ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 29,920 รายการ

ใครเป็นใครในภาพนี้ ? หลายท่านมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน แล้วพบกับภาพถ่ายเก่านี้ก็มักสงสัยว่าบุคคลในภาพเป็นใครกันบ้าง ดังนั้นเราจะขอไล่เรียงกันไปดังนี้ครับ แถวนั่ง ไล่เรียงจากทางด้านซ้ายมือ ๑. เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน เป็นราชโอรสองค์ที่ ๒ ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชกับแม่เจ้าจันทา เป็นพระอนุชาร่วมเจ้ามารดาของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช) ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๓. หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล (เป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา) ๔. เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครน่าน ๕. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแช่ม ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ ขณะนั้น ภายหลังเป็นมหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี) ๖. พระยาสุนทรนุรักษ์ (ข้าหลวงรักษาราชการนครเมืองน่าน) แถวยืน ไล่เรียงจากทางด้านซ้ายมือ ๗. เจ้าราชบุตร (น้อยรัตนรังสี ภายหลังเป็นเจ้าราชวงศ์) เสนาตำแหน่งทหาร ๘. เจ้าราชวงศ์ (มหาพรหม ณ น่าน ภายหลังเป็นเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย) เสนาตำแหน่งมหาดไทย อย่างไรก็ตาม ที่แอดมินได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเนื่องจากว่าวันนี้ (๑ ธันวาคม) นอกจากจะเป็นวันแห่งความหวังว่าจะเป็นเศรษฐีของใครหลายคนแล้ว ยังเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ (๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ สิริพระชันษา ๘๑ ปี) *สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงฉายเมื่อคราวเสด็จตรวจราชการเมืองน่าน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑)



พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ ๖ โปรดพิมพ์ประทานเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอบเชย พิพิธสมบัติ ณ ฌาปนสถาน วัดธาตุทอง วันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ 



องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เรื่อง เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม สถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ในสมัยสุพรรณภูมิ


          ศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี หรือ ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี หลังเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี กรมศิลปากร ในอดีตเป็นที่ทำการบริหารราชการของมณฑลจันทบุรี ตามหลักฐานในเอกสารจดหมายเหตุมีดำริห์สร้างอาคารหลังนี้ตั้งแต่ พุทธศักราช 2454 และได้ก่อสร้างมาตามลำดับ จนถึงปลาย พุทธศักราช 2459 จึงเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2460 หม่อมเจ้าสฤษดิเดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้ทูลเชิญมหาอำมาตย์เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสด็จมาทำพิธีเปิดศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี โดยเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2460 ตามเอกสารคำกล่าวรายงานในพิธีเปิดของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช เอกสารจดหมายเหตุชุดนี้มีเอกสารประกอบในชุดมีเรื่องราวสำคัญในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการรับเสด็จในครั้งนี้ในหลายส่วนอาทิ เช่น          เอกสารคำกล่าวรายงานในพิธีเปิดของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ที่กล่าวถึงเหตุของการสร้างศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรีหลังนี้          หัตเลขาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ที่เขียนถึงหม่อมเจ้าสฤษดิเดช และข้าราชการในมณฑลจันทบุรีเพื่อแสดงความยินดีและขอบคุณ ทั้งให้โอวาทในความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวพิธีเปิดศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี          เอกสารประกอบรายงานของ พระสำเริงนฤปการ ปลัดมณฑลจันทบุรี ที่ได้ส่งทูลเอกสารรายงานเกี่ยวกับทำเนียบท้องที่ ทำเนียบข้าราชการแผนกมหาดไทย ยอดสำมโนครัว ยอดการเลี้ยงชีพพลเมือง เพื่อทูลรายงานให้ทรงทราบเกี่ยวกับสภาพโดยทั่วไปของมณฑลจันทบุรีในช่วงเวลานั้น          เอกสารการแบ่งหน้าที่จัดการรับเสด็จ การเตรียมการของส่วนต่างๆ เช่น การจัดพาหนะรับจากเรือที่นั่งที่ปากน้ำที่ท่าหลวง การจัดยานพาหนะจากท่าหลวงไปที่ประทับ การจัดการน้ำ โคมไฟ ความสะอาด การจัดการอาหารเครื่องดื่ม เป็นต้น          เอกสารรายการเสด็จประพาส ซึ่งป็นกำหนดการเสด็จพระพาสยังที่ต่างๆ ในช่วงวันที่ 11-17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2460 หลังเสร็จพิธีเปิดศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี โดยเสด็จไปยังที่ต่างๆ เช่น อำเภอพลอยแหวน น้ำตกพลิ้ว เสด็จศาล ทหาร ตำรวจภูธร เรือนจำ เสด็จจังหวัดตราด และเสด็จจังหวัดระยอง           เอกสารเตรียมการในการร่วมโต๊ะรับประทานอาหาร เนื่องด้วยพิธีเปิดศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี อาทิรายนามผู้ที่รับเชิญร่วมรับประทานอาหาร การเตรียมการ แผงผังการนั่งของบุคคลต่างๆ แผนผังการจัดสถานที่การเตรียมการในการเดินโต๊ะ เอกสารการจัดเวรเฝ้ายามประจำที่ประทับ          เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารชั้นต้นที่เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ในอดีตที่สำคัญต่อจังหวัดจันทบุรี นับว่าโชคดีที่ยังไม่สูญหายไปตามกาลเวลา ซึ่งเอกสารชุดนี้สะท้อนเรื่องราวในอดีตในหลายมิติ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าใช้บริการเอกสารชุดนี้ได้ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ในวันและเวลาราชการ------------------------------------------------------------ผู้เขียน นายอดิศร สุพรธรรม นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 2.1/240 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่อง กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสด็จเปิดศาลาที่ว่าการมณฑลจันทบุรี (มีนาคม 2459 – 13 พฤษภาคม 2460)


สตฺตาริยธนสุตฺต (สตฺตาริยธนสูตร) ชบ.บ.51/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                คารวะธรรมพระเจ้า  (คารวะธรรมพระเจ้า) สพ.บ.                                  314/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 39 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.264/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 ลาน2  (226-231) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปฐมปาราชิก(ปฐมปาราชิก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง                  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง                     กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย     ท้องถิ่นISBN/ISSN             -หมวดหมู่                 จดหมายเหตุเลขหมู่                    027สถานที่พิมพ์             กรุงเทพสำนักพิมพ์               บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัดปีที่พิมพ์                  2546ลักษณะวัสดุ             64 หน้า.ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก


          ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนของผู้ชาย นับเป็นการรำอาวุธชนิดหนึ่ง คือการร่ายรำด้วยเชิงดาบและมือเปล่าในท่าทางต่างๆ ซึ่งมักจะแสดงออกในลีลาของนักรบ ซึ่งท่าในการฟ้อนเจิงนี้มีหลายสิบท่า รวมทั้งใช้ดาบและมือเปล่า สำหรับการใช้ดาบนั้นก็ใช้ตั้งแต่ดาบเดี่ยว ดาบคู่ และใช้ดาบ ๔ เล่ม ๘ เล่ม ๑๒ เล่ม ซึ่งผู้ฟ้อนจะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ และก่อนที่จะมีการฟ้อนเจิง ก็ต้องมีการฟ้อนตบมะผาบเสียก่อน การฟ้อนตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่าที่ใช้ลีลาท่าทางยั่วเย้าให้คู่ปรปักษ์บันดาลโทสะ ในสมัยก่อนการรบกันใช้อาวุธสั้น เช่น ดาบ หอก แหลน เข้าโหมรันกัน โดยเหล่าทหารหาญจะรำดาบเข้าประชันกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นพวกๆ ใครมีชั้นเชิงดีก็ชนะ ด้วยการรำตบมะผาบในท่าทางต่างๆ โดยถือหลักว่าคนที่มีโทสะจะขาดความยั้งคิด และเมื่อนั้นย่อมจะเสียเปรียบคนที่ใจเย็นว่า เมื่อมีการรำตบมะผาบแล้ว ก็จะมีการฟ้อนเจิงประกอบอีกด้วย เมื่อเห็นว่ามีความกล้าหาญพอแล้วก็เข้าปะทะกันได้ และการฟ้อนเจิงนั้น อาจจะใช้มือเปล่าได้ในท่าทางต่างๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็วว่องไว การเกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นการปลุกตัวเองไปก่อนที่จะเริ่มต่อสู้จริงๆ (หอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๓๒ : ๒๒)          ฟ้อนเจิง เป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทยทางภาคเหนือที่นำเอาเรื่องราวของศิลปะป้องกันตัว ซึ่งเมื่อครั้งอดีตผู้ชายชาวล้านนามักจะมีการแสวงหาเรียนรู้ “เจิง” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยให้กับตัวเอง ด้วยรูปแบบและลีลาท่าทางในการแสดงออกที่มีทั้งความเข้มแข็ง สง่างาม ที่ซ่อนเร้นชั้นเชิงอันเป็นแม่ไม้เฉพาะตน ซึ่งสลับท่าทาง ไปมา ยากในการที่จะทำความเข้าใจ ฟ้อนเจิงเป็นศิลปะการฟ้อนที่แสดงให้เห็นถึงชั้นเชิง ลีลาการต่อสู้ อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทย มีการต่อสู้ทั้งรุกและรับ หลอกล้อกันอย่างสนุกสนาน ประลองไหวพริบปฏิภาณกัน เอาชนะกันอย่างมีชั้นเชิงให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ข่มเหงเอาเปรียบกัน ฟ้อนเจิง แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑. ฟ้อนเจิงมือเปล่า ๒. ฟ้อนเจิงที่ใช้อาวุธ เช่น เจิงหอก เจิงดาบ เจิงไม้ค้อน เป็นต้น (สนั่น ธรรมธิ, ๒๕๓๗)          สำหรับการเรียนฟ้อนเจิงนั้น ผู้เรียนต้องหามื้อจั๋นวันดี เป็นวันอุดมฤกษ์ ไปขอเรียนกับครูที่มีความสามารถ โดยต้องมีการขึ้นขันหรือ การจัดเครื่องคารวะ คือกรวยดอกไม้ธูปเทียน พลู หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุรา ผ้าขาว ผ้าแดง กล้วย อ้อย มะพร้าว และค่าครูตามกำหนด ครูบางท่านอาจเสี่ยงทายโดยให้ผู้จะสมัครเป็นศิษย์นำไก่ไปคนละตัว ครูเจิงคือผู้สอนฟ้อนเจิงจะขีดวงกลมที่ลานบ้านแล้วเชือดคอไก่ และโยนลงในวงนั้น หากไก่ของผู้ใดดิ้นออกไปตายนอกเขตวงกลม ก็คือว่าผีครูไม่อนุญาตให้เรียน และหากเรียนจนสำเร็จแล้ว ครูเจิง อนุญาตให้นำวิชาไปใช้ได้เรียกว่าปลดขันตั้ง โดยทำพิธียกขันตั้งคือพานเครื่องสักการะจากหิ้งผีครู แจกธูปเทียนดอกไม้จากในพานให้แก่ศิษย์ เป็นเสร็จพิธี (สนั่น ธรรมธิ, ๒๕๕๐)          กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมการฟ้อนเจิง คือ ท่าทางที่ใช้ในการแสดงอย่างมีชั้นเชิง มีทั้งท่าทางที่เป็นการร่ายรําตามกระบวนท่าต่าง ๆ ตามแบบแผนที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ หรือเพื่อใช้ในการแสดง โดยท่ารํามีทั้งที่เป็นหลักสากล หรือท่ารําของแต่ละคนใช้ความสามารถในการแสดงเฉพาะตัว พลิกแพลง ดัดแปลง ประยุกต์ให้ดูสวยงาม ทั้งนี้สามารถฟ้อนโดยปราศจากอาวุธ หรือประกอบอาวุธ เช่น หอก ดาบ และไม้ค้อน เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะของชาวล้านนาไม่ว่าจะใช้แสดงในงานบวช หรือประเพณีสำคัญต่าง ๆ จึงควรคู่แก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับลูกหลานได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไปอย่างยั่งยืน--------------------------------------------------ผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่--------------------------------------------------แหล่งอ้างอิง : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๑). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=3mL29vzCxlY. ๒๕๖๐. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๒). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=zGmd19oUvmQ . ๒๕๖๐. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๓). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=S-LpC0M9C6I. ๒๕๖๐. สนั่น ธรรมธิ. นาฏดุริยการล้านนา. เชียงใหม่ : สุเทพการพิมพ์, ๒๕๕๐. สนั่น ธรรมธิ (บรรณาธิการ). ฟ้อนเชิง : อิทธิพล ที่มีต่อฟ้อนล้านนา. เชียงใหม่ : โครงการศูนย์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๗. สนั่น ธรรมธิ และธนชัย มณีวรรณ์. สื่อเพื่อการ เรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนา ตอน ฟ้อนเชิง. [ซีดี - รอม]. เชียงใหม่ : โฮงเฮียนสืบสาน ภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๔๕. หอสมุดแห่งชาติ. ระบำ รำ ฟ้อน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๒. หอสมุดแห่งชาติ. ระบำ รำ ฟ้อน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https: //www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/ 7209-ระบำ-รำ-ฟ้อน, ๒๕๖๐.


          วันอังคารที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นางสาวพยุง วงษ์น้อย นักโบราณคดีเชี่ยวชาญ ร่วมประชุมกับนายฟาคริติน ซุลตานอฟ กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย นายนูริดดิน มามัตคูลอฟ กงสุลสาธารณรัฐอุซเบกิสถานประจำประเทศไทย ดร.พันธ์ศักดิ์ บุญโศภณพงศ์ ที่ปรึกษาด้านพระพุทธศาสนาในเชียกลางและคณะ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุทางพระพุทธ ศาสนาในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิคูชาน กุษาณะของสาธารณรัฐอุซเบกิสถานและความร่วมมือด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์