ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ


เรื่อง : ข้อกำหนดว่าด้วย การค้นพบ โบราณวัตถุ หรือ ศิลปวัตถุ ตามพระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายพนมกร นวเสลา



พ่อท่านเจ้าเขาอยู่ที่ใด          พ่อท่านเจ้าเขา คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ณ ประติมากรรมรูปยักษ์ ตั้งอยู่บริเวณลานตอนกลางบันไดทางขึ้นถ้ำแจ้ง ซึ่งเป็นถ้ำประดิษฐานพระไสยาสน์(พ่อท่านบรรทม) วัดคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ตำนานยักษ์ศักดิ์สิทธิ์           ชาวบ้านตำบลหน้าถ้ำเชื่อว่ายักษ์ตนนี้มีหน้าที่เฝ้าหน้าถ้ำคูหาภิมุข มิให้ผู้ใดเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ภายในถ้ำไปได้ กล่าวกันว่าในอดีตมีขุนโจรผู้มีจิตใจอันชั่วช้าพร้อมด้วยลูกสมุน พยายามเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติเหล่านี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จและถูกยักษ์ทุบตีด้วยกระบองจนถึงแก่ความตาย           นอกจากนี้ยังเป็นที่เชื่อถือกันว่ายักษ์ตนนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถบันดาลให้เกิดความสงบร่มเย็น หากผู้ใดทำผิดศีลธรรมหรือทำเรื่องร้ายแรงก็สามารถดลบันดาลให้มีอันเป็นไป แต่หากผู้ใดตั้งมั่นในศีลธรรม หากยกมือไหว้หรือบนบานสิ่งใดก็จะได้รับพรสมปรารถนาโชคดีมีความสุขตลอดไป จึงเป็นที่นับถือจนได้รับการขนานนามว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” มาตราบจนปัจจุบันสร้างรูปยักษ์          พ.ศ.๒๔๘๔ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระพุทธไสยารักษ์เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ ของวัดคูหาภิมุข ผู้หลักผู้ใหญ่ของตำบลหน้าถ้ำในสมัยนั้นอันได้แก่ขุนนิวาส คูหามุข นายตีบ เพชรกล้า นายสง สุวรรณโพธิ์ และชาวบ้านอีกหลายๆท่าน เห็นตรงกันว่าควรสร้างรูปของพ่อท่านเจ้าเขาขึ้นเป็นขวัญกำลังใจและปกปักรักษาชาวบ้านหน้าถ้ำให้พ้นภัย จึงรวบรวมปัจจัยจากพระพุทธไสยารักษ์และคณะพุทธบริษัทวัดคูหาภิมุขเป็นเงิน ๔๓๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงลักษณะของพ่อท่านเจ้าเขา           พ่อท่านเจ้าเขามีลักษณะเป็นประติมากรรมรูปยักษ์ยืนตรงสูงราว ๖ เมตร รูปร่างหน้าตาคล้ายเงาะป่าซาไก ผมหยิก หนวดเครารุงรัง ดวงตาโปน มีเขี้ยวงอกออกมาพ้นริมฝีปาก มีงูบองหลา(งูจงอาง) เป็นสายสร้อยคล้องคอ ต้นแขทั้งสองข้างปั้นปูนเป็นสายรัดต้นแขนประดับด้วยหน้าบุคคลอย่างหน้ากากพรานบุญ ร่างกายท่อนล่างทำเป็นผ้านุ่งเหลืองมีลวดลายคล้ายการนุ่งด้วยหนังเสือ มือทั้งสองกุมกระบองที่มีหัวกะโหลกมนุษย์เป็นด้ามท้าย แนบไว้กลางลำตัวอย่างทะมัดทะแมง ส่วนเท้าเปลือยเปล่าไม่สวมรองเท้า การบูรณะพ่อท่านเจ้าเขา           พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมศิลปากรจัดสรรงบประมาณ จากเงินกองทุนโบราณคดี เพื่อดำเนินการบูรณะพ่อท่านเจ้าเขา ระหว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๒-------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/1411639322507560-------------------------------------------------------------------




ชื่อเรื่อง                                สพฺพทานานิสํสกถา  (อานิสงส์สรรพทาน) สพ.บ.                                  211/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          กรมศิลปากร ขอเชิญชวนมอบหนังสือทรงคุณค่า เป็นของขวัญปีใหม่ ประจำปี ๒๕๖๕ แด่คนที่คุณรักและนับถือ โดยสามารถเลือกซื้อหนังสือได้ที่ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ซึ่งเป็นศูนย์รวมหนังสือและการจัดจำหน่ายหนังสือทางมรดกศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ งานช่าง วรรณกรรม ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี ฯลฯ ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์http://bookshop.finearts.go.th หรือไปซื้อด้วยตัวเอง ได้ที่ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ชั้น ๑ อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ หรือทาง Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                มหานาคเสน (มหานาคเสน) สพ.บ.                                  328/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พระพุทธรูปแสดงวิตรรรกมุทรา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ___พระพุทธรูปแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ทำจากสำริด นับว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ในศิลปะหริภุญไชย  พระพุทธรูปองค์นี้ ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ มีเพียงส่วนพระเศียร พระหัตถ์ พระวรกายส่วนบน และพระบาท ปัจจุบันได้นำส่วนต่างๆของพระพุทธรูปมาจัดแสดงติดผนัง เมื่อวัดความสูงจากพระบาทถึงพระเศียร มีขนาดสูงถึง ๑๙๐ เซนติเมตร ___วิตรรกมุทรา มีลักษณะคือ  ปลายพระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) แตะกับปลายพระดรรชนี (นิ้วชี้) หรือพระมัชฌิมา (นิ้วกลาง) และที่มีลักษณะนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ งอพับลงมา  ยกเว้นพระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ พบทั่วไปในศิลปะทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบอมราวดี การทำพระหัตถ์ในลักษณะดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการแสดงพระหัตถ์ของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีที่พบได้ทั่วไป ก่อนที่จะส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธรูปในศิลปะหริภุญไชยที่พบในบริเวณจังหวัดลำพูนและใกล้เคียง ___พระพุทธรูปองค์นี้กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ โดยมีลักษณะคือเม็ดพระศก(ขมวดเส้นผม)ที่แหลมสูงมากกว่าพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีและศิลปะหริภุญไชยที่พบในลำพูน นิยมทำเม็ดพระศกที่ขมวดเป็นวงใหญ่ การทำเม็ดพระศกแหลมเล็กในลักษณะนี้คล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะเขมรที่พบในภาคกลางราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘  รวมทั้งลักษณะของพระพักตร์ที่เหลี่ยมและเคร่งขรึม แต่ยังคงลักษณะการแสดงวิตรรกมุทราที่นิยมในศิลปะหริภุญไชยและทวารวดีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบริเวณเมืองลำพูน อ้างอิงณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๖.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มใoดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.++



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.44/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ก/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.341/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133  (359-369) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สพฺพทานานิสํสกถา (สัพพทาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๓๐ กันยายน ๒๔๐๙ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์          พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๗๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๐๙ มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช          ในเวลาประสูติพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์นั้น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เอาช้างไปขายที่เมืองพม่า พระเจ้ามินดงจึงประทานสังวาลเครื่องยศอย่างพม่ามาให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกชาวเชียงใหม่ที่ไม่ชอบใจก็กล่าวหาว่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงเอาสังวาลลงมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพพระมหานคร แล้วทูลเรื่องราวตามจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงระแวงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ แต่ไม่ทรงรับสังวาลไว้ เพราะทรงรังเกียจว่า จะเป็นการรับเครื่องยศจากพม่า ฝ่ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ก็ไม่ยอมเอาสังวาลกลับไป เพราะเกรงจะเป็นมลทินว่า ยังคบหาพม่าอยู่ จึงถวายสังวาลนั้นให้แก่พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยให้ช่างปรับปรุงเป็นเครื่องแต่งพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "พวงสร้อยสอางค์"         พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ พระชันษา ๘๔ ปี   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์


Messenger