ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,886 รายการ

[พระสี่อิริยาบถ].สุโขทัยนิยมสร้างวิหารหรือมณฑปไว้ภายในวัด เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ก็มีบางแห่งที่มีการสร้างมณฑปที่มีแกนกลางขนาดใหญ่ เพื่อใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ล้อมรอบแกนกลางมณฑปนี้ ซึ่งมณฑปที่กล่าวถึงนี้จะใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง และนอน ทั้งนี้พระพุทธรูปที่กล่าวมานั้นอาจประดิษฐานอยู่ในมณฑปเดียวกันทั้งหมด หรือประดิษฐานเป็นกลุ่มอาคารใกล้เคียงกัน โดยเมืองสุโขทัยพบที่วัดพระพายหลวง วัดเชตุพน และพบที่วัดพระสี่อิริยาบถเมืองกำแพงเพชร ซึ่งการสร้างพระสี่อิริยาบถนี้ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสุโขทัย โดยคติการสร้างนี้อาจเพื่อแสดงเรื่องราวตอนต่างๆ ในพุทธประวัติ หรืออาจสร้างมาจากพระสูตรในพระพระพุทธศาสนา คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สติพิจารณาดูกายในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง และนอน หรือมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นการสร้างเพื่อแสดงถึงอิริยาบถยืน เดิน นั่ง และนอนของพระพุทธเจ้า ขณะทรงสำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระอาราม. ณ ที่วัดพระพายหลวงนั้นได้พบกลุ่มอาคารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยมณฑปที่มีแกนกลางขนาดใหญ่ก่ออิฐ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน 5 องค์ และพระพุทธรูปลีลา 1 องค์ ล้อมรอบแกนกลาง ถัดมาทางด้านทิศตะวันออกของมณฑปเป็นวิหารพระนอน และทางด้านทิศเหนือเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง สันนิษฐานว่ากลุ่มอาคารเหล่านี้สร้างขึ้นหลังสุดของวัดพระพายหลวง ทั้งนี้จากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมดังที่กล่าวมาจึงมีผู้สันนิษฐานว่าที่วัดพระพายหลวงแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่เริ่มสร้างพระพุทธรูปหลายปางไว้รวมกัน.  วัดเชตุพนเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ปรากฏมณฑปที่มีแกนกลางล้อมรอบด้วยพระสี่อิริยาบทเป็นประธานของวัด ซึ่งพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในมณฑปประกอบไปด้วยพระพุทธรูปอิริยาบถเดินทางด้านทิศตะวันออก แสดงอิริยาบถยืนด้านทิศตะวันตก แสดงอิริยาบถนั่งด้านทิศเหนือ และแสดงอิริยาบถนอนด้านทิศใต้ สันนิษฐานว่าวัดเชตุพนแห่งนี้น่าจะพัฒนาการต่อมาจากการสร้างกลุ่มอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและนอนของวัดพระพายหลวง. ในส่วนของวัดพระสี่อิริยาบถเมืองกำแพงเพชรนั้น เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ภายในวัดปรากฏมณฑปขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นประธานของวัด ลักษณะเป็นมณฑปแกนกลางรับน้ำหนัก ซึ่งลักษณะผนังของแกนกลางทั้งสี่ด้านก่อเว้าคล้ายโอบพระพุทธรูปในแต่ละด้าน ผนังด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนอน ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนั่ง และด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน จากองค์ประกอบและรูปแบบที่ลงตัวของสถาปัตยกรรม ทำให้สันนิษฐานว่าวัดพระสี่อิริยาบถนี้น่าจะสร้างหลังวัดเชตุพน เมืองสุโขทัยเล็กน้อย .การสร้างกลุ่มพระพุทธรูปหลายอิริยาบถหรือพระพุทธรูปสี่อิริยาบถนี้ สันนิษฐานว่าได้รับรูปแบบการสร้างกลุ่มอาคารลักษณะนี้มาจากลังกา พบที่คัลวิหาร เมืองโปลนนารุวะ ซึ่งเป็นกลุ่มประติมากรรมพระพุทธรูปที่สลักจากหน้าผาหินขนาดใหญ่ 4 องค์ ประกอบไปด้วย พระพุทธรูปประทับนั่งภายในถ้ำ พระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ พระพุทธรูปยืนตริภังค์ และพระพุทธรูปนอน .อ้างอิง- กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, 2561.- พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “พระสี่อิริยาบถ.” ศิลปวัฒนธรรม. 16,11 (กันยายน 2538) : 118-121.- ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ.” เมืองโบราณ. 13,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2530) : 57-61.- รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา.” (เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554)(อัดสำเนา).- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.- ศิริปุณย์ ดิสริยะกุล. “การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร” วิทยานิพนธ์ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. พิมพ์ครั้งที่ 3. สุโขทัย : กรมศิลปากร, 2553.


บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี “ประเพณีการแข่งเรือยาวปราจีนบุรี” --ต้อนรับการกลับมาอีกครั้งของประเพณีการแข่งเรือยาวปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ หลังจากที่ห่างหายไประยะเวลาหนึ่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอนำเสนอภาพบรรยากาศประเพณีการแข่งเรือเมื่อราว ๓๐ ปีที่แล้วมาให้ทุกท่านได้ชมกัน --สำหรับประเพณีการแข่งเรือยาวปราจีนบุรีนั้น เริ่มจัดการแข่งขันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีขึ้นสูงมาก โดยประเพณีการแข่งเรือยาวจัดเป็นงานประจำปีบริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี ช่วงตั้งแต่สะพานณรงค์ดำริด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปจนถึงหน้าวัดหลวงปรีชากูล --ประเพณีการแข่งเรือยาวปราจีนบุรีในช่วงเวลานั้น เริ่มต้นด้วยขบวนเรือเฉลิมพระเกียรติ ก่อนจะเป็นการแข่งเรือยาว รอบละ ๒ ลำ แข่งกันจนกว่าจะได้ผู้ชนะ โดยมีประชาชนชาวจังหวัดปราจีนบุรี นักเรียน นักศึกษาร่วมชมและร่วมเชียร์การแข่งเรือยาวตลอด ๒ ฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี --สำหรับประเพณีการแข่งเรือยาวปราจีนบุรีในปีนี้ เริ่มจัดงานตั้งแต่วันที่ ๙ – ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕ โดยที่มีการแข่งเรือยาวในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๕ และการแข่งเรือเร็วในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕ บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรีช่วงศาลหลักเมืองปราจีนบุรี


สำหรับบทความสัปดาห์นี้จัดทำขึ้น เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสวันแม่แห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ขอนำเสนอภาพถ่ายการจัดงานวันแม่แห่งชาติ และภาพถ่ายจดหมายเหตุพระราชกรณียกิจ ชุด “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ เมืองสงขลา”เรียบเรียงโดย : นางพัชรินทร์ ลั้งเเท้กุล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลากราฟิก เเละภาพประกอบ โดย นายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ


มาตรา 13 หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) เก็บรักษาและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ(2) ติดตาม รวบรวม หรือรับมอบเอกสารจดหมายเหตุจากหน่วยงานของรัฐ(3) จัดหา ซื้อ หรือรับบริจาคเอกสารที่มีคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุจากเอกชน(4) จัดหมวดหมู่และจัดทําเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ(5) จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชพิธี รัฐพิธี และศาสนพิธี(6) รวบรวมเอกสารเหตุการณ์สําคัญของชาติ(7) จัดทําบันทึกประวัติศาสตร์บอกเล่าโดยพิจารณาให้ครอบคลุมข้อเท็จจริง     อย่างรอบด้าน(8) ให้บริการการศึกษา การค้นคว้า หรือการวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ(9) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดให้มีสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นิทรรศการ     และกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ(10) สนับสนุนด้านวิชาการแก่หอจดหมายเหตุของหน่วยงานของรัฐ       หอจดหมายเหตุท้องถิ่น และหอจดหมายเหตุเอกชน(11) ดําเนินการอื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย ที่มา : พระราชบัญญัติจดหมายเหตุ พ.ศ. 2556 หน้า 3-4


         24 ตุลาคม 2565 วันดิวาลี (For English, please see below)          เทศกาลดิวาลี, ดีปาวลี, ทิวาลี หรือ ทีปาวลี           คำว่า ดิวาลี (Diwali หรือ Divali) กร่อนมาจากคำว่า “ทีปวาลี” (Deepavali หรือ Dipavali) ในภาษาสันสกฤตแปลว่า “แถวของตะเกียง”          เทศกาลดิวาลีจึงมีความหมายว่าเทศกาลแห่งแสงไฟ          เทศกาลดิวาลีเป็นเทศกาลของคนอินเดียไม่ว่าจะนับถือศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ หรือศาสนาเชน ประวัติความเป็นมาของเทศกาลนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละตำนาน แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการรำลึกถึงเรื่องราวที่พระรามทรงมีชัยเหนือราวณะ(ทศกัณฐ์) โดยการเฉลิมฉลองด้วยแสงไฟนี้ปรากฏในมหากาพย์รามายณะในพิธีฉลองชัยชนะและต้อนรับการกลับพระราม นางสีดา และพระลักษมณะ ชาวเมืองอโยธยาได้จัดงานเฉลิมฉลองด้วยไฟครั้งใหญ่ ชัยชนะแห่งพระรามนี้เปรียบเสมือนแสงสว่างที่ชนะความมืด หรือธรรมะที่ชนะอธรรม          ดิวาลี ยังปรากฏในจารึกของอินเดียหลายหลัก เช่น จารึกแผ่นทองแดงของพระเจ้ากฤษณะที่ 3 ราชวงศ์รัชตระกุตา     (Rāṣṭrakūṭa) (พ.ศ. 1482–1510) ระบุคำว่า "Dipotsava"          ในจารึกภาษาสันสกฤตที่วัด Ranganatha ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวถึง          "เทศกาลมงคลแห่งแสงซึ่งขจัดความมืดมนอนธการ แต่กาลก่อนได้รับการเฉลิมฉลองโดยกษัตริย์ อิลา การตวีรยะ และ สาการะ...เฉกเช่นท้าวสักระ(พระอินทร์)ของเหล่าทวยเทพ กษัตริย์ผู้รู้พระเวทจะเฉลิมฉลอง ณ ที่แห่งพระวิษณุซึ่งมีองค์พระลักษมีผู้สุกสกาวประทับอยู่บนพระเพลาแห่งพระองค์"          โดยปกติแล้วเทศกาลดิวาลีจะเฉลิมฉลองกันถึง 5 วัน ในเดือนกรรติกา (ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน) วันที่ 1 วันธนเตรส (Dhan Taras) วันแรม 13 ค่ำ เป็นวันจัดเตรียมทำความสะอาด ซ่อมแซมบ้านเรือน วันนี้จะมีการบูชาเทพธันวันตริ เทพเจ้าแห่งอายุรเวทและแพทย์ศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในอวตารของพระวิษณุ ในอินเดียยังมีการประกาศให้วันนี้เป็น "วันอายุรเวทแห่งชาติ" อีกด้วย          วันที่ 2 วันนรกจตุรทศี (Naraka Chaturdashi) หรือ กาลีเจาทส(Kali Chaudas)หรือ โชติ ดิวาลี(Choti Diwali) วันแรม 14 ค่ำ เป็นวันเฉลิมฉลองชัยชนะของพระกฤษณะกับพระนางสัตยภามาเหนือปีศาจนรกาสูร หรือบ้างว่าเป็นพระแม่กาลีสังหารนรกาสูร ผู้คนจะตื่นแต่เช้ามืด เจิมหน้าผาก อาบน้ำ และมีการจุดพลุไฟ ในตอนเช้ามีการบูชาด้วยเครื่องหอม ถวายมะพร้าวแด่หนุมาน อาหาร 56 อย่าง (Mahaprasad),น้ำตาลอ้อย, ข้าวเม่า(Poha), เนยกี(Ghee) และน้ำตาล บางพื้นที่จะมีการทำหุ่นจำลองนรกาสูรและนำมาเผาในเวลา 04.00 น.         วันที่ 3 วันทีปวาลี (Dipawali) หรือ วันลักษมีบูชา (Lakshmi Puja) หรือวันกาลีบูชา (Kali Puja) วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันเฉลิมฉลองใหญ่ ผู้คนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ มีการละเล่นกันอย่างสนุกสนาน มีการมอบของขวัญและวันแห่งการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง วันนี้เป็นวันทำการบูชาพระแม่เป็นสำคัญ มีการจุดตะเกียงและให้สว่างทั่วทั้งบริเวณบ้าน บ้างก็จุดพลุ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย ความมืด หากบูชาพระแม่ลักษมี เหล่าผู้หญิงจะบูชาในช่วงเย็น และตกแต่งบ้านด้วยรังโกลี(Rangoli) สัญลักษณ์ของการต้อนรับขับสู้ผู้มาเยือน เพื่อต้อนรับพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่ง ส่วนผู้ที่บูชาพระแม่กาลีจะบูชาในช่วงกลางคืนโดยการนั่งภาวนาตั้งแต่ยามค่ำจนรุ่งสาง          วันที่ 4 วันโควรรธนะบูชา (Govardhan Puja) หรือวันบาลีประติปทา (Bali Pratipadā) วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันบูชาเขาโควรรธนะและกฤษณะ ซึ่งเป็นการระลึกถึงวันที่พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะเพื่อปกป้องชาวบ้านจากฝนที่พระอินทร์บันดาล หรือบางแห่งว่าเป็นวันที่ท้าวบาลี(มหาพลี) ได้กลับมายังโลกมนุษย์ และเฉลิมฉลองแด่พราหมณ์วามนะ อวตารหนึ่งของพระวิษณุที่ก้าว 3 ก้าว (ปางวิษณุตรีวิกรม) และทำให้ท้าวบาลี (ท้าวมหาพลี) สำนึกผิดและถูกเนรเทศไปยังโลกบาดาล          วันที่ 5 วันยมทวีตียา (Yama Dwitiya) หรือ ภาอีทูช (Bhai Duj) หรือวันวิศวกรรม บูชา (Vishwakarma Puja) วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันสุดท้ายแห่งเทศกาลดิวาลี เป็นวันที่เชื่อว่าพระยม เทพเจ้าแห่งความตายมาเยี่ยมเทวียามีหรือยมุนา(Yami/Yamuna) น้องสาว ถือเป็นวันเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชาย-น้องสาว ในแถบโรงงานอุตสาหกรรม/โรงงานช่างต่างๆ จะบูชาพระวิศวกรรมและนับถือวันนี้เป็นวันแห่งการสร้าง การออกแบบและงานช่างอีกด้วย          อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะ และย่นระยะเวลามาเหลือเพียงสองหรือสามวันโดยจะกระทำกันในวันแรม 13 ค่ำ เดือนสิบ(Dhanteras) และในวันแรม 15 เดือนสิบ (Diwali)  การกระทำพิธีบูชาดิวาลีนั้นจะทำ การบูชาเทพและเทวีหลายองค์ด้วยกัน  1. พระแม่ลักษมี       เทวีผู้ประทานโชคลาภ ทรัพย์สมบัติ และความอุดมสมบูรณ์ 2. พระคเณศ       เทพแห่งความสำเร็จและผู้ขจัดอุปสรรค  3. ท้าวกุเวร       เทพแห่งความร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีการบูชาขอพรจาก หนุมาน พาลี พระยม พระแม่กาลี พระแม่สรัสวตี และพระกฤษณะ (ข้อมูลการบูชาปัจจุบันโดยวัดเทพมณเทียร สมาคมฮินดูสมาช)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           38/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           5/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนา                                                      พระอภิธรรมบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           23/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อผู้แต่ง        มัลลิกา  คณานุรักษ์ ชื่อเรื่อง         เพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   ยะลา   สำนักพิมพ์     เสริมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๔ จำนวนหน้า    ๗๒ หน้า รายละเอียด                   หนังสือเพลงกล่อมเด็กไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการรวบรวมจากปากคำของชาวบ้านจังหวัดปัตตานีจากนั้นนำมาแปลงเนื้อเพลงเป็นภาษาไทย โดยเรียบเรียงใหม่ให้ไพเราะสละสลวย คงเนื้อความเหมือนเดิมทุกประการใช้กล่อมเด็กให้นอนหลับ และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมความเชื่อ สภาพชีวิตขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นได้ ทั้งยังเป็นการบันทึกเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี


เลขทะเบียน : นพ.บ.470/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161  (183-194) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : พระไตรโลกวินิจฉัย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger