ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,892 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.46/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  66 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 3หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ เรื่อง โบราณสถานน่าเที่ยวในเมืองเชียงแสน : ๓ โบราณสถาน น่าแวะชม เมื่อมาเชียงแสน จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


กฤช เหลืองลมัย.คั่วกลิ้ง – ดากิง?.ศิลปวัฒนธรรม.(37):11;กันยายน 2559.         อะไรคือที่มาของคำว่า “คั่วกลิ้ง” กันแน่ สอบถามเพื่อนฝูงชาวปักษ์ใต้ก็ได้คำตอบค่อนข้างตรงกันหลายปากว่า มันเป็นคำอธิบายลักษณะการปรุง คือจะต้องคั่วเนื้อในกระทะจนกระทั่งเนื้อนั้นแห้ง และ “กลิ้ง” ไปมาในกระทะได้ คือคั่วจนกลิ้งนั่นเอง บางคนอธิบายต่อด้วยว่า เวลาทำอย่าใส่น้ำมันเยอะ เพราะ “เดี๋ยวคั่วจะไม่กลิ้ง กลายเป็นผัดพริกแกงไป”


เมืองในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2516.959.33อ287มอ


ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ชุมนุมช่าง จำนวนหน้า : 96 หน้า สาระสังเขป : หนังสือ พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5  พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ เล่มนี้ มีเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรกเป็นพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ เมื่อจะเสด็จไปศึกษาที่ยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2428 สาระสำคัญของพระบรมราโชวาทเน้นให้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการวางพระองค์ให้เหมาะสมเมื่อไปศึกษาต่างประเทศ เช่น ให้เป็นผู้อ่อนน้อม มิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้อำนาจในทางที่ผิด ทรงเน้นเรื่องการประหยัด และให้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่างเต็มความสามารถ ส่วนภาคที่ 2 พระบรมราโชวาทที่มีไปพระราชทานแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศในระหว่าง ร.ศ. 112-113 จำนวน 3 ฉบับ มีเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปของบ้านเมือง และยกตัวอย่างเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมพระราชทานข้อคิด คำสอนไว้ด้วย


ชื่อผู้แต่ง        ภิรมย์ภักดี,พระยา ( บุญรอด เศรษฐบุตร )   ชื่อเรื่อง          ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่นว่าวต่อสู้กันในอากาศ   พิมพ์ครั้งที่     ๒   สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์     บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด ( แผนกโรงงาน )   ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๐   จำนวนหน้า       ๘๘       หน้า   หมายเหตุ       หนังสืออนุสรณ์ในพิธีถวายศาลาจงพิพัฒนสุข                         เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยตำนานว่าวพนันในประเทศไทยตำราการทำว่าวปักเป้า อุปกรณ์เล่นว่าว การทำเหนียงว่าวปักเป้า วิธีบังคับว่าวปักเป้าและตำราว่าวจุฬา รวมทั้งกติกาการเล่นว่าวสนามหลวง ร.ศ.๑๒๕


ชื่อเรื่อง                     ประชุมเพลงยาว ภาคที่ 5 เพลงยาวเจ้าพระผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณกรรมเลขหมู่                      895.9112082 ด495ปสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์  ปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               28 หน้า หัวเรื่อง                     เพลงยาว -- รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกบทกลอนที่มีความสำคัญในประวัติวรรณคดี เพลงยาวชุดนี้ปรากฏในท้องสำนวนว่าเป็นของเจ้านายที่ทรงผนวชทรงแต่ง ๓ พระองค์ จึงสมมุติเรียกว่า “เพลงยาวเจ้าพระ” บทกลอนนี้มีความงดงามและไพเราะ  


วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานพิธีเปิดโครงการเครือข่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดำเนินการโดย หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมาเพื่อเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการซ่อมและสงวนรักษาหนังสือณ โรงเรียนบ้านหนองยารักษ์-ลำโพง (รัฐประชาสรรค์)ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2484 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ จำนวนหน้า : 76 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพ นางไข่ สุจริต ณ วัดป่าโมกข์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2484 โดยมีเนื้อหาให้ความรู้เรื่องประกอบยา สรรพคุณของสมุนไพร วิธีปรุงยาแก้อาการต่างๆ เช่น ยาแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ไข้ลิ้นหด ยาแก้ลมป่วง เป็นต้น


ตำนานวัตถุสถานต่างๆ



          แหวน ....เป็นเครื่องประดับยอดนิยมของผู้คนทุกเพศทุกวัยในสมัยนี้ มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกซื้อได้อย่างง่ายดาย แล้วคนสมัยโบราณเขาประดับนิ้วด้วยแหวนแบบไหน และสวมกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?           เมื่อราว ๓,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชาวอียิปต์โบราณสวมแหวนที่พัฒนารูปแบบมาจากตราประทับ (seal signet) ที่ชนชั้นผู้นำสวมเพื่อแสดงถึงอำนาจ สถานภาพ ฐานะทางสังคม และใช้ประทับตราในเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันตัวตน เปรียบเสมือนลายเซนต์ในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อแหวนกลายเป็นเครื่องประดับเพื่อความสวยงาม ผู้หญิงชาวอียิปต์จึงนิยมสวมแหวนประดับหลายนิ้วๆละหลายวง และในราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ชาวโรมันโบราณก็รับความนิยมการสวมแหวนมาจากอียิปต์ โดยกำหนดว่าชนชั้นสูงสวมแหวนทองคำ สามัญชนสวมแหวนเหล็ก ภายหลังแหวนทองคำได้แพร่หลายในทุกชนชั้น ยกเว้นทาสที่สวมเฉพาะแหวนเหล็กเท่านั้น           ชาวโรมันโบราณมีแหวนพิเศษชนิดหนึ่ง เรียกว่า แหวนกุญแจ นอกจากรูปลักษณ์ที่เก๋ไก๋แล้วยังมีประโยชน์ใช้สอย คือตัวเรือนเชื่อมติดกับลูกกุญแจกล่องนิรภัยที่ใช้เก็บของมีค่า การสวมแหวนจึงเป็นการเก็บรักษากุญแจไว้กับตัวตลอดเวลา และยังแสดงถึงความมั่งคั่งของผู้สวมว่ามีทรัพย์สินเครื่องประดับมีค่าที่ต้องเก็บรักษาอย่างดีอีกด้วย    แหวนกุญแจ โรมันโบราณ           ในประเทศไทยเราพบหลักฐานการใช้แหวนรุ่นแรกๆ ในหลุมฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ตอนปลาย อายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นแหวนวัสดุธรรมชาติทำจากเปลือกหอยที่มีความบางมาก พบสวมที่นิ้วมือโครงกระดูกจำนวน ๘ วง และพบที่แหล่งร่วมสมัยอีกแห่งคือแหล่งโบราณคดีโคกเจริญ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี แหวนเปลือกหอย แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี อายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว           ต่อมาเมื่อคนก่อนประวัติศาสตร์รู้จักนำโลหะมาผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ พวกเขาก็เริ่มทำเครื่องประดับโลหะด้วย มีทั้งกำไล ห่วงคอ ห่วงเอว รวมทั้งแหวน ชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงระหว่าง ๒,๕๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว นิยมใช้ แหวนสำริด กันอย่างแพร่หลาย ในพิธีกรรมการฝังศพพบว่าส่วนใหญ่สวมไว้กับโครงกระดูกผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนเด็กและทารกมักเป็นการวางแหวนอุทิศให้ แหวนวัสดุอื่นมีพบบ้าง เช่น แหวนเหล็ก แหวนทองแดง แหวนโลหะผสม(สำริดกับเหล็ก) แหวนเงิน เป็นต้น   โครงกระดูกเพศชาย สวมแหวนสำริด ที่นิ้วชี้ นิ้วนางข้างซ้าย และนิ้วชี้ข้างขวา นิ้วละ ๕ วง และแม่พิมพ์แหวน แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา อายุ ๒,๕๐๐ -๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว    โครงกระดูกเพศชาย สวมแหวนสำริดที่นิ้วมือข้างซ้าย ๖๕ วง และนิ้วมือข้างขวา ๕๙ วง เป็นโครงที่พบสวมแหวนสำริดมากที่สุดในแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา อายุ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว              ชุมชนโบราณเนินอุโลกนี้ นิยมใช้แหวนสำริดมาก พบร่วมกับโครงกระดูกถึง ๔๘๑ วง ส่วนใหญ่เป็นแหวนสำริดแบบเรียบ แบบและวัสดุอื่นพบบ้าง ได้แก่ แหวนแบบมีหัวแหวนประดับ แหวนโลหะผสม(สำริดผสมเหล็ก) และ แหวนเงิน           นอกจากการสวมแหวนประดับเพื่อความสวยงามแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีสมัยเหล็กในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา อายุราว ๒,๕๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบการใช้แหวนในพิธีกรรมการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การใส่แหวนไว้ในปากผู้ตาย พิธีกรรมใส่เครื่องประดับอุทิศไว้ในปากผู้ตายนี้ พบในแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยอื่นด้วย เช่นการใส่ลูกปัดหินอาเกตไว้ในปากผู้ตาย ที่แหล่งโบราณคดีโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ---------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : ศิริพันธ์ ตาบเพ็ชร์ นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี---------------------------------------------


ชื่อผู้แต่ง :      พระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวช ชื่อเรื่อง :       พระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวช ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ปีที่พิมพ์ :       2500 สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพ โรงพิมพ์      :  ป.ป.ท จำนวนหน้า     219 หน้า                    หนังสือพระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชประสงฆ์จะทรงผนวชในพุทธศาสนา เพราะทรงดำริว่าเป็นศาสนาประจำชาติ และทรงศรัทธายิ่งขึ้นเมื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพราะความประจักว่าคำสอนของสมเด็จพระพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผลและสัจธรรม จึงมีพระราชดำรัสให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ  และแจ้งพระราชประสงค์เพื่อทราบ  นายกรัฐมนตรีได้นำกระแสรับสั่งหารือรัฐสภา เพื่อจะทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ทรงพระผนวช จึงทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี  และรัฐบาลมอบกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าของงาน     


องค์ความรู้ เรื่อง การดูแลรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเบื้องต้น (ประเภทหิน)  ออกแบบและจัดทำโดย นางสาวชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


Messenger