ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,892 รายการ
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม จัดกิจกรรมโครงการเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาด้านบริการห้องสมุด วันพฤหัสบดี ที่ 19 มิถุนายน 2557 ณ โรงเรียนบ้านรามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์นี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ ต้นตำราเครื่องสังคีต เรื่องตำนานเครื่องมโหรี เรื่องตำนานมโหรีเครื่องสาย เรื่องตำนานเครื่องปี่พาทย์ เรื่องตำนานกลองแขก เรื่องตำนานปี่ซอและแคน รวมถึงเครื่องมโหรีปี่พาทย์ของไทย
วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ชาวหอสมุดร่วมแรงร่วมใจกัน ปลูกต้นดาวเรืองเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล และแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9
พระวิษณุ(ศิลา)ศิลปะ สกุลช่างปัลลวะมีขนาด สูง ๑๔๘ เซนติเมตรกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒----------------ลักษณะ พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อใกล้เคียงธรรมชาติ พระนาภีแอ่นขึ้นและพระปฤษภางค์เว้าเข้าแสดงให้เห็นลมปราณของโยคี พระเนตรเบิก พระโอษฐ์แย้ม ทรงสวมกีรีฏิมกุฏข้างบนผายออก พระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือย ช่วงล่างสวมผ้านุ่งยาวหรือที่เรียกว่า “โธตี” มีผ้าภูษาคาดพระโสณี (สะโพก) ทรงภูษายาวครอมข้อพระบาท ขมวดเป็นปมใต้พระนาภี และ ผ้าคาดพระโสณีตามแนวนอนพระหัตถ์ขวาอาจทรงถือภู (ก้อนดิน) พระหัตถ์ซ้ายทรงถือคฑาแนบพระองค์ จากที่ได้กล่าวมาพระวิษณุลักษณะนี้เป็นลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดของพระวิษณุรุ่นแรก ๆ ในดินแดนไทย ที่สัมพันธ์กับพระวิษณุในศิลปะอินเดียแบบปัลลวะ---------------------พบที่ โบราณสถาน เมืองโบราณเวียงสระ ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครซึ่งเทวรูปองค์นี้คล้ายกับชิ้นส่วนเทวรูปพระวิษณุที่พบที่เขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน------------------------ที่มาข้อมูล / ภาพกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช---------------------------เรียบเรียงข้อมูล /กราฟิกนายกิตติ ชิญเจริญธรรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการนายเกียรติศักดิ์ ลบลาย นักวิชาการวัฒนธรรม
พระพิมพ์ดินเผา จำนวน ๘ องค์ ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตก ใกล้เชิงเขาทำเทียม ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบพร้อมกับธรรมจักร แท่นและเสาตั้ง พระพุทธรูปสำริด และประติมากรรมดินเผารูปพระเจ้าสุทโธทนะ รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ทั้ง ๘ องค์ บางองค์มีสภาพสมบูรณ์สามารถศึกษารูปแบบศิลปกรรมได้ บางองค์ชำรุดเหลือเฉพาะส่วนฐาน สันนิษฐานว่า พระพิมพ์ทุกองค์น่าจะมีรูปแบบเดียวกัน คือเศียรไม่มีอุษณีษะเหมือนพระพุทธรูป ดังนั้นจึงได้รับการตีความว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา นาสิกแบน โอษฐ์แบะ ครองจีวรห่มเฉียง หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานหน้ากระดานเรียบ แผ่นหลังอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมปลายมน พระพิมพ์รูปแบบนี้ยังพบที่เจดีย์พุหางนาคหมายเลข ๑ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง ด้วย ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับพระพิมพ์ในกลุ่มนี้คือ ด้านหลังพระพิมพ์จำนวน ๗ องค์ มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ (ราว ๑,๔๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ละองค์มีจารึกแตกต่างกัน ซึ่งเป็นพระนามของพระสาวก ได้แก่ สาริปุตโต, เมตฺเตยฺยโก, มหาก…, โกลิวีโส, กงฺขาเร..., ...รนฺโต, และ ...ธ... ซึ่งตรงกับนามพระสาวกในกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” หมายถึงพระสาวกสำคัญ คือ พระอสีติมหาสาวก จำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ดังนี้ สาริปุตฺโต คือ พระสารีบุตร มหาก … หมายถึง มหากสฺสโป หรือ มหากจฺจายโน คือ พระมหากัสสปะ หรือ พระมหากัจจายนะ โกลิวีโส หมายถึง โสโณ โกฬิวิโส คือ พระโสณโกฬิวิสะ กงฺขาเร... หมายถึง กงฺขาเรวโต คือ พระกังขาเรวตะ ...รนฺโต หมายถึง ปุณโณ สุนาปรนฺโต คือ พระปุณณะสุนาปรันตะ ...ธ... ไม่สามารถระบุได้ ส่วนพระพิมพ์มีจารึกว่า เมตฺเตยฺยโก อาจการแปลความได้ ๒ แบบ คือ ๑. หมายถึง พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธ ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป แต่มีข้อสังเกตว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒) ไม่นิยมสร้างพระศรีอาริยเมตไตรยในรูปลักษณ์ของพระสงฆ์ แต่พระพิมพ์องค์นี้อาจเป็นความนิยมเฉพาะท้องถิ่นก็เป็นได้ ๒. หมายถึง พระติสสเมตเตยยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” เช่นเดียวกับจารึกด้านหลังพระพิมพ์องค์อื่น ๆ แต่มีข้อสังเกตว่า นามที่ปรากฏในคัมภีร์คือ ติสฺสเมตฺเตยฺโย ซึ่งมีความแตกต่างจากจารึก เมตฺเตยฺยโก อยู่เล็กน้อย ปัจจุบันพระพิมพ์กลุ่มนี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เอกสารอ้างอิง ธนกฤต ลออสุวรรณ. การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. ปีเตอร์ สกิลลิ่งและศานติ ภักดีคำ. จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่องความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี. สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ ๒, ๒๕๔๖. ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง กรีอนุสรณ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ
ปีที่พิมพ์ 2505 จำนวนหน้า 46 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาวาเอกกรีภูมิไชย
หนังสือกรีอนุสรณ์เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพนาวาเอกกรี ภูมิไชยที่คณะเจ้าภาพประกอบด้วยภรรยาและลูกๆจะจัดทำหนังสือสักเล่มไว้เป็นที่ระลึก จึงไปปรึกษากับบุคคลที่คุ้นเคยเพื่อให้เขียนเรื่องต่างๆ ประกอบด้วยเรื่องเหตุผล สิ่งที่ได้มา พระสงฆ์เป็นเนื้อนามบุญของโลกและนิทานชาวไร่
หมวดหมู่ นิทานพื้นเมืองภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง นิทานพื้นเมือง นิทาน -- ไทยประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 59.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
ผู้แต่ง : หลวงสาครคชเขตต์โรงพิมพ์ : บรรยงค์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2495ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.55บ.65864เลขหมู่ : ห 959.3057 ส821จ
เลขทะเบียน : นพ.บ.26/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 7หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม