ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,884 รายการ



ดาวน์โหลดเอกสาร


  ภาพการซ้อมใหญ่ก่อนการแสดงจริง "สานสัมพันธ์ นาฏศิลป์สองแผ่นดิน หลวงพระบาง ศรีโคตรบูรณ์"


     กล่าวถึงความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องกฐิน  วิธีทอดกฐินตามแบบแผนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงวางแผนไว้  เมื่อครั้งที่ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้น  วิธิกราลกฐินที่วางไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕  อานิสงส์สำหรับผู้ทอดกฐิน และความเป็นมาของกฐินหลวง  ซึ่งเป็นราชประเพณีที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี...  


วันพุธที่ ๑ เม.ย. ๒๕๕๘ ณ.บริเวณ คูเมืองกำแพงเมืองเวียงแก ตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา  นายชูชาติ กีฬาแปงผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานพิธีเปิด วันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดพะเยา ประจำปี ๒๕๕๘   และอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ร่วมประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ  พานพุ่มดอกไม้สด ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๕รอบ ๒ เมษายา ๒๕๕๘  ซึ่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ พะเยา ร่วมกับอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา  องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก  จัดกิจกรรมพัฒนาและทำความสะอาดคูเมืองกำแพงเมืองเวียงแกตลอดจนเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะที่ทรงพระกรุณาอุปถัมภ์และส่งเสริมการดำเนินงานในด้านศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ




วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2560 นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระปิยมหาราช" พร้อมคณะข้าราชการ สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.1/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 5หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม 


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา   ๑.      ชื่อโครงการ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage ๒.     วัตถุประสงค์ เป็นตัวแทนจากประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ ๒ ตามคำเชิญของ Sophia Asia Center for Research and Human Development เป็นกิจกรรมสืบเนื่องจากที่เคยได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งที่ ๑ มาแล้วระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง “Flood : Crisis and Opportunity in the Presentation of the Values of Ayutthaya” ตามหัวข้อของการประชุม “Water Control at Cultural Heritage Sites in Southeast Asia” ๓.      กำหนดเวลา วันที่ ๘ – ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘ ๔.     สถานที่ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ๕.     หน่วยงานผู้จัด Sophia Asia Center for Research and Human Development, มหาวิทยาลัยโซเฟีย ประเทศญี่ปุ่น ๖.     หน่วยงานสนับสนุน APSARA Authority ๗.    กิจกรรม การเดินทางเพื่อการร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘ มีรายละเอียดดังนี้   ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสู่ท่าอากาศยานเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าสู่โรงแรมที่พัก   ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เดินทางสู่ ที่ทำการของ Sophia Asia Center ร่วมพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 2nd Workshop of Mekong Cultural Heritage การบรรยายเปิดการประชุม เรื่อง A Particular Contribution of Sophia University – The Case of Cambodia โดย Prof. Dr. Yoshiaki Ishizawa ผู้อำนวยการ Sophia Asia Center การบรรยายพิเศษเรื่อง Protection of Stone Heritages in South – East Asia โดย Prof. Kunikazu Ueno, Nara Woman’s University ช่วงบ่าย ดูงานการอนุรักษ์ที่กลุ่มโบราณสถาน Rolous ประกอบด้วย ปราสาทโลเลย ปราสาทพระโค และปราสาทบากอง ดูการบูรณะอาคารประเภทอิฐ การใช้เทคนิคการสออิฐแบบโบราณในการบูรณะ และการอนุรักษ์หินและปูนปั้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์   ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘                                                                                              ออกเดินทางไปดูการจัดการแหล่งน้ำโบราณ บารายตะวันตก ดูงานการอนุรักษ์ ปราสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่กลางบารายตะวันตก เป็นโครงการที่อยู่ในการดูแลของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ ร่วมสำรวจโบราณสถาน Spean Mamai สะพานโบราณสะพานแรกบนเส้นทางจากเมืองพระนครออกไปทางทิศตะวันตกสู่ปราสาทสด๊กก๊อกธม และปราสาทเจ้าศรีวิบูล ปราสาทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ด้านนอกเมืองพระนครบนเส้นทางทางด้านตะวันออก ไปสู่ปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย   ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ การบรรยายเปิดประเด็นเรื่อง “Heritage Monuments and Rain water (Case study from Myanmar ancient cities)” โดย U Nyunt Han นักวิจัยอาวุโส SEAMEO-SPAFA การบรรยายเรื่อง “Rehabilitation of Ancient Hydraulic System for better Water Management in Angkor World Heritage Site and Siem Reap City” โดย Dr. Hang Peou, Deputy Director General, APSARA Authority การเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย “Conservation Issues at Halin Pyu Ancient City (World Cultural Heritage Site)” โดย Dr. Than Htike “Man and Water: How Ancient Myanmar Societies Managed the Hydraulic Works for their Prosperity” โดย Tin Htut Aung “Flood: Crisis and Opportunity in the Presentation of the Values of Ayutthaya” โดย นายวสุ โปษยะนันทน์ “Water Management at Vat Phou World Heritage Site” โดย Orlany Phanthavong และ Khamseng “Effects of Rain Water and Collecting Experiences of the Consolidant products for Stone and Brick Built Materials of Cultural Heritage” โดย Nguyen Phuong Thao “Cat Tien Archaeological Complex Site the Risks and Solutions for Preservation” โดย Nguyen Khanh Trung Kien และ Nguyen Hoang Bach Linh ช่วงบ่ายเป็นการเสวนา ถามตอบ แสดงความคิดเห็น   ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เดินทางไปดูงานการอนุรักษ์และจัดการโบราณสถาน Kbal Spean ที่พนมกุเลน และ ปราสาทบันทายศรี การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น   ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เดินทางไปดูงานที่พิพิธภัณฑ์บันเตียเมียนเจย เมืองศรีโสภณ ปราสาทบันทายฉมาร์ ปราสาทตาพรหม(บันทายฉมาร์) และบารายใหญ่ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทบันทายฉมาร์ พิธีปิดการประชุมที่ Sophia Asia Center   ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ออกเดินทางจากเมืองเสียมราฐ กลับสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย   ๘.     ผู้แทนประเทศไทย นายวสุ โปษยะนันทน์ ๙.     สรุปสาระของกิจกรรม เป็นการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องที่เกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการน้ำของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นวิทยากรบรรยายข้อมูลทางวิชาการตามคำเชิญของผู้จัด ทั้งนี้ในการประชุมมีการบรรยายในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศในลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา นอกจากการประชุม ยังได้มีโอกาสไปดูงานการอนุรักษ์และการจัดการแหล่งมรดกโลก Angkor และแหล่งในบัญชีชั่วคราว ปราสาทบันทายฉมาร์ ๑๐.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม กรมศิลปากรน่าจะได้มีการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายนักวิชาการในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงดังเช่นกิจกรรมในครั้งนี้ หรือในระดับอาเซี่ยนอย่างต่อเนื่องต่อไป ด้วยการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ หรือเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ ในกลุ่มประเทศที่มีปัจจัย ปัญหาต่างๆร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ   .....................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ                                                                                    (นายวสุ โปษยะนันทน์)


หมวดหมู่                        นิทานพื้นเมืองภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          นิทานพื้นเมือง                                    นิทาน -- ไทยประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    24 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 60 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ผู้แต่ง               :  ศจ.ไชยเจริญ สันติศิริโรงพิมพ์           :  ไทยวิทยาปีที่พิมพ์           :  2506ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.30บ.9933เลขหมู่             :  364                                  ช853ค


       กรมศิลปากรในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์ เผยแพร่ และสนับสนุนงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ พิจารณาเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเอกสารประวัติศาสตร์เรื่อง “ตำนานพระอารามหลวง” ผลงานนิพนธ์ของเจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นิพนธ์ทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึงประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และที่ตั้งของพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีของชาติ และทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคมและกิจการพระพุทธศาสนาของประเทศได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น จึงดำเนินการจัดพิมพ์เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ


เลขทะเบียน : นพ.บ.26/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 6หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.46/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  66 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 2หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger