ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 23/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 6/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม จากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จัดแสดงห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปนูนสูงสลักจากหิน กว้าง ๒๐ เซนติเมตร สูง ๒๕ เซนติเมตร พระเศียรชำรุดกะเทาะหายไป ครองจีวรห่มคลุมบางแนบพระวรกาย เห็นขอบสบงเป็นแผ่นโค้งบริเวณบั้นพระองค์ พระกรทั้งสองข้างหักหายไป หากมีสภาพสมบูรณ์สันนิษฐานว่าแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ (ปางแสดงธรรม) ตามความนิยมของพระพุทธรูปยืนสมัยทวารวดี ปรากฏจีวรพาดผ่านข้อพระกรทั้งสองข้าง แล้วทิ้งชายลงเป็นวงโค้งเบื้องหน้าอยู่เหนือขอบสบง ซึ่งยาวถึงข้อพระบาท ส่วนพระบาทชำรุดกะเทาะหายไป ยืนแบบสมภังค์ (ยืนตรง) มีศิรประภาหรือประภามณฑลรอบพระเศียรเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกัน และมีประภาวลีหรือประภามณฑลรอบพระวรกายรูปร่างคล้ายเปลวไฟแผ่ออกมาโดยรอบ ซึ่งในปัจจุบันบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง พบหลักฐานการทำประภามณฑลในลักษณะนี้เพียงพระพุทธรูปองค์นี้เท่านั้น
รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ ปรากฏลักษณะที่รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียผสมผสานกับลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ การครองจีวรห่มคลุมตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๓ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว แต่มีการปรับเปลี่ยนลักษณะการยืนจากท่าตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) และแสดงมุทรา (ปาง) ด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวร ตามความนิยมที่ปรากฏในศิลปะอินเดีย มาเป็นการยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) พระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) แสดงถึงลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่มีพัฒนาการจากศิลปะอินเดียซึ่งเป็นต้นแบบแล้ว จึงอาจกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพุทธรูปอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๔.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระมาลัย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๕๐ หน้า
หมายเหตุ สข.๐๙๓ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรขอมและอักษรไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เส้นหมึก
(เนื้อหา) พระมาลัยเป็นพระอรหันต์ชาวลังกา ท่านได้ขึ้นไปสวรรค์และนรกแล้วนำบุพกรรมของสัตว์ที่เสวยผลบุญอยู่ในวิมานสวรรค์ และสัตว์ที่ทนทุกข์อยู่ในนรกมาแสดงให้คนทำแต่กรรมดี ในเรื่องกล่าวถึงผลแห่งการทำบุญให้ทานซึ่งเป็นผลให้ไปเกิดเป็นเทวดามีบริวารมากมาย ประกอบด้วยทิพย์สมบัติต่างๆ คำพยากรณ์ของพระศรีอาริยะเมตไตรยถึงความสุขสบายในศาสนากาลของพระองค์
เลขทะเบียน : นพ.บ.469/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 3.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161 (183-194) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สัพทานนานิสงส์กถา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.605/4 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194 (408-415) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, 2405-2486. กระแสพระดำรัส ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถวายพระพรของนักเรียนไทย ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2473. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2473.
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/71
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี “เสาร์สนุก” วันเสาร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ภายในบริเวณ หอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ
รายการแสดง ประกอบด้วย
การบรรเลงวง Woodwind Quintet โดยศุภชัย จงชนะไชย, เชาวลิต เจริญชีพ, ธีระพงษ์ ทรัพย์มูล, กุลชา แก้วเกตุสัมพันธ์ และ ธนวัฒน์ โงสว่าง
- Serenade for Woodwind quintet by Ferenc Farkas
- ตุ๊กตาขวัญใจเจ้าทุย
การบรรเลงดนตรีไทย
- การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกเพลงแขกมอญ ๓ ชั้น โดย อัญชิษฐา บุญเพ็ง
- กลองยาวออกภาษา โดย จตุพร ดำนิล และคณะ
- หลากสำเนียงพื้นถิ่นแผ่นดินสยาม โดย พงค์พันธ์ เพชรทอง และคณะ
การแสดงนาฏศิลป์ไทย
- รำฉุยฉายสุธรรมฤษี โดย อนุชา สุมามาลย์
- รำฉุยฉายอากาศตะไล โดย เกริกชัย ใหญ่ยิ่ง
- รำฉุยฉายลำหับ โดย สุชาดา ศรีสุระ
- การแสดงชุด “รักแท้แม่พันธุรัต” โดย อัญชลิกา หนอสิงหา
ชมฟรี!!! สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไ (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
“จารึกเมืองศรีเทพ” ตามประวัติระบุว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่เมืองโบราณศรีเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับ ร.ศ.๑๒๕ เมืองศรีเทพปัจจุบันอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จารึกนี้ส่งมาเก็บรักษาที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐
มีลักษณะเป็นเสากลมรูปคล้ายตะปูหัวเห็ดหรือคล้ายดอกบัวตูม ทำจากหินทรายเนื้อละเอียด จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด มีคำว่า “ขีลัง” ซึ่งแปลว่า “หลัก” โดยปรากฏในหนังสือเรื่อง เที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑลเพชรบูรณ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๒๐ ความว่า
“ ...ศิลาจารึกพบที่เมืองศรีเทพครั้งนี้แปลกมาก สัณฐานคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างปลายที่เสี้ยมแหลมเป็นแต่ถากโคลน สำหรับฝังดินขัดเกลี้ยง แต่ที่หัวเห็ดจารึกอักษรไว้ที่นั้นเป็นอักษรคฤนถ์ชั้นก่อนหนังสือขอม แต่ตรงที่จารึกแตกชำรุดเสียมาก ได้เอาศิลานี้มาที่กรุงเทพ (หอวชิรญาณ) ให้อ่าน ดูเป็นภาษาสันสกฤตมีคำว่า ขีลัง ซึ่งแปลว่าหลัก จึงเข้าใจว่าศิลาแท่งนี้คือหลักเมืองศรีเทพแบบโบราณ เขาทำเป็นรูปตะปูตอกไว้ลงในแผ่นดิน ประสงค์ว่าให้มั่นคง...” และต่อมานายชะเอม แก้วคล้าย มีการอ่านชำระใหม่ เป็นคำว่า “ขิลํ” จากถ้อยความว่า “เวตฺตย ขิลํ สโจทฺยม” แปลว่า เขาเป็นผู้รู้ความรุ่งเรืองทั้งสิ้น
เนื่องจากเนื้อหินด้านหนึ่งของจารึกแตกหาย ข้อความจารึกแต่ละบรรทัดจึงเหลืออยู่เฉพาะช่วงกลาง เนื้อหาที่เหลือโดยสรุปกล่าวถึงการสรรเสริญบุคคลว่าเป็นผู้เปี่ยมด้วยความรู้และยังเป็นผู้มีธรรม ซึ่งอาจเป็นพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองศรีเทพ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑
อ้างอิง
กรมศิลปากร. “จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔”. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “เรื่องเที่ยวที่ต่าง ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑล เพชรบูรณ์และเรื่องความไข้ เมืองเพชรบูรณ์”. กรุงเทพฯ: วิศัลย์การพิมพ์, ๒๕๑๙.
ดูรายละเอียดสำเนาจารึกได้ที่ : ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ จารึก สมุดไทย http://manuscript.nlt.go.th/.../ctrlObjec.../mid/1855/id/207
หรือติดตามอ่านได้ในหนังสือที่ระลึก “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”