ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
ชื่อเรื่อง : ความเมืองเรื่องเขาพระวิหารชื่อผู้แต่ง : ประหยัด ศ. นาคะนาท ปีที่พิมพ์ : 2505สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สาส์นสวรรค์ จำนวนหน้า : 1,134 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องเขาพระวิหารเป็นที่สนใจของคนไทยแทบทุกคน ผู้ประมวลจึงใคร่จะเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมด หรือส่วนมากเท่าที่จะหาได้ มีทั้งหมดสิบบท ทั้งประวัติความเป็นมา สถานที่ตั้งเขาพระวิหาร รวมถึงคำพิพากษาของศาลโลก โดยจะประมวลเอาแต่ข้อเท็จจริงล้วนๆ และหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ประมวล
องค์ความรู้ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
เรื่อง หงส์ประดับบนยอดเสา
นอกจากประติมากรรมรูปหงส์ดินเผาแล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปหงส์จากโบราณสถานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร) เมืองกำแพงเพชรยังพบประติมากรรมรูปหงส์สำริดลงรักปิดทองที่ใช้ประดับบนยอดเสา โดยมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนหัวมีหงอนสลักลายไทยพลิ้วลู่ลม ลำคอยาวระหง ลำตัวสลักลวดลายเลียนแบบลายของลำแพนหางนกยูง ปีกแผ่กว้าง หางสลักลายกระหนกเปลวอย่างอ่อนช้อย สง่า งดงามทั้งลำตัว ยืนบนฐานบัวหงายซ้อนกลีบอย่างประณีต
หงส์เป็นสัตว์ในจินตนาการและสัตว์ชั้นสูงที่มักปรากฏในวรรณคดี ตำนาน รวมทั้งคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู สมัยโบราณอาจใช้ห้อยโคมไฟตามทางด้านหน้าอุโบสถของวัดสำคัญและในวัง หรืออาจใช้แขวนตุง (ธง) ซึ่งมักพบอยู่ตามวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้คงมีคติในการสร้างเพื่อถวายวัดเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดอานิสงส์ผลบุญแก่ผู้สร้างถวายเอง และยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ประติมากรรมรูปหงส์ประดับบนยอดเสาที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ วัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และวัดอัมพาพนาราม (วัดวังไทร) ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง ซึ่งหงส์ประดับยอดเสาของวัดอัมพาพนารามได้จัดแสดง ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร โดยพระครูบาน บุญญโชโต เจ้าอาวาสวัดอัมพาพนารามขณะนั้น มอบให้เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๕ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ ศิลปะรัตนโกสินทร์
บรรณานุกรม
- กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. การศึกษาเรื่องหงส์จากศิลปกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๕๐.
- ศิลปากร, กรม. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
อ่านองค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปหงส์จากโบราณสถานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร ได้ที่ https://www.facebook.com/pg/prfinearts/photos/?tab=album&album_id=3198198046914284
องค์ความรู้ สรรพสาระ อยุธยา... เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔ เรื่อง “แนวทางการรักษาโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” เรียบเรียงโดย นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
สำนักการสังคีต ขอเชิญชมละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ วันเสาร์ที่ ๒๗ และวันอาทิตย์ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และวันเสาร์ที่ ๑๑ และวันอาทิตย์ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตร วันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ชื่อเรื่อง ธาตุชะกุ้ง (ธาตุชะกุ้ง)
สพ.บ. 210/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต)
สพ.บ. 270/ข/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55.9 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานาคเสน (มหานาคเสน)
สพ.บ. 328/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ลูกปัดหินสีฟ้าและสีน้ำเงินแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน พบจากการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐_____________________________________________________++ลูกปัด วัตถุที่มีการเจารูไว้สำหรับร้อยด้ายหรือเชือก ส่วนใหญ่ ใช้เป็นเครื่องประดับ มีทั้งที่เป็นรูปทรงกลม เหลี่ยม และทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น หิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย โลหะ พบควบคู่กับหลักฐานทางโบราณคดีชนิดอื่นๆ ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ++แก้วคือผลิตภัณฑ์จากอนินทรีวัตถุที่ได้มาจากการหลอม ซึ่งเมื่อเย็นจะอยู่ในสภาพแข็ง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน หินฟันม้า และเติมออกไซด์ของโลหะต่างๆ เพื่อให้เกิดสี โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันเพื่อให้ได้นำแก้วที่เป็นของเหลว และปรับอุณหภูมิลดลงจนมีความหนืดและสามารถขึ้นรูปได้ ++ลูกปัดแก้วส่วนใหญ่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคกลาง ราว ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล หรือเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มีหลายสี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีดำ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอินเดีย ศรีลังกา อียิปต์ และจีน ++จากการศึกษาของนักโบราณคดีได้กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือสมัยหริภุญไชย ลูกปัดแก้วกลุ่มสีฟ้า สีน้ำเงิน ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อาจเป็นสิ่งของที่รับมาจากชุมชนภายนอก ผ่านการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าในดินแดนที่ไกลออกไป อย่างเช่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทสไทยที่ตำนาน เอกสารสมัยหลังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรับวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีบริเวณล่มแม่น้ำปิงตอนบน ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง++จากการศึกษาเกี่ยวกับลูกปัดที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลาง ได้พบลูกปัดหลายสี หลายขนาด จัดอยู่ในกลุ่มลูกปัดแบบ Indo -Pacific ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในการแลกเปลี่ยนค้าขายกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การศึกษาจากการทางวิทยาศาสตร์พบว่าลูกปัดแก้วสีฟ้าและสีน้ำเงินนี้ เป็นกลุ่มที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียม ร้อยละ ๑๕ ขึ้นไป พบการผลิตแพร่หลายในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านพรมทินใต้ จ.ลพบุรี แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชบูรณ์ แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด จ.สุโขทัย นอกจากพื้นที่ภาคกลางแล้ว ในภาคเหนือ ที่แหล่งโบราณคดีวัดพระธาตุจอมปิง จ.ลำปาง พบโครงกระดูกมนุษย์และลูกปัดหินสีชนิดต่างๆ รวมถึงสีฟ้า สีน้ำเงิน เป็นจำนวนมาก อาจเป็นชุมชนในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอก จนทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขนาดใหญ่ถึงแม้ว่าจะช้ากว่ากลุ่มเมืองโบราณในสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคกลาง ในขณะที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮยังคงอยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ++ลูกปัดแก้วสีฟ้า สีน้ำเงิน จากแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ที่พบในหลุมฝังศพปะปนร่วมกับลูกปัดและเครื่องประดับชนิดอื่นๆ เช่น กำไล ตุ้มหู ล้วนเป็นสิ่งของที่รับมาจากวัฒนธรรมภายนอก อันเกิดจากการติดต่อค้าขายกันในชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป เมื่อนำมาฝังร่วมกับศพอาจแสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางสังคมของผู้ตายที่เริ่มมีการจัดระเบียบที่ซับซ้อนมากขึ้นก่อนที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ในสมัยหริภุญไชย อ้างอิง ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย ." วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ ๗, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๗: ๕๗๑-๕๘๑.บัญชา พงษ์พานิช, “ไขความจากรอยลูกปัดในพื้นที่ภาคเหนือ.” เมืองโบราณ ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓: 140-150.วิชัย ตันกิตติกร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.44/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ก/1-8
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)