ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 43,030 รายการ

๐ สวัสดีค่ะทุกๆท่าน วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ มีสาระความรู้มามอบให้กับทุกๆท่านอีกเช่นเคย  โดยในวันนี้ทางเราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “ไม้เท้าหุ้มทองคำ” โบราณวัตถุที่เรานำมาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “นิทัศน์นวรัฐวงศา : ส่องเจ้า ผ่อนาย จากเครื่องใช้ในอดีต” โดยไม้เท้าหุ้มทองชิ้นนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ของเราได้มีโอกาสนำขึ้นมาจัดแสดงเป็นครั้งแรกค่ะ  """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" . "ไม้เท้าหุ้มทองคำ" นี้เดิมเป็นสมบัติใน "พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ" เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นมรดกในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ และ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ตามลำดับ โดยเจ้าวีระยุทธ์ ณ เชียงใหม่ได้รับสืบทอดเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑  . ภายหลังจากการมรณกรรมของเจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ (เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๓) ทายาท ณ เชียงใหม่ นำโดย นางสาวพิมลมาศ ณ เชียงใหม่, นายพันธุ์ปิติ ณ เชียงใหม่, นายพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่, นางสุรัตน์ ณ เชียงใหม่ และ ทายาทสายตรงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ สายสกุล ณ เชียงใหม่ ได้นำไม้เท้ามามอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงในฐานะมรดกของชาวเชียงใหม่ และสมบัติของชาติ สืบไป . "ไม้เท้าหุ้มทอง" มีลักษณะเป็นไม้กลึงเป็นท่อนกลม ขนาด ๑๓๙ เซนติเมตร ด้านบนหุ้มด้วยทองคำ ขนาดยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร สลักลวดลายลงยาสีแดงและสีเขียวคล้ายดอกบัวบานหรือรูปดาวแฉก ด้านข้างของหัวไม้เท้าทำเป็นลายคล้ายกลีบดอกบัวซ้อนหรือลายสร้อยดอกหมาก อีกด้านหนึ่งทำเป็นเสียมเหล็ก ขนาดยาวประมาณ ๑๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓ เซนติเมตร ส่วนต้นของเสียมหุ้มด้วยโลหะนาก . เจ้าแก้วนวรัฐได้ใช้ไม้เท้านี้เมื่อเสด็จไปที่ต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเสด็จลงสวน ซึ่งพระองค์จะใช้ส่วนด้ามที่ทำเป็นเสียมขนาดกะทัดรัด สำหรับหมายพื้นดินให้คนขุดหลุมปลูกต้นไม้หรือหว่านเม็ดพืช  . ไม้เท้าหุ้มทองนี้ทำขึ้นอย่างประณีตสวยงามเป็นตัวอย่างงานช่างในยุคสมัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดี วัสดุที่นำมาสร้างและฝีมือช่างสะท้อนความสามารถในการเลือกใช้และผสมผสานงานช่างทอง ช่างไม้ ช่างโลหะได้อย่างกลมกลืน . นอกจากไม้เท้าหุ้มทองคำชิ้นนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ของเราได้นำโบราณวัตถุที่ได้รับมอบจากเจ้านายฝ่ายเหนืออีกหลายรายการมาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษครั้งนี้ด้วยค่ะ เรียนเชิญทุกๆท่านเลยนะคะ . ไว้พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ  """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.  (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)  e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+






พันเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร โปรดให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ลม้าย อุทยานานนท์ ม.ป.ช.,ม.ว.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙






ชื่อเรื่อง                                มหานิบาตวณฺณนา  (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา (มัทรี-มหาราช) สพ.บ.                                  209/10ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 59.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)  สพ.บ.                                  250/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. ๒๐๑๐ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ตลอดจนพระราชทานแนวทางและโครงการตามพระราชดำริด้านการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอ้างอิง : ราชกิจจานุเบกษา. ๒๕๕๓. เล่มที่ ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๓๖ง, หน้า ๑๐


เลขทะเบียน : นพ.บ.181/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมตฺถส)  ชบ.บ.59/1-1ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)