ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,768 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.146/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 89 (373-376) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ก สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.15/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง พระไตรปิฎก เล่ม ๒ ฉบับสำหรับประชาชน
ผู้แต่ง สุชีพ ปุญญานุภาพ.
ครั้งที่พิมพ์ -ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๒สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ บรรณาคารจำนวนหน้า ๕๓๐ หน้า
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เล่มนี้ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาค ๑ ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก และ ภาค ๒ เป็นความย่อแห่งพระไตรปิฎก เหมาะแก่ผู้สนใจหลักธรรมโดยย่อในพระไตรปิฎก ความรู้เรื่องพระไตรปิฎกและข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
ลำจวน มงคลรัตน์. ชาวเขา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : บันดาลสาส์น, ๒๕๑๒. ๒๗๑ หน้า.
ภาคเหนือของไทยมีชาวเขามากมายหลายแสนคนและมีหลายเผ่าพันธุ์ เช่น กระเหรี่ยง แมว อีก้อ ข่า ลีซอ มูเซอ เย้า ในปัจจุบันชาวเขาได้รับการพัฒนาด้านความเป็นอยู่และการศีกษาด้วยมีการสร้างโรงเรียนในหมู่บ้านสอนเด็ก ๆ ให้อ่านออกเขียนได้ ทำให้มีการกินดีอยู่ดีมากขึ้น เมื่อก่อนนิยมปลูกฝิ่น แต่ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่สร้างรายได้และเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้น เช่น ปลูกชา กาแฟ และเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ม้า วัว ควาย
พระราชลัญจกรเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ไทย ที่ใช้ประทับกำกับบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ พระราชลัญจกรแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในหนังสือสำคัญต่าง ๆ และพระราชลัญจกรในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต้องสร้างใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนรัชกาล พระราชลัญจกรสยามโลกัคราชเป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูปช้างหมอบอยู่หลังบนที่จับประทับ คำว่า สยามโลกัคราชนั้น เป็นชื่อที่นำมาจากตัวอักษรจีนว่า เสียม-โล-ก๊ก-อ๋อง แปลว่า กษัตริย์ประเทศสยาม เลียนเสียงเป็น สฺยาม-โลก+อคฺค-ราช แปลว่า กษัตริย์สยามผู้ยิ่งใหญ่ ตัวอักษรจีนดังกล่าวปรากฏอยู่ในตราพระราชลัญจกรมหาโลโต ซึ่งเป็นตราประทับที่จักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงมอบให้กับพระเจ้าแผ่นดินสยามสมัยอยุธยา ตราประทับเป็นรูปอูฐ ภาษาจีนกลางเรียกว่า ลั่วถัว (駱駝) ส่วนสำเนียงฮกเกี้ยนเรียกว่า โลโท เนื่องจากในราชสำนักสยามสมัยนั้น ขุนนางเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน จึงเป็นเหตุให้ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนเป็นที่นิยมในราชสำนัก แต่อาจจะมีเพี้ยนเล็กน้อยเป็น “ตราโลโต” หรือ “ตราพระราชลัญจกรมหาโลโต” พระราชลัญจกรองค์นี้ใช้สำหรับประทับบนพระราชสาสน์อักษรจีน เพื่อแสดงฐานะว่า เจ้าแผ่นดินสยามเป็น "อ๋อง" (หวาง) ภายใต้อารักขาของ "ฮ่องเต้" (หวางตี้หรือจักรพรรดิ) ภายในดวงตราพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชทำรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และแกะสลักอักษรขอม ๔ บรรทัด เป็นตราที่ทำเลียนแบบตราพระราชลัญกรมหาโลโต เดิมพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับประทับตราสัญญาบัตร (ใบตั้งยศหรือบรรดาศักดิ์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง) คู่ด้วยพระบรมราชโองการ และใช้ในการพระราชทานวิสุงคามสีมา ภายหลังพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเท่านั้น ดังปรากฏในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ระบุว่า “พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมาในหว่างกลางองค์เดียว” เปรียบเทียบพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชและพระราชลัญจกรมหาโลโต ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_6938----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ----------------------------------------------------------ที่มา https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22895-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A?fbclid=IwAR2RLJ2U_CvGTmUSMpx4li0LHBgCtLwtFRdnYZa5cAeXb6XWzbQTVpqFCBI
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๙ มิถุนายน ๒๔๒๕ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๒๕ ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"
พระองค์มีพระเชษฐา พระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระราชชนนี คือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๔ พระราชบิดาพระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณ์นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์" และได้ทรงกำกับกรมมหาดเล็ก
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๒ สิริพระชันษา ๑๘ ปี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากทั้งพระบรมชนกนาถและพระราชชนนี
ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ครั้งพระราชพิธีโสกันต์
ปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในวัดตำหนักไทร อยู่ห่างจากลำห้วยทา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของตำบลบักดอง มาทางด้านทิศตะวันออก เพียง 300 เมตร โดยปรากฏร่องรอยการก่อสร้างและใช้ประโยชน์โบราณสถานในฐานะศาสนสถานต่อเนื่อง ถึง 3 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้ ระยะที่1 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พบร่องรอยของส่วนฐานของปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ 13.70 เมตร ขนาดกว้างตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก 11.70 เมตร พบร่องรอยการก่ออิฐเป็นช่องบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ด้านทิศตะวันออก เเละพบหลักฐานแผ่นหินทรายเป็นอัฒจันทร์วางอยู่ที่ด้านล่าง หลักฐานสำคัญของระยะที่ 1 คือ ฐานทางขึ้นก่อด้วยอิฐ, ฐานรูปเคารพในปราสาทประธาน, บัดยอดปราสาท, และอัฒจันทร์ ระยะที่2 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 15 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีการสร้างฐานของปราสาทขึ้นใหม่ โดยใช้ศิลาแลงก่อวางเรียงปิดทับ ล้อมรอบฐานอิฐของปราสาทในระยะที่ 1 ฐานเขียงมีรูปแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 10 เมตร ก่อศิลาแลงสูง 3 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานอีกชั้นหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย 3 ชั้น แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดด้านละ 10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน และก่อวางเรียงหินทรายเป็นช่องบันได ตัวเรือนธาตุก่ออิฐ อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม เช่นเดียวกับส่วนฐาน มีขนาดด้านละ 4.2 เมตร มีประตูทางเข้าหลักเฉพาะด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นเป็นปนะตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นเรือนชั้นซ้อน ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชั้น จากการขุดศึกษาโบราณสถานปราสาทตำหนักไทร ในปี 2554 เราพบบัวยอดปราสาทด้วย หลักฐานสำคัญของระยะที่ 2 คือ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และบัวยอดปราสาท ระยะที่3 พบหลักฐานการใช้ประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของปราสาท โดยมีการนำหินทรายและหินธรรมชาติมาเวียงเป็นแนวทางเดินบนผิวดิน มีความกว้าง 5 เเมตร ต่อเนื่องจากด้านหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก กำหนดอายุ อยู่ในช่วง พุทธศตรวรรษที่ 23 ไฮไลต์สำคัญ ของงปราสาทตำหนักไทร คือ ภาพสลักคานกรอบประตูเป็นรูปวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์ แวดล้อมด้วยท่อนพวงมาลัยและพรรณพฤกษา กำหนดอายุให้อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับปราสาทประธาน ซึ่งของจริงนำไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ได้มีการจำลองและติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม เพื่อให้ทุกๆคนได้รับชม --------------------------------------------------------เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ --------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. รายงานข้อมูลโบราณสถาน ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. อัดสำเนา. 2561.
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 66. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2503. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 66 นี้ ประกอบด้วยเรื่องราวทั้งสิ้นจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) จดหมายรายวันทัพคราวปราบเมืองพุทไธมาศและเขมรสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2314 2) จุลยุทธการวงศ์ ความเรียง (ตอนต้น) 3) เรื่องพระร่วงสุโขทัย และ 4) เทศนาจุลยุทธการวงศ์
"หงส์หิน" เป็นคร่าวซอที่ประพันธ์ขึ้นในล้านนา เรื่องหงส์หินนี้ไม่ทราบความเป็นมาว่านำเนื้อหามาจากคัมภีร์ทางศาสนาเล่มใด แต่คร่าวซอฉบับที่แพร่หลายแต่งโดยพระยาโลมานิสัย ชาวเชียงรายที่ได้เข้ารับราชการในราชสำนักลำปาง โดยประพันธ์ขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ภายหลังถูกใช้เป็นต้นแบบของคร่าวซอของเจ้าสุริยวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔
เรื่องราวเริ่มจากนางวิมาลา มเหสีเอกของพระเจ้าปุรันตปะ กษัตริย์แห่งกรุงพาราณสีถูกขับออกจากเมือง เนื่องจากถูกเหล่ามเหสีรองทั้ง ๖ นางใส่ร้าย แอบเอาลูกสุนัขมาสับเปลี่ยนกับโอรสของนางวิมาลาตอนคลอด นางวิมาลาจึงมาอาศัยอยู่ในบ้านพ่อเฒ่าแม่เฒ่าหลังหนึ่ง ส่วนโอรสของนางนั้นพระอินทร์นำไปเลี้ยงบนสวรรค์เมื่อเติบใหญ่ขึ้นพระอินทร์ก็เนรมิตหินคำก้อนหนึ่งให้กลายเป็นหงส์พาโอรสมาอยู่กับนางวิมาลาผู้เป็นมารดา นางวิมาลาจึงตั้งชื่อให้บุตรของนางว่าเจ้าทุตคตขัตติวงศ์
วันหนึ่งกุมารทั้งหกของเหล่าชายารองจัดการเล่นสะบ้าทองคำ เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ออกไปเล่นด้วยแล้วชนะได้ลูกสะบ้าทองคำนั้นไป แถมขากลับออกจากเมืองยังสามารถปราบยักษ์ที่มาคอยจับผู้คนในเมืองกินเป็นอาหารได้ด้วย เหล่ากุมารทั้งหกเมื่อรู้ข่าวก็ไปบอกพระเจ้าปุรันตปะว่าพวกตนสังหารยักษ์ได้ พระเจ้าปุรันตปะไม่เชื่อ เนื่องจากผู้ที่จะปราบยักษ์ได้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น พระเจ้าปุรันตปะจึงให้หกกุมารออกไปตามหาพระอัยยิกาของตนที่ถูกเหล่าผีดิบจับไปเมื่อนานมาแล้ว กุมารทั้งหกก็ไปขอให้เจ้าทุตคตขขัตติวงศ์มาช่วยตามหาพระอัยยิกา เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้เหล่ากุมารทั้งหกและกองทัพรออยู่ที่ชายฝั่งน้ำ ส่วนเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็ขี่หงส์ออกไปตามหาพระอัยยิกา
เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เดินทางไปถึงเมืองยักษ์สามเมือง แต่ละเมืองก็ได้ธิดาของเจ้าเมืองนั้นๆเป็นชายา (หนุ่มเนื้อหอมที่พ่อตารักใคร่จริงๆ)
เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้
เมื่อเดินทางมาถึงเมืองผีดิบเจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้
ในขากลีบเมืองเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้ชายาทั้ง ๓ คอยที่ริมฝั่งน้ำ โดยตนจะพาพระอัยยิกาไปส่งก่อน เมื่อโอรสทั้ง ๖ ของมเหสีรองเห็นเจ้าทุตคตขัตติวงศ์พาพระอัยยิกากลับมาได้สำเร็จก็ทำร้ายเจ้าทุตคตขัตติวงศ์จนตาย พวกตนก็พาพระอัยยิกากลับเมืองไปรับความดีความชอบจากพระเจ้าปุรันตปะ หลังจากที่เหล่าโอรสทั้ง ๖ พาพระอัยยิกากลับเมืองแล้ว พระอินทร์ก็ลงมาช่วยชุบชีวิตเจ้าทุตคตขัตติวงศ์
เรื่องราวไม่ได้จบอย่าง happy ending lesiy[Fvilmyh ๖ เมื่อพระเจ้าปุรันตปะทราบจากพระอัยยิกาว่าคนที่ช่วยพระองค์คือเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ เมื่อเจ้าทุตคตขัตติวงศ์มาร่วมงานฉลองในเมือง พระเจ้าปุรันตปะได้ไต่ถามจนทราบความจริง รับสั่งให้นำโอรสและชายารอทั้ง ๖ ไปประหารชีวิต แล้วแต่งขบวนไปรับนางวิมาลา และพ่อเฒ่าแม่เฒ่ากลับวัง
อ้างอิง :
จิราวดี เงินแถบ, “หงส์หิน : การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร. ๒๕๓๗.
ชื่อเรื่อง ปฐมกัปป์ (ปฐมกัปป์)
สพ.บ. 280/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 62 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นิทานพระบาง (พระบางคำสอน)
สพ.บ. 330/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--คำสั่งสอน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี