ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,950 รายการ

อธิบดีกรมศิลปากร (นายบวรเวท รุ่งรุจี)ประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดทำเอกสารเส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและศาสนสถาน ที่เกี่ยวข้องพร้อมตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำการดำเนินโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ภาคสนาม รวมถึงการประเมินความเหมาะสมของโครงการต่าง ๆที่ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘




วันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานโครงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗จัดขึ้นโดยอุทยานประวัติศาสตร์พิมายโดยการนำของนายดุสิต ทุมมากรณ์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมายและได้รับเกียรติจาก นายนรินทร์ ทรงนิพิฐกุล นายอำเภอพิมายพ.ต.อ.บุญส่ง ขุนแขวง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพิมายนายดนัย ตั้งเจิดจ้า นายกเทศมนตรีตำบลพิมายนายบรรเจิด สอพิมาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเมืองนายเศรษฐกิจ ศรีพินิจพัฒน์ กำนันตำบลในเมืองหัวหน้าส่วนราชการในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอพิมายและหัวหน้าส่วนราชการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการดำเนินงานอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ เอกชนในท้องถิ่น นักเรียนและนักศึกษา ในเขตอำเภอพิมายณ ห้องประชุมหินทราย เทศบาลตำบลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาค 1 ระหว่าง พุทธศักราช 2424 ถึงพุทธศักราช 2435 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 268 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ ได้ประมวลเอกสารที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ระหว่างพุทธศักราช 2424 ถึงพุทธศักราช 2435 เป็นพระราชหัถต์เลขาพระราชทานไปยังเสนาบดี เจ้ากระทรวง ที่กราบบังคมทูลถวายรายงานข้อราชการเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น เรื่องคดีความโจรผู้ร้ายชุกชุม การทะเลาะวิวาทของคนไทย ชาวจีน และชาวต่างชาติ การปล้นชิงทรัพย์ และการเล่นการพนันซึ่งผิดพระราชบัญญัติ เป็นต้น โดยพิมพ์จำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี ศีลธรรม การเมือง การปกครองของประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5


ในงานฝังศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาพิฒนาธนากร


         เครื่องจักสาน กลุ่มไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตั้งอยู่ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเหลือผู้ทำอยู่ เพียงท่านเดียว คือ นายซุ้ม คุ้มสวัสดิ อายุ ๘๕ ปี เดิมประกอบอาชีพช่างปลูกบ้าน แต่พออายุมากขึ้นทำงานหนักไม่ไหวจึง เริ่มหัดทำเครื่องจักสาน และเป็นหมอเสนด้วย ท่านอธิบายการทำเครื่องจักสานแบบชาวไทยทรงดำที่ท่านได้เรียนรู้มาจากพ่อแม่ ว่า การเลือกไม้ไผ่ ต้องเป็นไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไผ่ในท้องถิ่นแถบนี้มาแต่เดิม พบเห็นได้โดยทั่วไป เป็นไผ่ที่มีหนาม กอใหญ่ ให้หน่อต่อปีจำนวนมาก สามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้ ไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้จักสาน ต้องเป็นลำที่มีอายุ ๔ - ๕ ปี มีสีผิวเขียวเข้มๆเหมือนสีตะไคร่น้ำ จะมีความเหนียวมาก การตัด จะตัดตรงตำแหน่งเหนือพื้นดินขึ้นไป ๑.๕ - ๒ เมตร โดยให้เหตุผลว่า ตอไผ่หรือโคนไผ่มีความหนาและแข็งมากไม่เหมาะที่จะนำมาจักสานและโคนไผ่จะช่วยพยุงลำไผ่ลำอื่นๆให้ต้นตั้งตรงสูงขึ้นฟ้า หากไม่มีโคน จะทำให้กอแบะออก เลือกใช้ไม้ไผ่ส่วนกลางลำขึ้นไป จะมีเนื้อบางสะดวกต่อการจักตอก และมีความเหนียว ส่วนการป้องกันมอดนั้น จะต้องดูตั้งแต่เวลาที่ตัดไม้ โดยจะเลือกตัดตอนต้นไผ่แตกใบอ่อน เดือน ๕ หรือเดือน ๖ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแบบนี้ เมื่อจะใช้ก็จะไปตัด โดยเลือกลำที่ได้อายุ เนื่องจากปัจจุบันมี น้ำยาเคมีสมันใหม่ ที่สามารถนำมาทาเคลือบป้องกันมอดแมลงได้เป็นอย่างดีและมีความสวยงาม ท่านใช้ยูรีเทนทาเคลือบทั้งด้านนอกและด้านในหรือใช้น้ำมันตราปลา ก็ได้ ท่านยังแนะนำอีกว่า หากนำไปรมควันจะทาน้ำมันไม่ขึ้น หมายถึงไม่สวย           เครื่องจักสานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากเป็นของที่ใช้ในพิธีเสนเรือน ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือมาแต่เดิมว่า จะต้องนำเครื่องเซ่นใส่ในภาชนะ ที่ทำจากเครื่องจักสานเท่านั้น เรียกว่า ขมุ ใช้เป็นคู่ ราคาคู่ล่ะ 2000 บาท นากจากนั้นก็จะมีคนมาจ้างสานเครื่องใช้แบบต่างๆที่ไม่มีคนทำ เช่น โคเคี่ยวน้ำตาล สำหรับใส่ในกะทะเคี่ยวน้ำตาลป้องกันน้ำตาลเดือดล้นกะทะ ซึ่งมีการใช้อยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและสมุทรสงคราม ร่วมทั้งเครื่องมือจับปลาด้วย ----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก----------------------------------------------


          ในการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในโครงการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงและคูเมืองกรุงธนบุรี ระหว่าง ปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจประเภทหนึ่ง คือ ตุ๊กตาดินเผา พบจำนวนกว่า๒๐ รายการ           ตุ๊กตาดินเผาเหล่านี้ มีวิธีทำแบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่ แบบที่ ๑ ทำจากดินเหนียวขึ้นรูปด้วยพิมพ์และเผาด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส เป็นตุ๊กตาดินเผามีขนาดสูงระหว่าง ๕ – ๑๒ เซนติเมตร ปั้นเป็นรูปบุคคลเพศชายและเพศหญิง ในอิริยาบถยืนและนั่งพับเพียบ ตุ๊กตาเหล่านี้ล้วนไม่มีศีรษะ ตุ๊กตารูปคนบางชิ้นอยู่ในอิริยาบถยืนยืนข้างเด็กหรือนั่งอุ้มไก่ ส่วนตุ๊กตาเพศหญิงบางชิ้นอยู่ในอิริยาบถนั่งอุ้มเด็ก           แบบที่ ๒ พบเพียง ๑ ชิ้น เป็นตุ๊กตารูปคนนั่งชันเข่า ไม่มีส่วนศีรษะ ขนาดสูงประมาณ ๖ เซนติเมตร ทำด้วยดินขาวขึ้นรูปด้วยการปั้นและมีการเคลือบผิวด้วยน้ำเคลือบ โดยเผาในอุณหภูมิ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๕๐ องศาเซลเซียส           ดินเผาเหล่านี้พบร่วมกับเศษเครื่องถ้วยจีนที่กำหนดอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นสิ่งที่ทำขึ้นตามในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยลักษณะการพบที่ไม่ปรากฏส่วนศีรษะอยู่กับตัวตุ๊กตา อาจเปรียบเทียบได้กับตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาส์นสมเด็จ ว่า “...อุบายเสียกะบาลอยูในประเภทลวงผี มักทำในเวลามีคนเจ็บไข้อาการส่อว่าถูกผีกระทำ หรือทำเมื่อขึ้นปีใหม่เพื่อจะทำให้ผีสำคัญว่าได้คนในครัวเรือนนั้นไปแล้ว ไม่มาค้นคว้าหาตัวในปีนั้น ลักษณะการเสียกะบาลที่ทำกันในกรุงเทพฯ ว่า ตามที่ได้เคยเห็นมาแต่เด็ก เอาดินเหนียวมาปั้นหุ่น(อย่างตุ๊กตา) แทนตัวคน จะให้แทนคนไหนเอาของที่คนนั้นใช้ เช่น ตัดเศษผ้านุ่งห่มเอาไปแต่งหุ่นเป็นสำคัญ แล้วเอากาบกล้วยมากรึงเป็นอย่างรูปกะบะ เรียกว่า กะบาล เอารูปหุ่นมากหรือน้อยแล้วแต่เหตุ ตั้งรวมลงในกะบาล มีข้าวปลาใส่กระทงน้อยๆ(จะหมายว่าเป็นเสบียงของหุ่นหรือเป็นเครื่องเซ่นผี ข้อนี้ไม่ทราบแน่) วางไปในกะบาลนั้นด้วย แล้วเอากะบาลนั้นไปตั้งไว้กลางแจ้งในลานบ้านสัก ๑ วัน แล้วเอาทิ้งเสียที่อื่น(เดิมเห็นจะทิ้งในป่าช้า)เป็นเสร็จพิธี... ตุ๊กตาสังคโลกรูปผู้หญิงอุ้มทารกคอหักทิ้ง หรือรูปผู้ชายอุ้มไก่สมัยสุโขทัย เรียกตุ๊กตาเสียกะบาล...ศาสตราจารย์เซเดส์ว่า คำกะบาลเป็นภาษาเขมร แปลว่า หัว...เสียกะบาล ก็คือเสียหัว ที่ตุ๊กตาสังคโลกคอหักโดยมากนั้นคงเป็นคนต่อยให้หักเมื่อทำพีธี จึงเลยเรียกกันว่า “พิธีเสียกะบาล”...รูปผู้หญิงอุ้มทารกนั้น คงทำเป็นพิธีเสียกะบาลเมื่อคลอดลูกเป็นพื้น เพราะคลอดลูกในสมัยนั้น น่าที่แม่จะเป็นอันตรายกันมาก...”           นอกจากนี้ ยังพบตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลลักษณะเหมือนรูปเคารพ ส่วนศีรษะของบุคคล และลิง ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในครั้งอดีต (ซ้าย) สภาพปัจจุบันพื้นที่ขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมือเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) สภาพปัจจุบันพื้นที่ขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมือเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ซ้ายและขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศหญิงในอิริยาบถอุ้มเด็ก ไม่มีส่วนศีรษะ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศชายในอิริยาบถอุ้มไก่ ไม่มีส่วนศีรษะ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศชายในอิริยาบถอุ้มไก่ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลยืน ส่วนศีรษะและเท้าขาดหายไป มือขวาถือลูกกลม มือซ้ายวางบนตัวนก พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลยืน ไม่มีส่วนศีรษะและเท้า มีเด็กยืนพิงกายทางด้านซ้าย พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลอง คูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น)  (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผาเคลือบรูปบุคคลนั่ง มือ ๒ ข้างประสานจับลูกกลม ส่วนศีรษะและเท้าขาดหายไป พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปเด็กทารกยืน ส่วนเท้าขาดหายไป พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น)  (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปช้าง พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ส่วนศีรษะตุ๊กตาดินเผารูปลิง พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) -----------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : เมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี-----------------------------------------------










     พระธาตุเชิงชุมจำลอง       สูง ๕๙ เซนติเมตร       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕       พระธาตุเชิงชุมจำลองหล่อด้วยโลหะเงิน ประดับยอดด้วยฉัตรทองคำ จังหวัดสกลนครจำลองถวายเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙      ที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้านมีจารึกข้อความด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร  ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม  จังหวัดสกลนคร  จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” น่าสังเกตว่าช่างที่ทำได้ใส่ใจในรายละเอียด อาทิ  ฉัตรทองคำ ๗ ชั้น มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง  หรือในส่วนของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุ มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษาที่ดูแล้วก็ชวนให้นึกถึงลายปูนปั้นที่หน้าบันพระธาตุเชิงชุมองค์จริงเช่นกัน      อนึ่งการถวายรูปปูชนียสถานจำลองด้วยเงินเป็นที่ระลึกนี้ มีแบบอย่างมาแล้ว  โดย คณะกรมการเมืองสกลนคร เคยถวาย พระธาตุนารายณ์เจงเวงจำลอง แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙      จารึกที่ฐานพระธาตุเชิงชุมจำลองทั้ง ๔ ด้าน จารึกด้วยอักษรต่างกัน ๔ อักษร ได้แก่ อักษรไทน้อย อักษรธรรมอีสาน อักษรไทย และอักษรขอมไทย โดยมีเนื้อความเดียวกันคือ “รูปธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จำลอง เมื่อ พ,ศ,๒๔๖๙” ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙      รายละเอียดของหน้าบันซุ้มทางเข้าคูหาภายในพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับลวดลายพรรณพฤกษา      รายละเอียดฉัตรทองคำ ๗ ชั้น ของพระธาตุเชิงชุมจำลอง มีการประดับขันรองต้นฉัตรชั้นล่างสุด ตามธรรมเนียมล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุองค์จริง     พระธาตุเชิงชุม (ถ่ายพ.ศ. ๒๕๕๒) เป็นพระธาตุก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปจำนวน ๖ ชั้น ที่มุมของฐานล่างสุดประดับด้วยเสากลม บริเวณกึ่งกลางฐานล่างทำซุ้มประตูทรงหอปราสาท ๓ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆังและองค์ระฆังทรงสี่เหลี่ยมต่อด้วยบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับยอดทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเจดีย์ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานมีฐานป่องตอนกลางโค้งเว้าชะลูดขึ้นไปเป็นคอให้กับส่วนบนที่บานออก และประดับส่วนบนสุดด้วยฉัตรทอง ๗ ชั้น      ฉัตรพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งนำลงมาจากยอดพระธาตุพนมคราวยกฉัตรทองคำใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร วัดพระธาตุพนม จะสังเกตเห็นธรรมเนียมการประดับขันหลายเหลี่ยมรองรับฉัตรชั้นล่างสุด


เลขทะเบียน : นพ.บ.117/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  22 หน้า ; 4.8 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ภิกฺขุปาติโมกฺข (พระปาฎิโมกข์แปล)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger