ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือก. โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือก ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันตก ที่เรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” อยู่ห่างจากประตูอ้อ (ประตูเมืองด้านทิศตะวันตก) ประมาณ ๑,๖๕๐ เมตร .โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในวัดประกอบด้วย มณฑป ลักษณะเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ ๑๓.๑๐ เมตร ฐานสูงก่อด้วยศิลาแลงและมีบางส่วนเสริมด้วยอิฐ ผนังก่อด้วยศิลาแลงเป็นผนังเตี้ยๆ มีการบากเป็นร่องตลอดแนวด้านบน สันนิษฐานว่าเพื่อรองรับผนังไม้ ภายในอาคารมีเสาศิลาแลงทรงกลมขนาดใหญ่จำนวน ๒๐ ต้น สำหรับรองรับโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา พื้นภายในปูด้วยอิฐฉาบปูน บริเวณตอนกลางของมณฑปมีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ ๕ เมตร  โดยรอบฐานด้านนอกมณฑปมีการก่อศิลาแลงเป็นกรอบภายในบดอัดดินเพื่อยกระดับพื้นใช้งานทำเป็นลานประทักษิณ .วิหาร ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของมณฑป ลักษณะเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๗.๐๐ เมตร ยาว ๑๑.๐๐ เมตร ฐานก่อด้วยอิฐ สันนิษฐานว่าเป็นวิหารโถง ภายในและภายนอกอาคารมีเสาศิลาแลงรองรับโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา พื้นภายในปูด้วยอิฐฉาบปูน มีอาสน์สงฆ์ก่ออิฐอยู่บริเวณด้านทิศใต้ อาคารหลังนี้เดิมเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขหน้า-หลัง ต่อมามีการก่อฐานเพิ่มเติมปิดส่วนมุขเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านทิศใต้ของวิหารมีฐานเจดีย์รายจำนวน ๔ องค์ .ด้านทิศตะวันออกของวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำทรงกลมก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสระ  .บริเวณบ่อน้ำพบการก่ออิฐเป็นแนวเตี้ยๆ คล้ายทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบบ่อ แต่เหลือเฉพาะแนวทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก ภายในกรอบปูด้วยหินชนวนเป็นพื้นรอบบ่อ และพบรางระบายน้ำทำจากหินชนวนและศิลาแลงฝังไว้ใต้ดินสำหรับระบายน้ำมายังสระน้ำ.ประวัติการศึกษาและดำเนินงานที่ผ่านมา.เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัยและกล่าวถึงวัดตระพังช้างเผือกในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงว่า “...ออกจากวัดสะพานหินย้อนทางกลับไปดูวัดตระพังช้างเผือกซึ่งอยู่ริมทางที่เดินไปเขาพระบาทน้อย วัดนี้ตั้งอยู่ข้างบึงหรือสระอันหนึ่งซึ่งมีนามว่าตระพังช้างเผือกในวัดนี้มีอุโบสถย่อมๆ อยู่หลังหนึ่ง แต่เสาเป็นแลงมีบัวปลายเสา ทำฝีมือพอดูได้หลังอุโบสถออกไปทางตะวันตกมีเป็นฐานยกสูงพ้นดิน ฐานเป็นสองชั้น มีเสาแลงสี่มุมทั้งสองชั้น รวมเป็น ๘ เสาด้วยกัน ท่าทางชะรอยจะเป็นบุษบกโถงๆ ประดิษฐานพระปรางค์หรือพระพุทธรูป ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีพระเจดีย์เล็กๆ องค์หนึ่ง กับมีเป็นกองๆอยู่อีก ซึ่งอาจเป็นเจดีย์แต่ทลายเสียหมดแล้ว ในเขตวัดนี้ได้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งนอนทิ้งอยู่ในรก ยอดเป็นรูปมน ที่ฐานมีเป็นเดือยต่อลงไปสำหรับปัก แต่ไม่ปรากฏว่าได้เคยปักอยู่ตรงไหน วัดศิลานั้นดูได้ความว่า สูงแต่เดือยถึงยอด ๒ ศอกคืบเศษ กว้าง ๑ ศอก หนาประมาณ ๙ นิ้ว ส่วนเดือยนั้นยาวประมาณคืบกับ ๖ นิ้ว ศิลานี้ชำรุดแตกและตัวอักษรลบเลือนเสียมาก ได้จัดการให้ยกไปยังที่พักชำระล้างพอสะอาดแล้วตรวจดูอีกทีหนึ่งอักษรจารึกมีทั้ง ๒ หน้า เป็นอักษรขอมหน้าหนึ่ง อักษรไทยโบราณหน้าหนึ่ง ทางด้านอักษรขอมเป็นด้านที่จมอยู่ในดิน ตัวอักษรจึงไม่ใคร่จะลบเลือนยังอ่านได้ แต่ตัวอักษรขอมมีตัวที่แปลกๆ นัยน์ตาอยู่มาก จึงได้คัดตามตัวส่งเข้ามาถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรสเพื่อทรงอ่าน... ”.จารึกที่ถูกกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงนั้น ต่อมาได้พบว่าถูกเคลื่อนย้ายมายังเขาไกรลาส สวนซ้ายในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรเข้าทำการสำรวจและทำสำเนาจารึก ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้นำมาเปรียบเทียบข้อความที่อ่านไว้บ้างเล็กน้อยในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ทำให้ทราบว่าจารึกหลักนี้คือจารึกป้านางคำเยียที่พบจากวัดตระพังช้างเผือก.ศิลาจารึกป้านางคำเยีย ทำจากหินชนวน รูปทรงเป็นแผ่นใบเสมา จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-บาลี มี ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ เป็นจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มีเนื้อหาใจความกล่าวถึง ป้านางคำเยียมีจิตศรัทธาได้ขอซ่อมแซมวัดแห่งนี้เมื่อมหาศักราช ๑๓๐๑ หรือ จุลศักราช ๗๔๑ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๒๒ ซึ่งในจารึกกล่าวว่าเดิมวัดแห่งนี้สร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) แต่สิ่งก่อสร้างภายในวัดได้ชำรุดหักพังลง ป้านางคำเยียจึงได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหาร สร้างสถูป เจดีย์ และพระพุทธรูปถวายเป็นพุทธบูชา รวมถึงได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ และส่วนด้านที่ ๒ นั้น เป็นจารึกอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี มีเนื้อหากล่าวพรรณนาถึงลายลักษณ์ที่ปรากฏในพระบาททั้งสองแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญทำให้เห็นถึงลักษณะ ลวดลายต่างๆ และคติความเชื่อในการสร้างรอยพระพุทธบาทในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี.ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี พบว่าวัดตระพังช้างเผือกมีการก่อสร้าง ๒ สมัยหรือ ๒ ช่วงเวลา สอดคล้องกันกับข้อความในจารึกป้านางคำเยียที่กล่าวว่าวัดนี้สร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) แต่สิ่งก่อสร้างได้ชำรุดหักพังลงป้านางคำเยียจึงได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ และหากพิจารณานำเอารูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีการสร้างมณฑปเป็นประธานของวัดดังเช่นที่วัดตระพังช้างเผือกนั้น พบว่ามีการสร้างมณฑปรูปแบบใกล้เคียงกันนี้ โดยนิยมสร้างเป็นอย่างมากในช่วงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) เป็นต้นมา ดังเช่นที่วัดศรีโทล และหอเทวาลัยมหาเกษตร ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีหลักฐานจารึกระบุช่วงเวลาอยู่ในระยะเวลาเดียวกันกับวัดตระพังช้างเผือก ทำให้เชื่อได้ว่าวัดตระพังช้างเผือกคงสร้างขึ้นในช่วงสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ในช่วงราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ใช้งานต่อเนื่องมาจนชำรุดหักพังลงจนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๒ ป้านางคำเยียจึงได้ขอทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ หลังจากนั้นจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด.และในปี พ.ศ.๒๕๖๔ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือก ซึ่งเป็นวัดหนึ่งในโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานด้านทิศตะวันตก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยได้ดำเนินการบูรณะและปรับภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิก นอกเมืองด้านทิศตะวันตก จำนวน ๕ วัด ประกอบด้วย วัดจรเข้ร้อง วัดตระพังกระดาน วัดป่ามะม่วงตะวันตก วัดตระพังช้างเผือก และโบราณสถานร้าง ต.ต.๒๖/๑  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงแข็งแรงให้กับโบราณสถาน และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสืบต่อไป.เอกสารอ้างอิง.๑. กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี มอบให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://digital.nlt.go.th/items/show/18858)๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  เที่ยวเมืองพระร่วง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๑. (อ่านเพิ่มเติมที่ได้ที่ https://www.finearts.go.th/.../DmXieNBoCKqhdshKUSb2bPYISK...)๓. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกป้านางคำเยีย. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๕. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/92๔. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟีเจอร์วัน. โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานด้านทิศตะวันตก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๔. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่https://drive.google.com/.../1U4buY4Y5Pij4.../view...)๕. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, ๒๕๖๑.๖. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../1EoIqbl9qQ8z4ieqBF.../view...)๗. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือกและวัดป่าขวาง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../1ail4btwrY5N.../view...)#โบราณสถาน #วัดตระพังช้างเผือก #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย #สุโขทัย




          เตรียมพบกับ.....นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” (The Endless Epic of Japanese-Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture) ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ  พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ อังคาร 


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เกร็ดประวัติศาสตร์ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” วิทยากรโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) และ นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ทาง Youtube : กรมศิลปากร


          นายบพิตร วิทยาวิโรจน์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยถึงแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเจดีย์ วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ กรมศิลปากรจะบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ โดยจะมอบหมายวิศวกรให้เข้ามาทำการประเมินสภาพและความปลอดภัยของพื้นที่บริเวณองค์เจดีย์ก่อนจะมอบหมายให้ทีมนักโบราณคดีเข้าทำการศึกษาและคัดแยกหลักฐานทางโบราณคดีร่วมกับจิตอาสาและอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษา โดยระหว่างการดำเนินการจะมอบหมายให้ภัณฑารักษ์และนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เข้ามาจัดทำทะเบียนและอนุรักษ์โบราณวัตถุไปพร้อมกัน          นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมอบหมายให้นักจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์ทุกขั้นตอน เพื่อจัดทำจดหมายเหตุเป็นองค์ความรู้เรื่องของการบูรณะองค์เจดีย์ในอนาคต ซึ่งภายหลังจากกระบวนการศึกษาทางโบราณคดีแล้วเสร็จ จะนำไปสู่การร่วมกันหาแนวทางการบูรณะหรือฟื้นฟูเจดีย์วัดศรีสุพรรณในลำดับต่อไป ทั้งนี้ ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแจ้งความคืบหน้าการบูรณะพระธาตุเจดีย์วัดศรีสุพรรณแล้ว


บทความสัปดาห์นี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา เสนอ บทความที่เกี่ยวกับจังหวัดสตูลเรื่อง สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศ ผ่านด่านศุลกากรเกาะนก พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๒๖ด่านศุลกากรเกาะนก ตั้งอยู่ที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ในบริเวณใกล้เคียงกันมีด่านศุลกากรเกาะยาว เป็นด่านที่ตั้งอยู่ในทะเล ซึ่งอยู่บนเส้นทางการเดินเรือไปยังรัฐเปอร์ลิส รัฐปีนัง เกาะลังกาวี และประเทศสิงคโปร์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กรมศุลกากรได้ยกเลิกด่านศุลกากรเกาะนกและด่านศุลกากรเกาะยาว รวมเป็น ด่านศุลกากรสตูล ในปัจจุบันจากบัญชีเรือออกต่างประเทศของด่านศุลกากรเกาะนก พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๒๖ ถ่านไม้ป่าเลนเป็นสินค้าที่มีเรือบรรทุกผ่านด่านศุลกากรเกาะนกต่อเนื่องถึง ๑๓ ปี มีปริมาณการส่งออกไปยังต่างประเทศมากน้อยแตกต่างกันไป อาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างทั้งเรื่องกลไกราคา ปริมาณความต้องการ และมาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้ ด้วยปริมาณถ่านไม้ป่าเลนกว่า ๑,๖๖๕,๐๐๐ ตัน ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว ถ่านไม้เหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ในรูปแบบใด และถ่านไม้ป่าเลนที่ผ่านด่านศุลกากรเกาะนกไปยังต่างประเทศนั้นเป็นถ่านที่ผลิตในจังหวัดสตูลเพียงแหล่งเดียวหรือเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากพื้นที่อื่นด้วย เป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาต่อไปซึ่งข้อมูลนี้พบได้จากเอกสารจดหมายเหตุชุดเอกสารด่านศุลกากรสตูล บัญชีเรือออกต่างประเทศ ด่านศุลกากรเกาะนก (พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๒๖) เเละในภาพถ่ายเก่าจากคุณลินจง โกยะวาทินขอเชิญทุกท่านศึกษาได้จากบทความ ดังนี้


องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง “สิริสาธรนารีรัตน์: พระภูษาไหมจากที่ราบสูงโคราช” จากพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีพระทัยตั้งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์แห่งศิลปาชีพ สืบสานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาผ้าไทย โดยพระองค์ได้พระราชทานลายผ้า “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักความสุขให้แก่ชาวไทย ในการนี้ กลุ่มทอผ้าต่างๆจึงได้นำลายผ้าพระราชทานไปรังสรรค์ผลงานออกมามากมาย และหนึ่งในความสำเร็จชาวจังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถนำผ้าไหมยกดอกที่มีชื่อว่า “สิริสาธรนารีรัตน์” เข้ารับพระราชทานรางวัลได้สำเร็จ ขอบคุณข้อมูลจากนายธงชัย พันธุ์สง่า ครอบครัวดีเทล ผู้ประกอบการโอทอปประเภทผ้า จากจังหวัดนครราชสีมา รวบรวมและเรียบเรียงโดย นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร บรรณารักษ์ชำนาญการ


"เรื่องเล่าจากหลุมขุดค้น" ตอน อุลกมณี (Textite) ในฐานะหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากขุดค้น ณ แหล่งโบราณคดีบ้านห้วยหัน 2 ตำบลวังชมภู อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ โดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ


         อโรคยศาล แปลตามตัวอักษรได้ว่า ศาลาไร้โรค หรือก็คือศาสนสถานพยาบาลในสมัยเขมรโบราณ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยบันทึกเอาไว้ในจารึกปราสาทตาพรหมว่า ทรงให้สร้างขึ้นมากถึง 102 แห่งในแต่ละวิษัยหรือเมือง ในจำนวนนั้นอยู่ในประเทศไทยถึง 30 แห่งด้วยกัน           อโรคยศาล จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือสถานพยาบาลสร้างด้วยไม้ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยจริงๆ และส่วนที่สองคือวิหารหรือบรรณาลัย           รูปแบบของศาสนสถานเขมรโบราณขนาดเล็กแบบหนึ่ง มีองค์ประกอบ คือ ปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ที่บริเวณมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาท ประธานเป็นที่ตั้งของบรรณาลัย ซึ่งเป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไป ด้านทิศตะวันตกของปราสาทประธาน นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก สิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างด้วยศิลาแลง           ศาสนสถานดังกล่าว บางแห่งได้พบรูปพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (พระพุทธเจ้าผู้รักษาโรค ผู้มีประกายดั่งไพฑูรย์) บางแห่งพบศิลาจารึกของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ระบุว่า ที่แห่งนั้นเป็นอโรคยาศาล          ศาสนสถานดังกล่าว บางแห่งได้พบรูปพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา (พระพุทธเจ้าผู้รักษาโรค ผู้มีประกายดั่งไพฑูรย์) บางแห่งพบศิลาจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระบุว่า ที่แห่งนั้นเป็นอโรคยาศาล มีการพบจารึกที่บันทึก พระราชปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในการสร้างอโรยคศาลมีความว่า         “โรคทางร่างกายของประชาชนนี้ เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นทุกข์ของเจ้าเมือง อีกทั้งมีจารึกเกี่ยวกับรูปพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา ความว่า "พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วย รูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป " ลักษณะของพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แตกต่างจากลักษณะของพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา ที่ท่านจะถือหม้อยาอยู่ที่พระหัตถ์ เเต่ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ท่านจะมีลักษณะคล้ายกับพระวัชรธร (พระอาทิพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสูงสุดในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายวัชรยาน)      จัดทำโดยนางสาวปิยาพัชร พองพรหม นักเรียนฝึกประสบการณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           38/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “มหาก...” จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง           พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “มหาก...” พบร่วมกับพระพิมพ์พระสาวกมีจารึกองค์อื่น ๆ รวม ๗ องค์ จากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพิมพ์พระสาวก กว้าง ๔.๘ เซนติเมตร สูง ๙.๒ เซนติเมตร เศียรเรียบไม่มีอุษณีษะและเม็ดพระศกเหมือนพระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นปีกกา เนตรเหลือบต่ำ นาสิกใหญ่ โอษฐ์แบะ ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดอังสาขวา หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานเรียบ มีแผ่นหลังรูปสามเหลี่ยมปลายมน มุมล่างขวาหักหายไป ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ มีจารึกตัวอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จำนวน ๑ บรรทัด ความว่า “มหาก” กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว            นักวิชาการเสนอว่าจารึก “มหาก...” หมายถึงนามพระสาวกองค์หนึ่งในกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” ซึ่งเป็นพระสาวกสำคัญจำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท อาจแปลความได้ ๒ ประการดังนี้           ๑.  มาจากนาม “มหากสฺสโป” หมายถึง พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นเอตทัคคะในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณของธุดงค์ นอกจากนี้ยังเป็นประธานและผู้ถามพระธรรมและพระวินัยในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ด้วย ในการสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์สาวกประชุมกันจำนวน ๕๐๐ รูป ที่ถ้ำสัตตบรรณ ภูเขาเวภาระ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน มีพระอานนท์เป็นผู้ตอบพระธรรม พระอุบาลีเป็นผู้ตอบพระวินัย และพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์            ๒. มาจากนาม “มหากจฺจายโน” หมายถึง พระมหากัจจายนะ หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกว่า พระสังกัจจายน์ พระมหากัจจายนะเป็นเอตทัคคะในด้านแสดงธรรมย่อให้พิสดาร เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลมสามารถอธิบายขยายความได้ตรงตามพระพุทธดำรัสได้อย่างสมบูรณ์   เอกสารอ้างอิง จิรัสสา คชาชีวะ. “คำ “เมตเตยยะ” ที่เก่าที่สุดที่ได้พบจากหลักฐานประเภทจารึกในประเทศไทย”. ดำรงวิชาการ ๒, ๓ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๔๖) : ๒๙ - ๓๘. ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน :  กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.  ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ. “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะ พบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี.” ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง ความก้าวหน้าใน การศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี. โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี,  ๒๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖. ปัญญา ใช้บางยาง. ๘๐ พระอรหันต์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๕๒.


Messenger