ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 31,809 รายการ

ชื่อผู้แต่ง          : ธนาคารแห่งประเทศไทย ชื่อเรื่อง           : ธนาคารแห่งประเทศไทย ครั้งที่พิมพ์        : พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      : กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        : หจก.ศิวพร ปีที่พิมพ์          : พ.ศ. ๒๕๑๗              จำนวนหน้า       : ๑๘๐ หน้า หมายเหตุ         : พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิวศพคุณหญิง สุภาพ ยศสุนทร ท.ช.,ท.ม., ต.จ.                       คุณหญิงสุภาพ ยศสุนทร เป็นพนักงานอาวุโสของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ควบคุมงานวิชาการของธนาคาร คุณหญิง เป็นกำลังสำคัญในการพิจารณาปัญหาเศราฐกิจต่าง ๆ มีงานด้านอัตตราแลกเปลี่ยน นโยบายการค้า การบริหารธนาคารโลก  เศรษฐกิจของประเทศไทย สุนทรพจน์ บทคยวามและคำบรรยาย ของคุณหญิงสุภาพ  ยศสุนทร มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 





ชื่อเรื่อง : หนังสือ อนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชื่อผู้แต่ง : สาย และสมศรี หินซุยปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : สุโขทัยสำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. จำนวนหน้า : 538 หน้า สาระสังเขป : หนังสือ อนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เล่มนี้ประมวนเรื่องราวทางโบราณคดียุคสุโขทัยโดยเฉพาะ เนื้อจะเกี่ยวกับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง, ดนตรีสมัยสุโขทัย, พระพุทธรูปสุโขทัย การปกครองสมัยสุโขทัย เป็นต้น



ชื่อผู้แต่ง          หลวงจักรปาณี (ฤกษา) ชื่อเรื่อง            นิราศทวารวดี ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์   พระนคร กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์โสภณพิพรรณธนากร ปีที่พิมพ์          2469 จำนวนหน้า     50 หน้า รายละเอียด                  เป็นหนังสือที่ระลึกในการพระกฐินพระราชทานโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ณ วัดมหาธาตุวัดปรินายกและวัดสระเกษ นิราศทวารดีที่เป็นผลงานการแต่งนิราศ เรื่องที่ ๒ ส่วนเรื่องแรกเป็นนิราศพระปฐมและนิราศพระปถวีเรื่องที่ ๓


๑๙ พฤษภาคม วันอาภากร น้อมรำลึก "เสด็จเตี่ย" พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด พระนามเดิม คือ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ ทรงรับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง และทรงศึกษาต่อในวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา จึงเสด็จกลับประเทศไทยและทรงเข้ารับราชการในกรมทหารเรือ โดยทรงดำรงตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกองทัพเรือจนอยู่ในชั้นมาตรฐานสากล อันเป็นรากฐานแก่กองทัพเรือในสมัยต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๓ ทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์สิงหนาม และทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ต่อมาทรงประชวรพระโรคภายใน จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ และเสด็จไปประทับที่ชายทะเลหาดทรายรี ทางใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ในระหว่างที่ทรงพำนักอยู่ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทรงรักษาประชาชนทั่วไปที่ป่วยไข้ อันเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อชาวชุมพร จวบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖


ชื่อเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ (สพ.ส.62)ประเภทวัสดุ/มีเดีย        สมุดไทยISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ               กว้าง 12 ซม. ยาว 37 ซม. : 30; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                          ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 




#พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ ตอน #เครื่องประดับที่โคกพลับเครื่องประดับ คือ วัตถุที่ใช้ตกแต่งร่างกายมนุษย์ เพื่อความสวยงาม เพื่อแสดงรสนิยม และเพื่อแสดงสถานะทางสังคมนอกจากนี้เครื่องประดับยังบ่งบอกถึงความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม โดยแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทแหล่งฝังศพ ในหลาย ๆ แห่งพบหลักฐานประเภทเครื่องประดับ ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเครื่องประดับเหล่านั้น นอกจากเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังเป็นเครื่องอุทิศให้กับผู้ตาย เป็นการแสดงออกถึงความผูกพัน และการแสดงฐานะทางสังคมอีกด้วยแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี จากการสำรวจและขุดค้นของนักโบราณคดีพบหลักฐาน ได้แก่ ภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับเครื่องประดับที่พบมีลักษณะพิเศษต่างจากที่อื่น อาทิ กำไลหิน กำไลเปลือกหอย กำไลกระดองเต่าทะเล และต่างหูหิน โดยเครื่องประดับต่าง ๆ มีรูปแบบดังนี้1) กำไลหิน มีลักษณะคล้ายจักร ตรงกลางยกขอบสูงเป็นสัน ทุกวงจะทำขึ้นอย่างประณีต มีทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร มีทั้งที่สวมอยู่ในข้อมือของโครงกระดูกและวางรวมไว้ในหลุม2) กำไลเปลือกหอย ทำจากเปลือกหอยมือเสือ ลักษณะเป็นรูป 6 แฉก มีมุมมน มีมุมหนึ่งหักหายไป เป็นกำไลที่มีน้ำหนักมาก พบสวมใส่ที่ข้อมือของโครงกระดูก3) กำไลกระดองเต่าทะเล ทำจากส่วนท้องของกระดองเต่าทะเล ฝนขัดเป็นรูปแฉกคล้ายดาวมีลักษณะรูปทรงที่พิเศษ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบกำไลรูปดาวหกแฉกนี้สวมอยู่ที่ข้อมือของโครงกระดูกมนุษย์เพศชาย ด้วยรูปทรงแล้วไม่เหมาะแก่การสวมใส่ในชีวิตประจำวัน และสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องประดับที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในอุทิศให้แก่ผู้ตาย4) ต่างหูหิน ลักษณะเป็นต่างหูทรงรีและทรงกลมแบน เจาะรูตรงกลาง และมีร่องผ่าไปสู่ขอบนอก พบสวมใส่ที่หูทั้งสองของโครงกระดูก ทำจากหินสองประเภทคือ หินเนฟไฟรต์และหินคาร์เนเลียน หินเนฟไฟรต์มีสีเขียวคล้ายหยก และหินคาร์เนเลี่ยนมีสีส้ม ซึ่งไม่พบแหล่งหินเหล่านี้ที่ราชบุรี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชุมชนบริเวณนี้มีการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับดินแดนอื่น ซึ่งได้แก่จีน และอินเดีย โดยรูปแบบของต่างหูนั้นมีความคล้ายคลึงกับต่างหูที่พบในประเทศจีน สมัยราชวงศ์โจวตะวันออกหลักฐานประเภทเครื่องประดับ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง ความเชื่อเกี่ยวกับโลกหน้า การติดต่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับชุมชนอื่น รูปแบบของศิลปะ เทคโนโลยีการผลิต รวมถึงบ่งบอกสถานะทางสังคมของโครงกระดูกหรือผู้สวมใส่เรียบเรียงและศิลปกรรม : นางสาวกศิภา สุรินทราบูรณ์ นิสิตฝึกงานจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


       เนื่องด้วยการจัดทำพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป ภายใต้โครงการวิจัยของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เป็นที่สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ทางชมรมฯ ในฐานะที่มีส่วนร่วมผลักดันโครงการมาตั้งแต่แรก จึงใคร่ขอเรียนเชิญสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “เผยแพร่องค์ความรู้จากการจัดทำพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป”  วันพฤหัสบดี ที่ 20 ตุลาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี โดยมีกำหนดการ ดังนี้


  โบราณสถานวัดแก้ว (วัดรัตนาราม) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านวัดแก้ว ถนนสันตินิมิต ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดโบราณคู่กับวัดหลง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ทรงปราสาทโครงสร้างก่ออิฐไม่สอปูน อยู่ในผังรูปกากบาทประกอบด้วย เรือนธาตุ และมุขทั้งสี่ด้าน ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปกากบาท ลักษณะเป็นฐานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้นด้านตะวันออก และตะวันตก ผนังด้านนอกอาคารมีการตกแต่งด้วยเสาติดผนัง และเซาะร่องผ่ากลางเสาจากโคนไปถึงยอดเสา            ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับจันทิกะลาสันในศิลปะชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย และปราสาทมิเซน และปราสาทดงเดือง ในศิลปะจาม ประเทศเวียดนาม จึงกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15           ปัจจุบันอาคารโบราณสถานพังทลายเหลือเพียงส่วนฐานถึงเรือนธาตุ ส่วนเครื่องยอด หรือหลังคาหักพังลงมาหมดแล้ว กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 1532 วันที่ 27 กันยายน 2497            ใน พ.ศ. 2564 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ดำเนินการขุดค้นเจดีย์วัดแก้วบริเวณทิศใต้ติดกับส่วนฐานเจดีย์ ขนาดหลุมกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ความลึก 1.20 เมตรจากระดับผิวดิน เพื่อตรวจสอบฐานอาคารโบราณสถานเจดีย์วัดแก้ว ผลจากการขุดค้นพบสิ่งสำคัญ ได้แก่           1. เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน พบในระดับผิวดิน โดยจะพบเป็นเศษภาชนะดินเผาผิวเรียบมี 2 สี ได้แก่ สีเทา และสีส้ม สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาพื้นเมือง           2. เศษแก้ว และลูกปัดแก้ว พบในระดับผิวดิน เป็นเศษแก้วใสสีฟ้า และลูกปัดแก้วสีเหลือง           3. เศษเครื่องถ้วยจีน พบในระดับลึกลงไปจากระดับผิวดิน พบเครื่องถ้วยจีนเคลือบเขียว เคลือบน้ำตาล และลายคราม บางชิ้นสามารถกำหนดอายุสมัยราชวงศ์หมิง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22) ลักษณะเป็นเครื่องถ้วยจีนลายคราม เขียนลายดอกไม้ และเส้นรอบก้นถ้วย 2 เส้น           4. แนวฐานเจดีย์โบราณสถานวัดแก้ว พบแนวอิฐเรียงตัวในแนวเดียวกัน นับจากระดับผิวดินลงไปได้ 7 ชั้น ซึ่งชั้นล่างสุดของอาคารโบราณสถานมีการนำเศษอิฐมาปรับพื้นที่ให้ได้ระนาบ หรือบดอัดเป็นส่วนฐานรากก่อนการก่อสร้างอาคาร จากการขุดค้นโบราณสถานวัดแก้ว พบโบราณวัตถุประเภทเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน สันนิษฐานว่าเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้ผลิตขึ้นจากแหล่งเตาพื้นเมือง และพบเศษเครื่องถ้วยจีน ซึ่งบางชิ้นสามารถบอกอายุสมัยได้ว่าอยู่ช่วงราชวงศ์หมิง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22) แสดงให้เห็นการใช้งานพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ในสมัยอยุธยา           นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนฐานอาคาร มีการนำเศษอิฐมาปรับพื้นที่ให้ได้ระนาบหรือบดอัดเป็นส่วนฐานรากก่อนการก่อสร้างอาคาร และพบร่องรอยการปรับพื้นที่ก่อนการบูรณะอาคารโบราณสถานอีกด้วย ------------------------------------------------------------- เรียบเรียง/กราฟิก : นายณัฐพล พิทักษ์รัตน์ นักวิชาการวัฒนธรรม ตรวจทาน : นายจักรพันธ์ เพ็งประไพ นักโบราณคดีชำนาญการ -------------------------------------------------------------   อ้างอิง 1. กรมศิลปากร. โบราณสถานแหล่งโบราณคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2553. (อัดสำเนา) 2. กรมศิลปากร. รายงานการบรรยาย และเสวนา คาบสมุทรภาคใต้ตอนบนของไทย ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. 2564. 3. เขมชาติ เทพไชย. การสำรวจขุดค้นวัดแก้ว อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นิตยสารศิลปากร. 24, 2523. หน้า 13-23. 4. นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2563.   -------------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช https://www.facebook.com/100055227468299/posts/pfbid025navCF8gEisfk6FtAk6nxJp8B3aD98pQX4ppaMbai41BhGatDoToVfaF67btkPK4l/?d=n --------------------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  



ชื่อผู้แต่ง           หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           หลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๒ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์การศาสนา ปีที่พิมพ์          ๒๕๓๓ จำนวนหน้า      ๘๒ หน้า รายละเอียด      กรมศิลปากรเห็นว่า การศึกษาประวัติศาสตร์จากข้อมูลจารึก เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการยังให้ความสำคัญ โดยเฉพาะจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นจารึกสำคัญของชาติชิ้นหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ อารยาธรรมของคนไทยสมัยสุโขทัย กรมศิลปากร จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่แก้ไขปรับปรุงจากการพิมพ์ครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ โดยนำมาจัดพิมพ์ใหม่ในชื่อเดิม