ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,886 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.605/5                 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194  (408-415) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



คำภู ป.  กลอนไทยภาคเหนือ เรื่อง เทวาสุรสงคราม.  พระนคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2482.






           อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ สังกัดสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร  เปิดรับสมัครพนักงานนำชม จำนวน 1 อัตรา ปฏิบัติงาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ วุฒิการศึกษาเทียบเท่า หรือ ไม่ต่ำกว่า ปวส. ด้านประวัติศาสตร์/การท่องเที่ยว หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งเท่านั้น (ในวันและเวลาราชการ 08.30 – 16.30 น.)            ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 สอบคัดเลือกวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร 044 666251 หรือ INBOX : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   แผนที่สำนักงานอุทยานฯ : https://maps.app.goo.gl/Pbp7TiYPQsvVk45E8   อ่านรายละเอียด https://drive.google.com/file/d/1XJ1YhTTPT8WIJ9PqBES_FjncZdGJdRxM/view?fbclid=IwAR0lMOqUJIZMHuA1DLFgQdBtFUDmLcomDo_jjFuxXjTIyCRRzaZ72zsty-Y


เมื่อจริตงอนงาไอราพต           จะเหี้ยนหดนั้นมีอยู่ที่ไหน ได้เอื้อนออกเเต่จะงอกงามไป       ด้วยมิใช่เช่นงาที่สามาน ฯ          เข้าสู่เดือนกันยายน ๒๕๖๖ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำลังจะเปิดให้บริการศึกษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย แอดมินจึงขอนำเสนอโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ           ลำดับที่ ๑  - งาช้างต้นพระบรมคชลักษณ์ (พลายพนมกร) ในรัชกาลที่ ๓ อยู่บนฐานไม้กลมปิดทองล่องชาด พร้อมข้อความสลักบริเวณโคนงาว่า “พระบรมคชลักษณ์งากิ่งนี้หนัก ๕๐ สลึง ๘ เฟื้อง”            ลำดับที่ ๒  - ภาพจิตรกรรมเจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายปานพลแสน) และควาญช้าง ซึ่งเจ้านครเชียงใหม่ถวาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นระวางในสมัยรัชกาลที่ ๕  เป็นผลงานของขุนประเสริฐหัตถกิจ (สาย)          โบราณวัตถุทั้งสองชิ้นนี้ เดิมเคยจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น ปัจจุบันได้นำมาเก็บรักษาในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ : คลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทอินทรียวัตถุ ๒           คำว่า "ช้างต้น" หมายถึง ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือช้างศึกที่ทรงใช้ออกรบ ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์ และช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกส่วน คติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) และพุทธศาสนาถือว่าช้างเผือกเป็นสัตว์มงคล สัญลักษณ์ของเมฆฝน ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งธัญญาหาร ภักษาหาร และผลาหาร นับเป็นหนึ่งในรัตนะ ๗ ประการเกิดขึ้นได้ด้วยบุญญาบารมีของพระจักรพรรดิแห่งแคว้นประเทศนั้น           พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวถึงการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างต้น เมื่อศักราช ๑๒๐๖ (พ.ศ.๒๓๗๗) ความว่า           “...ครั้น ณ วันอาทิตย์เดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เจ้าพระยาพระคลังถวายช้างพลายพนมกรช้าง ๑ สูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว งาขึ้นขวาปลายงาขึ้นทับกัน ขึ้นระวางเป็น พระบรมคชลักษณ์ ศักดิสารจุมปราสาท ชาติรัตกัมพล มงคลสรรพอนันตคุณ ศรีสุนทรเลิศฟ้า...”          จากตำราพระคชศาสตร์ได้กล่าวถึงกำเนิดช้างมงคลและการแบ่งช้างมงคลออกเป็น ๔ ตระกูล ตามนามของเทพผู้ให้กำเนิด คือ พรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ วิษณุพงศ์ และอัคนิพงศ์           พระบรมคชลักษณ์นั้นจัดเป็นช้างเผือกตระกูลอิศวรพงศ์ มาจากความเชื่อว่า ครั้งพระนารายณ์บรรทมอยู่ ณ เกษียณสมุทร บังเกิดมีดอกบัวผุดขึ้นทางพระนาภี พระอิศวรได้ประทานแบ่งดอกบัวให้พระพรหม พระนารายณ์ และพระอัคนี ส่วนพระองค์โยนเกสรดอกบัวแปดส่วนลงบนพื้นโลก แล้วเนรมิตรให้เกิด “อัฐคชาธาร” คือช้างแปดหมู่ เป็นศุภลักษณ์ของวรรณะกษัตริย์ หากช้างตระกูลนี้มาสู่บารมีจะทำให้บ้านเมืองเจริญด้วยทรัพย์และอำนาจ          ดังนั้นพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช ๒๔๖๔ จึงกำหนดไว้ว่า “...ผู้ใดมีช้างสำคัญ หรือช้างสีประหลาด หรือช้างเนียมแล้ว โดยเหตุที่ตนจับได้หรือโดยแม่ช้างของตนตกลูกออกมา หรือด้วยเหตุอื่นอย่างใดต้องนำขึ้นทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จให้ตามสมควร...” แต่หากปล่อยเสียหรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ ขัดขืนไม่นำขึ้นทูลถวาย “...มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท และโทษนี้ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นจักพึงต้องริบเป็นของหลวง...”          ในพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญนั้น ประกอบด้วย พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้างและพระราชพิธีสมโภชขึ้นโรงใน  ในขั้นตอนการจารึกนามช้างสำคัญจะมีการกำหนดชื่อที่บ่งบอกถึงถิ่นกำเนิด คชลักษณ์ พระบารมี และสิริมงคลต่างๆ           ข้อน่าสังเกตคือ เดิมคำนำหน้าช้างสำคัญ มักใช้คำว่า “พระบรม” ตามด้วยนาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา จึงนิยมใช้คำว่า “พระเศวต” นำหน้าช้างพลาย อาทิ พระเศวตวรวรรณ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเศวตคชเดชน์ดิลก ส่วนช้างพังนิยมใช้คำว่า “พระเทพ” หรือ “พระศรี” และมีคำลงท้ายนามด้วยคำว่า “เลิศฟ้า” หากเป็นช้างสำคัญที่ลักษณะมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกส่วนเหมือนช้างเผือก จะใช้คำว่า “เจ้าพระยา” อาทิ เจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลานปานพลแสน) นั้นเอง   ที่มาจาก : พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ.2464.  เข้าถึงเมื่อ ๒ กันยายน ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA33/%CA33-20-2503-002u.pdf มิวเซียมสยาม. “ช้างเผือก ต้องมีสีขาวเท่านั้นจริงหรือ”. เข้าถึงเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://www.museumsiam.org/km-detail.php?CID=177&CONID=4246 สถาบันพระปกเกล้า. “ช้างสำคัญในรัชกาล”  เข้าถึงเมื่อ ๔ กันยายน ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ช้างสำคัญในรัชกาล หอสมุดแห่งชาติ. “ช้างมงคล”. เข้าถึงเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://www.nlt.go.th/service/1565



ความรู้ก่อนดูโขน ตอน แนะนำนางสำมะนักขา โดย นายลักษมณ์ บุญเรืองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นความรู้ก่อนดูโขน พิพิธภัณฑ์ขอนแก่น  ตอน "แนะนำนางสำมะนักขา"จากที่ทราบในเบื้องต้นว่า พิพิธภัณฑ์ขอนแก่น จะมีโขน มหรสพแห่งชาติ โดยกรมศิลปากร มาแสดงให้ชมฟรี ๆ เย็นวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ นั้น วันนี้เรามารู้จักตัวละครตัวเอก ของตอน เล่ห์รักยักขินี กันซัก ๑ ตัวครับนางสำมะนักขา  หรืออีกชื่อว่า นางสูรปนักขา  เป็นน้องสาวคนสุดท้อง ในจำนวน พี่น้อง ๗ ตน ของทศกัณฑ์ (ประกอบด้วย ทศกัณฑ์ กุมภกัณฑ์ พิเภก ทูษณ์ ขร ตรีเศียร และสำมะนักขา  ถือว่านางเป็นต้นเรื่องคนสำคัญที่ทำให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันระหว่าง พระ ยักษ์ ลิง วุ่นวายไปทั้งลงกา ชมภู และขีดขินสืบเนื่องจากว่า นางกำลังช้ำใจที่สามี (ชิวหา)  ถูกทศกัณฑ์ตัดลิ้นขาดใจตายด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าตัวอะไรมาอมเมือง จึงออกเดินป่าหาความสำราญใจ  แล้วบังเอิญไปเจอชายหนุ่มรูปงามสองคนกำลังแก้ผ้าอาบน้ำอยู่ในป่า ซึ่งก็คือ พระรามกับพระลักษมณ์นั่นเอง  นางจึงแปลงกายเป็นสาวงามไปแอ๊วผู้ชาย   แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ นางพยายามรบเร้า พระรามจึงบริภาษนางว่าเป็นหญิงแพศยา  ถึงกระนั้นนางสำมนักขายังคงวิ่งตามพระรามไปจนถึงอาศรม นางสำมนักขาเห็นนางสีดา มีรูปร่างงดงามก็คิดว่าเป็นต้นเหตุให้พระรามไม่สนใจตน จึงเข้าทำร้ายนางสีดา พระรามเห็นก็เข้าขวาง  จนถูกพระลักษมณ์ตัดมือ เท้า จมูก และหูเป็นการลงโทษ  นางจึงหนึไปฟ้องทศกัณฑ์ แล้วใส่เชื้อไฟว่าพบสตรีรูปงามอยู่ในป่าซึ่ง หน้าตางดงามม๊ากกกกก   มากกว่าพระอุมา* พระสุรัสวดี* พระลักษมี* ชายาของมหาเทพทั้งสามเสียอีก แล้วยุยงให้ทศกัณฑ์ไปลักพาตัวนางมาเป็นของตน นับว่า นางสำมนักขาเป็นต้นเหตุของสงครามทำให้พระราม*ยกทัพไปกรุงลงกา* เลยทีเดียวแหละปล. โขนตอนนี้ท่านจะได้ชมความงามของการร่ายรำ  ฉุยฉาย แต่เป็นฉุยฉายสูรปนักขา เป็นบทชมความงามของนนางสำมะนักขาที่แปลงกายเป็นสาวงามไปจีบพระรามนะครับ




The Tales of Andaman” Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต พิพิธภัณฑ์ที่ทำให้เราได้ย้อนไปกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง) ผ่านนิทรรศการการบอกเล่าเรื่องราว โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุตามยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ส่วนแรกเป็นข้อมูลยุคก่อนประวัติศาสตร์ แรกเริ่มประวัติศาสตร์ การค้าเมืองท่าโบราณ การปรากฏหลักฐานการเข้ามาของอักษรภาษาเขียน ศาสนาในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ข้อมูลหลักฐานเริ่มต้นเมืองถลางสู่จังหวัดภูเก็ต ตลอดจนการจัดแสดงเนื้อหาความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คนที่อาศัยบนเกาะภูเก็ต นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่น่าสนใจพร้อมที่จะมอบความสนุกไปกับการเรียนรู้ เปิดให้เข้าชม ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20.- บาท ชาวต่างชาติ 100.- บาท คณะหน่วยงาน สถานศึกษา สนใจเข้าชม​ ติดต่อสอบถาม โทร. 076 - 379895 หรือสอบถามผ่านทางกล่องข้อความ


         เกวียน (ระแทะ)          ลักษณะ : เกวียน หรือ ระแทะ เป็นยานพาหนะเทียมวัว/ควาย สำหรับเดินทางไกลของของคนในอดีต ทั้งยังเป็นยานพาหนะสำหรับขนสิ่งของ ที่จะนำไปขายค้า หรือย้ายถิ่นฐาน เกวียนสองเล่มนี้เป็นของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบอง ที่น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียนมีการแกะสลักลวดลายให้มีความวิจิตรมากกว่าเกวียนทั่วไป เกวียนเล่มที่ ๑ เป็นเกวียนสำหรับบรรทุกสิ่งของ ส่วนเกวียนเล่มที่ ๒ เป็นเกวียนสำหรับคนนั่ง มีหลังคาทรงประทุน คลุมเพื่อกันแดดกันฝน ท้ายของประทุนทำเป็นบานหน้าต่างเปิดปิด          ขนาด : ๑. สูง ๕๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๐๐ เซนติเมตร          ชนิด : ไม้ แกะสลัก          อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕          ประวัติ : ระแทะเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้มาจากเมืองพระตะบอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=52862   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


Messenger