแถบถิ่นใกล้ๆ ได้ตามอย่างปลูกเป็นอาชีพ จากอำเภอเมืองขยายไปยังอำเภอขลุง จากจันทบุรี ขยายไปยังระยองและตราดในที่สุด ด้วยคุณูปการนี้เอง คนทั่วไปจึงถือว่าท่านเป็น “บิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก” . ทั้งนี้มีเอกสารราชการในอดีต แสดงให้เห็นถึงนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการปลูกยางในจังหวัดจันทบุรี ความว่า วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๓ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ มีหนังสือราชการถึงเลขานุการนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าด้วยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กระทรวงเกษตราธิการเร่งส่งเสริมการทำสวนยางในจังหวัดจันทบุรีให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะส่งออกจำหน่ายทางภาคตะวันออกได้สะดวก ทางกระทรวงเกษตราธิการขอแจ้งว่า กรมป่าไม้ได้ทำการส่งเสริมการทำสวนยางในจังหวัดจันทบุรีอยู่แล้ว โดยจังหวัดจันทบุรีได้รับสิทธิปลูกยางใหม่ จำนวน ๑,๑๗๗ ราย เป็นเนื้อที่ ๑๐,๐๑๙ ไร่ เท่ากับร้อยละ ๑๓ ของสิทธิปลูกยางใหม่ที่ประเทศไทยได้รับมาตามข้อตกลงควบคุมยางระหว่างประเทศ . ต่อมาในปี ๒๔๙๒ ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงคณะกรมการจังหวัดจันทบุรีให้สำรวจสวนยางที่ต้องทิ้งร้างเพราะขาดแรงงานกรรมกรว่ามีจำนวนเท่าใด และต้องการกรรมกรเท่าใด คณะกรมการจังหวัดจันทบุรีได้แจ้งว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี ต้องการกรรมกร ๔๙ คน และอำเภอแหลมสิงห์ ต้องการกรรมกร ๘ คน โดยคิดอัตราค่าจ้างให้วันละ ๕ บาท . ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/ ผู้เรียบเรียง นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๔/๑๔๓ เรื่องนายกรัฐมนตรีให้ทำการส่งเสริมการทำสวนยางจังหวัดจันทบุรีให้เจริญยิ่งขึ้น (๒๘ สิงหาคม – ๒๕ กันยายน ๒๔๘๓). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๑.๑.๑๐/๓๙ เรื่องขอทราบจำนวนความต้องการของกรรมกรที่ใช้แรงงานเกี่ยวกับเกษตรกรรมและสวนยางที่จังหวัดจันทบุรี (๓๐ พฤษภาคม – ๖ กรกฎาคม ๒๔๙๒). บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี. ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ จาก http://www.baanluangrajamaitri.com/history.


ชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ...คาม" ตอนที่ 3 "โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส : 3 มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า คู่หล้ากันทรวิชัย"           โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นั้น ภายในวัดมีมรดกวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ถึง 3 รายการ ได้แก่ 1) สิมหลังเก่า 2) พระพุทธรูปมิ่งเมือง ที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี  สลักจากหินทรายก้อนเดียว เเละเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 2 องค์ ของชาวกันทรวิชัย และ 3) จารึกหินทรายสีแดง จารอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-ภาษาบาลี  ซึ่งปัจจุบันเลือนรางลงมากแล้ว โดยโบราณสถานแห่งนี้จะมีข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์อย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้เลยครับ ...             เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


ชื่อเรื่อง                          พงศาวดารของพวนและประวัติบ้านมะขามล้ม    ผู้แต่ง                                                ประเภทวัสดุ/มีเดีย          หนังสือท้องถิ่น ISBN/ISSN                     - หมวดหมู่                        ประวัติศาสตร์  เลขหมู่                           959.373 ก379พ สถานที่พิมพ์                   ม.ป.ท. สำนักพิมพ์                     ม.ป.พ.  ปีที่พิมพ์                         ม.ป.ป. ลักษณะวัสดุ                  45 หน้า หัวเรื่อง                         ไทยพวน - - ความเป็นอยู่ปละประเพณี                                  บ้านมะขามล้ม - - ประวัติ ภาษา                        ไทย บทคัดย่อ/บันทึก           เนื้อหาประกอบด้วยพงศาวดารของไทยพวนและประวัติบ้านมะขามล้ม ผู้ที่อพยพมาอยู่โดยผ่านจากเรื่องเล่าต่างๆว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร  


พระพิมพ์รูปพระโพธิ์สัตว์ (นางตารา) สมัยพุกาม พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ กองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่า ส่งมาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร -----------------------------------------------   ดินเผากลมรูปพระโพธิสัตว์ทรงยืนตริภังค์* แสดงวรทมุทรา (ปางประทานพร) พระเกศารวบขึ้นเป็นพระเมาลี รอบพระเศียรแสดงศิรประภา หรือรัศมี (สื่อถึงเป็นผู้มีพระธรรมเป็นแสงสว่าง) พระพรหาขวาแนบพระวรกาย ยกพระกรหันฝ่าพระหัตถ์ขวาออก พระหัตถ์ซ้ายทรงก้านดอกบัวอุตปละ (utpala) หรือ บัวสาย พระวรกายท่อนล่างแสดงการทรงพระภูษายาวจรดข้อพระบาท ด้านข้างของพระโพธิ์สัตว์มีจารึกอักษรเทวนาครี และสถูป พระพิมพ์ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในรายการพระพิมพ์ที่กองแผนกตรวจรักษาของโบราณประเทศพม่าส่งมาแลกเปลี่ยนกับราชบัณฑิตยสภาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยส่งพระพิมพ์มาแลกเปลี่ยนทั้งหมด ๑๖ รายการ (ประกอบด้วยพระพิมพ์ที่พบจากเมือง PAGAN จำนวน ๔ รายการ และพระพิมพ์ที่พบจากเมือง HMAWZA จำนวน ๑๒ รายการ) ทั้งนี้ราชบัณฑิตยสภาได้ส่งพระพิมพ์ไปยังประเทศพม่า จำนวน ๒๗ รายการ  สำหรับพระพิมพ์ชิ้นนี้ Charles Duroiselle ระบุว่าเป็นพระพิมพ์ที่ขุดค้นพบในบริเวณเมือง HMAWZA (ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีอาณาจักรศรีเกษตร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยตีความว่าเป็นรูปพระโพธิ์สัตว์ตาราซึ่งสอดคล้องกับแสดงการถือดอกบัวอุตปละ และจารึกที่ปรากฏคือจารึกคาถา “เยธฺมา เหตุปฺปภวา” และกำหนดอายุไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ จากรูปแบบของพระพิมพ์ชิ้นนี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียเหนือ (แบบปาละ) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยพุกาม (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) เช่น การยืนตริภังค์ การแสดงพระกรสองข้างตรงข้ามกัน เป็นต้น  พระโพธิ์สัตว์ตาราเป็นพระโพธิ์สัตว์เพศหญิง เป็นเทพีองค์สำคัญในพุทธศาสนามหายาน กล่าวคือ เป็นเทพีแห่งความกรุณา และเป็นผู้ปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่มนุษย์ โดยพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นศักติของพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภาคปรากฏของพระนางตารานั้น มีหลายวรรณะและหลายลักษณะ (บางตำรากล่าวว่ามีทั้งหมด ๒๑ วรรณะ) แต่ที่รู้จักอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ ตาราวรรณขาว (สิตตารา) และตาราวรรณเขียว (ศยามตารา)    *ตริภังค์ หมายถึง ท่ายืนเอียงกายสามส่วน อันได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเอียงจากเท้าถึงสะโพก ส่วนที่สองเอียงจากสะโพกถึงไหล่ ส่วนที่สามเอียงจากไหล่ถึงศีรษะส่วนใหญ่พบในศิลปะอินเดีย (อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐ หน้า๒๐๐) ------------------------------------------------ อ้างอิง : กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐. เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของรูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียม เพรส, ๒๕๖๕. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมามหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๓. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ ๒.๑.๑/๑๘๐. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. เรื่อง แลกเปลี่ยน พระพิมพ์ดินเผาระหว่างกองตำรวจรักษาของโบราณประเทศพม่ากับราชบัณฑิตยสภา (๒๒ เมษายน ๒๔๗๔-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕). H. Hargreaves, editor. Annual Report of the Archaeological Survey of India for the year 1927-1928. Calcutta: Government of India Central Publication Branch, 1931. ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล :  นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


สัตตภัณฑ์ เจ้าแม่รถแก้ว มารดาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐ ถวายวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ย้ายมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ขนาด สูง ๑๗๙ ซม. ยาว ๑๘๒ ซม. กว้าง ๒๗.๕ ซม. สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียนสำหรับบูชาพระประธานในวิหารหรือพระธาตุสำคัญ เป็นเครื่องสักการะสำคัญอย่างหนึ่งในคติทางศาสนาของล้านนา ทำจากไม้ รูปครึ่งวงกลม แกะสลักและประดับด้วยรักสมุกปั้นปิดทองประดับด้วยกระจกสีทำเป็นรูปนาคเกี้ยวกันจำนวนทั้งสิ้น ๒๘ เศียร ด้านบนเป็นรูปหน้ายักษ์คายนาค มีเสาสำหรับเสียบเทียนจำนวน ๗ ต้น ฐานด้านล่าง มีรักสมุกปั้นเป็นอักษรธรรมล้านนา อ่านโดย ภูเดช แสนสา ตีพิมพ์ในหนังสือเจ้าหลวงลำพูน โดยมูลนิธินงราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ และมูลนิธิเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ความว่า "สุทินฺนํวตฺเมทานํ  อโหวตฺตเมทานํ ผล...นิสเย เมตฺเตยฺยสนฺตเก พุทธสาสเนทานํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พุทธสักกราช ๑๒๗๙ ตัว ปีเมืองใส้ มหามูลสัทธาหมายมีแม่เจ้ารสแก้ว เปนเค้า พร้อมกับด้วยปุตตาปุตตีซุ่คน ก็ได้ส้างยังสัตตภัณฑาถวาย... พระแก้วเจ้า ๓ ประการในวัดพระมหาชินธาตุเจ้า เมื่อเดือนวิสาขะเพงเมงวัน ๗ ไทเมืองใส้ ภ.ส. ๒๔๖๐" แม่เจ้ารถแก้ว (ชายาในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๙, พระมารดาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐) พร้อมด้วยโอรสธิดา ได้สร้างสัตตภัณฑ์ถวายพระรัตนตรัยในวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อเดือนวิสาขะ (เดือนแปดเหนือ หรือเดือนหกตามปฏิทินภาคกลาง) ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สัตตภัณฑ์นี้ ปัจจุบันจัดแสดงห้องนิทรรศการ ศิลปกรรมเมืองลำพูน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ -๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร และหยุดนักขัตฤกษ์ อ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘. พิเชษฐ ตันตินามชัย,ภูเดช แสนสา. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่:วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.


ชื่อเรื่อง                                49ปี แห่งความมุ่งมั่น จารึกใว้ในแผ่นดินครั้งที่                                   -ผู้แต่ง                                  - ประเภทวัสดุ/มีเดีย               หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                          -หมวดหมู่                             ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                                915.9373สถานที่พิมพ์                        เพชรบุรีสำนักพิมพ์                          -ปีที่พิมพ์                              -ลักษณะวัสดุ                        29 ซม. : 128 หน้าหัวเรื่อง                               -ภาษา                                 ไทย





ชื่อผู้แต่ง        คณะศิษยานุศิษย์ ชื่อเรื่อง         อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺทสิริเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนรัก และเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่ - สะเดา - รัตภูมิ - สตูล ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     กรุงธน ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๙ จำนวนหน้า    ๑๑๗ หน้า รายละเอียด                   หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลพุทธิญาณ (ภักดิ์ จนฺทสิริเถร)อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนรัก และเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่ - สะเดา - รัตภูมิ – สตูล ผู้ที่อนุญาตให้ใช้ที่ดินของ วัดดอนรักที่ว่างอยู่สร้างหอสมุดแห่งชาติสาขาวัดดอนรัก สงขลา เนื้อหาด้านในประกอบด้วย ธรรมจริยา เล่ม ๔ภาคต้นและภาคสอง รวมทั้งสิ้น ๑๔ บท เช่น คนเราจะอยู่ในโลกแต่ลำพังไม่ได้, สัมพันธวงศ์แห่งมนุษย์, ความรู้จักผิดชอบสอนให้รู้จักรักความจริง ฯลฯ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 148/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           บรรณานุกรมของศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เล่ม ๑ พร้อมด้วยพระประวัติและผลงานของศาตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๒ จำนวนหน้า     ๔๓๘  หน้า รายละเอียด                     เป็นหนังสือที่รวบรวมพระประวัติ รายชื่อหนังสือภาษาไทยที่ได้รับจากห้องสมุดส่วนพระองค์ของศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ   กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และผู้บริจาครายย่อย   ประกอบด้วย คำนำ คำอนุโมทนา พระประวัติของศาตราจารย์ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ รายละเอียดการจัดหมวดหมู่บรรณานุกรม นอกจากนี้ยังมีดรรชนีผู้แต่งและดรรชนีชื่อเรื่องประกอบไว้ท้ายเล่มอีกด้วย


ชื่อเรื่อง : สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร, กรม ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 224 หน้า สาระสังเขป : นำเสนอรายละเอียดการขุดค้นโบราณวัตถุสถานในบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล โดยเริ่มสำรวจและขุดค้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และได้ไปสำรวจและขุดค้นตั้งแต่อำเภอฮอด ในจังหวัดเชียงใหม่เรื่อยลงมาตามลำน้ำแม่ปิง จนถึงบริเวณที่สร้างเขื่อนในอำเภอสามเงา มีการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุได้กว่า 500 ชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่ขุดได้จากบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล พระแก้วกรุเจดีย์ศรีโขง พระบฏในกรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน ตุง กลองสะบัดชัย ของเบ็ดเตล็ดจากกรุฮอด และเครื่องถ้วยจีน


ผู้แต่ง             ปวงคำ  ตุ้ยเขียว. ชื่อเรื่อง           ประวัติวัดป่าแดงมหาวิหารครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๐สถานที่พิมพ์     เชียงใหม่สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์พระสิงห์การพิมพ์จำนวนหน้า      ๗๓ หน้ารายละเอียด หนังสือ ประวัติวัดป่าแดงมหาวิหาร นี้ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นหนังสือแจก แก่ผู้มาร่วมงาน ทอดกฐิน ที่วัดป่าแดงในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้เขียนได้รวบรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับประวัดิวัดป่าแดงมหาวิหาร ตำนานเมืองเหนือ เรื่องพระพุทธรูปแก่นจันทร์ รวมทั้งรายนามเจ้าอาวาส ในอดีต ถึงปัจจุบัน