ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,678 รายการ

-บรรพแถลง บรรพแถลง หรือ บันแถลง เป็นซุ้มขนาดเล็กซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์ของอาคารหรือชั้นวิมานของเทวดา และมีการสลักหรือปั้นรูปเทวดาสถิตอยู่ภายในซุ้มนั้น บรรพแถลงมักพบได้ในสถาปัตยกรรมดังนี้ - ปราสาทขอม - ปรางค์ - มณฑป - บุษบก สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเจดีย์ขนาดเล็ก และมีเรือนยอดด้านบน ในปราสาทวัฒนธรรมเขมร บรรพแถลงเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เพื่อใช้ประดับบนชั้นวิมานของหลังคาซ้อนชั้นของปราสาท และเสื่อมความนิยมไปในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ช่วงศิลปะบายนซึ่งนิยมสร้างใบหน้าบุคคลขนาดใหญ่แทนหลังคาแบบซ้อนชั้น ทำให้ไม่เหลือที่ว่างไว้เพื่อประดับบรรพแถลง สำหรับบรรพแถลงสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ “บรรพแถลงประจำมุม” ซึ่งประดับอยู่ที่มุมรองของปราสาท โดยอยู่ขนาบทั้งสองข้างของนาคปัก หรือปราสาทจำลองตรงมุมหลัก และ“บรรพแถลงประจำทิศ” ซึ่งประดับอยู่เหนือ ซุ้มหน้าบันในแต่ละชั้นวิมานของปราสาทประธานทั้งสี่ทิศ บรรพแถลงของปราสาทสด๊กก๊อกธม สำหรับปราสาทสด๊กก๊อกธมพบหลักฐานของบรรพแถลงตามมุมของชั้นวิมาน โดยพบเพียงส่วนฐานและประติมากรรมส่วนล่าง แท่งหินจั่วรูปสามเหลี่ยมปักอยู่ด้านหน้าซุ้มบัญชรของชั้นเชิงบาตร สันนิษฐานว่าเป็นรูปลักษณ์ของวิมานจึงสลักภาพเทพต่างๆไว้ด้วย บรรพแถลงที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม สลักเป็นรูปเทพธิดา อ้างอิง - กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า 271. - กรมศิลปากร. (2565). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ : หน้า 322. - สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก- บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาสถาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร) หน้า 11,31. - บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุ. Access 25 April 2023. www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ ที่มาภาพ ภาพที่ 1 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 2 ที่มา: https://www.facebook.com/photo/?fbid=5212953952075999&set=pcb.5212967228741338) ภาพที่ 3 (ที่มา: http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phimai/index.php/th/คลังข้อมูล.html?layout=edit&id=143) ภาพที่ 4 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum/view/2160021600-ปราสาทเขาโล้น---โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ) ภาพที่ 5 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 6 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 7 (ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Bayon#/media/File:Bayon_0759_(277                                 ความรู้สึกทั้งหมด 3535      


กฐินกถา.  พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2493.


          สถาปัตยกรรมไทย  คือ  การก่อสร้างถาวรวัตถุที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอันเป็นศิลปะประจำ  ชาติของไทย  โดยการนำเอาศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ เข้ามาประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งอาคารบ้านเรือนของคนไทย  และที่พิเศษไปกว่านั้นก็เป็นที่ทรงประทับขององค์พระมหากษัตริย์ไทย  จะเห็นได้ว่ามีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรสถานต่าง ๆ ขึ้นไม่ซ้ำแบบกัน  บางทีแม้จะมีแผนผังเช่นเดียวกันแต่รูปแบบแตกต่างกันไป หลังคาก็ซ้อนชั้นแตกต่างกัน  มีมุขบ้าง ลดชั้นหลังคามากบ้างน้อยบ้างที่เป็นตรีมุขก็มี  ที่เป็นจัตุรมุขก็มี           ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/48


          หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรม “จิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๖” (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต) วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร   กิจกรรมจิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๖ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประจำปี ๒๕๖๖ กิจกรรมจิตรกรน้อยเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งให้ความรู้พื้นฐานด้านศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างความสุขและความเพลิดเพลินอย่างสร้างสรรค์ โดยจัดเป็นรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ซึ่งได้เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มาบรรยายให้ความรู้และสาธิตวิธีการตกแต่งภาพพื้นหลังของรูปภาพที่เป็นผลงานของศิลปินระดับโลกในหัวข้อ “เติมสีสันสานงานศิลปินโลก” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๗๐๔๖ ๑๕๘๕ (คุณยุวเรศ)



         ความเชื่อของ “พรหมลิขิต”          พรหมลิขิต แปลโดยรูปศัพท์ได้ว่า ข้อความหรือลวดลายที่พระพรหมเขียนไว้ ถือเป็นคติความเชื่อที่ว่า ชะตาชีวิตของมนุษย์ได้ถูกกำหนดไว้โดยพระพรหม เทพสำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาจสืบเนื่องมาจาก การที่พระพรหมอยู่ในฐานะพระผู้สร้าง จึงเกี่ยวพันกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด คติเรื่องพรหมลิขิตปรากฏมาตั้งแต่อินเดียและคงเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้          คติเรื่องพรหมลิขิตนี้ ชาวมอญรุ่นเก่าเชื่อกันว่า เมื่อทารกใกล้คลอดจะต้องนำผ้าขาวมาปูตั้งแต่ประตูหัวกระไดบ้าน จนมาถึงสถานที่อันจะทำคลอด และจัดหาเครื่องประกอบพิธีประกอบด้วย มะพร้าวหนึ่งผล กล้วยหนึ่งหวี เครื่องหอมจำพวกแป้งและน้ำมันต่าง ๆ ดินสอและสมุดเตรียมไว้ข้างที่นอนทารกให้พร้อม เมื่อทารกกำเนิดขึ้นพระพรหมจะดำเนินบนผ้าขาว มาทำการลิขิตขีดเขียนที่หน้าผากของทารก          ส่วนคติไทยโบราณก็ใกล้เคียงกับทางมอญ กล่าวคือ เมื่อเด็กเกิดมาได้ ๖ วัน พระพรหมจะเสด็จลงมาเขียนเส้นไว้ที่หน้าผาก เพื่อกำหนดหมายว่าเด็กผู้นั้นจะมีความเป็นอยู่วิถีชีวิตอย่างไรตราบจนวันตาย อนึ่ง สิ่งที่พระพรหมกำหนดไว้กล่าวกันว่ามีอยู่ ๕ ประเภท คือ          ๑. อายุขัย คือ บุคคลนั้นจะมีอายุยืนยาวหรือสั้นเพียงใด          ๒. ภาวะจิตใจหรืออารมณ์          ๓. สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด          ๔. ฐานะความเป็นอยู่          ๕. ความรู้สึกสำนึกในบาปบุญคุณโทษ          เรื่อง พรหมลิขิต มีพื้นฐานจากทางพราหมณ์-ฮินดูอย่างชัดเจน แต่ได้กลมกลืนอยู่ในวัฒนธรรมความเชื่อในสังคมไทยเสมอมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งความเชื่อเรื่องพระพรหมมีอำนาจบันดาลโชคชะตาของมนุษย์ ยังสะท้อนออกมาในตำราพรหมชาติ ที่เกี่ยวข้องไปกับเรื่องราวทางโหราศาสตร์ ว่าด้วยอิทธิพลของวันเดือนปีเกิด อาจรวมถึงลายมือ ลายเท้า และลักษณะสัดส่วนของร่างกายอีกด้วย          สำหรับภาพโบราณวัตถุที่นำมาประกอบเรื่องราวนี้ เป็นพระพรหมองค์เดิมที่เคยประดิษฐาน ณ สี่แยกราชประสงค์ ที่สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างโรงแรม เพื่อขอพรให้เกิดความราบรื่น บัลดาลสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี  ตามคำแนะนำของ พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ โดยการก่อสร้างศาลพระพรหม มีนายเจือระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล แห่งกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบศาล ส่วนผู้ออกแบบและปั้นพระพรหมคือ นายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ เป็นการปั้นตามแบบแผนกรมศิลปากร โดยปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ปิดทอง ซึ่งการสร้างพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างศาลพระพรหมไว้บูชาตามบ้านเรือน หรืออาคารใหญ่ ๆ อย่างแพร่หลายในสังคมไทย ก่อนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ พระพรหมจะถูกทุบทำลายโดยชายผู้หนึ่ง เป็นเหตุให้มีการซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร แล้วนำกลับไปประดิษฐาน ณ ที่เดิม ขณะเดียวกันได้ถอดพิมพ์องค์เดิมเพื่อหล่อองค์ใหม่เป็นโลหะ ซึ่งก็คือองค์ในภาพนั่นเอง ปัจจุบันเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ     อ้างอิง - กรมศิลปากร. นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๙. - กรมศิลปากร. พระมหาพรหมองค์เดิม ที่บูรณปฏิสังขรณ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. - ธนิต อยู่โพธิ์ และคนอื่น ๆ. พรหมสี่หน้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๔๙. - เสมียนอารีย์. “กำเนิดศาลพระพรหม” ณ โรงแรมเอราวัณ สี่แยกราชประสงค์.” ใน ศิลปวัฒนธรรม [ออนไลน์]. เข้าถึงได้http://xn--www-dkl8ayt.silpa-mag.com/history/article_89966 - ไทยรัฐ. “ครบรอบ 61 ปี วันตั้งศาลท้าวมหาพรหม ชาวไทย-ต่างชาติแห่สักการะแน่น.” ใน ไทยรัฐออนไลน์. เข้าถึงได้http://xn--www-dkl8ayt.thairath.co.th/news/crime/1121557


ชื่อเรื่อง                     สมโภชพระนครครบร้อยปีผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่                      394.4 ส272วสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               132 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณี                              พระราชพิธีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่องสมโภชพระนครครบร้อยปี เป็นหนังสือที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุสถานบางแห่งและขนบประเพณีในการทำพิธี


วันนี้เมื่อ ๔๕ ปีที่แล้ว ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๑          พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ไปยังสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงเปิดอาคารโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารนม และทรงเจิมป้ายชื่อ 'สหกรณ์โคนมหนองโพ จำกัด'   ท่านผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับจังหวัดราชบุรี ได้ที่ #ห้องราชบุรีราชสดุดี ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี


เปิดที่มา​ "มกรคายมังกร" หนึ่งเดียวในล้านนา​ ​ศิลปกรรมโบราณ​จาก​ "เวียงกุมกา​ม" นครโบราณ​ใต้พิภพ​ . เวียงกุมกาม​ นครโบราณ​ที่ถือได้ว่าเป็นต้นทางของประวัติศาสตร์ของ​ล้านนา​ เดิมทีเป็นเมืองในตำนานที่ปราก​ฏ​เพียงชื่อในเอกสารประวัติ​ศาสตร์​ ในฐานะเมืองที่พญามังราย​ทรงสร้างขึ้นก่อนการสถาปนา​เมืองเชียงใหม่​ . ชื่อ​ "เวียงกุม​กาม" ยังคงเป็นปริศนานับศตวรรษ​ จนกระทั่ง​เมื่อ​ ปี​ พ.ศ.2527 กรมศิลปากร​ได้ค้นพบเวียงกุมกาม​ และมีการขุดศึกษา​ทางโบราณคดี​ต่อเนื่องนานกว่า​ 3 ทศวรรษ. ผลการศึกษา​ทางโบราณคดี​อย่างต่อเนื่อง​ ทำให้พบว่า​ เวียงกุม​กาม​ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานชุมชนดั้งเดิมในวัฒนธรรม​สมัยหริภุญชัย​ และมีการใช้งานพื้นที่ต่อเนื่องยาวนาน​ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษ​ที่​ 17​ -​ 22​ จนกระทั่งสุดท้ายเมืองก็ถูกทับถมด้วยชั้นตะกอน​ทราย​ และหายไปจากความทรงจำ​ เก็บซ่อนความงามของศิลปกรรม​เชิงช่างล้านนามากมายไว้ใต้พื้นพิภพ​ เรื่อยมา. หนึ่งในการค้นพบงานศิลปกรรมโบราณ​ของเวียงกุมกามที่มีความโดดเด่น คือ​ ประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดของอุโบสถ​และวิหาร​ ซึ่งการศึกษา​ที่ผ่านมาสามารถจำแนก​ได้​ 3 กลุ่มใหญ่​ ๆ​ ประกอบด้วย​ 1) ลายม้วนแบบก้นหอย​ 2) ลายกนก​ ตัวเหงาหรือหางวัน​ และ​ 3) ลายมกรคายนาค​ ซึ่งยังคงสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์​ซ่อนอยู่ภายใต้ชั้นตะกอนทราย. นอกจากลวดลาย​ 3 กลุ่มข้างต้นที่มีความโดดเด่นแล้ว​ ทีมนักโบราณคดี​ยังค้นพบ​ ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดที่มีความพิเศษ​ยิ่งกว่า​ คือ​ "ลายมกรคายมังกร" ซึ่งมีความสำคัญ​ยิ่ง​ ที่มีการค้นพบในดินแดนล้านนาเป็นครั้งแรก​ และยังคงเป็นหนึ่งเดียวของล้านนาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน. ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดรูป​ "มกรคายมังกร" ชิ้นนี้​ พบจากการขุดแต่งอุโบสถ​วัดกู่ป้าด้อม​ ซึ่งอยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกมากกว่า​ 2 เมตร​ สันนิษฐาน​ว่าได้รับอิทธิพล​มาจากศิลปะจีน​ โดยประยุกต์คติความเชื่อดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะจากดินแดนภายนอก​ จนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์​ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว​ จึงถือเป็นอีกหนึ่งที่สุดของการสร้างสรรค์​ผลงานศิลปะของช่างล้านนาสมัยโบราณ​. ในปี 2566​ นี้​ นับเป็นโอกาสดี​ ที่กรมศิลปากร​ ได้นำลวดลาย​ที่สุดแห่งการสร้างสรรค์​ของช่างล้านนาสมัยโบราณ​ มาประยุกต์ต่อยอดสร้างเป็นของที่ระลึกที่เปี่ยมไปด้วยความงามและทรงคุณค่า​ มอบให้​แก่ผู้ที่มาร่วมงาน​ "แอ่วกุมกามยามแลง" ระหว่างวันที่​ 1 -​ 2 ธันวาคม​ 2566​ นี้​ เพื่อร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจ​กับงานศิลปกรรมโบราณ​ฝีมือบรรพชน​เวียงกุม​กาม​ไปด้วยกัน​


         หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “ศิลปะการทำลูกโป่งประดิษฐ์ ให้เป็นรูปต่างๆ” วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช            ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด สมัครได้ตั้งแต่วันที่เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การพัฒนาแก้วสีโบราณเพื่อผลิตเป็นกระจกเกรียบและแก้วประดับ” วิทยากร นางสุภาภรณ์ สายประสิทธิ์ นายช่างศิลปกรรมทักษะพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


เนื่องในโอกาสมงคลสมัยที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๘ รอบ ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ รัฐบาลและประชนชาวไทยต่างมีความปลื้มปีติและสำนึกในพระคุณูปการที่ทรงมีต่อการพระพุทธศาสนาและประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ รัฐบาลในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พิจารณาคัดสรรและดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือเพื่อเป็นสิ่งอนุสรณ์รำลึกถึงพระเมตตาคุณและเชิดชูพระเกียรติคุณให้ปรากฏสืบไป คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้พิจารณาดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกที่มีความสำคัญอันเนื่องด้วยการพระศาสนา ทั้งยังเป็นบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จำนวน ๓ รายการ โดยมอบหมายกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย ๑ หนังสือจดหมายเหตุงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๒ หนังสือเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ๓ หนังสืออัมพโรวาท : ประมวลพระธรรมเทศนา พระดำรัส พระโอวาท พระสัมโมทนียกถา พระสังเวชนียธรรม และพระปรารภของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นอกจากนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติยังได้รับมอบหมายให้รวบรวมเอกสารและบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องในงานดังกล่าว ไว้เป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงต่อไปในอนาคต อาทิ ๑ พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ “อายุวัฒน์” และมังคลาภิเษกเหรียญพระรูป สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันจันทร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๒ คณะสงฆ์ธรรมยุตจัดพิธีเจริญนวัคคหายุสมธัมม์ สลับโหรหลวงบูชาเทพยดานพเคราะห์ ถวายพระกุศลฉลองพระกรุณาคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันพุธ ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๓ พิธีที่เกี่ยวเนื่องในโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๗ รูป ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันศุกร์ที่ ๑๖ และวันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ๔ คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์อายุวัฒนะมงคลสูตร บูชาเทพยดานพเคราะห์ น้อมถวายพระกุศลฉลองพระกรุณาคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในมงคลสมัยฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ อุโบสถวัดสมณานัมบริหาร ๕ พิธีทำบุญตักบาตร ถวายพระกุศลงานฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๖ งานบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ และวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน” วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา" คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 28 คน ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 - 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2535 เป็นต้นมา คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดงานใหม่โดยให้มีทิศทางในการจัดงานแน่นอน คือการกำหนดหัวเรื่องของการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทย ปีพุทธศักราช 2536 เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์มรดกไทยให้แพร่หลายกว้างขวาง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวในการร่วมกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นกิจกรรมหลักที่กรมศิลปากรและหน่วยงานในสังกัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



ชื่อเรื่อง                         ตำราโหราศาสตร์ (หนังสือหุรา)สพ.บ.                           459/1กหมวดหมู่                        ปรัชญาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          โหราศาสตร์                                    จักรราศีประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 30 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี