ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.45/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 15หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



พระเมรุ   ที่มา : กองบรรณาธิการ วารสารศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2539 ปกใน            ตั้งแต่สมัยโบราณกาล พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงกำหนดประเพณีขึ้นไว้ เป็นแบบอย่างที่ดีงามเพื่อให้ประชาชนในชาติได้ถือปฏิบัตินับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาม เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เป็นต้นว่า ประเพณีท้าย วัฒนธรรมไทยปลูกฝังให้มีจิตใจเคารพยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ตัว คุณประโยชน์ไว้แก่ชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี หรือ ตลอดจนพระบรมวงศ์ผู้มีคุณูปการแก่ประเทศชาติ ซึ่งได้รับการยกย่องเปรียบ เสมือนสมมติเทวราช ครั้นถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ คือเมื่อเสด็จสวรรคต ซึ่งหมายความว่าเสด็จไปสู่เขาวลัยสถาน ณ เชาพระสุเมรุ และตามพระราช ประเพณีจะจัดการกวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยอัญเชิญพระบรมศพไปกวาย พระเพลิง ณ พระเมรุที่ได้สร้างขึ้น ณ กลางในพระนคร และในการประกอบพิธี ยึดถือการบำเพ็ญพระราชกุศลตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ           ครั้นเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ยังความอาดูรโศกเศร้าให้กับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ และเพื่อใช้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะ กรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขึ้น โดยมีการแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการขึ้นอีกหลายคณะ กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายก่อสร้างพระเมรุมาศ ราชรถ พระยาน มาศ และส่วนประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ได้รับมอบหมายในการ ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศ และอาคารส่วนประกอบเพื่อใช้ในพระราชพิธี           พระเมรุมาศขที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนั้น เรืออากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ของกรมศิลปากร ได้ออกแบบอย่างงดงามสมพระเกียรติ แสดงถึงความเป็นเลิศในงานด้านสถาปัตยกรรมไทย กำหนดปลูกสร้างที่ท้องสนามหลวงด้านทิศใต้เช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หลัง จากได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการและการให้ความเห็นชอบขององค์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว มีมติให้ใช้แบบพระเมรุมาศทรงปราสาทขตรมซ ย่อ มุมไม้สิบสองยอดเคี้ยวยอดเดียว ซึ่งได้ดำเนินการโดยปรับเตรียมพื้นที่ การวางโครงสร้างอาคาร ขยายแบบ ได้มีการบวงสรวง เข้าที่ท้องสนามหลวงและบูชาพระพิฆเณศร์ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุขวิช รังสิตพล) เป็นประธานในพิธี และวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๕ ได้มีการทําพิธียกเสาเอกพระเมรุมาศ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) เป็นประธาน           ลักษณะของพระเมรุมาศสร้างขึ้นด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ทรงปราสาทจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสองยอดเกี้ยว ยอดเดียว ประดับตกแต่งด้วยลวดลายและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ใช้สีตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีสีแดงและ สีของเป็นหลัก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษของย่นเกือบทั้งหมด สูงจากพื้นถึงยอด ๓๐.๕๐ ม. ไม่รวมสัปตปฎลเศวตฉัตร ๗ ชั้น ที่ยอด กว้าง ๒๖.๗๐ เมตร ยาว ๓๖.๓๐ เมตร หันหน้ามาทางทิศตะวันตก ส่วนหลังคาเป็นจตุรมุข ซ้อน ๒ ชั้น ลายซ้อนไม้ มุข ด้านทิศเหนือและใต้ยาวกว่าด้านตะวันตกและตะวันออก ที่หน้าบันทั้ง ๔ ด้านมีพระนามาภิไธยย่อ“สว” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี           ฐานพระเมรุมาศจัดทําเป็น ๒ ระดับ ชั้นแรกเรียกว่า ฐานชาลา เป็นฐานปัทม์ย่อเก็จประดับด้วยเขาวดาถือบังแทรก ๒๐ องค์ โดยรอบ มีบันได ๑๒ แห่งๆ ละ ๙ ชั้น ฐานบนเรียกว่า พลับพระเมรุมาศ เป็นฐานสิงห์ ประดับด้วยฉัตร ๒๔ องค์โดยรอบ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลา ๑๔ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศ           องค์พระเมรุมาศ เป็นอาคารย่อมุมไม้สิบสอง มีโถงกลางตั้งพระจิตกาธาน เพดานภายในมีลายดาวเพดาน ยอดเสาเป็น เสาตัวขัว พระเมรุมาศทั้ง ๔ ด้านเปิดโต่ง มีเครื่องตกแต่งคือพระวิสูตรและฉากบังเพลิงโดยรอบ ราวหลังคาเป็นไม้ รองด้วยสังกะสี ประดับด้วยใบระกา ส่วนยอดเป็นเกี้ยว 2 ชั้น ประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตรไว้เหนือสุด           หลังจากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระเมรุมาศก็ได้ใช้เป็นสถานที่สุดท้ายที่ส่งเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สู่สรวงสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๙



นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


จังหวัดนครราชสีมา. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: จังหวัดนครราชสีมา, 2522.959.332ส275อ



ชื่อเรื่อง : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น   ผู้แต่ง : สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   พิมพ์ครั้งที่ : ๖   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ สะพานแดง บางซื่อ   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยาราชเวศม์ผดุง ท.ม.,ต.จ.ว. (สาย  สายะวิบูลย์ )              ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อให้จัดพิมพ์แจกในงานพระศพพระบวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา ซึ่งทรงเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในด้านการเล่นเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่๕


++++ทุ่งกุลาร้องไห้ : จุดบรรจบของโลกหลังความตาย++++          ...เมื่อความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต โลกหลังความตายจึงถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อเรื่องชีวิต หลังความตาย นำไปสู่พิธีกรรมการทำศพ จากเรื่องของคนตายจึงกลายเป็นเรื่องของคนเป็น...   -----ในภาคอีสานของประเทศไทยบริเวณแอ่งสกลนคร (อีสานตอนบน) จากข้อมูลการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่ามนุษย์ในอดีตมีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและใส่ของอุทิศร่วมกับศพ บางครั้งพบการนำภาชนะดินเผามาทุบปูรองศพ หรือปูทับศพก่อนฝังดินกลบ หากเป็นศพเด็กจะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนแล้วจึงนำไปฝัง ซึ่งลักษณะการฝังแบบนี้ใช้กับศพเด็กเท่านั้น แหล่งโบราณคดีที่พบรูปแบบการฝังศพ แบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น   -----ส่วนพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง (อีสานตอนล่าง) นอกเหนือจากรูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและการฝังศพเด็กในภาชนะดินเผา ยังพบประเพณีการฝังศพครั้งแรกและครั้งที่สองในภาชนะดินเผา รวมถึงการใส่สิ่งของลงในภาชนะร่วมกับศพเพื่อเป็นของอุทิศให้ผู้ตาย แหล่งโบราณคดีที่พบประเพณีการฝังศพแบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้อง (โนนป่าช้าเก่า) อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ แหล่งโบราณคดีดอนไร่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น แม้ว่าพื้นที่บริเวณนี้จะพบรูปแบบการฝังศพทั้งสองแบบ แต่โดยส่วนมาก ในแหล่งโบราณคดีแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบการฝังศพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพในภาชนะดินเผา หรือที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว ยกเว้นกรณีศพเด็กที่จะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนฝัง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพบการฝังศพทั้งสองแบบภายในแหล่งโบราณคดีเดียวกัน เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวหรือนอนตะแคงในหลุม แต่มีอยู่ศพหนึ่งเป็นผู้ใหญ่เพศชาย ถูกฝังในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ในท่านั่งมีฝาปิด มีภาชนะดินเผาขนาดเล็กและเปลือกหอยกาบเป็นของอุทิศ ซึ่งกรณีนี้อาจสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการฝังศพที่แตกต่างออกไปนี้ อาจเป็นคนต่างชุมชนที่มาตายต่างถิ่น หรือเป็นบุคคลที่มีการตายผิดปกติจึงมีวิธีการฝังศพที่ต่างออกไปจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก   -----ย้อนกลับไปเมื่อกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช (อีสานตอนกลาง) กินเนื้อที่ประมาณ ๒.๑ ล้านไร่ บริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอีสานตอนบน (แอ่งสกลนคร) และอีสานตอนล่าง (บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล) ดินแดนแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่ง แม้ชุมชนเหล่านี้จะตั้งกระจายห่างกันออกไป มีทั้งใกล้และไกล แต่กลุ่มคนในชุมชนเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนในการดำรงชีวิต ความคิด ความเชื่อ ที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องพิธีกรรมความตายที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วยสภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้มีการผสมผสานรูปแบบประเพณีต่างๆเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นรูปแบบประเพณีของตนเอง ดังหลักฐานพิธีกรรมการฝังศพที่พบ โดยปรากฏลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา (พบทั้งศพเด็กทารก เด็ก วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่) รวมถึงยังพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ภายในชุมชน ลักษณะเนื้อดิน การตกแต่งรูปทรง และหน้าที่การใช้งาน ก็ต่างออกไปจากวัฒนธรรมอื่น โดยเฉพาะภาชนะบรรจุศพรูปทรงต่างๆ รวมถึงการวางภาชนะบรรจุศพในแนวนอน แบบที่นิยมเรียกว่า “แคปซูล” (Capsules) ก็ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งโบราณคดีบ้านโพนทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และแหล่งโบราณคดีเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น   -----รูปแบบประเพณีการฝังศพในภาคอีสาน ที่ปรากฏในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมายังสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น สะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อ ของคนในสมัยนั้น เกี่ยวกับเรื่องโลกหลังความตาย จึงเป็นหน้าที่ของคนเป็นที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้วายชนม์พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกหลังความตาย สุดแล้วแต่ความเชื่อและพิธีกรรมของสังคมในวัฒนธรรมนั้นๆที่ถูกกำหนดขึ้น ภาชนะดินเผาที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศพจึงมักมีรูปแบบพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาของผู้คนในสังคม เมื่อรูปแบบเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่จึงกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ---------------------------------------------------------------- ข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ   อ้างอิง   สุกัญญา เบาเนิด. โบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี : กรมศิลปากร, ๒๕๕๓.   สุรพล นาถะพินธุ. รากเหง้าบรรพชนคนไทย : พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. สำนักพิมพ์ มติชน : กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐.   ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. โบราณคดีลุ่มน้ำสงคราม ก่ำ ชีตอนล่าง มูลตอนกลาง. บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด : ขอนแก่น, ๒๕๕๗.


องค์ความรู้ เรื่อง ภาพถ่ายเก่าเมืองร้อยเอ็ด ตอน ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ดหลังที่ ๒ จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด


ชื่อเรื่อง : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ จำนวนหน้า : 120 หน้า สาระสังเขป : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี 2460 มีเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราว ประวัติของเครื่องถ้วยปั้นแต่แรกเกิดขึ้นและมีเข้ามาในเมืองไทย การจัดชุดชาของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะการเล่นเครื่องโต๊ะสมัยรัชกาลที่ 5  ประวัติของปั้นชา และรูปแบบปั้นชาที่นิยมในไทย เป็นต้น


ประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่องรัชกาลที่ 4 ประชวรและสวรรคต




วันศุกร์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรพร้อมด้วยผู้บริหารกรมศิลปากร ตรวจราชการในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี โดยเดินทางไปสักการะพระพุทธไสยาสน์ และถวายสังฆทานแด่เจ้าอาวาสวัดพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน)​ พร้อมตรวจโครงการบูรณะวิหารวัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน)​ จากนั้นได้เดินทางไปตรวจการบูรณะกำแพงแก้ว วัดกำแพงแลง สักการะหลวงพ่อเพชร พร้อมทั้งถวายสังฆทานแด่เจ้าอาวาสวัดกำแพงแลง และเดินทางไปตรวจการบูรณะอุโบสถเก่าวัดกุฏิท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี


Messenger