ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,886 รายการ

องค์ความรู้ สรรพสาระ อยุธยา... เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔ เรื่อง “แนวทางการรักษาโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” เรียบเรียงโดย นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


          สำนักการสังคีต ขอเชิญชมละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ วันเสาร์ที่ ๒๗ และวันอาทิตย์ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และวันเสาร์ที่ ๑๑ และวันอาทิตย์ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์           บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตร วันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อเรื่อง                                ธาตุชะกุ้ง (ธาตุชะกุ้ง) สพ.บ.                                  210/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ข/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานาคเสน (มหานาคเสน) สพ.บ.                                  328/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ลูกปัดหินสีฟ้าและสีน้ำเงินแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน พบจากการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐_____________________________________________________++ลูกปัด วัตถุที่มีการเจารูไว้สำหรับร้อยด้ายหรือเชือก ส่วนใหญ่ ใช้เป็นเครื่องประดับ มีทั้งที่เป็นรูปทรงกลม เหลี่ยม และทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น หิน ดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย โลหะ พบควบคู่กับหลักฐานทางโบราณคดีชนิดอื่นๆ ในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ++แก้วคือผลิตภัณฑ์จากอนินทรีวัตถุที่ได้มาจากการหลอม ซึ่งเมื่อเย็นจะอยู่ในสภาพแข็ง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน หินฟันม้า และเติมออกไซด์ของโลหะต่างๆ เพื่อให้เกิดสี โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างกันเพื่อให้ได้นำแก้วที่เป็นของเหลว และปรับอุณหภูมิลดลงจนมีความหนืดและสามารถขึ้นรูปได้ ++ลูกปัดแก้วส่วนใหญ่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคกลาง  ราว ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล หรือเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มีหลายสี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีดำ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในอินเดีย ศรีลังกา อียิปต์ และจีน ++จากการศึกษาของนักโบราณคดีได้กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือสมัยหริภุญไชย  ลูกปัดแก้วกลุ่มสีฟ้า สีน้ำเงิน ที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ อาจเป็นสิ่งของที่รับมาจากชุมชนภายนอก ผ่านการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าในดินแดนที่ไกลออกไป อย่างเช่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทสไทยที่ตำนาน เอกสารสมัยหลังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการรับวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีบริเวณล่มแม่น้ำปิงตอนบน ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง++จากการศึกษาเกี่ยวกับลูกปัดที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลาง ได้พบลูกปัดหลายสี หลายขนาด จัดอยู่ในกลุ่มลูกปัดแบบ Indo -Pacific  ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในการแลกเปลี่ยนค้าขายกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การศึกษาจากการทางวิทยาศาสตร์พบว่าลูกปัดแก้วสีฟ้าและสีน้ำเงินนี้  เป็นกลุ่มที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียม ร้อยละ ๑๕  ขึ้นไป พบการผลิตแพร่หลายในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น  แหล่งโบราณคดีบ้านพรมทินใต้ จ.ลพบุรี แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชบูรณ์ แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด จ.สุโขทัย นอกจากพื้นที่ภาคกลางแล้ว ในภาคเหนือ ที่แหล่งโบราณคดีวัดพระธาตุจอมปิง จ.ลำปาง พบโครงกระดูกมนุษย์และลูกปัดหินสีชนิดต่างๆ รวมถึงสีฟ้า สีน้ำเงิน เป็นจำนวนมาก อาจเป็นชุมชนในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮที่มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอก จนทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขนาดใหญ่ถึงแม้ว่าจะช้ากว่ากลุ่มเมืองโบราณในสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคกลาง ในขณะที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮยังคงอยู่ในยุคเหล็กตอนปลาย ++ลูกปัดแก้วสีฟ้า สีน้ำเงิน จากแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ที่พบในหลุมฝังศพปะปนร่วมกับลูกปัดและเครื่องประดับชนิดอื่นๆ เช่น กำไล ตุ้มหู ล้วนเป็นสิ่งของที่รับมาจากวัฒนธรรมภายนอก อันเกิดจากการติดต่อค้าขายกันในชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป เมื่อนำมาฝังร่วมกับศพอาจแสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางสังคมของผู้ตายที่เริ่มมีการจัดระเบียบที่ซับซ้อนมากขึ้นก่อนที่จะพัฒนาเป็นเมืองใหญ่ในสมัยหริภุญไชย อ้างอิง ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย ." วารสารวิชาการ  Veridian E-Journal ปีที่ ๗, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๗: ๕๗๑-๕๘๑.บัญชา พงษ์พานิช, “ไขความจากรอยลูกปัดในพื้นที่ภาคเหนือ.” เมืองโบราณ ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๓: 140-150.วิชัย ตันกิตติกร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.44/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ก/1-8  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (มทฺรี-นครกัณฑ์)  ชบ.บ.106ข/1-9ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.342/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133  (359-369) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปํสุกูลจีวรานิสํสกถา (ฉลองบังสุกุล)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


    “เจ็ดเสมียน” ชื่อนี้มีที่มา            “เจ็ดเสมียน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี   ชื่อนี้ปรากฎอยู่ในหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นตำนานบอกเล่า  เช่น ในตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยาราชสัมภารากรและฉบับตาปะขาวรอด  ได้บันทึกเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยากง พระยาพาน  โดยได้กล่าวถึง “บ้านเจ็ดเสมียน” เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยให้บุตรบุญธรรมคือพระยาพาน ซึ่งเป็น ผู้มีบุญญาธิการมาก ลงมาซ่องสุมผู้คนตั้งอยู่ที่ “บ้านเจ็ดเสมียน”                                                ความเป็นมาของชื่อบ้าน  “เจ็ดเสมียน” ปรากฏเรื่องราวเล่าขานเป็นตำนานท้องถิ่นสืบต่อกันมาว่าในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินมหาราชได้รวบรวมไพร่พลออกจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางผ่านมายังเมืองราชบุรี  แล้วโปรดให้รี้พลพากันข้ามแม่น้ำแม่กลองไปตั้งค่ายพักแรมบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ จากนั้นดำริให้ป่าวประกาศรับสมัครชายชาติทหารเพื่อร่วมรบกับข้าศึก เช้าวันรุ่งขึ้นมีผู้คนมาสมัครเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงโปรดให้รับสมัครผู้รู้หนังสือมาเป็นเสมียนรับลงทะเบียนเพิ่มเติม ปรากฏว่ามีคนมาอาสาทำหน้าที่ดังกล่าวถึง ๗ คน และทำการบันทึกรายชื่อทหารได้ทันพลบค่ำพอดี  จึงกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “เจ็ดเสมียน”                ในนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๖  เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของย่านเจ็ดเสมียน ว่าเจ็ดเสมียนเป็นย่านใหญ่ เดิมมีจระเข้อยู่เป็นจำนวนมาก แม้พระมหากษัตริย์จะใช้เสมียนถึงเจ็ดคนมาทำการจดก็ยังไม่พอ       “...ถึงบางกระไม่เห็นกระปะแต่บ้าน    เป็นภูมิฐานทิวป่าพฤกษาไสว                                         โอ้ผันแปรแลเหลียวให้เปลี่ยวใจ          ถึงย่านใหญ่เจ็ดเสมียนเตียนสบาย                              ว่าแรกเริ่มเดิมทีมีตะเข้                        ขึ้นผุดเร่เรียงกลาดไม่ขาดสาย           จอมกระษัตริย์จัดเสมียนเขียนเจ็ดนาย มาจดหมายมิได้ถ้วนล้านกุมภา...”            ชื่อ“เจ็ดเสมียน” ปรากฏอยู่ใน “กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง”  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑  เมื่อคราวที่เสด็จไปรับศึกพม่าที่กาญจนบุรีปลายพ.ศ. ๒๓๒๙  ทรงกล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินรวมทั้ง “เจ็ดเสมียน” ดังความในพระราชนิพนธ์ว่า     “...ถึงท่าราบเหมือนที่ทาบทรวงถวิล   ยิ่งโดยดิ้นโหยหวนครวญกระสัน                                   ด้วยได้ทุกข์ฉุกใจมาหลายวัน    จนบรรลุเจ็ดเสมียนตำบลมา                                               ลำลำจะใคร่เรียกเสมียนหมาย    มารายทุกข์ที่ทุกข์คะนึงหา                                                 จึงรีบเร่งนาเวศครรไลคลา   พอทิวากรเยื้องจะสายัณห์...”             นอกจากนี้ยังมีนิราศซึ่งเป็นลักษณะของการพรรณนาการเดินทางอีกหลายเรื่องที่กล่าวถึง เจ็ดเสมียน ในความหมายของเสมียนจำนวนเจ็ดคน เช่น โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยแขวงเมืองกาญจนบุรี ของพระยาตรัง, โคลงนิราศทวายของพระพิพิธสาลี, ลิลิตเสด็จไปขัดทัพพม่าเมืองกาญจนบุรี พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ, นิราศไทรโยค พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเรื่องเที่ยวไทรโยคคราวสมเด็จพระราชปิตุลา บรมวงศาภิมุข เสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ฯ              ในพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเสด็จประพาสไทรโยคในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งแรก ปีฉลู พ.ศ.๒๔๒๐ ได้กล่าวถึง “เจ็ดเสมียน” ว่า                                                                                                    “...วัดเจ็ดเสมียน ลานวัดกว้างใหญ่ต้นไม้ร่มดูงามนัก เรือลูกค้าจอดอาศัยอยู่ที่นี่มาก บ้านเจ็ดเสมียนนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักเลงกลอน  พอใจจะอยากไหว้วานให้เสมียนมาจดแทบทุกฉบับ ในนิราศพระพุทธยอดฟ้าก็ว่าถึงเจ็ดเสมียนนี้เหมือนกัน...”              รายงานทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่าวัดเจ็ดเสมียนเป็นวัดราษฎร์  ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๐๐  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเก่าแก่ และที่มาของชื่อวัดอาจตั้งตามชื่อหมู่บ้านซึ่งมีอยู่มาแต่เดิม  ตามลักษณะของการตั้งชื่อสถานที่ ชื่อที่ตั้งขึ้นแต่ละยุคสมัยจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ปรากฏในสมัยใดสมัยหนึ่ง  ชื่อจึงเป็นเครื่องหมายบอกเรื่องราวภูมิหลังเพื่ออ้างอิงการรับรู้ร่วมกัน  ชื่อบ้าน “เจ็ดเสมียน” สะท้อนแนวคิดในเรื่องชื่อบ้านนามเมืองหรือภูมินามพื้นบ้าน  เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชนผ่านการตั้งชื่อ   ในสมุดราชบุรีปี ๒๔๖๘  ระบุว่า“เจ็ดเสมียน”เคยเป็นที่ตั้งของอำเภอมาก่อน  โดยอำเภอโพธารามเดิมเรียกว่า อำเภอเจ็ดเสมียน ต่อมาในปี ๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔)  จึงได้ย้ายขึ้นไปตั้งที่ตำบลโพธารามทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง   ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินซ้อมรบเสือป่าที่จังหวัดราชบุรี  และใช้พื้นที่เจ็ดเสมียนในการซ้อมรบด้วย             จากหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า “เจ็ดเสมียน” มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่อดีตและชื่อบ้านเจ็ดเสมียนอาจมีที่มาจากตำนานและคำบอกเล่าซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง   ทั้งนี้หากชื่อบ้าน “เจ็ดเสมียน” ตั้งขึ้นมาจากตำนานบอกเล่า เรื่องเสมียนเจ็ดคนในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว  แสดงว่าคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เจ็ดเสมียนและบริเวณใกล้เคียงนั้น  นอกจากจะมีใจจงรักภักดีสมัครไปทำสงครามเป็นจำนวนมากแล้ว  จะต้องมีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เพราะตำแหน่ง  “เสมียน” ที่ปรากฏในตำราจินดามณี  กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นเสมียนจะต้องรอบรู้ ๘ สิ่งในเรื่องของหลักภาษาและวรรณยุกต์                                                                                                   “...เปนเสมียนรอบรู้               วิสัญช์             พินเอกพินโททัณฑ                ฆาตคู้             ฝนทองอีกฟองมัน                  นฤคหิต              แปดสิ่งนี้ใครรู้                      จึงให้เป็นเสมียน...”   เรียบเรียงโดย   ปราจิน  เครือจันทร์   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เอกสารอ้างอิง พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง,หลวงโสภณอักษรกิจ พิมพ์สนองพระคุณ ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ฯ ในงานฉลองสุพรรณบัฎ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔.    กรมศิลปากร,จินดามณี พิมพ์แจกในงานศพคุณหญิงพิรุฬห์พิทยาพรรณ ณ วัดไตรมิตตวิทยาราม ๑๕ เมษายน ๒๔๘๕ ,กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๘๕. กรมศิลปากร, นิราศไทรโยค พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์,พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางอนงค์ สิงหศักดิ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๘. กรมศิลปากร, พระบวรราชนิพนธ์เล่ม ๑, กรุงเทพฯ :กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร,๒๕๔๕. กรมศิลปากร,วรรณคดีพระยาตรัง. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๑๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยามชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,กรงเทพฯ:บรรณกิจ,๒๕๔๓. สมุดราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘ ,กรุงเทพฯ:สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย,๒๕๕๐. http:// www.chetsamian. go.th


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง               โคลงกวีโบราณ และวรรณกรรมพระยาตรัง ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๐๕ จำนวนหน้า          ๑๕๔  หน้า หมายเหตุ            -                          วรรณกรรมของพระยาตรังตามที่ทราบกันนั้นว่ามี นิราศตามเสด็จที่ทัพลำน้ำน้อย นิราศพระยาตรัง (หรือนิราศถลาง) โคลงกวีโบราณ (เป็นโคลงที่พระยาตรัง จดไว้จากความทรงจำ)





Messenger