ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        หอศิลปเพชรบุรี ชื่อเรื่อง         นิทรรศการศิลปกรรมของสมาคมศิลปสมัยใหม่แห่งสิงค์โปร์ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์     ธนากิจการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๘ จำนวนหน้า    ๒๐ หน้า รายละเอียด                   หอศิลปเพชรบุรีและสมาคมศิลปสมัยใหม่แห่งสิงคโปร์ จัดแสดงผลงานศิลปของจิตรกรชาวสิงคโปร์ เพื่อให้ศิลปิน นักศึกษาและประชาชน ได้มีโอกาสทราบถึงวิวัฒนาการแห่งศิลปปัจจุบันของจิตรกรชาวสิงคโปร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดให้มีนิทรรศการของสมาคมขึ้นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ศิลปินมีโอกาสแสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปในระดับที่สูงขึ้น


รายชื่อบุคคล จำนวน 1 ราย ที่มียอดเงินที่ยังค้างในบัญชี KTB Corporate Online (เลขที่บัญชี 0276034260)นายอิทธิพล วิรัตนภานุกรุณาติดต่อกลับ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร โทร.02-126-6291-92 ต่อ 3043


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง "วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า 3 วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2330 และด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 กำหนดให้วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" หรือ "วันเจษฎา" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ สวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมายุ 63 พรรษา กับ 11 วัน เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ 25 ปี 7 เดือน 23 วัน ในปี พ.ศ. 2356 เมื่อพระชนพรรษาได้ 26 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ทรงพระนามว่าพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ โดยทรงได้รับการไว้วางใจพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน จึงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว" ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงพระราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น แต่ทรงเจิญพระชนมายุมากกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งขณะนั้นยังทรงพระเยาว์และทรงผนวชอยู่ โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าญวน จะมายึดจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทำการต่อสู้กับไทย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) เป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่าย และเมืองขึ้นใหม่ให้มีชัยภูมิดี เหมาะแก่การต่อสู้ข้าศึก ในปี พ.ศ. 2377 และเมืองใหม่นี้ก็คือ ค่ายเนินวง หรือปัจจุบันคือ โบราณสถานค่ายเนินวง ที่ตำบลบางกะจะนั่นเอง พระองค์ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านการต่างประเทศ ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมลึกซึ้ง ได้ทรงผ่อนปรนมิให้กระทบกระเทือนทั้งผลประโยชน์ของประเทศและสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ส่งผลให้ชาติไทยคงความเป็นเอกราชตราบจนปัจจุบัน ด้านเศรษฐกิจ บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ ด้านพระพุทธศาสนา ทรงเกื้อกูลการพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง และทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนที่สำคัญที่สุดแก่ประเทศไทย คือส่วนที่พระราชทานไว้แก่แผ่นดิน ซึ่งเก็บรักษาไว้ในถุงแดงจำนวนหลายหมื่นชั่ง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาเป็นค่าชดใช้แลกเปลี่ยนอธิปไตยของชาติในกรณีพิพาทดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ร.ศ.112 ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจตลอดเวลา 27 ปี แห่งการครองราชย์ ทรงสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน อันเป็นรากฐานแห่งความเจริญมาจนตราบทุกวันนี้ ประชาชนชาวไทยและรัฐบาลพร้อมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ หน้าวัดราชนัดดาราม เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 ทางราชการได้มีการถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ไช้ชื่อวันว่า "วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.468/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161  (183-194) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พิมพา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.605/3                  ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194  (408-415) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ฐานโยนีโทรณะ “ฐานโยนิโทรณะ”หรือที่มักเรียกกันว่า “ฐานโยนี” โดยคำว่า “โยนี” หมายถึง “อวัยวะเพศหญิง” และ “โทรณะ” หมายถึง “ทางเข้าออก” ซึ่งก็คือร่องน้ำของฐานโยนีที่ยื่นออกมา โดยฐานโยนีโทรณะ เป็นสัญลักษณ์แทนพระนางปารวตี ซึ่งใช้เป็นฐานรองรับการประดิษฐานองค์ศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ สวามีของพระนางปารวตี บริเวณตรงกลางของฐานโยนีโทรณะเจาะรูตรงกลางเพื่อให้เดือยขององค์ศิวลึงค์ด้านล่างเสียบเข้าไปได้ ส่วนบริเวณโดยรอบสลักเป็นร่องน้ำและรูน้ำไหลออกเพื่อให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีไหลลงมายังร่องน้ำดังกล่าว ซึ่งคติการสร้างฐานโยนิโทรณะ คือการแสดงถึงการให้กำเนิดชีวิต ในคติความเชื่อของศาสนาฮินดู นอกจากคำว่าโยนีโทรณะแล้ว ยังมีการใช้คำว่า “ปีฐะ” ที่แปลว่า “ฐาน” ซึ่งใช้เรียก ฐานรูปเคารพทุกชนิด ทั้งที่มีร่องรองรับการทรงน้ำและที่ไม่มีร่องรองรับน้ำ โดยฐานรูปเคารพที่มีร่องรองรับน้ำน้ำยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “สนานโทรณี” ร่องรอยของฐานโยนีโทรณะเริ่มปรากฏขึ้นในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (2800-800 ปีก่อนพุทธกาล) โดย John Marshall เริ่มทำการขุดค้นเมืองฮารัปปา แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ในปี พ.ศ. 2463 และได้ค้นพบหินเจาะรูทรงกลมซึ่งเขาเสนอว่าเป็นฐานที่เสียบประติมากรรมทรงอวัยวะเพศชาย และยังพบประติมากรรมหินทรงอวัยวะเพศชายบนฐานกลมซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฐานโยนีในยุคแรก ต่อมาหลักฐานของ ฐานโยนีจึงเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 โดยพบการสร้างฐานโยนีโทรณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้รองรับแท่นศิวะลึงค์ ซึ่งแต่เดิมถูกปักไว้ในดิน หรือตั้งไว้ในห้องครรภคฤหะโดยไม่มีฐานรองรับ หลักฐานของฐานโยนีโทรณะในยุคนี้ได้แก่ ฐานโยนีโทรณะของถ้ำเอเลฟานต้า รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่12 โดยพบฐานโยนีโทรณะทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมอินเดียหลั่งไหล่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏหลักฐานการใช้ฐานโยนีโทรณะ และฐานรูปเคารพในศาสนาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทย เพื่อใช้วางรูปเคารพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ฐานโยนีโทรณะที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ที่ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ภายในห้องครรภคฤหะ ซึ่งฐานโยนีโทรณะดังกล่าวประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นของเดิม และชิ้นส่วนที่ทำจำลองขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานของฐานรูปเคารพซึ่งสันนิษฐานว่าใช้วางรูปเคารพของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ในศาสนาฮินดู และเป็นเทพเจ้าที่ถูกบูชาในฐานะเทพเจ้าองค์รองของปราสาทสด๊กก๊อกธม รู้หรือไม่ ???? ปลายท่อน้ำของฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ทางทิศเหนือเสมอ เนื่องจากคติความเชื่อของศาสนาฮินดูที่ว่า ทิศเหนือเป็นทิศที่แม่น้ำคงคาไหลลงมา ฉะนั้นน้ำที่ไหลลงมาจากการทำพิธีรดน้ำองค์ศิวลึงค์จึงเหมือนน้ำที่ไหลย้อนขึ้นไปยังสรวงสวรรค์


พระอุดรคณาภิรักษ์ (กิตติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ).  กรรมเวร และพัฒนาการทางจิต.  พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2509.




          สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง อาทิ แผ่นไม้สลักเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน สมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือสมุดไทย ฝาบาตรและเชิงบาตรประดับมุกที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕       นอกจากนี้ ยังมีงานศิลปกรรมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศ์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้น อาทิ            - ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ (เทคนิคสลักดุนโลหะ ปิดทอง ลงยาสีและประดับคริสตัล)            - เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ (เทคนิคประดับมุกทึบเต็มพื้นที่ (ปูพื้นอย่างโมเสค) ประดับด้วยลายโลหะสลักดุน             - พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เทคนิคเขียนสีน้ำมัน) พร้อมกรอบปั้นปูนน้ำมัน            - พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ต้นแบบปูนปลาสเตอร์)           - การเขียนภาพจิตรกรรมลำดับเหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ด้วยเทคนิคเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามผสมดินสอพอง โดยได้รวบรวมขั้นตอนเป็นองค์ความรู้สืบทอดกระบวนการงานช่างแบบโบราณของกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่             ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  เปิดวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)



          กรมศิลปากร จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลองในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี  แห่งการสถาปนากรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๖ กรมศิลปากร ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อหารายได้นำเข้ากองทุนโบราณคดี ใช้ในการบูรณะโบราณสถาน และกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ การจัด สร้างครั้งนี้ ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้วยฝีมืออันงดงาม ถือเป็นการจัดสร้างครั้งแรก และจัดสร้างจำนวนจำกัด พิเศษคือใต้ฐานของพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์ได้บรรจุไม้ช่อฟ้าเดิมซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และเทียนชัยเข้าพรรษา ซึ่งถวายองค์พระพุทธสิหิงค์เพื่อเป็นนิมิตแห่งความสว่างไสวของชีวิต           ในการนี้ กรมศิลปากรจะจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดย พระเถรานุเถระ ผู้ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชน จำนวน ๙ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๔๙ น. เป็นวันมหาสิทธิโชค และตรงกับราชาแห่งฤกษ์ โดยจะอัญเชิญวัตถุมงคลที่จัดสร้างทั้งหมดไว้ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นเวลา ๑ ราตรี เพื่อซึมซับความศักดิ์สิทธิ์ จากองค์พระพุทธสิหิงค์ และถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง           กรมศิลปากร  จึงเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ พระกริ่งพระพุทธสิหิงค์ และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง ชั้น ๓ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ โทร. ๐ ๒๑๒๖ ๖๕๕๙ หรือ facebook page พระพิฆเนศวร ๑๐๘ ปี กรมศิลปากร (เปิดให้จองในวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ -๑๖.๐๐ น.) *ปิดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์


          จารึกที่คนสับสนกับจารึกเมืองศรีเทพ....           จารึกบ้านหนองไม้สอ เป็นเสากลมรูปสัณฐานคล้ายดอกบัวตูม มีเส้นลวดบัวรอบ ฐานมีเดือยยาวเป็นรูปหมุดหรือตะปู ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น “หลักเมืองศรีเทพ” สับสนกับจารึกเมืองศรีเทพ ตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “ ...ศิลาจารึกพบที่เมืองศรีเทพครั้งนี้แปลกมาก สัณฐานคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างปลายที่เสี้ยมแหลมเป็นแต่ถากโกลน สำหรับฝังดินขัดเกลี้ยง...”  ตามประวัติระบุว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรมการจังหวัดเพชรบูรณ์ส่งมาให้เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๘๑ นำเก็บรักษาไว้ที่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗           อยู่ห่างจากจุดที่พบจารึกบ้านวังไผ่ไปทางทิศตะวันออก ๓ กิโลเมตร กำหนดเลขบัญชีวัตถุเป็นจารึก K.๙๗๙ ตาม Inscriptions du Cambodge โดยศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ให้ความเห็นว่าเป็นอักษรขอมสมัยเมืองพระนคร ภาษาขอม ๓ บรรทัด มีร่องรอยถูกอุด มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ กล่าวถึง เสตญ และบริวารหญิง (ไต) ๓ คน           ภายหลังผู้ช่วยศาสตราจารย์กังวล คัชชิมา ได้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบตัวอักษร “ร” ในจารึกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักราชกำกับไว้ว่า มีลักษณะอักษรเส้นเดียวยาว ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย มักจะเขียนไม่เป็นระเบียบ และตัวหนังสือแตกต่างจากฟูนัน-เจนละ  อีกทั้งอักษรขอมสมัยเมืองพระนคร ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ ทำให้ถอดเนื้อความได้ใกล้เคียงกัน อาจเปรียบเทียบได้กับคาถาเยธมฺมาอักษรปัลลวะและหลังปัลลวะที่มีความแตกต่างกันสังเกตจากพัฒนาการตัวอักษร           จึงนับว่าจารึกหนองไม้สอเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ระยะแรก กำหนดอายุได้ราว พ.ศ. ๙๐๐-๑๐๐๐ กล่าวถึง ...ไวษฺณว ราม และลักษมณ... เนื้อความส่วนใหญ่ชำรุดเสียหาย แต่ยังคงแสดงให้เห็นความเชื่อและความรับรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ของเมืองโบราณศรีเทพได้อย่างชัดเจน     อ้างอิงจาก : กรมศิลปากร. “จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔”. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. กรมศิลปากร. “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ”. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐ กังวล คัชชิมา. “จารึกพระเจ้ามเหนทรวรมัน”. โครงการวิจัยจากกองทุนสนันสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๖๒ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “เรื่องเที่ยวที่ต่าง ภาค ๓ เล่าเรื่องเที่ยวมณฑล เพชรบูรณ์และเรื่องความไข้ เมืองเพชรบูรณ์”. กรุงเทพฯ: วิศัลย์การพิมพ์, ๒๕๑๙. George Cœdès, “Nouvelles inscriptions de Si T’ep (K. 978, K. 979),” in Inscriptions du Cambodge vol. VII .Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1964, แปลโดย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล


๕ พฤศจิกายน วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย  เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖สิริชันษาได้ ๖๘ ปี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล ณ ลำภูน (ปัจจุบันใช้คำว่า ณ ลำพูน) เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า na Lambhun  ภาพถ่ายและเครื่องแต่งกายของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน โอรสองค์ใหญ่มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ อ้างอิง จ ค นะ ลำพูน ตัวตายดีกว่าชื่อตาย. พิมพ์แจกไนงานพระราชทานเพลิงสพ พลตรี เจ้าจักรคำขจรสักดิ เจ้าผู้ครองนครลำพูน นะ เมรุสุสาน นะ บ้านหลวย ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๖. พระนคร: พระจันท, ๒๔๘๖.พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.


//กลุ่มโบราณ​สถาน​กลางเวียง​กุมกาม​ : สมุดบันทึกความลับใต้พิภพ​จากอดีต//... เย็น​นี้แล้ว สำหรับงานท่องเที่ยว​โบราณ​สถาน​ยาม​ราตรี​ "แอ่วกุมกามยามแลง" ที่จะจัดขึ้น​ ณ​ ลานกิจกรรม​สาธารณ​ะ​ วัดหนานช้าง​ -​ วัดอีค่า​ง​ ใจกลางเวียงกุมกาม​ ซึ่งมีความสวยงาม​คลาสสิค​ตามแบบฉบับของโบราณ​สถาน​ยุคทองของล้านนา​ ซึ่งได้เก็บความลับจากอดีตผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานจนมีการค้นพบในปัจจุบั​น... กลุ่มโบราณ​สถาน​ใจกลางเวียงกุมกาม​ ประกอบด้วยโบราณ​สถานสำคัญ​ 3 แห่ง​ ประกอบด้วย​ วัดอีค่า​ง​ วัดหนานช้าง​ และวัดปู่เปี้ย​ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ​ 20​ -​ 22 ร่วมระยะเวลายุคทอง​ ของอาณาจักร​ล้านนา​ หนึ่งในนั้นมีโบราณ​สถาน​ 1  แห่งที่เก็บซ่อนความลับจากอดีต​ เปรียบเสมือนสมุดบันทึกเล่มใหญ่​ของเวียงกุมกาม... โบราณ​สถานที่กล่าวถึงข้างต้นนี้​ คือ​ วัดหนานช้าง​ กลุ่มโบราณ​สถานขนาดใหญ่​ ที่ประกอบด้วยอาคารมากถึง​ 13​ หลัง​ อยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกกว่า​ 2 เมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า​ 3 ไร่​ การขุดศึกษาทางโบราณคดี​ พบข้อมูลสำคัญ​ ดังนี้... 1) ภูมิรู้สู้วิกฤต​อุทกภัย​ การขุดศึกษา​พบลักษณะ​ชั้นดินก่อเป็นพนังกั้นน้ำ​ มีวัตถุประสงค์​เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ท่วมหลากเข้ามาในพื้นที่วัด​ สะท้อนถึงความพยายามแก้ปัญหา​น้ำท่วมของชาวเวียงกุมกามในอดีต... 2) ความสัมพั​นธ์ระหว่างจีนกับล้านนา​ การศึกษา​ทางโบราณคดี​ พบหลักฐาน​ประจักษ์​พยานสำคัญ​ คือ​ กลุ่มภาชนะเครื่องถ้วยจีนและเครื่อใช้อื่น​ ๆ​ รวมกว่า​ 50​ รายการ​ บรรจุในใหและถูกนำมาฝังอยู่ในชั้นดินก่อนการล่มสลายของเวียงกุมกาม​ หนึ่งในหลักฐานกลุ่มนี้ปรากฏ​เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์​หมิง​ ที่ปรากฏจารึกอักษร​จีน​ บ่งชี้ให้เห็นว่า​ เป็นของที่ผลิตขึ้นจากเตาหลวง​ สำหรับเป็นเป็นเครื่องต้นสำหรับจักรพรรดิ​ หรือพระราชทานให้แก่พระมหากษัตริย์​ของดินแดนที่มีความสัมพันธ์​ทางการทูต​ และได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิ​จีนเท่านั้น​ หลักฐาน​กลุ่มนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์​ระหว่างจีนและล้านนาผ่านระบบบรรณาการได้เป็นอย่างดี... 3) การล่มสลายของเวียงกุมกาม​ จากลักษณะการฝังไหบรรจุกลุ่มเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์​หมิงที่วัดหนานช้าง​ พบว่าอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าฐานรากของอาคารโบราณ​สถาน​ และมีซากปรักหักพังของโบราณ​สถานปะปนอยู่ชั้นดินตอนบนถัดขึ้นไปเป็นชั้นตะกอนทราย​ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า​ เป็นการฝังเพื่อต้องการซุกซ่อนสมบัติเพื่อรอเวลาที่จะนำกลับขึ้นมาอีกครั้ง​ เมื่อวิเคราะห์​ร่วมกับจารึกที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีน​ จะพบว่าในห้วงระยะเวลาดังกล่าว​ (พุทธศตวรรษ​ที่​ 22) เชียงใหม่อยู่ในสภาวะวุ่นวาย​ มีการแย่งชิงอำนาจทั้งจากภายในและภายนอก​ จากทั้งพม่า​และกรุงศรีอยุธยา​ จึงอาจเป็นสาเหตุของการฝังซ่อนสมบัติ​ ก่อนเวียงกุมกามจะถูกทั้งร้างไปและเกิดอุทกภัย​ครั้งใหญ่ขึ้นในราวปี พ.ศ.2200... สำหรับท่านที่อยากไปเสพอดีต​ เยือนสมุดบันทึกความลับจากใต้พิภพวัดหนานช้าง​ พบกัน​เย็นนี้​ ในงาน​ท่องเที่ยว​โบราณ​สถาน​ยาม​ราตรี​ "แอ่ว​กุม​กาม​ยามแลง" ณ​ ลานกิจกรรม​สาธารณ​ะ​วัดอีค่าง- วัดหนานช้าง​ เวียงกุมกาม​ เวลา​ 16.00​ น.​ เป็นต้นไป


Messenger