ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 43,473 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ทำนาที่ดอกคำใต้ -- กลางปี ๒๕๓๗ จังหวัดพะเยามีคำสั่งให้แต่ละอำเภอในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทำนาทุกสัปดาห์ โดยสำรวจทั้งแปลงปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียวพร้อมกัน เอกสารจดหมายเหตุของฝ่ายบริหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา รายงานสถานการณ์ดังกล่าวของอำเภอดอกคำใต้ จำนวน ๒ สัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์แรกเกษตรอำเภอรายงานเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สำรวจครอบคลุม ๑๒ ตำบล รวมพื้นที่ ๑๒๖,๔๔๘ ไร่ พบการปักดำข้าวเหนียวแล้ว ๒๘,๓๖๔ ไร่ และปลูกข้าวเจ้า ๑๓,๓๔๓ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายเพราะขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด ต่อมา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา อำเภอดอกคำใต้ มีหนังสือราชการรายงานสถานการณ์ทำนาว่า เกษตรกรใน ๑๒ ตำบลเดิมปักดำข้าวเหนียวเพิ่มเป็น ๕๙,๖๖๒ ไร่ และปลูกข้าวเจ้าอีก ๒๘,๓๖๐ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายจากการขาดแคลนน้ำเช่นเคย จากรายงานสถานการณ์ทำนานี้ แสดงให้ทราบวัตถุประสงค์ของจังหวัดพะเยาหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ๑. เมื่อเข้าสู่กลางปีเป็นฤดูฝนแล้ว เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่ ? ๒. จังหวัดสามารถนำรายงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เศรษฐกิจในอำเภอ จังหวัด และภูมิภาคต่อไปได้ว่า ปลายปีจะมีผลผลิตเท่าไหร่ ราคาซื้อ-ขายของตลาดจะมากน้อยแค่ไหน และภาพรวมรายได้ของเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ? ๓. เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอนำข้อมูลการเพาะปลูกไปคำนวณการใช้พื้นที่การเกษตรให้ได้ผลคุ้มค่า อาจเปรียบเทียบการทำนาของปีที่ผ่านมา หรือวางแผนโครงการกระตุ้น ช่วยเหลือ เกษตรกรในฤดูกาลถัดไปได้ สรุปว่า นัยของจังหวัดต้องการก็คือ " ลดความเสี่ยง " หรือไม่ให้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเกษตรกร แม้แต่วิกฤตขาดแคลนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวอาหารหลักของตลาดนั่นเองผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/41 เรื่อง รายงานสถานการณ์การทำนาปี 2537/2538 [ 15 - 28 ก.ค. 2537 ]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                82 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


       ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๕ โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์)        นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มีการโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งแต่วันที่ ๑๔ - ๑๖ มกราคม ๒๔๐๕ ประกอบไปด้วยพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมวดี ศรีรัตนราชธิดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภัศร โดยโสกันต์วันที่ ๑๖ การครั้งนี้ โปรดให้จัดอย่างครั้งโสกันต์พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ดังนี้       ครั้นณเดือน ๒ แรม ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ ๑๐ ค่ำ หรือวันพุธที่ ๑๔ มกราคม ฯ ได้ตั้งการมงคลพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมวดี ศรีรัตนราชธิดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภัศร พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๗๐ รูป เวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่ไปทรงฟังสวดพระพุทธมนต์ทั้ง ๓ วัน รุ่งขึ้นณวันเดือน ๒ แรม ๑๑ ค่ำ เวลาเช้าโสกันต์แล้วแห่มาสมโภชอีกวัน ๑ กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทางนั้นมีพร้อมครบทุกสิ่ง เหมือนอย่างพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ แต่มีนางเชิญเครื่องมยูรฉัตรทั้ง ๓ พระองค์ จัดกระบวนแห่เป็นตอนๆ   ภาพ : พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช


ชื่อผู้แต่ง        วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง         วิศวกรรมสาร (ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓  มิถุนายน ๒๕๑๙) ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ม.ป.พ. สำนักพิมพ์     ม.ป.ท. ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๙ จำนวนหน้า    ๘๘ หน้า รายละเอียด                   วารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๗ บทความ เช่น การเลือกขนาดท่อสูบน้ำ, ปริมาณน้ำฝนสูงสุดใน ๑ วัน ของประเทศไทย, การลดความชื้นในอากาศ ฯลฯ


         เนื่องด้วยวันที่ 13 มีนาคม คือ "วันช้างไทย" หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ โดยเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 นำเสนอความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในสมัยโบราณที่ใช้เรียกอวัยวะส่วนต่างๆ ของช้าง ส่วนที่ 2 จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของช้างมงคลตามตำราคชศาสตร์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่า “ช้างศุภลักษณ์” หรือช้างที่มีลักษณะมงคล พร้อมทั้งมีภาพประกอบจากเอกสารโบราณ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ตระกูล คือ ช้างตระกูลอิศวรพงศ์  ช้างตระกูลพรหมพงศ์  ช้างตระกูลวิษณุพงศ์  และช้างตระกูลอัคนิพงศ์  ส่วนที่ 3 กล่าวถึงช้างหลวงประจำรัชกาลในราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 พร้อมเอกสารโบราณที่บันทึกทำเนียบนามช้างสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ได้ที่ https://www.nlt.go.th/service/1565


หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสังกัดกรมศิลปากร[ITA66-O25 (4)]


เลขทะเบียน : นพ.บ.455/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เทวทูตสูตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในฤดูใบไม้ผลิ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ วุฒิสมาชิกเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) ได้ก่อตั้ง Earth Day ขึ้นในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อผลักดันให้ปัญหานี้เข้าสู่วาระแห่งชาติ อีกทั้งยังมีชาวอเมริกันกว่า ๒๐ ล้านคน ได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ณ เมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเพื่อแสดงถึงความต้องการให้มีมาตรการป้องกัน และควบคุมผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ ในเวลาต่อมาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการพิจารณา และเริ่มมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีผลบังคับใช้ในเวลาถัดมา นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของชาวอเมริกันที่ได้ออกมาร่วมแสดงเจตนารมณ์ในครั้งนี้ ต่อมาในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐสภาจึงได้มีมติให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลางแห่งใหม่เพื่อทำภารกิจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม คือ สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency : EPA) จากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์จึงทำให้ในวันที่ ๒๒ เมษายน ของทุกปีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.  22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day) (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://actionforclimate.deqp.go.th/news/2869/  TheEconomicTimes.  Earth Day 2023: Date, theme, history, significance (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://economictimes.indiatimes.com/.../art.../99663840.cms Thursd.  The Earth Day 2023 Theme is 'Invest in Our Planet' (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://thursd.com/articles/earth-day-theme



          คำว่า “คชสีห์” นั้นเป็นคำสมาส คือ เอาคำสองคำมาต่อกัน คำว่า “คช” กับคำว่า “สีหะ” อีกคำหนึ่ง ความหมายคำว่า “คช” ก็แปลว่า ช้าง และ “สีหะ” ก็คือ ราชสีห์ นั่นเอง เมื่อนำเอาสมาสกันแล้วการันต์ตัว ห  ในทางการช่างศิลปะไทยเรา หมายถึง การนำเอาสัตว์สองชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว            ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่างโบราณของไทยเราได้ประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ขึ้นมาตามจินตนาการนั้นมีหลายชนิด และบางอย่างก็นำมาปะติดปะต่อเป็นสัตว์ผสมกัน  สังเกตได้ง่าย คือ ถ้าเรากล่าวถึงสัตว์อะไรก่อน  ส่วนมากจะเขียนเป็นหัวของสัตว์นั้น  ส่วนชื่อตามหลังจะกลายเป็นตัวและเท้าตลอด ดังเช่นคำว่า “คชสีห์” นี้  ส่วนที่เป็นหัวก็มีงวง มีงาลักษณะของช้างประดิษฐ์ ตั้งแต่คอลงไปตลอดหางก็เป็นราชสีห์ (ในเอกสารนี้อาจารย์กล่าวถึงการเขียนหน้าหรือศีรษะของคชสีห์ส่วนลำตัวให้ดูประกอบในเรื่องการเขียนราชสีห์)